เฉลิมชัย จารุวัสตร์
เฉลิมชัย จารุวัสตร์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 22 เมษายน พ.ศ. 2522 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2459 |
เสียชีวิต | 8 เมษายน พ.ศ. 2552 (92 ปี) |
คู่สมรส | ทันตแพทย์หญิง ลัดดา จารุวัสตร์ |
พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด อดีตผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคนแรก อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีในการกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และการกีฬาแห่งประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นบุตรของพันเอกหลวงชัยรณฤทธิ์ (ชิต จารุวัสตร์) และ นางวาส ชัยรณฤทธิ์ (เอมซบุตร) จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 2 โรงเรียนเสนาธิการทหารบกไทย รุ่นที่ 27 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2492 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4
พลเอก เฉลิมชัย ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2537
พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ สมรสกับทันตแพทย์หญิง ลัดดา จารุวัสตร์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ[1]
- ชาญชัย จารุวัสตร์ (เสียชีวิต) สมรสกับ คอนสตันย์ มา
- ชาลี จารุวัสตร์ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกิจการองค์กรสัมพันธ์ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด สมรสกับ ศิริรัตน์ ภูมมะกาญจนะ
- ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด สมรสกับอภิชาติ จูตระกูล รองประธานกรรมการ และประธานอำนวยการ บมจ.แสนสิริ ซึ่งเขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30[2] มีธิดาหนึ่งคน
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ในปี พ.ศ. 2483 ยศว่าที่ร้อยตรีเหล่าทหารปืนใหญ่ จนได้รับพระราชทานยศพลโท ในปี พ.ศ. 2505 และลาออกจากราชการทหารในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 ในระหว่างรับราชการทหารเขาเคยเป็นนายทหารคนสนิทของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รวมทั้งเป็นผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2499 และเคยเป็นอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษใน พ.ศ. 2504
งานธุรกิจ
[แก้]พลเอก เฉลิมชัย เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัทธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส"[3] โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 จนถึง พ.ศ. 2547 เป็นผู้วางแผนการพัฒนาและดำเนินการจัดตั้งโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล อันเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ขนาด 400 ห้อง ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น ต่อมาจึงได้สร้างศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ที่เปิดกิจการในปี พ.ศ 2516 โดยเป็นศูนย์การค้าระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทย อนึ่ง ในช่วงก่อตั้งสยามพิวรรธน์ เขายังได้รับการว่าจ้างให้เข้ามาดูแลกิจการโรงแรมเอราวัณด้วย[4]
งานด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย
[แก้]พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2503 และดำรงตำแหน่งอยู่เป็นเวลา 16 ปี ระหว่างนั้นได้วางแผนในการเปิดสำนักงานองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยทั้งในประเทศและในต่างประเทศ นอกจากนี้ พลเอก เฉลิมชัย ยังเป็นประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2523 และเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ อาทิ องค์การการท่องเที่ยวโลกและสมาพันธ์องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคแปซิฟิกด้วย
งานการเมือง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2511 พลเอก เฉลิมชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5] จนถึงปี พ.ศ. 2514 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6] จนถึงปี พ.ศ. 2518
พลเอก เฉลิมชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2520 และได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1[7]
ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[8][9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2509 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติชฎาทิพ จูตระกูล ข้อมูลล่าสุดของชฎาทิพ จูตระกูล
- ↑ คือ... แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย
- ↑ เหตุการณ์สำคัญ
- ↑ Ünaldi, Serhat (2016). Working Towards the Monarchy: The Politics of Space in Downtown Bangkok. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 128–129. ISBN 9780824855758.
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-04.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2018-07-04.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (31 มกราคม 2522). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 96 (11ง ฉบับพิเศษ): 13. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (17 ธันวาคม 2507). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 81 (118ง ฉบับพิเศษ): หน้า 13. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี (8 กันยายน 2507). "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 81 (85ง): 2337. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2459
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- ทหารบกชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.5