อำเภอแก่งคอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแก่งคอย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kaeng Khoi
คำขวัญ: 
ชุมทางรถไฟ แควใหญ่ป่าสัก เพลินนักล่องแก่ง เป็นแหล่งอุตสาหกรรม คุณธรรมลือเลื่อง คือเมืองแก่งคอย
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอแก่งคอย
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอแก่งคอย
พิกัด: 14°35′12″N 100°59′54″E / 14.58667°N 100.99833°E / 14.58667; 100.99833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด801.1 ตร.กม. (309.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด101,129 คน
 • ความหนาแน่น126.24 คน/ตร.กม. (327.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 18110, 18260 (เฉพาะตำบลทับกวาง)
รหัสภูมิศาสตร์1902
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแก่งคอย ถนนพระพายัพ ตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แก่งคอย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี

ประวัติ[แก้]

อำเภอแก่งคอย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2370 ในขณะนั้น ยังใช้ชื่อเรียกหน่วยงานการปกครองระดับอำเภอว่า "แขวง" อยู่โดยมีหลวงพลกรมการเป็น ผู้ปกครองแขวงคนแรก และมีที่ทำการแขวง อยู่ที่บ้านตาลเดี่ยว พุทธศักราช 2440 มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น กำหนด รูปแบบการปกครองใหม่ โดยเปลี่ยนนามเรียกขายจาก"แขวง"เป็น"อำเภอ"และให้มีการปกครองระดับตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานการปกครองระดับรองลงไป ภายหลังที่ใช้ชื่อหน่วยงานการปกครองว่า "อำเภอ" ได้มีการย้ายที่ทำการ รวม 2 ครั้ง คือ พุทธศักราช 2448 ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมแควป่าสักมาสร้างขึ้นที่ ริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านทิศตะวันตกของสถานีรถไฟแก่งคอย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2497 ทางราชการได้เวนคืนที่ดินบริเวณอำเภอให้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทยและสร้างที่ว่าการอำเภอแก่งคอยในที่ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในส่วนของอาคารที่ว่าการอำเภอนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ 1 ครั้ง ในปี พุทธศักราช 2505 โดยสร้างตามแบบที่ว่าการอำเภอชั้นตรี(ไม้สองชั้น)ของกรมโยธาธิการเลขที่ 6186 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) อาคารนี้แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2506 และ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นได้มาเป็น ประธานในพิธีเปิดป้าย อาคารในวันที่ 10 เมษายน 2535 จึงได้มีการรื้ออาคารและก่อสร้างใหม่ตามแบบมาตรฐาน เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น แล้วเสร็จ ในเดือนตุลาคม 2535 ซึ่งเป็นอาคารที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

ชื่อ "แก่งคอย" มาจากบริเวณลำน้ำป่าสักบริเวณด้านหน้าวัดเป็นแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำ แม่น้ำป่าสักเป็นเส้นทางสัญจรค้าขายจากเพชรบูรณ์ ชัยบาดาล แก่งคอย สระบุรี เสาไห้ พระนครศรีอยุธยา มาตั้งแต่ในอดีต ในหน้าแล้งน้ำน้อยแก่งหินที่ขวางทำให้เรือสัญจรไม่สะดวกจะต้องจอดคอยที่บริเวณเหนือแก่ง เป็นที่มาการเรียกแม่น้ำป่าสักช่วงนี้ว่า "แก่งคอย" ภายหลังเมื่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในพระราชดำริ มีการควบคุมระดับน้ำทำให้ในหน้าแล้งก็ยังมีระดับน้ำท่วมบริเวณแก่งหินอยู่

บางตำนานเชื่อกันว่า แก่งคอยเดิมมีชื่อว่า "แร้งคอย" เนื่องจากเป็นปากทางเข้าสู่เขาใหญ่ มีผู้คนจำนวนมากล้มตายจากไข้ป่าจนมีนกแร้งมาเฝ้าคอยเพื่อกินศพเป็นจำนวนมาก เป็นอำเภอที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานเซรามิก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น[1] และยังเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญ ประกอบกับมีถนนมิตรภาพตัดผ่าน ทำให้มีโรงงานจำนวนมากและมีประชากรแฝงเข้ามาทำงานจำนวนมาก

  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านลาว อำเภอแก่งคอย เป็น ตำบลทับกวาง และเปลี่ยนชื่อตำบลหลุบเลา อำเภอแก่งคอย เป็น ตำบลตาลเดี่ยว[2]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอชัยบาดาล นอกจากตำบลคำพราน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดลพบุรี และท้องที่ตำบลคำพราน ให้มาขึ้นกับอำเภอแก่งคอย[3]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2487 จัดตั้งเทศบาลตำบลแก่งคอย ในท้องที่บางส่วนของตำบลแก่งคอย[4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลตาลเดี่ยว แยกออกจากตำบลแก่งคอย และตั้งตำบลท่าตูม แยกออกจากตำบลบ้านธาตุ[5]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลแก่งคอย ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลบ้านป่า และโอนพื้นที่หมู่ 2,3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลแก่งคอย ไปตั้งเป็นหมู่ 8,7,9,10 ของตำบลตาลเดี่ยว ตามลำดับ[6]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลคำพราน และตำบลหินซ้อน[7][8][9]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2505 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[10] เพื่อนำไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพัฒนานิคม[11] ขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลมวกเหล็ก ในท้องที่บางส่วนของตำบลมวกเหล็ก[12]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2510 ตั้งตำบลแสลงพัน แยกออกจากตำบลหินซ้อน[13]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2511 แยกพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก ตำบลคำพราน และตำบลแสลงพัน อำเภอแก่งคอย มาตั้งเป็น อำเภอมวกเหล็ก[14] โดยไม่ผ่านการตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
  • วันที่ 3 ตุลาคม 2512 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย[15]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลชะอม แยกออกจากตำบลชำผักแพว[16]
  • วันที่ 4 เมษายน 2515 จัดตั้งสุขาภิบาลทับกวาง ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลทับกวาง[17]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลท่ามะปราง แยกออกจากตำบลชำผักแพว[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลทับกวาง เป็นเทศบาลตำบลทับกวาง[19] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลแก่งคอย เป็นเทศบาลเมืองแก่งคอย
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2555 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลทับกวาง เป็นเทศบาลเมืองทับกวาง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอแก่งคอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

พื้นที่ป่าไม้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในอำเภอแก่งคอย

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอแก่งคอยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 117 หมู่บ้าน

1. แก่งคอย (Kaeng Khoi) - 8. บ้านป่า (Ban Pa) 11 หมู่บ้าน
2. ทับกวาง (Thap Kwang) 10 หมู่บ้าน 9. ท่าตูม (Tha Tum) 4 หมู่บ้าน
3. ตาลเดี่ยว (Tan Diao) 11 หมู่บ้าน 10. ชะอม (Cha-om) 11 หมู่บ้าน
4. ห้วยแห้ง (Huai Haeng) 12 หมู่บ้าน 11. สองคอน (Song Khon) 11 หมู่บ้าน
5. ท่าคล้อ (Tha Khlo) 11 หมู่บ้าน 12. เตาปูน (Tao Pun) 7 หมู่บ้าน
6. หินซ้อน (Hin Son) 9 หมู่บ้าน 13. ชำผักแพว (Cham Phak Phaeo) 10 หมู่บ้าน
7. บ้านธาตุ (Ban That) 5 หมู่บ้าน 14. ท่ามะปราง (Tha Maprang) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอแก่งคอยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองแก่งคอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งคอยทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองทับกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับกวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลเดี่ยวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแห้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแห้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคล้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าคล้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินซ้อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านป่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านธาตุและตำบลท่าตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองคอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตาปูนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชำผักแพว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชำผักแพวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะปราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะปรางทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. สารคดีพิเศษ : แก่งคอย : ผู้คน สายน้ำ ขุนเขา ใต้เงาหมอกควัน จาก[ลิงก์เสีย]สารคดี
  2. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. September 25, 1939.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ก): 1379–1381. October 14, 1941.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (77 ก): 1172–1175. December 26, 1944.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในเขตเทศบาล ท้องที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (44 ง): 2260–2261. August 3, 1948.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแก่งคอยและอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (56 ง): 1540–1544. July 4, 1961.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแก่งคอย และอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (75 ง): 2023–2024. September 4, 1961.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแก่งคอย และอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (265 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-11. December 29, 1975.
  10. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (11 ก): 58–60. February 6, 1962.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (25 ง): 569–570. March 13, 1962.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (14 ง): 268–269. February 13, 1962.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (45 ง): 1514–1516. May 23, 1967.
  14. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอมวกเหล็ก พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (121 ก): 1051–1053. December 31, 1968.
  15. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (86 ก): (ฉบับพิเศษ) 62-63. October 3, 1969.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอบ้านหมอ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอแก่งคอย และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (113 ง): 3004–3015. October 26, 1971.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (55 ง): 824–825. April 4, 1972.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแก่งคอย และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 128-137. August 31, 1988.
  19. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999.