ไทยธนาคาร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | ธนาคารพาณิชย์ |
ก่อตั้ง | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (11 มีนาคม พ.ศ. 2492 ภายใต้ชื่อ ธนาคารสหธนาคาร) ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ธนาคารฯ ได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ภายใต้ชื่อ ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ต่อมาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 |
เลิกกิจการ | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 |
ถัดไป | ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย |
เว็บไซต์ | http://www.bankthai.co.th/ |
ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BankThai Public Company Limited) เป็นธนาคารของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เดิมมาจากการควบรวมกิจการของธนาคารสหธนาคาร[1], บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และสถาบันการเงินอีก 12 แห่ง[2] มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นผู้ถือหุ้นหลักในสัดส่วน 48.98% และมีผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ปัจจุบัน ณ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ธนาคารมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 52,002.5 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 259,717 ล้านบาท มีสาขาทั่วประเทศ 112 สาขา เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 8.64% และมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพียง 4.81%
รายนามประธานกรรมการ
[แก้]ยุคสหธนาคาร
[แก้]- จอมพลผิน ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2492-2498)
- พลตำรวจตรี ชลอ ศรีธนากร (พ.ศ. 2498-2502)
- พลเอก ไสว ไสวแสนยากร (พ.ศ. 2502-2507)
- พลตำรวจตรี เนื่อง อาขุบุตร (พ.ศ. 2507-2511)
- คุณหญิงจันทร์เพ็ญ นาวีเสถียร (พ.ศ. 2511-2514)
- พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค (พ.ศ. 2514-2517)
- นายสนั่น เกตุทัต (พ.ศ. 2517-2519)
- นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ (พ.ศ. 2519-2524)
- นายบรรจง ชูสกุลชาติ (พ.ศ. 2524-2526)
- นายประสพ รัตนากร (พ.ศ. 2526-2531)
- คุณหญิงสุเนตร พงษ์โสภณ (พ.ศ. 2531-2535)
- นายบรรเจิด ชลวิจารณ์ (พ.ศ. 2535-2540)
- นายมารวย ผดุงสิทธิ์ (พ.ศ. 2540-2541)
ยุคไทยธนาคาร
[แก้]- นายมารวย ผดุงสิทธิ์ (พ.ศ. 2541-2543)
- นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล (พ.ศ. 2543-2546)
- นายสาโรช คัชมาตย์ (พ.ศ. 2546-2549)
- นายมนู เลียวไพโรจน์ (พ.ศ. 2549-2552)
การยุติการดำเนินงาน
[แก้]ไทยธนาคาร ได้ยุติกิจการลงในต้นปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากกลุ่มซีไอเอ็มบี จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกถือหุ้นใหญ่โดย ภูมิบุตร โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจระดับใหญ่ของมาเลเซีย เข้ามามีสัดส่วนถือหุ้นในธนาคารฯ แห่งนี้เป็นจำนวนมาก โดยถือหุ้นจำนวน 93.15 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับการเข้ามาซื้อกิจการด้วยจำนวนเงิน 20,000 ล้านบาท จึงทำให้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ไทยธนาคารจึงสิ้นสุดลงนับตั้งแต่บัดนั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เป็นชื่อเดิมของธนาคารฯ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2492 ชึ่งเป็นที่มาของธนาคารแห่งนี้
- ↑ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่าง ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุน ๑๒ บริษัท (ราชกิจจานุเบกษา ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๑)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ไทยธนาคาร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ธนาคารสหธนาคาร | ไทยธนาคาร (พ.ศ. 2541 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) |
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย |