อำเภอปักธงชัย
อำเภอปักธงชัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pak Thong Chai |
คำขวัญ: ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม ข้าวหลามนกออก ถั่วงอกวังหมี หมี่ตะคุ | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอปักธงชัย | |
พิกัด: 14°43′11″N 102°1′17″E / 14.71972°N 102.02139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,374.3 ตร.กม. (530.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 116,184 คน |
• ความหนาแน่น | 84.54 คน/ตร.กม. (219.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3014 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปักธงชัย ถนนสืบศิริ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปักธงชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหมี่ที่สวยงาม
ประวัติศาสตร์
[แก้]สมัยโบราณ เดิมปักธงชัยเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ขอมเรืองอำนาจ ทั้งนี้สันนิษฐานได้จากเขตอำเภอปักธงชัยมีซากปรักหักพังของปรางค์ หรือ เทวาลัยหลายแห่งที่เป็นศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ขอมนิยมสร้างตามเมืองต่างๆ ที่ตนปกครองอยู่ใหญ่บ้าง เล็กบ้างตามความสำคัญของแต่ละเมือง เช่น ปรางค์นาแค ปราสาทสระหิน ปรางค์บ้านปรางค์ ปรางค์กู่เกษม
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานที่ปรากฏตามแผนที่ยุทธศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฏชื่อ เมืองปักว่าตั้งอยู่ใกล้เมืองนครราชสีมา ความสำคัญก็คือ เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นกองระวังหน้าคอยสอดแนมข้าศึกและคอยปะทะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ข้าศึกยกทัพประชิดเมืองนครราชสีมาเร็วเกินไป เมืองปักในสมัยนี้จึงถูกตั้งและเรียกว่า “ด่านจะโปะ” เช่นเดียวกับ ด่านเกวียน ด่านจอหอ ด่านขุนทด เป็นต้น
ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2321 ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกกองทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์และได้รับชัยชนะขากลับ จึงได้กวาดต้อนเชลยชายหญิงพร้อมกับเพี้ยอุปราช และ ให้ไปพักอาศัยอยู่ที่ด่านจะโปะครั้นชาวเมืองเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) จึงกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งด่านจะโปะเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองปัก” (ยังไม่มีคำว่าธงชัย) และได้กราบบังคมทูลขอให้เพี้ยอุปราชเป็นเจ้าเมืองปักคนแรก พระราชทานนามว่า “พระยาวงศาอรรคราช” (ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นตระกูลวรธงไชย ขณะนี้) เมืองปักในสมัยนี้เป็นเมืองชั้นตรีขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2323
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและได้กวาดต้อนชาวเมืองไป แต่ถูกคุณหญิงโมและชาวเมืองนครราชสีมาต่อสู้กับทหารเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะและได้พระราชทานนามว่า “ ท้าวสุรนารี ” การกวาดต้อนเชลยคราวนั้น ทหารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้มากวาดต้อนชาวเมืองปักทั้งชาวไทยโคราช และ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งชาวเวียงจันทร์ได้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่างก็มีที่ทำมาหากินสุขสบายมาเป็นเวลา 47 ปี จึงพร้อมใจกันจับอาวุธต่อสู้ขับไล่ทหารของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้กลับไป (ปัจจุบันชาวเวียงจันทน์เป็นบรรพบุรุษ ของชาวตำบลตะคุทั้งตำบล ตำบลเมืองปักบางหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือบางหมู่บ้าน ตำบลบลสะแกราชบางหมู่บ้าน ตำบลตะขบบางหมู่บ้าน)
- พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระเบียบราชการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล เมืองปักธงชัยจึงถูกยุบลงเป็นอำเภอปักธงชัย ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา โดยมีพระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) ชาวไทยมุสลิม เป็นนายอำเภอปักธงไชยคนแรก[1]
- พ.ศ. 2451 ตั้งอำเภอ เรียกว่า อำเภอปักธงไชย
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2482 ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช โดยให้ตำบลสะแกราช และ ตำบลสำโรง ขึ้นกับอำเภอปักธงไชย (ในขณะนั้น) และ ตำบลครบุรี ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอแซะ อำเภอกระโทก (โชคชัย) ปัจจุบันคือ อำเภอครบุรี [2]
- วันที่ 30 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองปัก ในท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองปัก [3]
- พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อจากอำเภอปักธงไชย เป็น อำเภอปักธงชัย เพื่อให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน
- วันที่ 11 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลวังน้ำเขียว แยกออกจากตำบลสะแกราช [4]
- วันที่ 1 กันยายน 2521 ตั้งตำบลลำนางแก้ว แยกออกจากตำบลตะขบ [5]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลวังหมี แยกออกจากตำบลตะขบ [6]
- วันที่ 1 เมษายน 2524 ตั้งตำบลระเริง แยกออกจากตำบลตะขบ [7]
- วันที่ 6 กันยายน 2528 ตั้งตำบลอุดมทรัพย์ แยกออกจากตำบลวังน้ำเขียว [8]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลภูหลวง แยกออกจากตำบลสะแกราช [9]
- วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลธงชัยเหนือ แยกออกจากตำบลเมืองปัก และ ตั้งตำบลสุขเกษม แยกออกจากตำบลตูม [10]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2532 ตั้งตำบลเกษมทรัพย์ แยกออกจากตำบลสำโรง [11]
- วันที่ 1 เมษายน 2535 ยกพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลอุดมทรัพย์ และตำบลระเริง แยกออกจากอำเภอปักธงชัย ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว ขึ้นกับอำเภอปักธงชัย [12]
- วันที่ 24 กันยายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลตะขบ ในท้องที่บางส่วนของตำบลตะขบ และ บางส่วนของตำบลลำนางแก้ว [13]
- วันที่ 20 มกราคม 2537 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองปัก [14]
- วันที่ 7 กันยายน 2538 ตั้งตำบลบ่อปลาทอง แยกออกจากตำบลลำนางแก้ว [15]
- วันที่ 5 ธันวาคม 2539 ยกฐานะเป็นอำเภอวังน้ำเขียว [16]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองปัก และ สุขาภิบาลตะขบ เป็น เทศบาลตำบลเมืองปัก และ เทศบาลตำบลตะขบ
- วันที่ 9 มีนาคม 2555 ยกฐานะเทศบาลตำบลเมืองปัก เป็นเทศบาลเมืองเมืองปัก
ทำเนียบรายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอปักธงชัย
[แก้]- 1. พระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) (พ.ศ. 2451-2460)
- 2. พระชนูปกาลกิจ (ทัสน์ มาศรัตน์) (พ.ศ. 2461-2465)
- 3. พระพลราษฎร์บำรุง (แสง อุเทนสุด) (พ.ศ. 2466-2468)
- 4. หลวงนิวาส วัฒนกิจ (พ.ศ. 2469-2477)
- 5. ขุนศรีนรารักษ์ (พ.ศ. 2478-2479)
- 6. นายเคลื่อน จิตสำเริง (พ.ศ. 2479-2480)
- 7. นายขำ ทูลศิริ (พ.ศ. 2480-2483)
- 8. นายพล จุฑางกูล (พ.ศ. 2484-2486)
- 9. นายโชติ เชื้อศรีแก้ว (พ.ศ. 2487-2489)
- 10. นายชิน ราชพิตร (พ.ศ. 2490-2494)
- 11. นายประธาน วุฒิประไพ (พ.ศ. 2495-2496)
- 12. ร.ต.ต.คลี่ วัลลิภากร (พ.ศ. 2497-2499)
- 13. นายสัญทัด บุญประคอง (พ.ศ. 2499-2501)
- 14. ร.ต.ต.คลี่ วัลลิภากร (พ.ศ. 2501-2505)
- 15. นายอนันต์ อนันตกูล (พ.ศ. 2505-2506)
- 16. นายสงวน รักษ์สุจริต (พ.ศ. 2506-2507)
- 17. นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ (พ.ศ. 2507-2511)
- 18. นายสงวน ประพันธ์โรจน์ (พ.ศ. 2511-2514)
- 19. นายไพทูรย์ สุนทรวิภาค (พ.ศ. 2514-2516)
- 20. นายจำรัส พรรังสฤษฎ์ (พ.ศ. 2516-2519)
- 21. นายบุญธรรม ใจรักพันธุ์ (พ.ศ. 2519-2520)
- 22. นายประศาสน์ สุวรรณคำ (พ.ศ. 2520-2523)
- 23. นายประยูร ห่อประทุม (พ.ศ. 2523-2527)
- 24. นายไพบูลย์ จินดารัตน์ (พ.ศ. 2527-2529)
- 25. นายปัญญารัตน์ ปานทอง (พ.ศ. 2529-2530)
