ข้ามไปเนื้อหา

สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2
พิกัด20°26′54″N 99°54′17″E / 20.4484°N 99.9046°E / 20.4484; 99.9046
เส้นทางฝั่งไทย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 123
ฝั่งพม่า ทางหลวงหมายเลข 4
ข้ามแม่น้ำสาย
ที่ตั้งไทย บ้านสันผักฮี้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
ประเทศพม่า บ้านแม่ขาว จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศพม่า
ชื่อทางการสะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2
เหนือน้ำสะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 1
ท้ายน้ำสามเหลี่ยมทองคำ
ข้อมูลจำเพาะ
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว90 เมตร
ความกว้าง14.7 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง19 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
วันสร้างเสร็จมีนาคม พ.ศ. 2547
วันเปิด22 มกราคม พ.ศ. 2549
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2[1] หรือ สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2[2][3] เป็นสะพานข้ามแม่น้ำสาย (แม่สาย) เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย บ้านสันผักฮี้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กับประเทศพม่า บ้านแม่ขาว จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน

สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2 เป็นสะพานแห่งที่สองที่เชื่อมโยงระหว่างแม่สายและท่าขี้เหล็ก

ประวัติ

[แก้]

สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าในการก่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างพรมแดนในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งไทยเป็นผู้ออกงบประมาณและดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด ภายใต้งบประมาณกว่า 400 ล้านบาท[4] ครอบคลุมตัวสะพานและอาคารที่ทำการศุลกากร - ตรวจคนเข้าเมือง โดยเริ่มวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างสะพานเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และร่วมกันลงนามในข้อตกลงสร้างสะพานร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองชาติ[1] โดยสะพานสร้างเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2549 พร้อมกับจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2

สำหรับสาเหตุในการก่อสร้างและเปิดเส้นทางดังกล่าวมาจากการใช้งานสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งแรกในตัวเมืองแม่สาย ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510[5][1] เป็นเส้นทางผ่านแดนขนาด 2 ช่องจราจรที่มีการใช้งานอย่างหนาแน่น และตัดผ่านใจกลางชุมชน รวมถึงไม่สามารถดำเนินการขยายสะพานเดิมได้ จึงได้มีการหารือร่วมกันและก่อสร้างสะพานแห่งที่ 2[1] เพื่อระบายความหนาแน่น โดยในตัวเมืองแม่สายจะใช้สำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนข้ามผ่านแดนเป็นหลัก ส่วนแห่งที่ 2 จะสำหรับขนส่งสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะ[4]

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]

สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2 มีความยาว 90 เมตร[5] กว้าง 14.7 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร[1]

เส้นทางเชื่อมต่อ

[แก้]

สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ฝั่งไทยเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 123 ซึ่งแยกออกมาจากถนนพหลโยธิน บริเวณแยกทางเลี่ยงเมืองแม่สาย ฝั่งพม่าเชื่อมต่อกับถนนที่ต่อไปถึงทางหลวงหมายเลข 4

นอกจากนี้เส้นทางดังกล่าว มีศักยภาพในการเชื่อมต่อภาคเหนือของประเทศไทยไปยังประเทศจีนซึ่งติดอยู่ทางตอนเหนือของพม่า[5] ผ่านเส้นทางแม่สาย - ท่าขี้เหล็ก - เชียงตุง - ต้าหลั่ว (พรมแดนพม่าและจีน) ระยะทางรวมกว่า 270 กิโลเมตร[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "ไทย - พม่าพร้อมเปิดสะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2". ryt9.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "'เมียนมา' สั่งคุมคน-สินค้าชายแดน 'ท่าขี้เหล็ก-แม่สาย' หลัง 'รัฐประหาร'". bangkokbiznews. 2021-02-01.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวร ณ สะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. เก็บถาวร 2022-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 123 ตอนพิเศษ 8 ง, วันที่ 20 มกราคม 2549, หน้า 3
  4. 4.0 4.1 "New Border Bridge To Open January 22, 2006". ASEAN NOW - News, Travel & Forum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. 5.0 5.1 5.2 "Burma and Thailand Open 'Friendship Bridge'". ဗီြအိုေအ (ภาษาพม่า).
สะพานข้ามแม่น้ำสายในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานมิตรภาพ
แม่น้ำสายแห่งที่ 1

สะพานมิตรภาพ
แม่น้ำสายแห่งที่ 2

ท้ายน้ำ
สามเหลี่ยมทองคำ