- 26. ร.ต.ประพันธ์ สุนทรมณี (พ.ศ. 2530-2533)
- 27. นายเจริญ พรหมพนิต (พ.ศ. 2533-2535)
- 28. นายเผด็จ โสมจะบก (พ.ศ. 2535-2536)
- 29. นายเอกสิทธิ์ บุตรคล้าย (พ.ศ. 2536-2539)
- 30. นายไชยยศ ปิติฤกษ์ (พ.ศ. 2539-2540)
- 31. นายขวัญชัย วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (พ.ศ. 2540-2543)
- 32. นายสุเมธ ศรีพงษ์ (พ.ศ. 2543-2545)
- 33. นายนพดล ชินะจิตร (พ.ศ. 2545-2548)
- 34. นายชัยยงค์ ฮมภิรมย์ (พ.ศ. 2548-2550)
- 35. นายสุรพจน์ รัชชุศิริ (พ.ศ. 2550-2551)
- 36. นายปิยะ ปรีดารมย์โรจน์ (พ.ศ. 2551-2553)
- 37. นายสิทธิศักดิ์ พรประสิทธิ์สุข (พ.ศ. 2554-28 กันยายน 2555)
- 38. นายสุรพันธ์ ศิลปะสุวรรณ (รักษาการแทน) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555- 2556)
- 39. นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี (พ.ศ. 2556-2558)
- 40. นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ (พ.ศ. 2558-2559)
- 41. นายวิสูตร ชัชวาลวงศ์ (พ.ศ. 2559-2562)
- 42. นายอำนวย ปองนาน (พ.ศ. 2562-2563)
- 43. นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ (พ.ศ. 2563-2565)
- 44.ร้อยโทอนุชา ตั้งพาณิชย์ (13 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2565 -2 มกราคม พ.ศ. 2566)
- 45. นายสุพจน์ แสนมี (3 มกราคม พ.ศ. 2566 - 28 มกราคม พ.ศ.2567)
- 46. นายกฤษณธร เลิศสำโรง (29 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอปักธงชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสูงเนิน (ติดต่อกับตำบลหนองตะไก้ ตำบลมะเกลือเก่าและตำบลมะเกลือใหม่)และอำเภอเมืองนครราชสีมา (ติดต่อกับตำบลไชยมงคล ตำบลโคกกรวดและตำบลสุรนารี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโชคชัย (ติดต่อกับตำบลพลับพลาและตำบลท่าลาดขาว)และอำเภอครบุรี (ติดต่อกับตำบลครบุรีและตำบลครบุรีใต้)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังน้ำเขียว (ติดต่อกับตำบลวังน้ำเขียว ตำบลอุดมทรัพย์และตำบลวังหมี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากช่อง (ติดต่อกับตำบลคลองม่วง) อำเภอวังน้ำเขียว (ติดต่อกับตำบลระเริง)และอำเภอสูงเนิน (ติดต่อกับตำบลมะเกลือใหม่และตำบลหนองตะไก้)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอปักธงชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 215 หมู่บ้าน
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2560)[17] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2560)[17] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เมืองปัก | Mueang Pak | 18 | 18,228 | 13,020 5,208 |
(ทม.เมืองปัก) (ทต.ปักธงชัย) |
2. | ตะคุ | Takhu | 21 | 12,289 | 12,289 | (อบต.ตะคุ) |
3. | โคกไทย | Khok Thai | 11 | 4,809 | 4,809 | (อบต.โคกไทย) |
4. | สำโรง | Samrong | 10 | 3,500 | 3,500 | (อบต.สำโรง) |
5. | ตะขบ | Takhop | 22 | 14,539 | 4,287 10,252 |
(ทต.ตะขบ) (อบต.ตะขบ) |
6. | นกออก | Nok Ok | 10 | 5,888 | 5,888 | (ทต.นกออก) |
7. | ดอน | Don | 12 | 4,251 | 4,251 | (อบต.ดอน) |
8. | ตูม | Tum | 16 | 5,536 | 5,536 | (อบต.ตูม) |
9. | งิ้ว | Ngio | 16 | 6,731 | 6,731 | (อบต.งิ้ว) |
10. | สะแกราช | Sakae Rat | 15 | 8,601 | 8,601 | (อบต.สะแกราช) |
11. | ลำนางแก้ว | Lam Nang Kaeo | 9 | 5,282 | 493 4,789 |
(ทต.ตะขบ) (ทต.ลำนางแก้ว) |
12. | ภูหลวง | Phu Luang | 9 | 5,783 | 5,783 | (อบต.ภูหลวง) |
13. | ธงชัยเหนือ | Thong Chai Nuea | 16 | 9,428 | 1,101 8,327 |
(ทม.เมืองปัก) (อบต.ธงชัยเหนือ) |
14. | สุขเกษม | Suk Kasem | 11 | 4,780 | 4,780 | (อบต.สุขเกษม) |
15. | เกษมทรัพย์ | Kasem Sap | 9 | 3,629 | 3,629 | (อบต.เกษมทรัพย์) |
16. | บ่อปลาทอง | Bo Pla Thong | 10 | 4,316 | 589 3,727 |
(ทต.ตะขบ) (ทต.บ่อปลาทอง) |
รวม | 215 | 117,589 | 34,313 (เทศบาล) 83,276 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอปักธงชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองเมืองปัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองปักและตำบลธงชัยเหนือ
- เทศบาลตำบลตะขบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลตะขบ ตำบลลำนางแก้ว และตำบลบ่อปลาทอง
- เทศบาลตำบลลำนางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำนางแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลตะขบ)
- เทศบาลตำบลบ่อปลาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อปลาทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลตะขบ)
- เทศบาลตำบลนกออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนกออกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปักธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองปัก (นอกเขตเทศบาลเมืองเมืองปัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะคุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะคุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกไทยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะขบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะขบ (นอกเขตเทศบาลตำบลตะขบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะแกราชทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลภูหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธงชัยเหนือ (นอกเขตเทศบาลเมืองเมืองปัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสุขเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุขเกษมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมทรัพย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกษมทรัพย์ทั้งตำบล
สถานศึกษา สถานที่ราชการ ธนาคาร และการคมนาคม
[แก้]สถาบันอุดมศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
- วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ วิทยาเขตนครราชสีมา
สถาบันการอาชีวศึกษา
[แก้]โรงเรียนระดับประถมศึกษา
[แก้]- โรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร เก็บถาวร 2020-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงเรียนชุมชนบ้านตะขบ
- โรงเรียนธงชัยเหนือวิทยา (โคกศิลา)
- โรงเรียนบ้านเขาพญาปราบ
- โรงเรียนบ้านโคกเกษม (สหรัฐ-ราษฎร์สามัคคี)
- โรงเรียนบ้านดอน (สหรัฐ-ราษฎร์อุทิศ)
- โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา)
- โรงเรียนบ้านโคกสำราญ
- โรงเรียนบ้านนางเหริญ
- โรงเรียนบ้านโนนแดง
- โรงเรียนบ้านบ่อปลา
- โรงเรียนแหลมรวกบำรุง
- โรงเรียนอาจวิทยาคาร
- โรงเรียนหนองไผ่ผดุงกิจวิทยา
- โรงเรียนหนองประดู่
- โรงเรียนหนองนกเขียนสามัคคี
- โรงเรียนหนองชุมแสงศรัทธาคาร
- โรงเรียนสะแกราชวิทยาคม
- โรงเรียนสวนหมากสงเคราะห์
- โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 2
- โรงเรียนบ้านอ่างเก็บน้ำห้วยยาง
- โรงเรียนบ้านเมืองปักสามัคคี
- โรงเรียนบ้านโกรกหว้า
- โรงเรียนบ้านโป่งสามัคคี
- โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
โรงเรียนมัธยมและหน่วยงานราชการ
[แก้]- โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต
- โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี
- โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา
- โรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม
หน่วยงานราชการ
[แก้]- ที่ว่าการอำเภอปักธงชัย
- สถานีตำรวจภูธรปักธงชัย
- สาธารณสุขอำเภอปักธงชัย
- โรงพยาบาลปักธงชัย
- สำนักงานประปาส่วนภูมิภาค สาขาปักธงชัย
- การไฟฟ้าอำเภอปักธงชัย
- สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอปักธงชัย
- หน่วยสัสดีอำเภอปักธงชัย
- กิ่งกาชาดอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
- สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปักธงชัย
- ด่านกักกันสัตว์จังหวัดนครราชสีมา สาขาปักธงชัย
- ค่ายปักธงชัย (กรมทหารพรานที่ 26)
- สำนักเกษตรอำเภอปักธงชัย
- สำนักงานประถมศึกษาเขต 3 นครราชสีมา
ธนาคาร
[แก้]- ธนาคารกรุงไทย สาขาปักธงชัย
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาปักธงชัย
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาปักธงชัย
- ธนาคารทหารไทย สาขาปักธงชัย
- ธนาคารกสิกรไทย สาขาปักธงชัย
- ธนาคารออมสิน สาขาปักธงชัย
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาปักธงชัย
การคมนาคม
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ปากเกร็ด-นครราชสีมา(ถนนสืบศิริ)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 สีคิ้ว-เดชอุดม
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2238 ปักธงชัย-สุขัง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2072 ปักธงชัย-ตะขบ
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- วัดหน้าพระธาตุ (วัดตะคุ) ตำบลตะคุ
- วัดม่วงสระน้อย ตำบลนกออก
- วัดปทุมคงคา (วัดนกออก) ตำบลนกออก
- วัดพระเพลิง (วัดหงษ์) ตำบลนกออก
- วัดป่านางเหริญ ตำบลเกษมทรัพย์
- วัดเขาตะกุดรัง ตำบลสะแกราช
- ปราสาทบ้านปรางค์ ตำบลนกออก
- ปราสาทสระหิน ตำบลตะคุ
- ปราสาทนาแค ตำบลเมืองปัก
- ปราสาทกู่เกษม ตำบลสะแกราช
- พิพิธภัณฑ์วัดพรมราช ตำบลตูม
- เขื่อนลำพระเพลิง ตำบลตะขบ
- อ่างเก็บน้ำลำสำลาย ตำบลตะขบ
- อ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตำบลธงชัยเหนือ
- จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ตำบลตะขบ
บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอปักธงชัย
[แก้]- สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พลตรี ดร.วินัฐ อินทรสุวรรณ นตท.19 จปร.รุ่น 30 วทบ.ชุดที่ 51 ผู้อำนวยการ ส่วนการศึกษาฯ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- อานนท์ สังข์สระน้อย อดีตนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย
- ปิยะมาศ ค่อยจะโป๊ะ อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปัก
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช ขึ้นอำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3380. 12 กุมภาพันธ์ 2482.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองปัก อำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 75 ง): 20–21. 20 กันยายน 2499.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (109 ง): 1405–1411. 10 มิถุนายน 2518.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอบัวใหญ่และอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3717–3732. 31 ตุลาคม 2521.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (118 ง): 2660–2662. 5 สิงหาคม 2523.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (68 ง): 1296–1303. 5 พฤษภาคม 2524.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. 17 ธันวาคม 2528.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (พิเศษ 219 ง): 16–20. 12 ธันวาคม 2529.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจักราช ชุมพวงบัวใหญ่ ประทาย ปักธงชัย และสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (140 ง): 5122–5146. 23 กรกฎาคม 2530.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 154 ง): 101–110. 15 กันยายน 2532.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 53 ง): 13. 22 เมษายน 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 175 ง): 15–16. 26 ตุลาคม 2536.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (20 ง): 9–11. 10 มีนาคม 2537.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง อำเภอหนองบุนนาก และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 68–90. 14 พฤศจิกายน 2538.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
- ↑ 17.0 17.1 [1] กรมการปกครอง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ปักธงชัยซิตี้ไกด์ เก็บถาวร 2013-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน