ข้ามไปเนื้อหา

ฝ่ายอักษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฝ่ายอักษะ

ค.ศ. 1936–1945
  •   ฝ่ายอักษะ (และดินแดนในอาณัติ)
  •   ฝ่ายสัมพันธมิตร (และดินแดนในอาณัติ)
  •   ฝ่ายสัมพันธมิตรที่เข้าร่วมหลังการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
  •   ชาติและดินแดนที่เป็นกลาง


สถานะพันธมิตรทางการทหาร
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939
27 กันยายน ค.ศ. 1940
2 กันยายน ค.ศ. 1945
เชิงอรรถ
    1. เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นมักถูกกล่าวถึงเป็นประเทศ"หลัก" (หรือคำที่คล้ายกัน) ในบรรดาฝ่ายอักษะ ดู Global Strategy, Momah, p. 71, หรือ Encyclopedia of World War II, Tucker & Roberts, p. 102.
    2. หลังการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 จึงมีการจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี รัฐหุ่นเชิดของเยอรมนีขึ้นที่ภาคเหนือของอิตาลีจนกระทั่งยอมจำนนในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1945
    3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 เข้าร่วมกติกาสัญญาไตรภาคี โดยทั่วไปถือเป็นฝ่ายอักษะ (ดู Facts About the American Wars, Bowman, p. 432, ที่รวมรายชื่อ "ฝ่ายอักษะ", หรือ The Library of Congress World War II Companion, Wagner, Osborne, & Reyburn, p. 39, ที่จัดในรายชื่อ "อักษะ")
    4. หลังปฏิบัติการพันแซร์เฟาสท์ก็กลายเป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมนีภายใต้การปกครองของแฟแร็นตส์ ซาลอชีตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เป็นต้นมา ดู Germany and the Axis Powers, DiNardo, p. 189)
    5. นอกจากประเทศเยอรมนีและอิตาลีแล้ว โรมาเนียเป็นประเทศเดียวที่ขบวนการฟาสซิสต์มีอำนาจโดยไม่มีความช่วยเหลือจากต่างประเทศ[1]
    6. 6.0 6.1 รัฐหุ่นเชิดที่ฝ่ายอักษะแต่งตั้งขึ้น ดู Axis Rule in Occupied Europe, Lemkin, p. 11
    7. ตำแหน่งทางการของรัฐบาลในช่วงสงครามเป็นประเทศที่ทำสงครามร่วมกับฝ่ายอักษะต่อสหภาพโซเวียตกับสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามต่อเนื่อง แต่โดยทั่วไปถือเป็นสมาชิกฝ่ายอักษะ (ดู Bowman, p. 432, Wagner, Osborne, & Reyburn p. 39, หรือ Dinardo p. 95).
    8. ประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐหลังเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยทั่วไปถือเป็นสมาชิกฝ่ายอักษะ (Bowman, p. 432)
descrdescrdescr
descrdescrdescr
ผู้นำรองฝ่ายอักษะ: ลาสโล บาดอสซี (ฮังการี), บ็อกดาน ฟิลอฟ (บัลแกเรีย), เอียน อันโตเนสคู (โรมาเนีย), จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ไทย), โยฮัน วิลเลม รังเงล (ฟินแลนด์) และราชิด อาลี อัล-เกลานี (อิรัก)

ฝ่ายอักษะ (อังกฤษ: Axis Powers; เยอรมัน: Achsenmächte; อิตาลี: Potenze dell'Asse; ญี่ปุ่น: 枢軸国 Sūjikukoku) เดิมมีชื่อว่า อักษะ โรม–เบอร์ลิน (Rome–Berlin Axis)[2] เป็นพันธมิตรทางทหารที่ริเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองและสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตร สมาชิกหลักคือ นาซีเยอรมนี ราชอาณาจักรอิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ฝ่ายอักษะเป็นการร่วมมือกันเพื่อต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร แต่กลับขาดการประสานงานและความสอดคล้องทางอุดมการณ์ที่พอเทียบกันได้

ฝ่ายอักษะเติบโตจากความพยายามทางการทูตอย่างต่อเนื่องของเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองโดยเฉพาะในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 ขั้นตอนแรกคือ พิธีสารที่ลงนามโดยเยอรมนีและอิตาลีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 ภายหลังจากผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้ประกาศว่า ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปทั้งหมดจะถูกหมุนเวียนกันบนอักษะ โรม-เบอร์ลิน ดังนั้นจึงสร้างคำว่า "อักษะ" ขึ้นมา[3][4] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนได้แสดงให้เห็นถึงการให้สัตยาบันต่อกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งเป็นสนธิสัญญาต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่น อิตาลีได้เข้าร่วมกติสัญญาใน ค.ศ. 1937 ตามมาด้วยฮังการีและสเปนใน ค.ศ. 1939 "อักษะ โรม-เบอร์ลิน" กลายเป็นพันธมิตรทางทหารใน ค.ศ. 1939 ภายใต้สิ่งที่เรียกกันว่า "กติกาสัญญาเหล็ก" พร้อมด้วยกติกาสัญญาไตรภาคี ค.ศ. 1940 ได้รวมเป้าหมายทางการทหารของเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ที่ตามมาในภายหลัง กติกาสัญญาทั้งสามถือเป็นรากฐานของพันธมิตรฝ่ายอักษะ[5]

ณ จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะมีอำนาจเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป แอฟริกาเหนือ เอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะด้วยการยึดครอง การผนวกรวม หรือรัฐหุ่นเชิด ในทางตรงกันข้ามกับฝ่ายสัมพันธมิตร[6] ไม่มีการจัดงานประชุมสุดยอดสามทาง และความร่วมมือและประสานงานนั้นมีน้อย ในบางโอกาส ผลประโยชน์ของฝ่ายอักษะที่สำคัญยังคงแตกต่างกันอีกด้วย[7] สงครามได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 ด้วยความปราชัยของฝ่ายอักษะและการล่มสลายของพันธมิตรของพวกเขา ในกรณีของพันธมิตร สมาชิกในฝ่ายอักษะนั้นสามารถที่จะแปรเปลี่ยนได้โดยง่าย โดยบางประเทศได้ทำการเปลี่ยนข้างฝ่ายหรือเปลี่ยนระดับของการมีส่วนร่วมทางทหารตลอดในช่วงสงคราม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป การใช้คำว่า "ฝ่ายอักษะ" จะกล่าวถึงพันธมิตรระหว่างอิตาลีและเยอรมนีเป็นหลัก แม้ว่าภายนอกยุโรปจะเข้าใจโดยทั่วไปว่าได้รวมถึงญี่ปุ่นด้วย[8]

จุดกำเนิดและการสร้าง

[แก้]

คำว่า "อักษะ" ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและเยอรมนีโดยนายกรัฐมนตรีอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1923 เมื่อเขาได้เขียนบทนำของ Germania Repubblica ของ Roberto Suster ว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในขณะนี้ แกนกลาง(อักษะ)ของยุโรปกำลังเคลื่อนผ่านทางกรุงเบอร์ลิน" (อิตาลี: non v'ha dubbio che in questo momento l'asse della storia europea passa per Berlino)[9] ในช่วงเวลานั้น เขากำลังหาพันธมิตรกับสาธารณรัฐไวมาร์เพื่อต่อต้านยูโกสลาเวียและฝรั่งเศลในข้อพิพาทเรื่องรัฐอิสระฟียูเม[10]

คำนี้ถูกใช้โดยนายกรัฐมนตรีฮังการี กยูลา เกิมเบิส เมื่อให้การสนับสนุนในการเป็นพันธมิตรระหว่างฮังการีกับเยอรมนีและอิตาลีในช่วงต้น ค.ศ. 1930 ความพยายามของเกิมเบิสส่งผลทำให้เกิดพิธีตราสารโรมระหว่างอิตาลี-ฮังการี แต่เขากลับเสียชีวิตอย่างกระทันหันใน ค.ศ. 1936 ในขณะที่กำลังเจรจากับเยอรมนีในมิวนิค และการมาถึงของ Kálmán Darányi ผู้สืบทอดตำแน่งต่อจากเขา ได้ยุติการมีส่วนร่วมของฮังการีในการติดตามไตรภาคีฝ่ายอักษะ[11] การเจราจาที่ดูขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี กาลีซโซ ชิอาโน และเอกอัครราชทูตของเยอรมนี Ulrich von Hassell ส่งผลก่อให้เกิดพิธีตราสารสิบเก้าจุด(Nineteen-Point Protocol) ซึ่งถูกลงนามโดยชิอาโนและชาวเยอรมันผู้ที่มีความคล้ายกันกับเขา ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท ใน ค.ศ. 1936 เมื่อมุสโสลินีได้ประกาศเปิดเผยถึงการลงนามต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน เขาได้ประกาศก่อตั้งอักษะ โรม-เบอร์ลิน ขึ้นมา[10]

ข้อเสนอเบื้องต้นของพันธมิตรระหว่างเยอรมนี-อิตาลี

[แก้]

อิตาลีภายใต้ดูเช่ เบนิโต มุสโสลินีได้ติดตามพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของอิตาลีกับเยอรมนีต่อต้านฝรั่งเศสนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920[12] ก่อนที่จะกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลในอิตาลีในฐานะผู้นำขบวนการฟาสซิสต์อิตาลี มุสโสลินีเคยสนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีที่เป็นผู้แพ้สงคราม ภายหลังจากการประชุมสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1919–1920) จุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[12] เขาเชื่อว่าอิตาลีสามารถขยายอิทธิพลได้ในยุโรปโดยการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส[12] ในช่วงแรกของ ค.ศ. 1923 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงสันถวไมตรีที่ดีต่อเยอรมนี อิตาลีได้ส่งอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพบกเยอรมัน ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับการลดอาวุธครั้งใหญ่ภายใต้บทบัญญัติของสนธิสัญญาแวร์ซาย[12]

นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 อิตาลีได้ระบุว่า ใน ค.ศ. 1935 เป็นวันสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำสงครามฝรั่งเศส เนื่องจากปี ค.ศ. 1935 เป็นปีที่พันธกรณีของเยอรมนีภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายได้ถูกกำหนดให้สิ้นสุดลง[13] การประชุมเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1924 ระหว่างนายพล Luigi Capello และบุคคลสำคัญในกองทัพเยอรมัน เช่น von Seeckt และเอริช ลูเดินดอร์ฟ เกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารระหว่างเยอรมนีและอิตาลี บทสนทนาได้ข้อสรุปว่า เยอรมันยังคงต้องการทำสงครามล้างแค้นกับฝรั่งเศส แต่ยังขาดอาวุธและหวังว่าอิตาลีจะช่วยเหลือเยอรมนีได้[14]

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้เน้นย้ำเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งที่อิตาลีจะติดตามในการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี: อิตาลี "จะต้อง...ลากจูงพวกเขา ไม่ใช่ถูกพวกเขาลากจูง"[12] Dino Grandi รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลีในช่วงแรกปี ค.ศ. 1930 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ "น้ำหนักชี้ขาด" ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของอิตาลีระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งเขาได้รับรู้ว่าอิตาลียังไม่ได้เป็นมหาอำนาจ แต่รับรู้ว่าอิตาลีมีอิทธิพลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรปโดยวางน้ำหนักของการสนับสนุนไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามฝ่าย[15][16]

พันธมิตรแม่น้ำดานูบ ข้อพิพาทเหนือออสเตรีย

[แก้]
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์ของชาวเยอรมัน, ค.ศ. 1933–1945

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้สนับสนุนการเป็นพันธมิตรระหว่างเยอรมนีและอิตาลีนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920[17] ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ไม่นาน ฮิตเลอร์ได้ส่งข้อความส่วนตัวไปยังมุสโสลินี ประกาศถึง "ความชื่นชมยินดีและการแสดงความเคารพ" และประกาศความคาดหมายของเขาเกี่ยวกับโอกาสของมิตรภาพระหว่างเยอรมันและอิตาลีและแม้แต่กระทั่งเป็นพันธมิตร[18] ฮิตเลอร์ทราบดีว่าอิตาลีมีความกังวลเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในที่ดินของเยอรมนีที่อาจจะเกิดขึ้นในทีโรลทางตอนใต้ และให้การรับรองกับมุสโสลินีว่า เยอรมนีไม่สนใจเมืองทีโรลทางตอนใต้ ฮิตเลอร์ในหนังสือไมน์คัมพฟ์ได้ประกาศว่า ทีโรลทางตอนใต้ไม่ใช่ประเด็นเมื่อพิจารณาถึงข้อได้เปรียบที่จะได้รับจากพันธมิตรระหว่างเยอรมนี-อิตาลี ภายหลังจากการก้าวขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ข้อเสนอของคณะกรรมการมหาอำนาจทั้งสี่ที่ถูกเสนอโดยอิตาลีได้รับการพิจารณาด้วยความสนใจจากบริติช แต่ฮิตเลอร์ไม่ได้ให้คำมั่นในข้อเสนอนี้ ส่งผลทำให้มุสโสลินีกระตุ้นเร่งเร้าให้ฮิตเลอร์พิจารณาถึงข้อได้เปรียบทางการทูตที่เยอรมนีจะได้รับโดยการแยกตัวออกจากความโดดเดี่ยวโดยการเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางอาวุธทันที[19] ข้อเสนอของคณะกรรมการมหาอำนาจทั้งสี่ได้ระบุว่าเยอรมนีไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอาวุธอีกต่อไป และจะได้รับสิทธิ์ในการฟื้นฟูแสนยานุภาพภายใต้การควบคุมดูแลของต่างชาติเป็นระยะ ๆ[20] ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธแนวคิดของการควบคุมแสนยานุภาพภายใต้การควบคุมดูแลของต่างชาติอย่างสิ้นเชิง[20]

มุสโสลินีไม่ไว้วางใจต่อเจตจำนงของฮิตเลอร์เกี่ยวกับอันชลุส หรือไม่ก็คำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ที่จะไม่อ้างสิทธิ์ในดินแดนทีโรลทางตอนใต้[21] มุสโสลินีได้แจ้งแก่ฮิตเลอร์ว่าเขาพึงพอใจต่อการมีอยู่ของรัฐบาลต่อต้านมาร์กซิสต์ของด็อลฟูสในออสเตรีย และเตือนฮิตเลอร์ว่า เขายืนกรานที่จะต่อต้านอันชลุส[21] ฮิตเลอร์ได้ตอบโต้ด้วยการดูถูกมุสโสลินีว่า เขามีความตั้งใจ"ที่จะโยนด็อลฟูสลงไปในทะเล"[21] ด้วยความไม่เห็นด้วยในเรื่องเกี่ยวกับออสเตรียนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างฮิตเลอร์และมุสโสลินีจึงห่างไกลออกไปมากขึ้น[21]

ฮิตเลอร์ได้พยายามที่จะทำลายหนทางตันกับอิตาลีเหนือออสเตรียโดยส่งแฮร์มัน เกอริงไปเจรจากับมุสโสลินีใน ค.ศ. 1933 เพื่อเกลี้ยกล่อมมุสโสลินีให้ทำการกดดันรัฐบาลออสเตรียให้แต่งตั้งสมาชิกพรรคนาซีในออสเตรียเข้าสู่รัฐบาล[22] เกอริงอ้างว่าการครอบงำออสเตรียของนาซีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอิตาลีควรที่จะยอมรับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับการทบทวนมุสโสลินีต่อคำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ว่า "จะพิจารณาปัญหาเรื่องชายแดนทีโรลทางตอนใต้ที่จะถูกยุติลงในที่สุดโดยสนธิสัญญาสันติภาพ"[22] ในการตอบสนองต่อการเข้าพบของเกอริ่งกับมุสโสลินี ด็อลฟูสจึงเดินทางไปยังอิตาลีโดยทันทีเพื่อตอบโต้ความคืบหน้าแต่อย่างใดจากทางการทูตของเยอรมนี[22] ด็อลฟูสได้กล่าวอ้างว่ารัฐบาลของเขากำลังถูกมาร์กซิสต์ท้าทายในออสเตรีย และอ้างว่าเมื่อมาร์กซิสต์ได้รับชัยชนะในออสเตรีย การสนับสนุนออสเตรียของนาซีจะอ่อนกำลังลง[22]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์และมุสโสลินีได้พบกันครั้งแรกที่เวนิส การประชุมไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้มุสโสลินีทำการประนีประนอมกับออสเตรียโดยทำการกดดันด็อลฟูสแต่งตั้งให้สมาชิกพรรคนาซีในออสเตรียเข้าไปในคณะรัฐมนตรีของเขา ซึ่งมุสโสลินีได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องอย่างตรงไปตรงมา ในการตอบโต้ ฮิตเลอร์ได้ให้สัญญาว่าเขาจะยอมรับเอกราชของออสเตรียในขณะนี้ โดยกล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดภายในเยอรมนี (ซึ่งหมายถึงหน่วยเอ็สอาของนาซีที่ฮิตเลอร์จะทำการสังหารในไม่ช้าในคืนมีดยาว) ที่เยอรมนีไม่อาจที่จะทำการยั่วยุอิตาลีได้[23] กาลีซโซ ชิอาโนได้บอกกับสื่อมวลชนว่า ผู้นำทั้งสองได้ทำ"ข้อตกลงสุภาพบุรุษ"เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงในออสเตรีย[24]

เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส นายกรัฐมนตรีออสเตรีย, ค.ศ. 1932–1934

หลายสัปดาห์ต่อมาภายหลังการประชุมที่เวนิส เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 นาซีชาวออสเตรียได้ทำการลอบสังหารด็อลฟูส[23] มุสโสลินีรู้สึกโกรธเคือง ในขณะที่เขาถือว่า ฮิตเลอร์มีส่วนต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการลอบสังหารที่ได้ละเมิดคำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ที่ถูกทำขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนเพื่อเคารพความเป็นเอกราชของออสเตรีย[25][24] มุสโสลินีได้ส่งกองพลกองทัพบกหลายกองพลและฝูงบินไปยังช่องเขาเบรนเนอร์ และเตือนว่าการที่เยอรมนีโจมตีออสเตรียจะส่งผลทำให้เกิดสงครามระหว่างเยอรมนีและอิตาลี[26] ฮิตเลอร์ได้ตอบโต้ด้วยการปฏิเสธความรับผิดชอบของนาซีในการลอบสังหารและออกคำสั่งให้ยุบความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างพรรคนาซีเยอรมันและพรรคนาซีสาขาออสเตรีย ซึ่งเยอรมนีได้กล่าวอ้างว่าเป็นความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเมือง[27]

อิตาลีได้ละทิ้งความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ได้หันเข้าหาฝรั่งเศสเพื่อเป็นการท้าทายต่อการดื้อแพ่งของเยอรมนีด้วยการลงนามในข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-อิตาลีเพื่อปกป้องเอกราชของออสเตรีย[28] เสนาธิการทหารจากกองทัพฝรั่งเศสและอิตาลีได้หารือถึงความร่วมมือทางทหารที่เป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามกับเยอรมนี หากฮิตเลอร์กล้าที่จะโจมตีออสเตรีย

ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและอิตาลีได้รับการฟื้นฟู เนื่องจากการสนับสนุนของฮิตเลอร์ในการรุกรานเอธิโอเปียของอิตาลีใน ค.ศ. 1935 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้ประณามการรุกรานและให้การสนับสนุนการคว่ำบาตรต่ออิตาลี

การพัฒนาของพันธมิตรระหว่างเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

[แก้]
ฮิเดโอะ โคดามะ รัฐมนตรีจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงคราม

ความสนใจในเยอรมนีและญี่ปุ่นในการจัดตั้งพันธมิตรได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อนักการทูตชาวญี่ปุ่นนามว่า ฮิโรชิ โอชิมะ ได้เข้าพบกับโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพในเบอร์ลินใน ค.ศ. 1935[29] โอชิมะได้แจ้งแก่ฟ็อน ริบเบินทร็อพเกี่ยวกับความสนใจของญี่ปุ่นในการจัดตั้งพันธมิตรระหว่างเยอรมัน-ญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต[29] ฟ็อน ริบเบินทร็อพได้ขยายข้อเสนอของโอชิมะโดยสนับสนุนให้พันธมิตรอยู่ในบริบททางการเมืองของกติกาสัญญาเพื่อต่อต้านโคมินเทิร์น[29] ข้อเสนอในกติกาสัญญาได้พบกับความคิดเห็นที่หลากหลายในญี่ปุ่น โดยมีกลุ่มผู้คลั่งชาติภายในรัฐบาลที่สนับสนุนกติกาสัญญาฉบับนี้ ในขณะที่กองทัพเรือญี่ปุ่นและกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นต่างไม่เห็นด้วยกับกติกาสัญญาฉบับนี้อย่างแข็งขัน[30] มีความกังวลอย่างมากในรัฐบาลญี่ปุ่นว่ากติกาสัญญาฉบับนี้กับเยอรมนีอาจจะทำลายความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับบริติช ซึ่งเป็นปีที่อันตรายของข้อตกลงระหว่างบริติช-ญี่ปุ่นเป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวขึ้นสู่ประชาคมระหว่างประเทศได้ช่วงแรก[31] การตอบสนองต่อกติกาสัญญาได้พบกับหมวดที่คล้ายกันในเยอรมนี ในขณะที่ข้อเสนอในกติกาสัญญาได้รับความนิยมในท่ามกลางผู้นำระดับสูงของพรรคนาซี ถูกต่อต้านโดยคนจำนวนมากในกระทรวงต่างประเทศ กองทัพบก และชุมชนธุรกิจที่มีผลประโยชน์ทางการเงินในจีนซึ่งญี่ปุ่นเป็นศัตรู

นักเขียนชาวญี่ปุ่นนามว่า ชูเม โอกะวะ ตัวแทนหลักของลัทธิชาตินิยมของญี่ปุ่น

ในการเรียนรู้ชองการเจรจาระหว่างเยอรมัน-ญี่ปุ่น อิตาลีก็เริ่มที่จะสนใจที่จะก่อตั้งพันธมิตรกับญี่ปุ่น อิตาลีคาดหวังว่า เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในระยะยาวของญี่ปุ่นกับบริติช พันธมิตรระหว่างอิตาลีและญี่ปุ่นสามารถกดดันให้บริติชยอมรับท่าทีที่เอื้ออำนวยต่ออิตาลีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มากขึ้น[29] ในฤดูร้อน ค.ศ. 1936 รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี ชิอาโนได้แจ้งแก่ซูกิมูระ โยตาโระ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำอิตาลี "ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าข้อตกลงญี่ปุ่น-เยอรมันเกี่ยวกับสหภาพโซเวียตได้บรรลุผลแล้ว และข้าพเจ้าคิดว่าคงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันระหว่างอิตาลีและญี่ปุ่น"[29] ทัศนคติของญี่ปุ่นในช่วงแรกต่อข้อเสนอของอิตาลีนั้นมักจะมองข้าม โดยมองว่าพันธมิตรระหว่างเยอรมันและญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่พันธมิตรระหว่างอิตาลี-ญี่ปุ่นเป็นเรืองรอง เนื่องจากญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าพันธมิตรระหว่างอิตาลี-ญี่ปุ่นจะทำให้เป็นปรปักษ์กับบริติชที่ประณามการรุกรานเอธิโอเปียของอิตาลี[29] ทัศนคตินี้ของญี่ปุ่นที่มีต่ออิตาลีได้เปลี่ยนแปลงไปใน ค.ศ. 1937 ภายหลังสันนิบาตชาติได้กล่าวประณามญี่ปุ่น เนื่องจากได้ทำการรุกรานในจีนและเผชิญกับการแยกตัวออกจากนานาชาติ ในขณะที่อิตาลียังคงชื่นขมต่อญี่ปุ่นอยู่[29] อันเป็นผลทำให้การสนับสนุนของอิตาลีสำหรับญี่ปุ่นในการต้านทานการประณามจากนานาชาติ ญี่ปุ่นจึงทัศนคติเชิงบวกต่ออิตาลีมากขึ้นและได้ให้ข้อเสนอในการทำข้อตกลงไม่รุกรานระหว่างกันหรือกติกาสัญญาวางตัวเป็นกลางกับอิตาลี[32]

พลโท ฮิโรชิ โอชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำเยอรมนีในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

กติกาสัญญาไตรภาคีได้ถูกลงนามโดยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1940 ในกรุงเบอร์ลิน โดยฮังการี (20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) โรมาเนีย (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) สโลวาเกีย (24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) และบัลแกเรีย (1 มีนาคม ค.ศ. 1941) ได้เข้าร่วมกติกาสัญญาดังกล่าวในภายหลัง[33]

อุดมการณ์

[แก้]

เป้าหมายหลักของฝ่ายอักษะคือการขยายอาณาเขตของตนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง[34] ในแง่ของอุดมการณ์ ฝ่ายอักษะได้บรรยายถึงเป้าหมายของพวกเขาว่าเป็นการทำลายอำนาจครอบงำของมหาอำนาจตะวันตกที่ยึดถืออุดมการณ์ระบอบเศรษฐยาธิปไตย และปกป้องอารยธรรมจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ฝ่ายอักษะให้การสนับสนุนรูปแบบต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิทหาร และการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ[35] การสร้างจักรวรรดิลัทธิการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจที่อยู่ติดกันในอาณาเขตเป็นเป้าหมายร่วมกันของทั้งสามประเทศของฝ่ายอักษะ[8]

ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ

[แก้]

ประชากรฝ่ายอักษะใน ค.ศ. 1938 มีจำนวน 258.9 ล้านคน ในขณะที่ประชากรฝ่ายสัมพันธมิตร (ยกเว้นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร) มีจำนวน 689.7 ล้านคน[36] ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนมากกว่าฝ่ายอักษะ 2.7 ต่อ 1[37] รัฐฝ่ายอักษะที่เป็นผู้นำมีจำนวนประชากรในประเทศดังต่อไปนี้: เยอรมนี 75.5 ล้านคน (รวมทั้งจำนวน 6.8 ล้านคนจากการผนวกรวมออสเตรียเข้าด้วยกันได้ไม่นานมานี้) ญี่ปุ่น 71.9 ล้านคน (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) และอิตาลี 43.4 ล้านคน (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) สหราชอาณาจักร(ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) มีจำนวนประชากร 47.5 ล้านคน และฝรั่งเศส (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) มีจำนวน 42 ล้านคน[36]

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในช่วงสงครามของฝ่ายอักษะ ราคาอยู่ที่ 911 พันล้านดอลลาร์ ณ จุดสูงสุดใน ค.ศ. 1941 ในราคาสกุลเงินดอลลาร์ระดับสากลใน ค.ศ. 1990[38] จีดีพีของฝ่ายสัมพันธมิตร ราคาอยู่ที่ 1,798 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริการาคาตั้งอยู่ที่ 1,094 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าฝ่ายอักษะโดยรวม[39]

ภาระของการทำสงครามกับประเทศที่เข้าร่วมวัดจากเปอร์เซ็นของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ที่อุทิศให้กับการใช้จ่ายทางทหาร[40] เกือบหนึ่งในสี่ของ GNP ของเยอรมนีได้ถูกนำไปใช้ในการทำสงครามใน ค.ศ. 1939 และเพิ่มขึ้นเป็นสามในสี่ของ GNP ใน ค.ศ. 1944 ก่อนช่วงการล่มสลายทางเศรษฐกิจ[40] ใน ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นได้ใช้ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของ GNP ในการทำสงครามในจีน ได้เพิ่มขึ้นเป็นสามในสี่ของ GNP ใน ค.ศ. 1944[40] อิตาลีไม่ได้ระดมกำลังทางเศรษฐกิจ GNP ที่ถูกนำไปใช้ในการทำสงครามยังคงอยู่ที่ระดับช่วงก่อนสงคราม[40]

อิตาลีและญี่ปุ่นขาดความสามารุถทางอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของพวกเขามีขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศ แหล่งเชื้อเพลิงจากภายนอก และทรัพยากรอุตสาหกรรมอื่น ๆ[40] เป็นผลทำให้การระดมพลกำลังของอิตาลีและญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะอยู่ใน ค.ศ. 1943 ก็ตาม[40]

ท่ามกลางสามประเทศหลักของฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นมีรายได้ต่อหัวที่ต่ำที่สุด ในขณะที่เยอรมนีและอิตาลีมีรายได้ระดับที่เทียบเท่ากับสหราชอาณาจักร[41]

ประเทศสมาชิกหลัก

[แก้]

นาซีเยอรมนี เยอรมนี

[แก้]
ฟือเรอร์แห่งเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ยืนเคียงคู่กับนายพล วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์, ในช่วงการเดินสวนสนามประกาศชัยชนะในกรุงวอร์ซอภายหลังจากโปแลนด์พ่ายแพ้, เดือนตุลาคม ค.ศ. 1939
เครื่องบินทิ้งระเบิดไฮง์เคิล เฮ 111 ของเยอรมันในช่วงยุทธเวหาที่บริเตน
ขบวนยานพาหนะของเยอรมันกำลังเข้ารุกในช่วงยุทธการที่อัลอะละมัยน์ครั้งที่สองในการทัพแอฟริกาเหนือ
ทหารเยอรมันในช่วงยุทธการที่สตาลินกราดในการทัพแนวรบด้านตะวันออก
เรือดำน้ำเยอรมัน อู-118 ซึ่งถูกโจมตีทางอากาศในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1943
เหตุผลในการทำสงคราม
[แก้]

ในปี ค.ศ. 1941 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้บรรยายถึงการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็นข้อผิดพลาดของการแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกต่อเยอรมนีในช่วงที่ได้ทำสงครามกับโปแลนด์ โดยอธิบายว่าเป็นผลของ"ชาวยุโรปและอเมริกันผู้กระหายสงคราม"[42] ฮิตเลอร์ได้ออกแบบให้เยอรมนีกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจครอบงำและมีความสำคัญของโลก เช่น เจตจำนงของเขาที่จะทำให้กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีกลายเป็น Welthauptstadt (เมืองหลวงโลก) เปลี่ยนชื่อเป็นเจอร์มาเนีย[43] รัฐบาลเยอรมันยังได้แสดงเหตุผลในการกระทำของตนโดยอ้างว่า เยอรมนีจำเป็นต้องขยายอาณาเขตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกำลังเผชิญกับวิกฤตประชากรล้นเกินที่ฮิตเลอร์ได้อธิบายว่า "เรามีประชากรมากเกินไปและไม่สามารถเลี้ยงตนเองจากทรัพยากรของเราเองได้"[44] ดังนั้นการขยายตัวจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการจัดหาเลเบินส์เราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") สำหรับประเทศชาติเยอรมันและยุติการมีประชากรมากเกินไปของประเทศภายในอาณาเขตจำกัดที่มีอยู่[44] และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 พรรคนาซีได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนในการขยายเยอรมนีไปสู่ดินแดนที่สหภาพโซเวียตถือครอง[45]

เยอรมนีได้ให้เหตุผลในการทำสงครามกับโปแลนด์ในประเด็นเรื่องของชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันภายในโปแลนด์ และโปแลนด์คัดค้านในการผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิชที่มีชนกลุ่มใหญ่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่เข้ากับเยอรมนี ในขณะที่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจได้พูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการทำลายโปแลนด์และเป็นศัตรูกับโปแลนด์ ภายหลังจากได้ขึ้นสู่อำนาจจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้พยายามปกปิดเจตนาที่แท้จริงของเขาที่มีต่อโปแลนด์ และลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันเป็นเวลา 10 ปีใน ค.ศ. 1934 ได้เปิดเผยแผนการของเขาให้เห็นได้แค่เฉพาะเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดที่สุดเท่านั้น[46] ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ได้เปลี่ยนไปตั้งแต่ต้นถึงปลาย ค.ศ. 1930 ในขณะที่เยอรมนีพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์กับโปแลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่โปแลนด์จะเข้าสู่เขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และเรียกร้องความรู้สึกต่อต้านโซเวียตในโปแลนด์[47] ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียตกำลังแข่งขันกับเยอรมนีเพื่อแย่งชิงอำนาจอิทธิพลในโปแลนด์[47] ในเวลาเดียวกัน เยอรมนีกำลังเตรียมทำสงครามกับโปแลนด์ และกำลังเตรียมชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันในโปแลนด์อย่างลับ ๆ เพื่อทำสงคราม[48]

วิกฤตทางการทูตได้ปะทุขึ้นภายหลังจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้ผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิชเข้ากับเยอรมนี ซึ่งนำโดยรัฐบาลนาซีต้องการที่จะผนวกเข้ากับเยอรมนี เยอรมนีได้ใช้แบบอย่างทางกฎหมายเพื่อแสดงเหตุผลในการแทรกแซงโปแลนด์และการผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิช (นำโดยรัฐบาลนาซีท้องถิ่นที่พยายามรวมตัวเข้ากับเยอรมนี) ใน ค.ศ. 1939[49] โปแลนด์ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของเยอรมนี และเยอรมนีได้เตรียมระดมพลในเช้าวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940[50]

เยอรมนีได้ให้เหตุผลในการบุกครองกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 โดยกล่าวอ้างว่าตนเองกำลังสงสัยที่บริติชและฝรั่งเศสกำลังเตรียมที่จะใช้กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเพื่อที่จะบุกรุกภูมิภาครัวร์ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมของเยอรมนี[51] เมื่อเกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับบริติชและฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ประกาศว่าเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมจะต้องถูกยึดครอง โดยกล่าวว่า "ฐานทัพอากาศยานของดัตซ์และเบลเยียมจะต้องถูกยึด....คำประกาศวางตัวเป็นกลางจะต้องถูกละเลย"[51] ในการประชุมร่วมกับผู้นำทางทหารของเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้ประกาศกับผู้นำทหารว่า "เรามีจุดอ่อนที่รัวร์" และกล่าวว่า "หากอังกฤษและฝรั่งเศสผลักดันผ่านทางเบลเยียมและฮอลแลนด์เข้าสู่รัวร์ เราจะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง" จึงกล่าวอ้างว่า เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ต้องถูกเยอรมนียึดครอง เพื่อปกป้องเยอรมนีจากการรุกรานของบริติชและฝรั่งเศสต่อรัวร์ โดยไม่คำนึงถึงคำกล่าวอ้างของพวกเขาว่าได้วางตัวเป็นกลาง[51]

การรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมนีใน ค.ศ. 1941 เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเลเบินส์เราม์ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต ภายหลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 ท่าทีของระบอบนาซีที่มีต่อรัสเซียที่ดินแดนกำลังลดน้อยลงและเป็นอิสระได้รับผลกระทบจากแรงกดดันที่เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1942 จากกองทัพเยอรมันต่อฮิตเลอร์เพื่อรับรองกองทัพรัสเซียภายใต้การนำโดยอันเดรย์ วลาซอฟ[52] ในช่วงแรก ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกองทัพรัสเซียที่ต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ได้ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงโดยฮิตเลอร์ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1944 เมื่อเยอรมนีได้ประสบความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นในแนวรบด้านตะวันออก กองกำลังของวลาซอฟได้รับการยอมรับจากเยอรมนีในฐานะพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์[53]

ภายหลังญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และการปะทุของสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐ เยอรมนีได้สนับสนุนแก่ญี่ปุ่นโดยการประกาศสงครามกับสหรัฐในช่วงสงคราม เยอรมนีได้ประณามกฎบัตรแอตแลนติกและรัฐบัญญัติการให้ยืม-เช่าที่สหรัฐประกาศใช้เพื่อสนับสนุนมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมมุ่งเป้าไปที่การครอบงำและแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศภายนอกทวีปอเมริกา[54] ฮิตเลอร์ประณามต่อประธานาธิบดีอเมริกา รูสเวสต์ ที่ใช้คำว่า "เสรีภาพ" เพื่ออธิบายถึงการกระทำของสหรัฐในสงคราม และกล่าวหาชาวอเมริกันว่า "เสรีภาพ" คือ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยในการแสวงหาผลประชน์จากโลก และเสรีภาพสำหรับผู้มั่งคั่งในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวเพื่อเอารัดเอาเปรียบมวลชน[54]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ประชาชนชาวเยอรมันรู้สึกว่าประเทศของตนได้รับความอัปยศอดสอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาแวร์ซาย รวมทั้งถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้ก่อสงครามขึ้นมาและบังคับให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอันมหาศาลและทำการริบดินแดนที่เคยถูกควบคุมโดยจักรวรรดิเยอรมันและดินแดนอาณานิคมทั้งหมด แรงกดดันของค่าปฏิกรรมต่อเศรษฐกิจของเยอรมนีทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออันรุนแรงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 ใน ค.ศ. 1923 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองภูมิภาครูร์ เมื่อเยอรมนีได้ผิดนัดชำระจ่ายค่าปฏิกรรม แม้ว่าเยอรมนีจะเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงกลางปี ค.ศ. 1920 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้สร้างความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากขึ้นและการลุกฮือในกองกำลังทางการเมืองที่สนับสนุนการแก้ปัญหาที่รุนแรงต่อความทุกข์ยากของเยอรมนี นาซีภายใต้ฮิตเลอร์ได้ส่งเสริมเรื่องตำนานนักชาตินิยมถูกแทงข้างหลังโดยระบุว่าเยอรมนีถูกชาวยิวและคอมมิวนิสต์หักหลัง พรรคได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างเยอรมนีขึ้นมาใหม่กลายเป็นมหาอำนาจที่สำคัญและสร้างมหาประเทศเยอรมนี ซึ่งจะรวมทั้งอาลซัส-ลอแรน ออสเตรีย ซูเดเทินลันท์ และดินแดนอื่น ๆ ซึ่งมีชาวเยอรมันอาศัยอยู่ในทวีปยุโรป นาซียังได้ตั้งเป้าหมายที่จะครอบครองและก่อตั้งดินแดนอาณานิคมที่ไม่ใช่ของเยอรมันในโปแลนด์ รัฐบอลติก และสหภาพโซเวียต โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของนาซีในการแสวงหาเลเบินส์เราม์("พื้นที่อยู่อาศัย") ในยุโรปตะวันออก

เยอรมนีได้ละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายและส่งทหารกลับเข้าสู่ไรน์ลันท์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 เยอรมนีได้กลับมาเกณฑ์ทหารอีกครั้งและประกาศถึงการมีอยู่ของกองทัพอากาศเยอรมันอย่างลุฟท์วัฟเฟอ และกองทัพเรือเยอรมันอย่างครีคส์มารีเนอ ใน ค.ศ. 1935 เยอรมนีได้ทำการผนวกรวมออสเตรียใน ค.ศ. 1938 ซูเดเทินลันท์จากเชโกสโลวาเกีย และดินแดนเมเมลจากลิทัวเนียใน ค.ศ. 1939 เยอรมนีได้บุกครองส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1939 ก่อตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียและประเทศสโลวาเกียขึ้นมา

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ซึ่งมาพร้อมด้วยตราสารลับที่จะทำการแบ่งยุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพล[55] เยอรมันได้เข้ารุกรานส่วนหนึ่งของโปแลนด์ภายใต้กติกาสัญญาแปดวันต่อมา[56] ได้จุดชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1941 เยอรมนีได้ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป และกองกำลังทหารของเยอรมนีกำลังสู้รบกับสหภาพโซเวียต เกือบจะยึดครองกรุงมอสโกได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่สตาลินกราดและยุทธการที่คูสค์ได้ทำลายล้างกองทัพเยอรมัน เมื่อรวมกับการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในฝรั่งเศสและอิตาลี นำไปสู่สงครามทั้งสามแนวรบที่ทำให้กองทัพเยอรมันละลายหายหมดสิ้น และส่งผลทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945

ดินแดนยึดครอง

[แก้]

รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียถูกสร้างขึ้นมาจากการแบ่งแยกเชโกสโลวาเกีย ไม่นานหลังจากที่เยอรมนีได้ผนวกภูมิภาคซูเดเทินลันท์ของเชโกสโลวาเกีย สโลวาเกียได้ประกาศอิสรภาพ รัฐสโลวีกใหม่เป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ส่วนที่เหลือของประเทศถูกกองทัพเยอรมันเข้ายึดครองและก่อตั้งรัฐในอารักขา สถาบันพลเมืองชาวเช็กได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ แต่รัฐในอารักขาได้ถูกพิจารณาภายในอาณาเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนี

เขตปกครองสามัญ เป็นชื่อที่ถูกตั้งไว้แก่ดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกยึดครองซึ่งไม่ได้ถูกผนวกรวมโดยตรงกับจังหวัดต่าง ๆ ของเยอรมนี แต่เป็นเช่นเดียวกับโบฮีเมียและมอเรเวียที่ได้ถูกพิจารณาให้อยู่ภายในอาณาเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีโดยทางการนาซี

ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท ได้ก่อตั้งขึ้นในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และนอร์เวย์ โดยกำหนดให้เป็นสถานที่ที่ประชากร"ชาวเจอร์มานิก" ซึ่งจะถูกรวมเข้าไปอยู่ในแผนการมหาประเทศเจอร์มานิกไรช์ ในทางตรงกันข้าม ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทที่ก่อตั้งขึ้นในตะวันออก(ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทอ็อสท์ลันท์ในทะเลบอลติก ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทยูเครนในยูเครน) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอาณานิคมเพื่อการตั้งถิ่นฐานโดยชาวเยอรมัน

ในนอร์เวย์ ภายใต้ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในนอร์เวเกน ระบอบควิสลิงภายใต้การนำโดยวิดกึน ควิสลิง ได้รับการแต่งตั้งโดยเยอรมันในฐานะระบอบรัฐบริวารในช่วงการยึกครอง ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 และรัฐบาลโดยชอบธรรมทางกฎหมายได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ควิสลิงได้สนับสนุนให้ชาวนอร์เวย์เข้าไปเป็นทหารอาสาสมัครในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ให้ความร่วมมือในการขับไล่เนรเทศชาวยิวและมีส่วนรับผิดชอบในการประหารชีวิตสมาชิกของขบวนการต่อต้านชาวนอร์เวย์ ชาวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 45,000 คนที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือได้เข้าร่วมกับ Nasjonal Samling(สหภาพชาติ) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นิยมนาซี และกรมตำรวจบางหน่วยได้ช่วยเหลือในการจับกุมชาวยิวจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศแรกที่ทำการต่อต้านในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างแพร่หลายก่อนถึงช่วงจุดเปลี่ยนสงครามใน ค.ศ. 1943 ภายหลังสงคราม ควิสลิงและผู้ให้ความร่วมมือคนอื่น ๆ ล้วนถูกประหารชีวิต ชื่อของควิสลิงกลายเป็นภาษิตสำหรับ "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "คนทรยศ"

ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี

[แก้]
ดูเช เบนิโต มุสโสลินี ในภาพถ่ายทางการ

เหตุผลในการทำสงคราม

[แก้]

ดูเช่ เบนิโต มุสโสลินีได้บรรยายถึงการประกาศสงครามของอิตาลีกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกของบริติชและฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ดังต่อไปนี้ว่า: "พวกเรากำลังจะทำสงครามกับระบอบประชาธิปไตยของเหล่าผู้มั่งคั่งและพวกปฏิกิริยาของพวกตะวันตกที่ขัดขวางความก้าวหน้าอย่างถาวรและมักคุกคามการดำรงอยู่ของประชาชนชาวอิตาลี"[57] อิตาลีประณามมหาอำนาจตะวันตกในการออกมาตราการคว่ำบาตรอิตาลีใน ค.ศ. 1935 สำหรับการกระทำของตนในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง เมื่ออิตาลีได้กล่าวอ้างว่าเป็นการตอบโต้ต่อการกระทำอันก้าวร้าวของชาวเอธิโอเปียต่อชนเผ่าในอิตาเลียนเอริเทีย ในเหตุการณ์วาลวาลใน ค.ศ. 1934[58] อิตาลีได้เหตุผลเดียวกันกับการกระทำของตนเหมือนกับเยอรมนี โดยอ้างว่า อิตาลีจำเป็นต้องขยายอาณาเขตเพื่อจัดหาสปาซิโอ วิตาเล ("พื้นที่อยู่อาศัย") ให้แก่ประเทศอิตาลี[59]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ภายหลังข้อตกลงมิวนิก อิตาลีได้เรียกร้องการสัมปทานจากฝรั่งเศสเพื่อยินยอมยกให้แก่อิตาลีในแอฟริกา[60] ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสกลับแย่ลง เมื่อฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเรียกร้องของอิตาลี[60] ฝรั่งเศสได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของอิตาลีด้วยการข่มขู่ว่าจะซ้อมการรบทางทะเลเพื่อเป็นการตักเตือนต่ออิตาลี[60] เมื่อความตึงเครียดระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสเพิ่มมากขึ้น ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1939 โดยเขาให้คำมั่นสัญญาว่าการสนับสนุนทางทหารของเยอรมนีในกรณีการทำสงครามกับอิตาลีโดยปราศจากการยั่วยุ[61]

อิตาลีได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อิตาลีได้ให้เหตุผลในการแทรกแซงกรีซในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 โดยการกล่าวหาว่าบริติชกำลังใช้กรีซต่อกรกับอิตาลี มุสโสลินีได้แจ้งเรื่องนี้แก่ฮิตเลอร์ว่า "กรีซเป็นส่วนหนึ่งในประเด็นหลักของบริติช ยุทธศาสตร์ทางทะเลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน"[62]

ทหารอิตาลีในการทัพแอฟริกาเหนือเมื่อ ค.ศ. 1941

อิตาลีได้ให้เหตุผลในการแทรกแซงยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 โดยเรียกร้องให้ทั้งชาวอิตาลีทำการกล่าวอ้างสิทธิ์ในการเรียกร้องดินแดนกลับคืนและข้อเท็จจริงของพวกแบ่งแยกดินแดนของชาวแอลเบเนีย โครเอเชีย และมาซิโดเนียที่ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย[63] การแบ่งแยกดินแดนในโครเอเชียเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองของโครเอเชียในรัฐสภายูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1928 รวมทั้งการเสียชีวิตของ Stjepan Radić อิตาลีได้ให้การรับรองแก่ อานเต ปาเวลิช ผู้แบ่งแยกชาวโครเอเชียและขบวนการอูสตาเชที่ยึดถืออุดมการณ์ฟาสซิสต์ของเขาซึ่งมีพื้นฐานและการฝึกฝนในอิตาลีโดยได้รับการสนับสนุนจากระบอบฟาสซิสต์ก่อนที่จะมีการแทรกแซงต่อยูโกสลาเวีย[63]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ความตั้งใจของระบอบฟาสซิสต์คือการสร้าง"จักรวรรดิโรมันใหม่" ซึ่งอิตาลีจะครอบครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใน ค.ศ. 1935 - 1936 อิตาลีได้เข้ารุกรานและผนวกเอธิโอเปียและรัฐบาลฟาสซิสต์ได้ประกาศก่อตั้ง "จักรวรรดิอิตาลี"[64] คำประท้วงโดยสันนิบาตชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ บริติช ซึ่งมีผลประโยชน์ในพื้นที่นั้น ทำให้ไม่มีการดำเนินจัดการอย่างจริงจัง แม้ว่าสันนิบาตชาติจะพยายามบังคับใช้มาตราการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิตาลี แต่กลับไร้ผล เหตุการณ์ดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความอ่อนแอของฝรั่งเศสและบริติช โดยแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างจากความไม่เต็มใจของพวกเขาที่จะบาดหมางอิตาลีและสูญเสียไปในฐานะพันธมิตรของพวกเขา การกระทำที่จำกัดโดยมหาอำนาจตะวันตกได้ผลักดันอิตาลีของมุสโสลินีหันไปเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีของฮิตเลอร์อยู่ดี ใน ค.ศ. 1937 อิตาลีได้ออกจากสันนิบาตชาติและเข้าร่วมกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งถูกลงนามโดยเยอรมนีและญี่ปุ่นในปีที่แล้ว ในเดือนมีนาคม/เมษายน ค.ศ. 1939 กองกำลังทหารอิตาลีได้รุกรานและยึดครองแอลเบเนีย เยอรมนีและอิตาลีได้ลงนามในกติกาสัญญาเหล็ก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม

รถถัง Fiat M13/40 ของอิตาลีในการทัพแอฟริกาเหนือเมื่อ ค.ศ. 1941

อิตาลีไม่พร้อมที่จะทำสงคราม แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ครั้งแรกกับเอธิโอเปียในปี ค.ศ. 1935-1936 และต่อมาในสงครามกลางเมืองสเปนในฝ่ายชาตินิยมของฟรันซิสโก ฟรังโก[65] มุสโสลินีปฏิเสธที่จะฟังคำเตือนจาก Felice Guarneri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการแลกเปลี่ยนและเงินตรา ผู้ซึ่งกล่าวว่าการกระทำของอิตาลีในเอธิโอเปียและเสปนซึ่งหมายความอิตาลีใกล้ที่จะล้มละลายแล้ว[66] ในปี ค.ศ. 1939 ค่าใช้จ่ายทางทหารของบริติชและฝรั่งเศลพุ่งสูงขึ้นเกินกว่าที่อิตาลีพอจะจ่ายได้ อันเป็นผลมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจกิจของอิตาลี ทหารอิตาลีได้รับค่าจ้างต่ำ มักจะขาดแคลนยุทโธปกรณ์และซัพพลายที่แย่ และความเกลี่ยดชังที่เกิดขึ้นระหว่างทหารและเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสูง สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ขวัญกำลังใจตกต่ำลงในท่ามกลางหมู่ทหารอิตาลี[67]

เรือรบวิตตอริโอ เวเนโตและเรือรบลิตโตรีโอของอิตาลีในช่วงสงคราม
เครื่องบินขับไล่ Macchi C.200 ของอิตาลีในช่วงสงคราม

ในช่วงต้น ค.ศ. 1940 อิตาลียังคงไม่ใช่คู่ต่อสู้รบ และมุสโสลินีได้แจ้งกับฮิตเลอร์ว่าอิตาลีไม่พร้อมที่จะเข้าไปแทรกแซงในไม่ช้า ภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ตัดสินใจว่าอิตาลีจะทำการเข้าแทรกแซงแล้ว แต่วันที่ยังไม่ได้เลือก ผู้นำทางทหารระดับอาวุโสได้มีมติคัดค้านอย่างเป็นเอกฉันท์ในการกระทำดังกล่าว เนื่องจากอิตาลีไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ ไม่มีแร่วัตถุดิบที่คงเหลืออยู่ในคลังพัสดุและปริมาณสำรองที่มีอยู่กำลังจะหมดลงในไม่ช้า อุตสาหกรรมของอิตาลีเป็นเพียงแค่หนึ่งในสิบของเยอรมนี และแม้แต่กระทั่งซับพลายที่กองทัพอิตาลีไม่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อจัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นในการสู้รบกับสงครามสมัยในระยะยาว โครงการการฟื้นแสนยานุภาพที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานแทบที่จะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการสำรองทองคำและสกุลเงินต่างประเทศที่จำกัดของอิตาลี และการขาดแคลนแร่วัตถุดิบ มุสโสลินีได้เมินเฉยต่อข้อคิดเห็นเชิงลบ[68]

ใน ค.ศ. 1941 ความพยายามของอิตาลีในการดำเนินการทัพอย่างมีอิสระจากเยอรมนีก็ต้องพังทลายลงอันเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ทางการทหารในกรีซ แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตะวันออก และประเทศก็ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเยอรมนีอย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังจากการรุกรานและเข้ายึดครองยูโกสลาเวียและกรีซซึ่งนำโดยเยอรมัน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นเป้าหมายของมุ่งหมายในการทำสงครามของอิตาลี อิตาลีถูกบังคับให้ยอมรับการครอบงำของเยอรมันในทั้งสองประเทศที่ถูกยึดครอง[69] นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 1941 กองกำลังเยอรมันในแอฟริกาเหนือภายใต้การนำโดยแอร์วีน ร็อมเมิล ได้เข้าควบคุมความพยายามทางทหารอย่างมีประสิทธิภาพในการขับไล่กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรออกไปจากลิเบีย ดินแดนอาณานิคมของอิตาลี และกองทัพเยอรมันได้เข้าประจำการอยู่ที่เกาะซิซิลีในช่วงปีนั้น[70] ความอวดดีของเยอรมนีที่มีต่ออิตาลีในฐานะพันธมิตรได้แสดงให้เห็นในปีนั้น เมื่ออิตาลีถูกกดดันให้ส่ง "แรงงานผู้รับเชิญ" จำนวน 350,000 คน ไปยังเยอรมนีซึ่งถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์บังคับ[70] ในขณะที่ฮิตเลอร์รู้สึกผิดหวังกับสมรรถภาพทางทหารของอิตาลี เขายังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับอิตาลีโดยรวม เนื่องจากมิตรภาพอันส่วนตัวของเขากับมุสโสลินี[71][72]

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองเกาะซิซิลี พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงรับสั่งปลดมุสโสลินีออกจากตำแหน่ง พร้อมกับจับกุมและคุมขังเขาเอาไว้ และเริ่มทำการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก การสงบศึกได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1943 และสี่วันต่อมา มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากเยอรมันในปฏิบัติการโอ้กและได้รับมอบหมายในการดูแลรัฐหุ่นเชิดที่ถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมอิตาลี (Repubblica Sociale Italiana/RSI, หรือ สาธารณรัฐซาโล) ทางตอนเหนือของอิตาลี เพื่อเป็นการปลดปล่อยประเทศจากเยอรมันและฟาสซิสต์ อิตาลีได้กลายเป็นคู่ต่อสู้ร่วมของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นผลทำให้ประเทศได้รับการสืบทอดในสงครามกลางเมือง โดยมีกองทัพคู่ต่อสู้ร่วมและพลพรรคของอิตาลีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าต่อสู้รบกับกองทัพของสาธารณรัฐสังคมอิตาลีและเยอรมันที่เป็นพันธมิตร บางพื้นที่ในภาคเหนือของอิตาลีได้รับการปลดปล่อยจากเยอรมันในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 มุสโสลินีถูกสังหารโดยพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะที่พยายามจะหลบหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์[73]

อาณานิคมและเมืองขึ้น

[แก้]
ในทวีปยุโรป
[แก้]
ทุกดินแดนที่เคยถูกควบคุมโดยจักรวรรดิอิตาลี ในช่วงเวลาใดช่วงหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

หมู่เกาะโดเดคานีส เป็นเมืองขึ้นของอิตาลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1943

มอนเตเนโกรเป็นเมืองขึ้นของอิตาลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1943 เป็นที่รู้จักกันคือ เขตผู้ว่าการแห่งมอนเตรเนโกร ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ว่าการทหารของอิตาลี ในช่วงแรก อิตาลีตั้งใจที่จะทำให้มอนเตรเนโกรกลายเป็นรัฐอิสระซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับอิตาลี โดยได้รับการสนับสนุนผ่านการเชื่อมโยงทางราชวงศ์ที่เข้มแข็งระหว่างอิตาลีและมอนเตเนโกร เนื่องจากสมเด็จพระราชินีเอเลนาแห่งอิตาลีทรงเป็นพระธิดาของพระเจ้านิกอลาที่ 1 กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอนเตเนโกร เซคูล่า เดอร์เยวิช นักชาตินิยมชาวมอนเตเนโกรที่ได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีและผู้ติดตามของเขาได้พยายามที่จะสร้างรัฐมอนเตเนโกรขึ้นมา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 พวกเขาได้ประกาศสถาปนา "ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร" ภายใต้การอารักขาของอิตาลี ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ได้ก่อให้เกิดการจลาจลไปทั่วเพื่อต่อต้านชาวอิตาลี ภายในสามสัปดาห์ ผู้ก่อการกำเริบสามารถยึดดินแดนเกือบทั้งหมดของมอนเตเนโกรไว้ได้ กองกำลังทหารอิตาลีจำนวนกว่า 70,000 นาย และทหารที่ไม่ได้เข้าประจำการซึ่งมาจากชาวอัลเบเนียและชาวมุสลิมจำนวน 20,000 คน ได้ถูกส่งเพื่อเข้าปราบปรามกลุ่มกบฏ เดอร์เยวิชถูกขับไล่ออกจากมอนเตเนโกรในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 จากนั้นมอนเตเนโกรก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอิตาลีโดยตรง ด้วยการยอมจำนนของอิตาลีใน ค.ศ. 1943 มอนเตเนโกรได้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมนีโดยตรงแทน

อิตาลีได้เข้าครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจตั้งแต่การก่อตั้งใน ค.ศ. 1913 อัลแบเนียถูกกองกำลังทหารอิตาลีเข้ายึดครองใน ค.ศ. 1939 ในขณะที่พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนียทรงลี้ภัยออกนอกประเทศพร้อมราชวงศ์ของพระองค์ รัฐสภาแอลเบเนียได้ลงมติถวายบัลลังก์แอลเบเนียแด่กษัตริย์แห่งอิตาลี ส่งผลทำให้เกิดสหภาพส่วนบุคคลระหว่างสองประเทศ[74][75]

ในแอฟริกา

[แก้]

อิตาเลียน แอฟริกาตะวันออก เป็นอาณานิคมของอิตาลีที่ดำรงอยู่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1943 ช่วงก่อนการบุกครองและผนวกรวมเอธิโอเปียเข้าสู่อาณานิคมที่เป็นเอกภาพใน ค.ศ. 1936 อิตาลีมีอาณานิคมสองแห่ง ได้แก่ เอริเทรียและโซมาเลีย นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880

ลิเบีย เป็นอาณานิคมของอิตาลีที่ดำรงอยู่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1943 ส่วนทางตอนเหนือของลิเบียถูกรวมเข้ากับอิตาลีโดยตรงใน ค.ศ. 1939 อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้ยังคงถูกรวมกันเป็นอาณานิคมภายใต้ข้าหลวงอาณานิคม

จักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

[แก้]

เหตุผลในการทำสงคราม

[แก้]
เรือรบซูเปอร์เดรดนอตยามาชิโระ, ฟูโซ และเรือลาดตระเวนฮารูนะของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่อ่าวโตเกียว คริสต์ทศวรรษ 1930

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เหตุผลในการกระทำของตนโดยอ้างว่ากำลังพยายามที่จะรวบรวมเอเชียตะวันออกภายใต้การนำของญี่ปุ่นในวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา เพื่อที่จะปลดปล่อยชาวเอเชียตะวนออกจากการครอบงำและถูกปกครองในฐานะรัฐบริวารของมหาอำนาจตะวันตก[76] ญี่ปุ่นได้ปลุกระดมแนวคิดอุดมการณ์รวมกลุ่มชาวเอเชียและกล่าวว่าประชาชาวเอเชียมีความจำเป็นที่จะเป็นอิสระจากอิทธิพลตะวันตก[77]

สหรัฐได้ต่อต้านสงครามญี่ปุ่นในจีน และให้การยอมรับรัฐบาลชาตินิยมของเจียงไคเชกว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกตัองตามกฎหมายของจีน ด้วยเหตุนี้ สหรัฐจีงพยายามยุติความพยายามในการทำสงครามของญี่ปุ่นโดยกำหนดมาตราการคว่ำบาตรการค้าทั้งหมดระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาสหรัฐคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อเพลิงปิโตรเลียม และผลที่ตามมาก็คือ การคว่ำบาตรดังกล่าวส่งผลก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและการทหารของญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นไม่สามารถทำสงครามกับจีนได้อีกต่อไป ถ้าหากไม่สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงปิโตรเลียม[78]

เพื่อที่จะยืนยันในการทัพทางทหารในจีนโดยสูญเสียการค้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมกับสหรัฐครั้งใหญ่ ญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงวิธีที่ดีที่สุดในการหาแหล่งทางเลือกของเชื้อเพลิงปิโตรเลียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงปิโตรเลียมและทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย[79] การข่มขู่ว่าจะตอบโต้โดยญี่ปุ่นต่อการคว่ำบาตรการค้าทั้งหมดโดยสหรัฐ เป็นที่รับรู้โดยรัฐบาลอเมริกัน รวมทั้งรัฐมนตรีแห่งรัฐของอเมริกานามว่า Cordell Hull ซึ่งกำลังเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม โดยเกรงว่าการคว่ำบาตรทั้งหมด จะทำให้ญี่ปุ่นชิงลงมือในเข้าโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์[80]

ญี่ปุ่นระบุว่ากองเรือแปซิฟิกของอเมริกันซึ่งตั้งฐานทัพเรืออยู่ในเพิร์ลฮาร์เบอร์เป็นภัยคุกคามหลักต่อการออกแบบในการรุกรานและเข้ายึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[79] ดังนั้นญี่ปุ่นจึงริเริ่มโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เพื่อยับยั้งการตอบสนองต่อการรุกรานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และซื้อเวลาเพื่อให้ญี่ปุ่นทำการรวบรวมทรัพยากรเหล่านี้ด้วยตัวเองเพื่อทำสงครามทั้งหมดกับสหรัฐ และบังคับให้สหรัฐยอมรับการครอบครองของญี่ปุ่น[79] เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิบริติช

ประวัติศาสตร์

[แก้]
กองกำลังยกพลขึ้นบกทางเรือพิเศษจากกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น(IJN) ติดตั้งอาวุธด้วยปืนกลเบา ไทป์ 11 ในช่วงยุทธการที่เซี่ยงไฮ้
เครื่องบินขับไล่มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่กับเครื่องบินลำอื่น ๆ เตรียมบินขึ้นจากเรือบรรทุกอากาศยานโชกากุในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เพื่อโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
จักรวรรดิญี่ปุ่น (สีแดงเข้ม) และดินแดนที่ถูกควบคุมโดยรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น (สีแดงอ่อน). ประเทศไทย (สีแดงทึบ) ร่วมมือกับญี่ปุ่น ทั้งหมดเป็นสมาชิกของวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

จักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงเป็นประมุข เป็นประเทศมหาอำนาจฝ่ายอักษะหลักในทวีปเอเชียและทะเลแปซิฟิก ภายใต้จักรพรรดิ มีคณะรัฐมนตรีทางการเมืองและกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งจักรวรรดิซึ่งมีหัวหน้าเสนาธิการทหารอยู่สองคน ใน ค.ศ. 1945 จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงเป็นมากกว่าผู้นำเชิงสัญลักษณ์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อรักษาราชบังลังก์ของพระองค์เอาไว้[81]

ณ จุดสูงสุด วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น รวมทั้งแมนจูเรีย มองโกเลียใน ส่วนใหญ่ของแผ่นดินจีน มาเลเซีย อินโดจีนฝรั่งเศส หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์ ฟิลิปปินส์ พม่า ส่วนขนาดเล็กของอินเดีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในภาคกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก

อันเป็นผลมาจากความไม่ลงรอยกันภายในและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำใน ค.ศ. 1920 องค์ประกอบทางทหารทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในเส้นทางของลัทธิการขยายอาณาเขต เนื่องจากหมู่เกาะอันเป็นบ้านเกิดของญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการเติบโต ญี่ปุ่นจึงวางแผนที่จะก่อตั้งสถาปนาอำนาจในทวีปเอเชียและพึ่งพาตนเองได้โดยการเข้ายึดดินแดนที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ นโยบายการขยายอาณาเขตของญี่ปุ่นทำให้ตนเองดูแปลกแยกจากประเทศอื่น ๆ ในสันนิบาตชาติ และในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 ได้ทำให้ญี่ปุ่นใกล้ชิดกับเยอรมนีและอิตาลีมากขึ้น ซึ่งทั้งสองประเทศก็ดำเนินนโยบายการขยายอาณาเขตที่คล้ายคลึงกัน ความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและเยอรมนีได้เริ่มต้นด้วยกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งทั้งสองประเทศตกลงที่จะเป็นพันธมิตรเพื่อท้าทายต่อการโจมตีใด ๆ จากสหภาพโซเวียต

ญี่ปุ่นได้เข้าสู่ความขัดแย้งกับจีนใน ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นเข้ารุกรานและยึดครองพื้นที่บางส่วนของจีนทำให้เกิดการกระทำความโหดร้ายทารุณต่อพลเรือนจำนวนมากมาย เช่น การสังหารหมู่ที่นานกิง และนโยบายทั้งสามประการ ญี่ปุ่นได้ต่อสู้รบอย่างประปรายกับกองทัพโซเวียต-มองโกเลียในแมนจูกัวใน ค.ศ. 1938 และ ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับสหภาพโซเวียตโดยการลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันใน ค.ศ. 1941

ทหารโดดร่มจากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำการลงสู่พื้นในช่วงยุทธการที่ปาเล็มบัง 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942.
เรือประจัญบานชั้นยามาโตะอย่าง ยามาโตะ และมูซาชิจากกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้จอดเรืออยู่ใน Truk Lagoon, ใน ค.ศ. 1943

ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นได้แตกแยกจากความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีและอิตาลี และทัศนคติต่อสหรัฐ กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นสนับสนุนการทำสงครามกับสหรัฐแต่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะคัดค้านอย่างรุนแรง เมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พลเอก ฮิเดกิ โทโจ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของสหรัฐให้ญี่ปุ่นถอนกำลังทหารออกจากจีน การเผชิญหน้ามีแนวโน้มมากขึ้น[82] การทำสงครามกับสหรัฐกำลังถูกปรึกษาหารือภายในรัฐบาลญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940[83] ผู้บัญชาการกองเรือผสม พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ ได้เปิดเผยในการแสดงคัดค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี โดยบอกกล่าวไว้ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1940 "การสู้รบกับสหรัฐก็เหมือนกับการสู้รบกับคนทั้งโลก แต่ก็ได้ตัดสินใจไปแล้ว ดังนั้นข้าพเจ้าจะสู้อย่างสุดความสามารถ แน่นอนว่าข้าพเจ้าจะต้องตายบนเรือนางาโตะ[เรือธงของเขา] ในขณะเดียวกัน โตเกียวจะถูกแผดเผาพื้นถึงสามครั้ง โคโนเอะและคนอื่น ๆ จะถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ โดยประชาชนผู้เคียดแค้น ข้าพเจ้า[ไม่ควร] ที่จะประหลาดใจ"[83] ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ยามาโมโตะได้ติดต่อสื่อสารกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพเรือ โออิคาวะ และกล่าวว่า "มันไม่เหมือนในช่วงก่อนไตรภาคี ต้องมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งเพื่อทำให้แน่ใจว่าเราหลีกเลี่ยงอันตรายจากการไปทำสงคราม"[83]

ด้วยมหาอำนาจยุโรปที่มุ่งแต่ทำสงครามในยุโรป ญี่ปุ่นจึงต้องการที่จะเข้ายึดครองอาณานิคมของพวกเขา ใน ค.ศ. 1940 ญี่ปุ่นได้ตอบสนองต่อการรุกรานฝรั่งเศสของเยอรมันโดยการเข้ายึดครองทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศส ระบอบวิชีฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรโดยพฤตินัยของเยอรมนี ได้ให้การยอมรับในการครอบครอง กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ตอบโต้ด้วยการทำสงคราม อย่างไรก็ตาม สหรัฐได้เริ่มต้นการคว่ำบาตรต่อญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 เนื่องจากการทำสงครามอย่างต่อเนื่องในจีน สิ่งนี้จะเป็นการตัดซัพพลายอย่างเศษเหล็กและน้ำมันของญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรม การค้า และความพยายามการทำสงคราม

นักการทูตทางกองทัพญี่ปุ่น, มาโกโตะ โอโนเดระ, ได้เข้าเยือนที่ป้อมปราการ Fjell ในนอร์เวย์ ค.ศ. 1943. ข้างหลังของเขาคือ นาวาอากาศโทนามว่า Eberhard Freiherr von Zedlitz und Neukrich (ซี-ใน-ซี หน่วยอากาศโยธินแห่งลุฟท์วัฟเฟอที่ 502), และด้านขวาคือ Fregattenkapitän doktor Robert Morath (ผู้บัญชาการทหารเรือในบาร์เกิน) ด้านหลังมือของโอโนเดระ(ที่ถูกยกขึ้นทำวันทยหัตถ์) คือ นายพล Nikolaus von Falkenhorst (ซี-ใน-ซี กองทัพเยอรมันในนอร์เวย์)

เพื่อทำการแบ่งแยกกองกำลังสหรัฐที่ประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์แเพื่อลดอำนาจของกองทัพเรือสหรัฐ กองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งจักรวรรดิได้สั่งให้โจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พวกเขายังได้เข้ารุกรานหมู่เกาะมลายูและฮ่องกง ในช่วงแรกได้รับชัยชนะมาหลายครั้ง ใน ค.ศ. 1943 กองทัพญี่ปุ่นได้ผลักดันล่าถอยกลับไปยังหมู่เกาะบ้านเกิด สงครามแปซิฟิกได้กินเวลาจนกระทั่งการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิใน ค.ศ. 1945 โซเวียตประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 และเข้าปะทะกองทัพญี่ปุ่นในแมนจูเรียและจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ดินแดนอาณานิคมและเมืองขึ้น

[แก้]
เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นฝึกซ้อมให้ทหารใหม่ชาวอินโดนีเซีย ประมาณ ค.ศ. 1945

เกาะไต้หวัน เป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1895 เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาและเมืองขึ้นของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลี ค.ศ. 1910

แปซิฟิกใต้ในอาณัติ เป็นดินแดนที่ถูกมอบให้แก่ญี่ปุ่น ในข้อตกลงสันติภาพของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้กำหนดให้หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ของเยอรมันตกเป็นของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้รับดินแดนเหล่านี้เป็นรางวัลจากฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านเยอรมัน

ญี่ปุ่นเข้ายึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์ในช่วงสงคราม ญี่ปุ่นวางแผนที่จะเปลี่ยนดินแดนเหล่านี้เป็นรัฐบริวารของอินโดนีเซียและเสาะหาพันธมิตรกับนักชาตินิยมชาวอินโดนีเซียรวมถึงซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดรัฐอินโดนีเซียขึ้นมาจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนน[84]

ประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี

[แก้]

นอกจากประเทศทั้งสามหลักของฝ่ายอักษะ ยังมีอีกหกประเทศที่ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีในฐานะประเทศสมาชิก ในบรรดาประเทศอื่น ๆ เช่น โรมาเนีย ฮังการี บัลแกเรีย รัฐเอกราชโครเอเชีย และสโลวาเกีย ต่างได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารต่าง ๆ ของฝ่ายอักษะด้วยกองกำลังติดอาวุธประจำชาติ ในขณะที่ประเทศที่หก ยูโกสลาเวีย ได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลที่ให้การสนับสนุนนาซีได้ถูกโค่นล้มก่อนหน้านี้ในการก่อรัฐประหารเพียงไม่กี่วัน ภายหลังจากที่ได้ลงนามในกติกาสัญญาและสมาชิกก็ถูกถอดถอน

บัลแกเรีย บัลแกเรีย

[แก้]
ทหารบัลแกเรียในวาร์ดาร์ มาซิโดเนีย ในช่วงการทัพบอลข่าน

ราชอาณาจักรบัลแกเรียถูกปกครองโดยพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 เมื่อลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1941 บัลแกเรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและต้องการเอาคืนในสิ่งที่ผู้นำบัลแกเรียเห็นว่าเป็นดินแดนที่สูญเสียไปทั้งทางชาติพันธ์และประวัติศาสตร์ของบัลแกเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาซิโดเนียและเทรซ(ทั้งหมดอยู่ในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ราชอาณาจักรกรีซ และตุรกี) ในช่วงปี ค.ศ. 1930 เนื่องจากองค์ประกอบดั้งเดิมของฝ่ายขวา บัลแกเรียจึงเข้าใกล้นาซีเยอรมนีมากขึ้น ใน ค.ศ. 1940 เยอรมนีได้กดดันให้โรมาเนียลงนามในสนธิสัญญาไครโอวา โดยทำการส่งคืนภูมิภาคดอบรูจาใต้แก่บัลแกเรีย ซึ่งสูญเสียไปใน ค.ศ. 1913 เยอรมันยังได้ให้คำมั่นสัญญากับบัลแกเรีย - หากเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ - การขยายอาณาเขตของตนไปยังชายแดนที่ได้ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาซานสเตฟาโน

บัลแกเรียได้เข้าร่วมในการรุกรานยูโกสลาเวียและกรีซของฝ่ายอักษะโดยปล่อยให้กองกำลังทหารเยอรมันเข้าโจมตีดินแดนของตนและส่งกองกำลังทหารไปยังกรีซ เมื่อวันที่ 20 เมษายน เพื่อเป็นรางวัล ฝ่ายอักษะได้อนุญาตให้บัลแกเรียครอบครองพื้นที่บางส่วนของทั้งสองประเทศ - ทางใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูโกสลาเวีย(วาร์ดาร์ บาโนวินา) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ(ส่วนหนึ่งของกรีกมาซิโดเนียและกรีกเธรซ) กองกำลังบัลแกเรียในพื้นที่เหล่านี้ได้ใช้เวลาหลายปีในการต่อสู้รบกับกลุ่มฝ่ายชาตินิยมและขบวนการต่อต้านต่าง ๆ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากเยอรมนี บัลแกเรียไม่ได้มีส่วนร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะและไม่เคยประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตเลย อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือบัลแกเรียยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบหลายครั้งกับกองเรือทะเลดำของโซเวียต ซึ่งได้เข้าโจมตีเรือขนส่งสินค้าของบัลแกเรีย

ภายหลังจากญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 รัฐบาลบัลแกเรียได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก การกระทำนี้ยังคงเป็นสัญลักษณ์ส่วนใหญ่(อย่างน้อยก็ในมุมมองของบัลแกเรีย) จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมื่อการป้องกันทางอากศและกองทัพอากาศของบัลแกเรียได้โจมตีเครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตร การกลับมา(ได้รับความเสียหายอย่างหนัก) จากภารกิจเหนือโรงกลั่นน้ำมันของโรมาเนีย สิ่งนี้กลายเป็นหายนะสำหรับพลเมืองในโซเฟียและเมืองที่สำคัญอื่น ๆ ของบัลแกเรีย ซึ่งถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1943-1944

เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1944 กองทัพแดงได้เข้าใกล้ชายแดนบัลแกเรีย รัฐบาลบัลแกเรียชุดใหม่ได้เข้ามามีอำนาจและต้องการที่จะเจรจาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขับไล่กองกำลังทหารเยอรมันที่หลงเหลืออยู่ไม่มาก และประกาศวางตัวเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ไม่อาจขัดขวางสหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับบัลแกเรียในวันที่ 5 กันยายน และวันที่ 8 กันยายน กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ประเทศ โดยแทบไร้การต่อต้าน ซึ่งตามมาด้วยการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1944 ซึ่งทำให้รัฐบาลของแนวรบปิตุภูมิที่สนับสนุนโซเวียตขึ้นสู่อำนาจ ภายหลังจากนั้น กองทัพบัลแกเรีย(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวรบยูเครนที่ 3 ของกองทัพแดง) ได้เข้าต่อสู้รบกับเยอรมันในยูโกสลาเวียและฮังการี ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาสันติภาพปารีสได้ถือว่าบัลแกเรียเป็นหนึ่งในประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม บัลแกเรียได้รับอนุญาตในการรักษาภูมิภาคดอบรูจาใต้เอาไว้ แต่ต้องยกเลิกการอ้างสิทธิ์ในดินแดนกรีกและยูโกสลาเวียทั้งหมด

ฮังการี ฮังการี

[แก้]
รถถัง Toldi I ของฮังการี ซึ่งถูกใช้งานในช่วงการรุกรานสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะ ค.ศ. 1941

ฮังการีถูกปกครองโดยผู้สำเร็จราชการนามว่า พลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี เป็นประเทศแรกที่นอกเหนือจากเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งได้ยึดมั่นตามกติกาสัญญาไตรภาคี ถูกลงนามในข้อตกลง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940[85]

ด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมืองได้ก่อกวนประเทศ จนกระทั่งมิกโลช โฮร์ตี ขุนนางฮังการีและเจ้าหน้าที่นายทหารเรือแห่งออสเตรีย-ฮังการีได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใน ค.ศ. 1920 ชาวฮังการีส่วนใหญ่ต้องการที่จะกอบกู้ดินแดนที่เสียไปโดยสนธิสัญญาทรียานง ในช่วงรัฐบาลของกยูลา เกิมเบิส ฮังการีได้เข้าใกล้ชิดกับเยอรมนีและอิตาลีมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการร่วมกันที่จะแก้ไขการตั้งถิ่นฐานอย่างสันติที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[86] หลายคนต่างเห็นด้วยกับนโยบายต่อต้านชาวยิวของระบอบนาซี เนื่องจากจุดยืนที่ให้การสนับสนุนเยอรมนีและความพยายามครั้งใหม่ในนโยบายระหว่างประเทศ ฮังการีจึงได้รับการตั้งถิ่นฐานในดินแดนอย่างเป็นที่น่าพอใจโดยรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง ภายหลังจากการล่มสลายของเชโกสโลวาเกียซึ่งได้เข้ายึดครองและผนวกส่วนที่เหลือของคาร์พาเทียน รูเธเนีย และใน ค.ศ. 1940 ได้รับทรานซิลเวเนียทางตอนเหนือจากโรมาเนียผ่านทางรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง ฮังการีได้อนุญาตให้ทหารเยอรมันเดินทางผ่านอาณาเขตของตนในช่วงการรุกรานยูโกสลาเวีย และกองกำลังฮังการีได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารภายหลังการประกาศสถาปนารัฐเอกราชโครเอเชีย บางส่วนของอดีตยูโกสลาเวียได้ถูกผนวกรวมเข้ากับฮังการี สหราชอาณาจักรได้ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตโดยทันทีเพื่อเป็นการตอบโต้

แม้ว่าฮังการีจะไม่ได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมันในช่วงแรก แต่ฮังการีและสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นคู่สงครามในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จำนวนทหารกว่า 500,000 นายได้ปฏิบัติการรบบนแนวรบด้านตะวันออก กองทัพภาคสนามทั้งห้าได้เข้าร่วมในสงครามต่อต้านสหภาพโซเวียตในที่สุด ส่วนที่สนับสนุนที่สำคัญโดยกองทัพบกฮังการีที่สอง

ทหารฮังการีในเทือกเขาคาร์เพเทียน ใน ค.ศ. 1944

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ฮังการีเป็นหนึ่งในสิบสามประเทศที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นซึ่งได้เริ่มทำใหม่ กองกำลังทหารฮังการีเช่นเดียวกับฝ่ายอักษะ มีส่วนร่วมในปฏิบัติการรบในการต่อต้านโซเวียตจำนวนมากมาย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 โซเวียตได้เปรียบในการรบและเยอรมันต้องล่าถอย กองทัพบกฮังการีที่สองถูกทำลายล้างในการสู้รบกับแนวรบโวโรเนจ บนริมฝั่งแม่น้ำดอน

ก่อนที่เยอรมนีจะเข้ายึดครองภายในพื้นที่ฮังการี ชาวยิวจำนวนประมาณ 63,000 คนได้สูญสิ้นไปหมดแล้ว ภายหลังจากนั้น ในช่วงปลาย ปี ค.ศ. 1944 ชาวยิวจำนวน 437,000 คนได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเสียชีวิตทั้งหมด[87] โดยรวมแล้ว ชาวยิวเชื้อสายฮังการีได้ประสบความสูญเสียจำนวนเกือบ 560,000 คน[88]

ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของมิกโลช โฮร์ตีได้ล่มสลายใน ค.ศ. 1944 เมื่อโฮร์ตีได้พยายามที่จะเจรจาทำข้อตกลงสันติภาพกับโซเวียตและกระโดดออกจากสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเยอรมัน โฮร์ตีได้ถูกบีบบังคับให้สละตำแหน่ง ภายหลังจากหน่วยคอมมานโดเยอรมัน ซึ่งนำโดยพันเอก ออทโท สกอร์เซนี ทำการจับลูกชายของเขาไว้เป็นตัวประกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการพันแซร์เฟาสท์ ฮังการีได้รับการปรับปรุงใหม่ภายหลังจากการสละตำแหน่งของโฮร์ตี้ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 ให้กลายเป็นระบอบเผด็จการที่เรียกว่า รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี ซึ่งนำโดยแฟแร็นตส์ ซาลอชี เขาเป็นนายกรัฐมนตรีของฮังการีนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 และเป็นผู้นำของพรรคแอร์โรว์ครอสส์แห่งฮังการี เขตอำนาจได้ถูกจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งกลุ่มอาณาเขตที่หดแคบลงเรื่อย ๆ ในภาคกลางของฮังการี รอบกรุงบูดาเปสต์นับตั้งแต่ที่พวกเขาเข้ายึดอำนาจ กองทัพแดงซึ่งอยู่ห่างไกลจากภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ทีมสังหารของแอร์โรว์ครอสส์ได้สังหารชาวยิวเชื้อสายฮังการีมากถึง 38,000 คน เจ้าหน้าที่แอร์โรว์ครอสส์ได้ช่วยเหลืออาด็อล์ฟ ไอช์มันในการเปิดใช้งานกระบวนการขับไล่เนรเทศอีกครั้ง ซึ่งชาวยิวในกรุงบูดาเปสต์ได้รับการไว้ชีวิตเป็นการชั่วคราว ทำการส่งชาวยิวจำนวนประมาณ 80,000 คน ออกจากเมืองเพื่อถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์และจำนวนอีกมายมายถูกส่งตรงไปยังค่ายมรณะ พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเสียชีวิต รวมทั้งหลายคนที่ถูกฆ่าตายทันทีภายหลังการสู้รบจบลงในขณะที่พวกเขากำลังเดินทางกลับบ้าน[89][90] หลายวันภายหลังรัฐบาลซาลอซีเข้ายึดอำนาจ กรุงบูดาเปสต์ที่เป็นเมืองหลวงถูกล้อมรอบไปด้วยกองทัพแดงของโซเวียต กองทัพเยอรมันและฮังการีได้พยายามที่จะหยุดยั้งการรุกของโซเวียตแต่กลับล้มเหลว ภายหลังการสู้รบอย่างดุเดือด กรุงบูดาเปสต์ก็ถูกโซเวียตยึดครอง ชาวฮังการีที่สนับสนุนเยอรมันจำนวนมากได้ล่าถอยไปยังอิตาลีและเยอรมนี ที่พวกเขาต่อสู้รบกันจนสงครามยุติลง

เครื่องบินขับไล่ MÁVAG Héja ได้รับมาจาก Reggiane Re.2000, เป็นต้นการออกแบบของเครื่องบินขับไล่อิตาลี

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ซาลอชีได้ลี้ภัยไปยังเยอรมนีในฐานะผู้นำรัฐบาลผลัดถิ่น จนกระทั่งการยอมจำนนของเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945

รัฐเอกราชโครเอเชีย

[แก้]
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เข้าพบกับผู้นำแห่งรัฐเอกราชโครเอเชีย (NDH) อานเต ปาเวลิช

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1941 ได้ถูกเรียกว่า รัฐเอกราชโครเอเชีย (Nezavisna Država Hrvatska, หรือ NDH) ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน-อิตาลีซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้ง ได้ลงนามร่วมในกติกาสัญญาไตรภาคี รัฐเอกราชโครเอเชียยังคงเป็นประเทศสมาชิกของฝ่ายอักษะจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง กองกำลังของตนได้ต่อสู้รบเพื่อเยอรมนี แม้ว่าดินแดนขอวงตนจะถูกบุกรุกโดยพลพรรคยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1941 อานเต ปาเวลิช นักชาตินิยมชาวโครเอเชียและหนึ่งในผู้ก่อตั้งอูสตาเช("ขบวนการปลดปล่อยโครเอเชีย") ได้รับการประกาศแต่งตั้งเป็น Poglavnik (ท่านผู้นำ) ของระบอบใหม่

ในช่วงแรก อูสตาเชได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากอิตาลี พวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากระบอบฟาสซิสต์ของมุสโสลินีในอิตาลี ซึ่งได้ส่งมอบพื้นที่ในการฝึกซ้อมแก่ขบวนการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามต่อต้านยูโกสลาเวีย รวมทั้วได้ให้การยอมรับปาเวลิชเป็นผู้ลี้ภัยและอนุญาตให้เขามาพำนักอยู่ในกรุงโรม ใน ค.ศ. 1941 ในช่วงการรุกรานกรีซของอิตาลี มุสโสลินีได้ร้องขอให้เยอรมนีเข้ารุกรานยูโกสลาเวียเพื่อรักษากองทัพอิตาลีในกรีซ ฮิตเลอร์ตอบตกลงอย่างไม่เต็มใจ ยูโกสลาเวียถูกรุกรานและรัฐเอกราชโครเอเชียก็ถูกสร้างขึ้น ปาเวลิชได้นำกลุ่มผู้แทนไปยังกรุงโรมและเสนอถวายมงกุฎแห่งรัฐเอกราชโครเอเชียแก่เจ้าชายอิตาลีแห่งราชวงศ์ซาวอย ผู้ที่ได้รับการสวมมงกุฎพระนามว่า ตอมิสลัฟที่ 2 วันรุ่งขึ้น ปาเวลิชได้ลงนามในสัญญาแห่งกรุงโรมกับมุสโสลินี โดยยกให้ภูมิภาคแดลเมเชียแก่อิตาลี และทำการแก้ไขชายแดนถาวรระหว่างรัฐเอกราชโครเอเชียและอิตาลี กองทัพอิตาลีได้รับอนุญาตให้ควบคุมแนวชายฝั่งทั้งหมกของรัฐเอกราชโครเอเชีย ทำให้อิตาลีเข้าควบคุมแนวชายฝั่งทะเลเอเดรียติกเอาไว้ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อกษัตริย์อิตาลีได้ทำการขับไล่มุสโสลินีออกจากอำนาจและอิตาลีได้ยอมจำนน รัฐเอกราชโครเอเชียก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมันอย่างสมบูรณ์

พื้นเวทีของขบวนการอูสตาเชได้ประกาศว่า ชาวโครเอเชียได้ถูกกดขี่ข่มเหงโดยราชอาณาจักรยูโกสลาเวียที่ถูกครอบงำโดบชาวเซิร์บ และชาวโครเอเชียสมควรที่จะมีประเทศเอกราชภายหลังหลายปีที่ถูกครอบงำโดยจักรวรรดิต่างชาติ อูสตาเชได้มองชาวเซิร์บดูด้อยกว่าชาวโครเอเชีย และมองเห็นว่าพวกเขาเป็นผู้บุกรุกที่ครอบครองดินแดนโครเอเชีย พวกเขาได้มองเห็นถึงการกำจัดและการขับไล่หรือเนรเทศชาวเซิร์บตามความจำเป็นเพื่อทำให้โครเอเชียมีความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ ในขณะที่เป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย นักชาตินิยมชาวโครเอเชียจำนวนมากต่อต้านระบอบกษัตริย์ยูโกสลาเวียที่ถูกครอบงำโดบชาวเซิร์บและทำการลอบปลงพระชนม์ต่อสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ร่วมกับองค์การฝ่ายปฏิวัติชาวมาซิโดเนียภายใน ระบอบการปกครองได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักชาตินิยมชาวโครเอเชียหัวรุนแรง กองกำลังอูสตาเชได้ต่อสู้รบกับกองโจรพลพรรคคอมมิวนิสต์ชาวยูโกสลาฟตลอดช่วงสงคราม

เมื่อเข้าสู่อำนาจ ปาเวลิชได้ก่อตั้งกองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชีย(Hrvatsko domobranstvo) ในฐานะกองกำลังทหารอย่างเป็นทางการของรัฐเอกราชโครเอเชีย แต่เดิมได้รับอำนาจในการมีกองกำลังจำนวน 16,000 นาย ได้เติบโตเป็นกองกำลังสู้รบสูงสุดจำนวน 130,000 นาย กองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชียรวมทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือ แม้ว่ากองทัพเรือจะถูกจำกัดขนาดโดยสัญญาแห่งกรุงโรม นอกจากกองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชียแล้ว ปาเวลิชยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทหารอาสาอูสตาเช แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว หน่วยทหารของรัฐเอกราชโครเอเชียทั้งหมดจะอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองทัพเยอรมันหรืออิตาลีในพื้นที่ปฏิบัติการ

ขบวนการอูสตาเชได้ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 และส่งกองกำลังทหารไปยังแนวรบด้านตะวันออกของเยอรมนี กองทหารอาสาอูสตาเชได้ถูกส่งไปรักษาการในบอลข่าน ต่อสู้รบกับพลพรรคคอมมิวนิสต์

รัฐบาลอูสตาเชได้ใช้กฎหมายทางเชื้อชาติกับชาวเซิร์บ ชาวยิว และชาวโรมานี รวมทั้งกำหนดเป้าหมายถึงผู้ที่ต่อต้านระบอบฟาสซิสต์ และภายหลังเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ได้ทำการเนรเทศพวกเขาไปยังค่ายกักกันจาเซโนวัก(Jasenovac concentration camp) หรือค่ายของเยอรมันในโปแลนด์ กฎหมายทางเชื้อชาติที่ถูกบังคับใช้โดยกองทหารอาสาอูสตาเช จำนวนผู้ที่ตกเป๋นเหยื่อของระบอบอูสตาเชนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากมีการทำลายเอกสารและตัวเลขที่แตกต่างกันโดยนักประวัติศาสตร์ ตามข้อมูลของพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานรำลึกฮอโลคอสต์ของสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี ซี จำนวนชาวเซิร์บ ระหว่าง 320,000 คน และ 340,000 คนล้วนถูกสังหารในรัฐเอกราชโครเอเชีย[91]

ราชอาณาจักรโรมาเนีย โรมาเนีย

[แก้]
อียอน อันตอเนสกูและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่ฟือเรอร์เบาในมิวนิก (มิถุนายน ค.ศ. 1941)
รูปขบวนของเครื่องบินขับไล่ IAR 80 ของโรมาเนีย
การออกแบบของรถถังพิฆาต Mareșal ของโรมาเนีย ซึ่งถูกเยอรมันนำมาใช้เพื่อพัฒนาเฮ็ทเซอร์
ทหารโรมาเนีย ณ ชานเมืองของสตาลินกราดในช่วงยุทธการที่สตาลินกราด ใน ค.ศ. 1942

เมื่อสงครามปะทุขึ้นในยุโรป เศรษฐกิจของราชอาณาจักรโรมาเนียดูด้อยกว่าผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนีผ่านทางสนธิสัญญาที่ลงนามในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1939 อย่างไรก็ตาม ประเทศไม่ได้ละทิ้งความเห็นอกเห็นใจที่สนับสนุนต่อบริติชโดยสิ้นเชิง โรมาเนียยังเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์ตลอดในช่วงระหว่างสงคราม ภายหลังจากการรุกรานโปแลนด์โดยเยอรมนีและสหภาพโซเวียต และการพิชิตฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนี โรมาเนียพบว่าตนเองโดดเดี่ยวมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ฝ่ายสนับสนุนเยอรมันและฝ่ายสนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์ก็เริ่มเติบโตขึ้น

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพระหว่างเยอรมนีและโซเวียตซึ่งประกอบไปด้วยพิธีตราสารลับว่าด้วยได้ยกดินแดนเบสซาราเบียและบูโกวินาทางตอนเหนือให้แก่สหภาพโซเวียต[55] เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองและผนวกรวมเบสซาราเบีย เช่นเกียวกับส่วนหนึ่งของโรมาเนียตอนเหนือและภูมิภาคเฮิร์ตซา[92] เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940 อันเป็นผลมาจากการตัดสินด้วยอนุญาโตตุลาการของเยอรมัน-อิตาลีในรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง โรมาเนียต้องยกดินแดนทรานซิลเวเนียทางตอนเหนือให้แก่ฮังการี ดอบรูจาใต้ถูกยกให้แก่บัลแกเรียในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ในความพยายามที่จะเอาใจพวกฟาสซิสต์ภายในประเทศและได้รับการคุ้มครองจากเยอรมัน พระเจ้าคาโรลที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้นายพล อียอน อันตอเนสกู เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940

สองวันต่อมา อันตอเนสกูได้บีบบังคับกษัตริย์ให้ทำการสละราชบังลังก์และแต่งตั้งพระราชโอรสองค์เล็กพระนามว่า ไมเคิล(มีไฮ) ขึ้นครองราชย์ และประกาศแต่งตั้งตนเองเป็น Conducător(ท่านผู้นำ) ด้วยอำนาจเผด็จการ รัฐกองทหารแห่งชาติได้ถูกประกาศสถาปนา เมื่อวันที่ 14 กันยายน โดยมีกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กปกครองร่วมกับอันตอเนสกู ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวในโรมาเนีย ภายใต้กษัตริย์มีไฮที่ 1 และรัฐบาลทหารของอันตอเนสกู โรมาเนียได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ทหารเยอรมันได้เข้าสู่ประเทศ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1941 เพื่อทำการฝึกแก่กองทัพโรมาเนีย คำสั่งของฮิตเลอร์ต่อทหาร เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ได้ระบุว่า "จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแม้แต่การยึดครองทางทหารของโรมาเนียเพียงน้อยนิด"[93] การเข้ามาของทหารเยอรมันในโรมาเนียได้ทำให้เบนิโต มุสโสลินี เผด็จการอิตาลีตัดสินใจในการเปิดฉากการรุกรานกรีซ เริ่มต้นสงครามกรีซ-อิตาลี[94] ภายหลังจากได้รับอนุมัติจากฮิตเลอร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 อันตอเนสกูทำการขับไล่กลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กออกจากอำนาจ

ต่อมาโรมาเนียถูกใช้เป็นเวทีสำหรับการรุกรานยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต แม้จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางทหารในการรุกรานยูโกสลาเวีย โรมาเนียได้ร้องขอให้ทหารฮังการีไม่ปฏิบัติการในบาเน็ท ดังนั้น เพาลุสจึงแก้ไขแผนการของฮังการีและเก็บทหารของตนไว้ทางตะวันตกของแม่น้ำติซอ[95]

โรมาเนียได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตซึ่งนำโดยเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 อันตอเนสกูเป็นผู้นำต่างประเทศเพียงคนเดียวที่ฮิตเลอร์ปรึกษาหารือเรื่องทางทหาร[96] และทั้งสองคนจะพบกันไม่น้อยกว่าสิบครั้งตลอดช่วงสงคราม[97] โรมาเนียได้ยึดดินแดนเบสซาราเบียและบูโควินาทางตอนเหนือกลับคืนมาในช่วงปฏิบัติการมึนเชินก่อนที่จะยึดครองดินแดนโซเวียตต่อไปและก่อตั้งเขตผู้ว่าการทรานส์นิสเตรีย ภายหลังการล้อมออแดซา เมืองกลายเป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการ กองทหารโรมาเนียต่อสู้รบเพื่อเข้าสู่แหลมไครเมียพร้อมกับกองทหารเยอรมันและมีส่วนสำคัญในการล้อมเซวัสโตปอล ต่อมา กองทหารภูเขาได้ร่วมการทัพของเยอรมันในเทือกเขาคอเคซัสไปจนถึงนัลชิค[98] ภายหลังจากประสบความสูญเสียอย่างร้ายแรงที่สตาลินกราด เจ้าหน้าที่โรมาเนียได้เริ่มทำการเจรจาทำข้อตกลงเพื่อสันติภาพอย่างลับ ๆ กับฝ่ายสัมพันธมิตร

อุตสาหกรรมทางทหารของโรมาเนียนั้นมีขนาดเล็กแต่เต็มไปด้วยความอเนกประสงค์ สามารถคัดลอกและผลิตระบบอาวุธของฝรั่งเศส โซเวียต เยอรมัน บริติช และเชโกสโลวักได้หลายพันรายการ รวมไปถึงการผลิตผลผลิตแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพ[99] โรมาเนียยังได้สร้างเรือรบขนาดใหญ่มาก เช่น เรือวางทุ่นระเบิด NMS Amiral Murgescu และ เรือดำน้ำ NMS Rechinul และ NMS Marsuinul[100] มีการผลิตเครื่องบินที่ถูกออกแบบแต่เดิมจำนวนหลายร้อยลำ เช่น เครื่องบินขับไล่อย่าง IAR 80 และเครื่องบินทิ้งระเบิดเบาอย่าง IAR 37[101] ประเทศนี้ได้สร้างยานรบหุ้มเกราะอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ยานเกราะพิฆาตรถถัง Mareșal ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่ามีอิทธิพลต่อการออกแบบของยานเกราะพิฆาตรถถัง เฮ็ทเซอร์ ของเยอรมัน[102] โรมาเนียยังเป็นประเทศที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในยุโรป และโรงกลั่นน้ำมันที่โปลเยชต์ ได้ให้ผลผลิตประมาณ 30% ของการผลิตน้ำมันของฝ่ายอักษะทั้งหมด[103] นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษนามว่า เดนนิส เดเลแทนต์ ได้ยืนยันว่า การสนับสนุนที่สำคัญของโรมาเนียต่อการทำสงครามของฝ่ายอักษะ รวมถึงการมีกองทัพฝ่ายอักษะขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรปและค้ำจุนการทำสงครามของเยอรมันด้วยน้ำมันและยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า "เทียบเท่ากับอิตาลีที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญและไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่ของประเทศรองที่เป็นรัฐบริวารของฝ่ายอักษะ"[104] นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษอีกคนนามว่า Mark Axworthy มีความเชื่อว่า โรมาเนียมีโอกาสที่จะพิจารณาได้ว่ามีกองทัพฝ่ายอักษะที่สำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสองในยุโรป มากกว่ากองทัพอิตาลีด้วยซ้ำ[105]

โรมาเนียภายใต้อันตอเนสกูเป็นรัฐเผด็จการฟาสซิสต์และระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ชาวยิวจำนวนระหว่าง 45,000 คน และ 60,000 คน ล้วนถูกสังหารในบูโกวินาและเบรสซาราเบียโดยทหารโรมาเนียและเยอรมันใน ค.ศ. 1941 ตามคำกล่าวของ Wilhelm Filderman ว่า ชาวยิวอย่างน้อย 150,000 คนในเบรสซาราเบียและบูโกวินา ล้วนเสียชีวิตภายใต้ระบอบอันตอเนสกู(ทั้งผู้ที่ถูกขับไล่เนรเทศและผู้ที่ยังคงอยู่) โดยรวมแล้ว ชาวยิวประมาณ 250,000 คน ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของโรมาเนียล้วนเสียชีวิต[106]

ใน ค.ศ. 1943 กระแสสงครามได้เปลี่ยนไป โซเวียตได้ผลักดันกลับไปยังทางตะวันตกมากขึ้น สามารถยึดยูเครนกลับคืนมา และในที่สุดก็ได้เปิดฉากการรุกโรมาเนียทางตะวันออกในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1944 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ กองกำลังทหารโรมาเนียในแหลมไครเมียได้ช่วยกันขับไล่การยกพลขึ้นบกของโซเวียตในช่วงแรก แต่ในที่สุด คาบสมุทรทั้งหมดก็ถูกกองทัพโซเวียตยึดครองกลับคืนอีกครั้ง และกองทัพเรือโรมาเนียได้ทำการอพยพทหารเยอรมันและโรมาเนียมากกว่า 100,000 นาย ความสำเร็จดังกล่าวทำให้พลเรือเอกของกองทัพเรือโรมาเนียนามว่า โฮเรีย มาเชลลาริอู(Horia Macellariu) ได้รับเหรียญกางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก[107] ในช่วงการรุกยาช–คีชีเนฟ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 โรมาเนียได้เปลี่ยนข้างฝ่าย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ทหารโรมาเนียได้ต่อสู้รบเคียงข้างกับกองทัพโซเวียตจนกระทั่งสงครามยุติลง ซึ่งเดินทางไปไกลถึงเชโกสโลวาเกียและออสเตรีย

สโลวาเกีย

[แก้]
สโลวาเกียใน ค.ศ. 1941

สาธารณรัฐสโลวักภายใต้การนำโดยประธานาธิบดี ยอเซ็ฟ ติซอ ซึ่งได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940

สโลวาเกียมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเยอรมนีเกือบที่จะโดยทันทีภายหลังจากการประกาศอิสรภาพจากเชโกสลโลวาเกีย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 สโลวาเกียได้เข้าสู่ในสนธิสัญญาอารักขากับเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1939

ทหารสโลวาเกียได้เข้าร่วมการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมัน โดยมีความสนใจในภูมิภาคสปิชและโอราวา ทั้งสองภูมิภาคพร้อมกับ Cieszyn Silesia ได้มีข้อโต้แย้งกันระหว่างโปแลนด์และเชโกสโลวาเกียนับตั้งแต่ ค.ศ. 1918 โปแลนด์ได้ผนวกรวมดินแดนทั้งสองอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงมิวนิก ภายหลังจากการรุกรานโปแลนด์ สโลวาเกียได้ยึดครองดินแดนเหล่านั้นกลับคึน สโลวาเกียได้รุกรานโปแลนด์พร้อมกองทัพเยอรมัน โดยให้การสนับสนุนด้วยกองกำลังทหารจำนวน 50,000 นายในช่วงสงคราม

สโลวาเกียได้ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 และลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นซึ่งได้เริ่มทำใหม่ใน ค.ศ. 1941 ทหารสโลวาเกียบได้เข้าต่อสู้รบบนแนวรบด้านตะวันออกของเยอรมนี ซึ่งได้จัดหาเพื่อเสริมกำลังให้แก่เยอรมนีด้วยสองกองพลโดยจำนวนทั้งหมด 80,000 นาย สโลวาเกียประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ

สโลวาเกียได้รอดพ้นจากการยึดครองของกองทัพเยอรมันจนกระทั่งการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1944 และเกือบจะถูกบดขยี้โดยทันทีโดยหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สและกองกำลังทหารสโลวักที่ภักดีต่อยอเซ็ฟ ติซอ

ภายหลังสงคราม ติซอถูกจับกุมและประหารชีวิต และสโลวาเกียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียอีกครั้ง ชายแดนที่ติดกับโปแลนด์ได้ถูกย้ายกลับไปเป็นรัฐในช่วงก่อนสงคราม สโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็กต่างได้แยกตัวออกกลายเป็นรัฐอิสระในที่สุดใน ค.ศ. 1993

ยูโกสลาเวีย (เพียงแค่สองวันของการเป็นประเทศสมาชิก)

[แก้]

ยูโกสลาเวียส่วนมากถูกล้อมรอบไปด้วยประเทศสมาชิกของกติกาสัญญาและตอนนี้มีชายแดนติดกับเยอรมันไรช์ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1940 ฮิตเลอร์ต้องการทำกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันกับยูโกสลาเวีย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้ยูโกสลาเวียเข้าร่วมกติกาสัญญาไตรภาคี แต่รัฐบาลยูโกสลาเวียกลับยืดเวลา ในเดือนมีนาคม กองพลของกองทัพเยอรมันได้มาถึงชายแดนระหว่างบัลแกเรีย-ยูโกสลาเวียและได้ขออนุญาตผ่านทางเพื่อเข้าโจมตีกรีซ วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941 ด้วยความเกรงกลัวว่ายูโกสลาเวียจะถูกรุกรานไปด้วย รัฐบาลยูโกสลาเวียจึงตัดสินใจที่จะลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีโดยมีข้อสงวนที่สำคัญ ซึ่งต่างจากประเทศมหาอำนาจฝ่ายอักษะอื่น ๆ ยูโกสลาเวียไม่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือทางทหาร หรือจัดหาอาณาเขตของตนแก่ฝ่ายอักษะเพื่อเคลื่อนกองกำลังทหารในช่วงสงคราม เพียงแค่สองวัน ภายหลังการประท้วงบนถนนในกรุงเบลเกรด เจ้าชายพอลและรัฐบาลได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยการก่อรัฐประหาร สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ด้วยพระชนมพรรษา 17 พรรษา ทรงได้รับประกาศบรรลุนิติภาวะ รัฐบาลชุดใหม่ของยูโกสลาเวียภายใต้การนำโดยนายพล ดูชัน ซิมอวิช ได้ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันจากการลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีของยูโกสลาเวีย และเริ่มต้นการเจรจากับบริเตนใหญ่ และสหภาพโซเวียต วินสตัน เชอร์ชิลได้ลงความเห็นว่า "ยูโกสลาเวียได้พบจิตวิญญาณแล้ว" อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้กองทัพบุกเข้ายึดครองอย่างรวดเร็ว

ประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น

[แก้]

บางประเทศได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นแต่ไม่ได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี ดังนั้นการยึดมั่นต่อฝ่ายอักษะจึงอาจดูน้อยกว่าผู้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี บางส่วนของรัฐเหล่านี้ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการกับสมาชิกของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศอื่น ๆ ยังคงวางตัวเป็นกลางในสงคราม และทำการส่งทหารอาสาสมัครไปเข้าร่วมรบเท่านั้น การลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นถูกมองว่า "เป็นบททดสอบความจงรักภักดี" โดยผู้นำนาซี[108]

จีน (รัฐบาลแห่งชาติจีนที่ได้รับการปฏิรูป)

[แก้]

ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เข้ารุกจากฐานที่มั่นในแมนจูเรียไปเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกและตอนกลางของจีน รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นหลายแห่งถูกก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครอง รวมทั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของสาธารณรัฐจีนที่ปักกิ่ง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1937 และรัฐบาลที่ได้รับปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีนที่หนานจิง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1938 รัฐบาลเหล่านี้ถูกรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นรัฐบาลแห่งชาติจีนที่ได้รับการปฏิรูปที่หนานจิง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1940 วาง จิงเว่ย์กลายเป็นประมุขแห่งรัฐ รัฐบาลจะต้องดำเนินการตามแนวทางเดียวกับระบอบชาตินิยมและใช้สัญลักษณ์ของตนเอง

รัฐบาลหนานจิงแทบไม่มีอำนาจที่แท้จริง บทบาทหลักคือทำหน้าที่เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อสำหรับญี่ปุ่น รัฐบาลหนานจิงได้สรุปข้อตกลงกับญี่ปุ่นและแมนจูกัว โดยอนุญาตให้ญี่ปุ่นยึดครองจีน และยอมรับความเป็นเอกราชของแมนจูกัวภายใต้อารักขาของญี่ปุ่น รัฐบาลหนานจิงได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 และประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1943

รัฐบาลมีความสัมพันธ์อันตึงเครียดกับญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้น การที่นายวางยืนกรานว่าระบอบการปกครองของเขาเป็นรัฐบาลชาตินิยมที่แท้จริงของจีนและในการลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ทั้งหมดของพรรคก๊กมินตั๋งทำให้เกิดความขัดแย้งกับญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง ประเด่นที่เด่นชัดมากที่สุดคือเรื่องของธงของระบอบการปกครอง ซี่งเหมือนกับธงของสาธารณรัฐจีน

สถานการณ์ที่เลวร้ายลงสำหรับญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่ากองทัพนานกิงได้รับบทบาทที่สำคัญในการป้องกันจีนที่ถูกยึดครองมากกว่าที่ญี่ปุ่นจะคาดคิดในช่วงแรก กองทัพได้ถูกใช้เกือบอย่างต่อเนื่องในการต่อต้านกองทัพใหม่ที่สี่ของฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน วาง จิงเว่ย์ได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 และได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยรองผู้ช่วยของเขา เฉิน กงป๋อ เฉินมีอำนาจอิทธิพลเพียงแค่เล็กน้อย อำนาจที่แท้จริงซึ่งอยู่เบื้องหลังในระบอบคือ โจว โฝไห่ นายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ การตายของนายวางได้ขจัดความชอบธรรมเพียงเล็กน้อยเท่าที่ระบอบนั้นมี วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 ภายหลังความพ่ายแพ้สงครามของญี่ปุ่น พื้นที่ดังกล่าวได้ยอมจำนต่อนายพล เหอ หยิงฉิน นายพลฝ่ายชาตินิยมผู้จงรักภักดีต่อเจียง ไคเชก เฉิน กงป๋อถูกนำตัวขึ้นศาลและถูกตัดสินประหารชีวิตใน ค.ศ. 1946

เดนมาร์ก

[แก้]
ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

เดนมาร์กถูกยึดครองโดยเยอรมนีภายหลังเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 และไม่เคยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 เดนมาร์กและเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน ซึ่งไม่มีภาระผูกผันทางทหารแต่อย่างใดสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[109] เมื่อวันที่ 9 เมษายน เยอรมันได้เข้าโจมตีสแกนดิเนเวีย และความรวดเร็วของการบุกครองเดนมาร์กของเยอรมันทำให้พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 และรัฐบาลเดนมาร์กต้องลี้ภัย พวกเขาต้องยอมรับ"การอารักขาโดยไรชส์" และการเข้าประจำการของกองทัพเยอรมันเพื่อแลกกับความเป็นอิสระเพียงแค่ในนาม เดนมาร์กได้คอยประสานนโยบายต่างประเทศกับเยอรมนี ขยายการยอมรับทางการทูตไปยังผู้ให้ความร่วมมือและระบอบหุ่นเชิดของฝ่ายอักษะ และทำลายความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลผลัดถิ่นของฝ่ายสัมพันธมิตร เดนมาร์กได้ทำลายความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียตและลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941[110] อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้เพิกเฉยต่อเดนมาร์กและทำงานร่วมกับเฮนริก คัฟฟ์แมนน์ เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำสหรัฐ เมื่อพูดถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์ และกองเรือพาณิชย์ของเดนมาร์กในการต่อต้านเยอรมนี[111][112]

ใน ค.ศ. 1941 นาซีได้ก่อตั้งไฟรคอร์ เดนมาร์ก ทหารอาสาสมัครหลายพันนายและหลายคนเสียชีวิตในฐานะส่วนหนึ่งของกองทัพเยอรมันบนแนวรบด้านตะวันออก เดนมาร์กได้ขายผลิตผลทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมให้กับเยอรมนีและให้เงินกู้สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์และป้อมปราการ การมีอยู่ของเยอรมันในเดนมาร์ก รวมไปถึงการก่อสร้างส่วนหนึ่งของป้อมปราการในกำแพงแอตแลนติกซึ่งเดนมาร์กจ่ายไปและไม่เคยได้รับกลับคืนมาอีกเลย

รัฐบาลในอารักขาของเดนมาร์กดำรงอยู่จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ลาออกกันหมด ภายหลังจากการเลือกตั้งที่ถูกกำหนดการตามปกติและเสรีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้วาระปัจจุบันของรัฐสภาเดนมาร์กได้สิ้นสุดลง เยอรมันได้ประกาศบังคับใช้กฏอัยการศึกตามมาด้วยปฏิบัติการซาฟาริ และผู้ให้ความร่วมมือชาวเดนมาร์กยังคงดำเนินต่อไปในระดับฝ่ายบริหารปกครอง โดยระบบข้าราชการของเดนมาร์กซึ่งทำงานอยู่ภายใต้คำสั่งของเยอรมัน กองทัพเรือเดนมาร์กได้ทำลายเรือขนาดใหญ่ จำนวน 32 ลำ เยอรมันได้ยึดเรือมา 64 ลำ และต่อมาได้ถูกยกและซ่อมแซมเรือที่จมไป จำนวน 15 ลำ[113][114] เรือรบ 13 ลำ ได้เล่นเรือหนีไปยังสวีเดนและก่อตั้งกองเรือรบเดนมาร์กในการผลัดถิ่น สวีเดนอนุญาตให้จัดตั้งกองพลน้อยทหารเดนมาร์กในการผลัดถิ่น ซึ่งไม่เคยเห็นออกมาสู้รบเลย[115] ขบวนการต่อต้านเดนมาร์กมีบทบาทในการก่อวินาศกรรมและการออกหนังสือพิมพ์ใต้ดินและการขึ้นบัญชีดำกับผู้ที่ให้ความร่วมมือ[116]

ฟินแลนด์ ฟินแลนด์

[แก้]

แม้ว่าฟินแลนด์จะไม่เคยลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี แต่กลับต่อสู้กับสหภาพโซเวียตเคียงข้างกับเยอรมนีในสงครามต่อเนื่อง ค.ศ. 1941-44 ในช่วงที่ตำแหน่งทาหารของรัฐบาลฟินแดลน์ในช่วงสงครามคือฟินแลนด์เป็นคู่สงครามของเยอรมันซึ่งพวกเขาได้อธิบายว่า "สหายผู้ร่วมรบ" (brothers-in-arms)[117] ฟินแลนด์ได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นอีกครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941[118] ฟินแลนด์ได้ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1947 ซึ่งได้อธิบายว่า ประเทศฟินแลนด์นั้นเป็น "พันธมิตรของเยอรมนีภายใต้การนำของฮิตเลอร์" ในสงครามต่อเนื่อง[119] ด้วยเหตุนี้ ฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเพียงประเทศเดียวที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[120][121] ความเป็นอิสระอีกครั้งของฟินแลนด์จากเยอรมนีทำให้ฟินแลนด์อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบมากที่สุดในเหล่าประเทศรองมหาอำนาจฝ่ายอักษะทั้งหมด[122]

ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามต่อเนื่องยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในฟินแลนด์[123] ในหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า Helsingin Sanomat ปี ค.ศ. 2008 ได้สำรวจพบว่า นักประวัติศาสตร์ชาวฟินแลนด์จำนวน 16 คนจาก 28 คนซึ่งเห็นด้วยว่าฟินแลนด์เป็นพันธมิตรของนาซีเยอรมนี มีเพียงแค่ 6 คนเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย[124]

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ระหว่างเยอรมนีและสหภาพโซเวียตซึ่งมีพิธีสารลับที่จะทำการแบ่งแยกยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ออกจากกันและกำหนดให้ฟินแลนด์เป็นเขตอิทธิพลของโซเวียต[55][125] ภายหลังจากความพยายามในการบีบบังคับเพื่อทำการยกดินแดนและการสัมปทานอื่น ๆ ในฟินแลนด์ซึ่งประสบความล้มเหลว สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะบุกครองฟินแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในช่วงสงครามฤดูหนาว ด้วยความตั้งใจที่จะจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในฟินแลนด์[126][127] ความขัดแย้งครั้งนี้ได้เข้าคุกคามเส้นทางการขนส่งแร่เหล็กของเยอรมนีและเปิดโอกาสในการเข้าแทรกแซงของฝ่ายสัมพันธมิตรในภูมิภาคนี้[128] แม้ว่าฟินแลนด์จะทำการต่อต้าน สนธิสัญญาสันติภาพได้ถูกลงนามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ซึ่งฟินแลนด์ได้ทำการยกดินแดนที่สำคัญเพียงบางส่วนให้กับสหภาพโซเวียต รวมทั้งคอคอดคาเรเลียน ซึ่งมีเมืองขนาดใหญ่อันดับสองของฟินแลนด์คือ วิปูริ และสิ่งปลูกสร้างการป้องกันที่สำคัญอย่างแนวมันเนอร์เฮม ภายหลังสงครามครั้งนี้ ฟินแลนด์ต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร[129][130] และสวีเดนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[131] แต่ถูกขัดขวางโดยการกระทำของโซเวียตและเยอรมัน ส่งผลทำให้ฟินแลนด์เริ่มเข้าใกล้ชิดกับเยอรมนีมากขึ้น ประการแรกด้วยความตั้งใจที่จะได้แรงสนับสนุนของเยอรมันในฐานะตัวถ่วงดุลเพื่อขัดขวางแรงกดดันของโซเวียตอย่างต่อเนื่อง และต่อมาเพื่อช่วยในการทวงคืนดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมา

ในช่วงวันที่เปิดฉากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา การบุกครองสหภาพโซเวียตของเยอรมนี ฟินแลนด์ได้อนุญาตให้เครื่องบินเยอรมันที่บินกลับมาจากการทิ้งทุ่นระเบิดเหนือเกาะครอนสตัดท์และแม่น้ำเนวาเพื่อทำการเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินฟินแลนด์ก่อนที่จะบินกลับไปยังฐานทัพในปรัสเซียตะวันออก เพื่อเป็นการตอบโต้ สหภาพโซเวียตได้เปิดฉากการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ต่อสนามบินและเมืองต่าง ๆ ของฟินแลนด์ ซึ่งทำให้ฟินแลนด์ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ความขัดแย้งของฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียตซึ่งมักจะถูกเรียกกันว่า สงครามต่อเนื่อง

มันเนอร์เฮมกับฮิตเลอร์

เป้าหมายหลักของฟินแลนด์คือการทวงคืนดินแดนที่สูญเสียไปให้กับสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 จอมพล คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม ได้ออกคำสั่งประจำวันซึ่งได้มีการกำหนดที่เข้าใจในระดับสากลว่า เป็นผลประโยชน์บนดินแดนของฟินแลนด์ในคาเรเลียของรัสเซีย

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและฟินแลนด์ได้ถูกตัดขาด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ภายหลังจากบริติชได้ทำการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันในเพ็ตซาโมที่เป็นหมู่บ้านและท่าเรือของฟินแลนด์ สหราชอาณาจักรได้เรียกร้องให้ฟินแลนด์ยุติการรุกรานต่อสหภาพโซเวียตหลายครั้ง และประกาศสงครามกับฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะไม่มีปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ ก็ตาม สงครามครั้งนี้ไม่เคยถูกประกาศระหว่างฟินแลนด์และสหรัฐฯ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะถูกตัดขาดไปใน ค.ศ. 1944 อันเป็นผลมาจากข้อตกลงรุติ-–ริบเบินทร็อพ

ทหารฟินแลนด์ได้เดินผ่านเศษซากรถถังโซเวียต ที-34 ที่ถูกทำลายในยุทธการที่ทาลิ-อิฮานทาลา

ฟินแลนด์ได้ยืนยันที่จะคอยบัญชาการกองทัพของตนเองและดำเนินการตามเป้าหมายในการทำสงครามอย่างเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นกับเยอรมนี เยอรมันและฟินแลนด์ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในปฏิบัติการซิลเวอร์ ฟ็อกซ์ ซึ่งเป็นการโจมตีร่วมกันต่อมูร์มันสค์ ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมในการล้อมเลนินกราด ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีในการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต[108]

ความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และเยอรมนียังได้รับผลกระทบมาจากข้อตกลงรุติ-–ริบเบินทร็อพ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอเป็นเงื่อนไขของเยอรมันสำหรับความช่วยเหลือด้วยอาวุธยุโธปกรณ์และการสนับสนุนทางอากาศ เนื่องจากการรุกของโซเวียตร่วมกับดีเดย์ได้ทำการคุกคามฟินแลนด์ด้วยการยึดครองอย่างสมบูรณ์ ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกลงนามโดยประธานาธิบดี ริสโต รุติ แต่ไม่เคยให้สัตยาบันโดยรัฐสภาฟินแลนด์ ทำให้ฟินแลนด์ไม่ต้องการสันติภาพที่แยกจากกัน

ภายหลังการรุกของโซเวียตซึ่งการสู้รบได้หยุดนิ่งลง ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากรุติคือ จอมพล มันเนอร์เฮม ได้ปฏิเสธข้อตกลงและเปิดการเจรจาลับกับโซเวียต ซึ่งทำให้มีการหยุดยิงในวันที่ 4 กันยายน และการสงบศึกมอสโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1944 ภายใต้เงื่อนไขของการสงบศึกคือ ฟินแลนด์จำเป็นที่จะต้องทำการขับไล่ทหารเยอรมันออกไปจากดินแดนฟินแลนด์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการสู้รบที่ถูกเรียกว่า สงครามแลปแลนด์

แมนจูเรีย (แมนจูกัว)

[แก้]
ทหารแมนจูเรียกำลังฝึกในการซ้อมรบทางทหาร
นักบินแมนจูเรียในกองทัพอากาศแมนจูกัว

แมนจูกัว ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในแมนจูเรียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถูกปกครองเพียงแต่ในนามโดยผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับถูกควบคุมโดยกองทัพญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กองทัพคันโต ในขณะที่แมนจูกัวเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นรัฐสำหรับชนกลุ่มน้อยชาวแมนจู แต่ภูมิภาคก็มีชาวจีนฮั่นเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่

ภายหลังญี่ปุ่นเข้ารุกรานแมนจูเรียในค.ศ. 1939 ความเป็นเอกราชของแมนจูกัว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 โดยมีผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐ เขาได้ประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัวในอีกหนึ่งปีต่อมา ประเทศแมนจูใหม่นี้ได้รับการยอมรับจาก 23 ประเทศจาก 80 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ เยอรมนี อิตาลี และสหภาพโซเวียตเป็นหนึ่งในมหาอำนาจหลักที่ได้ให้การยอมรับแมนจูกัว ประเทศอื่นที่ได้ให้การยอมรับต่อรัฐ ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ และนครวาติกัน แมนจูกัวยังได้รับกรยอมรับโดยพันธมิตรและรัฐบาลหุ่นเชิดอื่น ๆ ของญี่ปุ่น รวมทั้งเหมิ่งเจียง(มองโกเลียใน) รัฐบาลพม่าของบะม่อ ประเทศไทย ระบอบวาง จิ่งเว่ย์ และรัฐบาลอินเดียของสุภาษ จันทระ โพส สันนิบาตชาติได้ประกาศภายหลังใน ค.ศ. 1934 ว่า แมนจูเรียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติ รัฐแมนจูกัวได้ยุติการดำรงอยู่ภายหลังจากโซเวียตเข้ารุกรานแมนจูเรียใน ค.ศ. 1945

แมนจูกัวได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1939 แต่ไม่เคยลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี

สเปน

[แก้]
จากแถวหน้า เรียงจากซ้ายไปขวาตามลำดับ: คาร์ล โวล์ฟฟ์, ไฮน์ริช ฮิมเลอร์, ฟรันซิสโก ฟรังโก และรัฐมนตรีต่างประเทศของสเปน เซอร์ราโน่ ซูเนอร์ ในมาดริด เดือนตุลาคม ค.ศ. 1940

รัฐสเปนของเกาดิโย ฟรันซิสโก ฟรังโก ได้ให้ความช่วยเหลือด้านศีลธรรม เศรษฐกิจ และการทหารแก่ฝ่ายอักษะ ในขณะที่ยังคงวางตัวเป็นกลางเพียงแค่ในนาม ฟรังโกได้อธิบายว่า สเปนเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะและลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นในปี ค.ศ. 1941 กับฮิตเลอร์และมุสโสลินี สมาชิกของพรรค Falange ที่ปกครองในสเปนได้จัดการออกแบบในการทวงคืนดินแดนต่อยิบรอลตาร์[132] กลุ่ม Falangists ยังคงสนับสนุนการเข้าครอบครองอาณานิคมของสเปนในแทนเจียร์ ฝรั่งเศสโมร็อกโก และทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสแอลจีเรีย[133] นอกจากนี้ สเปนยังคงมีความปรารถนากับอดีตอาณานิคมของสเปนในละตินอเมริกา[134]

ฟรังโกเคยชนะสงครามกลางเมืองสเปนด้วยความช่วยเหลือของนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลี ทั้งสองประเทศต่างมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะสถาปนารัฐฟาสซิสต์อีกแห่งในยุโรป สเปนเป็นหนี้กับเยอรมนีมากกว่า 212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[135] สำหรับซัพพลายอาวุธยุทโธปกรณ์ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน และกองกำลังทหารอิตาลีที่ได้เข้าต่อสู้รบในสเปน โดยอยู่ข้างฝ่ายชาตินิยมของฟรังโก

เมื่อเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 ฟรังโกได้เสนอให้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมการรุกรานโดยทันที สิ่งนี้ได้รับการยอมรับโดยฮิตเลอร์ และภายในสองสัปดาห์ ได้มีทหารอาสาสมัครที่มากเกินพอที่จะจัดตั้งเป็นกองพล - กองพลน้ำเงิน(División Azul) ภายใต้บังคับบัญชาการโดยนายพล อกุสติน มูนอซ กรานเดส

ด้วยความเป็นไปได้ที่สเปนจะเข้ามาแทรกแซงในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งได้สำรวจความเคลื่อนไหวของพรรคฟาลังเฆที่ปกครองในละตินอเมริกาของสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปวยร์โตรีโก ซึ่งความรู้สึกนิยมฟาลังเฆและนิยมฟรังโกนั้นมีอยู่สูง แม้แต่ในหมู่ผู้ปกครองชนชั้นสูง[136] กลุ่มฟาลังฆิสต์ได้ส่งเสริมแนวคิดมในการสนับสนุนอดีตอาณานิคมของสเปนในการสู้รบต่อต้านการปกครองของอเมริกา[134] ก่อนสงครามจะปะทุ การสนับสนุนต่อฟรังโกและฟาลังเฆนั้นมีอยู่สูงในฟิลิปปินส์[137] กลุ่มฟาลังเฆภายนอก สาขาระดับระหว่างประเทศของฟาลังเฆได้ร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นต่อต้านกองทัพสหรัฐและฟิลิปิโนในฟิลิปปินส์ผ่านทางฟิลิปปินส์ ฟาลังเฆ[138]

กติกาสัญญาทวิภาคีกับฝ่ายอักษะ

[แก้]

บางประเทศได้สมรู้ร่วมคิดกับเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น โดยไม่ได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นและกติกาสัญญาไตรภาคี ในบางกรณีข้อตกลงทวิภาคีเหล่านี้ได้ถูกทำขึ้นอย่างเป็นทางการ ในบางกรณีก็เป็นทางการที่น้อยกว่า บางประเทศเหล่านี้ก็เป็นรัฐหุ่นเชิดที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยฝ่ายอักษะเอง

พม่า (รัฐบาลบะม่อ)

[แก้]

กองทัพญี่ปุ่นและเหล่านักชาตินิยมชาวพม่า ซึ่งนำโดยอองซาน เข้ายึดการควบคุมพม่าจากสหราชอาณาจักรในช่วงปี ค.ศ. 1942 รัฐพม่าได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 ภายใต้การนำโดยผู้นำนักชาตินิยมชาวพม่านามว่า บะม่อ สนธิสัญญาพันธมิตรระหว่างระบอบบะม่อและญี่ปุ่นและเรนโซะ ซาวาดะ สำหรับญี่ปุ่นในวันเดียวกับที่รัฐบาลบะม่อได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่น "ด้วยความช่วยเหลือที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อดำเนินการปฏิบัติการทางทหารที่ประสบความสำเร็จในพม่า" รัฐบาลบะม่อได้ระดมสังคมชาวพม่าในช่วงสงครามเพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงครามของฝ่ายอักษะ[139]

ระบอบบะม่อได้ก่อตั้งกองทัพป้องกันพม่า(ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งชาติพม่า) ซึ่งอยู่ภายใต้บัญชาการโดยอองซาน ทำการต่อสู้เคียงข้างกับญี่ปุ่นในการทัพพม่า บะม่อได้ถูกอธิบายว่า เป็นรัฐที่มี"ความเป็นอิสระโดยปราศจากอำนาจอธิปไตย" เป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ[140] เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1945 กองทัพแห่งชาติพม่าได้ก่อกบฏต่อญี่ปุ่น

ไทย ไทย

[แก้]
พระยาพหลพลพยุหเสนา (ซ้ายสุด), ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ซ้าย) และดิเรก ชัยนาม (ขวา) กับฮิเดกิ โทโจ (กลาง) ที่โตเกียวใน ค.ศ. 1942

ในฐานะที่เป็นประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นในช่วงสงครามซึ่งคอยส่งกองกำลังทหารไปต่อสู้รบเคียงข้างกับญี่ปุ่นในการต่อสู้รบกับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฝ่ายอักษะ[141][142][143] หรืออย่างน้อย "เข้าข้างกับมหาอำนาจฝ่ายอักษะ"[144] ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1945 แคลร์ บูธ ลูซ นักการเมืองหญิงชาวอเมริกัน ได้เขียนบทความอธิบายว่า ประเทศไทยเป็น"ประเทศฝ่ายอักษะอย่างไม่อาจปฏิเสธได้" ในช่วงสงคราม[145]

ประเทศไทยได้เข้าต่อสู้รบในสงครามฝรั่งเศส-ไทยในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 เพื่อทวงคืนดินแดนจากอินโดจีนฝรั่งเศส กองทัพญี่ปุ่นได้บุกประเทศไทยภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่งช่วงก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์(เนื่องจากเส้นแบ่งเขตวันสากล ช่วงเวลาท้องถิ่นคือช่วงเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941) เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังการรุกราน จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยได้ออกคำสั่งให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่น มีการตกลงแผนปฏิบัติการทางทหารร่วมระหว่างญี่ปุ่น-ไทย โดยกองกำลังไทยจะบุกพม่าเพื่อปกป้องปีกขวาของกองทัพญี่ปุ่น ได้ตกลงกัน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1941[146] เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่นได้ถูกลงนาม และเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 สังข์ พัธโนทัยได้อ่านคำประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการผ่านทางวิทยุ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ไม่ได้ส่งมอบสำเนาคำประกาศสงคราม ดังนั้น แม้ว่าบริติชจะตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามกับไทยและถือว่าเป็นประเทศที่เป็นศัตรู แต่สหรัฐฯกลับไม่ทำเช่นนั้น

ฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้เห็นพ้องต้องกันว่ารัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยงแดงของพม่าให้อยู่ภายใต้การควบคุมของไทย ส่วนที่เหลือของพม่าให้อยู่ภายใต้การควบคุมญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองทัพพายัพของไทยได้เข้าสู่รัฐฉานทางตะวันออกของพม่า ซึ่งได้ถูกกล่าวอ้างสิทธิ์โดยราชอาณาจักรสยาม ทหารราบสามกองพลและทหารม้าหนึ่งกองพลของไทย หัวหอกโดยกลุ่มยานเกราะลาดตระเวนและได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ ได้เข้าปะทะกับกองพลที่ 93 ของจีนที่กำลังล่าถอย เชียงตุงที่เป็นเป้าหมายหลัก ได้ถูกยึดครองเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม การรุกครั้งใหม่ในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนทำให้จีนล่าถอยกลับสู่ยูนนาน[147]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ประเทศไทยได้ลงนามในคำปฏิญญาร่วมมหาเอเชียบูรพา ซึ่งได้เข้าข้างกับฝ่ายอักษะอย่างเป็นทางการ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยรัฐฉานและรัฐกะยาได้ถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศไทย ใน ค.ศ. 1942 และอีกสี่รัฐทางตอนเหนือของมลายาก็ถูกญี่ปุ่นโอนย้ายไปยังประเทศไทยเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความร่วมมือของไทย พื้นที่เหล่านี้ได้ถูกส่งคืนให้กับพม่าและมลายูใน ค.ศ. 1945[148] ทหารไทยสูญเสียไปทั้งหมด 5,559 นายในช่วงสงคราม โดยในจำนวนเหล่านี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 180 นาย ที่ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ประมาณ 150 นายที่เสียชีวิตในการสู้รบในรัฐฉาน และส่วนที่เหลือซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรียและโรคอื่น ๆ[146] ในช่วงสองสามเดือนแรกนี้มีการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น โดยเป็นองค์กรเสรีไทยที่เป็นคู่ขนานในสหราชอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งเป็นผู้นำในนามขององค์กรที่ก่อตั้งองค์กรในอังกฤษ และปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นหัวหน้ากองบัญชาการที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือจากองค์ประกอบทางทหาร มีการก่อตั้งสนามบินลับและค่ายฝึก ในขณะที่สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของอเมริกันและสายลับจากกองกำลัง 136 ของบริติชได้ทำการลักลอบเข้าและออกนอกประเทศ

เมื่อสงครามยืดเยื้อ ประชาชนชาวไทยต่างไม่พอใจต่อการมีอยู่ของญี่ปุ่น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกโค่นล้มอำนาจด้วยการก่อรัฐประหาร รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ภายใต้การนำของควง อภัยวงศ์ได้พยายามช่วยเหลือกลุ่มต่อต้าน ในขณะที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่น ภายหลังสงคราม อิทธิพลของสหรัฐได้ขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยได้รับการปฏิบัติในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามของฝ่ายอักษะ แต่บริติชได้เรียกร้องข้าวจำนวน 3 ล้านตันเพื่อเป็นค่าชดเชยและการส่งคืนพื้นที่ที่ได้ผนวกรวมจากมลายูในช่วงสงคราม ประเทศไทยยังได้ส่งคืนพื้นที่บางส่วนของบริติชพม่าและอินโดจีนฝรั่งเศสที่ได้ถูกผนวกรวมไว้ด้วย จอมพล ป. พิบูลสงครามและพรรคพวกจำนวนหนึ่งได้ถูกดำเนินคดีในข้อก่ออาชญากรรมสงครามและให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาได้ถูกปัดตกไปเนื่องจากแรงกดดันจากสาธารณชนอย่างเข้มข้น ความคิดเห็นของประชาชนเป็นที่ชื่นชอบของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เนื่องจากเขาคิดว่าได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของไทย

สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต

[แก้]
ทหรเยอรมันและโซเวียตในการโอนย้ายพื้นที่อย่างเป็นทางการจากเบรสต์ไปยังการควบคุมของโซเวียตในด้านหน้าของรูปภาพของสตาลิน ในภายหลังการรุกรานและการแบ่งแยกโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1939

ใน ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้พิจารณาที่จะก่อตั้งพันธมิตรกับบริติชและฝรั่งเศสหรือกับเยอรมนี[149][150] เมื่อการเจรจากับบริติชและฝรั่งเศสได้ล้มเหลว พวกเขาจึงหันเข้าหาเยอรมนีและลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีในตอนนี้ได้หลุดพ้นจากความเสี่ยงในการทำสงครามกับโซเวียต และรับรองในการส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งนี้ได้รวมถึงพิธีสารลับที่ดินแดนที่ถูกควบคุมโดยโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตอิทธิพลของทั้งสองฝ่าย[151] โซเวียตต้องการที่จะผนวกดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐเหล่านั้นอีกครั้ง ซึ่งแต่เดิมได้รับมาจากจักรวรรดิรัสเซียในศตวรรษก่อนและสูญเสียให้กับรัสเซียในภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งรวมถึงดินแดน เช่น ภูมิภาคเครซี (เบลารุสตะวันตกและยูเครนตะวันตก) ที่ได้ตกเป็นโปแลนด์ ภายหลังจากได้พ่ายแพ้ในสงครามโซเวียต-โปแลนด์ ค.ศ. 1919-1921[152]

วันที่ 1 กันยายน เกือบหนึ่งสัปดาห์หลังจากกติกาสัญญาได้ถูกลงนาม เยอรมนีได้ทำการบุกครองโปแลนด์ สหภาพโซเวียตได้ทำการบุกครองโปแลนด์จากตะวันออกในวันที่ 17 กันยายน และในวันที่ 28 กันยายน ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาลับกับนาซีเยอรมนีเพื่อคอยประสานงานร่วมกันในการสู้รบกับขบวนการต่อต้านโปแลนด์ โซเวียตได้พุ่งเป้าไปที่หน่วยข่าวกรอง นายทุน และเจ้าหน้าที่ด้วยการจับกุมจำนวนมาก โดยมีเหยื่อจำนวนมากถูกส่งไปยังค่ายกูลักในไซบีเรีย และก่อกระทำอันโหดร้ายหลายครั้งซึ่งลงเอยด้วยการสังหารหมู่กาตึญ ไม่นานหลังจากบุกครองโปแลนด์ สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองสามประเทศบอลติก ได้แก่ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย และผนวกรวมเบสซาราเบียและทางตอนเหนือของบูโควินาจากโรมาเนีย สหภาพโซเวียตได้เข้าโจมตีฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามฤดูหนาว[127] การป้องกันของฟินแลนด์ได้ต้านทานการรุกรานทั้งหมดไว้ได้ ส่งผลทำให้เกิดสันติภาพเป็นการชั่วคราว แต่ฟินแลนด์ถูกบีบบังคับให้ทำการยกพื้นที่ชายแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ใกล้กับเลนินกราด

สหภาพโซเวียตได้ให้การสนับสนุนในการส่งแร่ยุทธภัณฑ์แก่เยอรมนีในการทำสงครามกับยุโรปตะวันตกผ่านทางข้อตกลงเชิงพาณิชย์สองครั้ง ครั้งแรกใน ค.ศ. 1939 และครั้งที่สองใน ค.ศ. 1940 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งออกแร่วัตถุดิบ (แร่ฟอสเฟต โครเมียม และเหล็ก น้ำมันแร่ ธัญพืช ฝ้าย และยาง) สินค้าส่งออกอื่น ๆ เหล่านี้ได้ถูกขนส่งผ่านทางโซเวียตและดินแดนโปแลนด์ที่ถูกยึดครอง ทำให้เยอรมนีสามารถหลีกเลี่ยงการปิดล้อมทางทะเลของบริติช ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 การสนทนาเยอรมัน-โซเวียตได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะที่เกิดขึ้นในเบอร์ลิน[153][154] โจเซฟ สตาลินได้ตอบกลับเป็นการส่วนตัวด้วยข้อเสนอแยกต่างหากในจดหมาย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ประกอบไปด้วยพิธีสารลับหลายประการ รวมทั้ง "พื้นที่ทางตอนใต้ของบาตัม และบากูในทิศทางทั่วไปของอ่าวเปอร์เซียได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางของแรงบันดาลใจของสหภาพโซเวียต" ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับอิรักและอิหร่านในปัจจุบันและโซเวียตได้อ้างสิทธิ์ในบัลแกเรีย ฮิตเลอร์ไม่เคยตอบจดหมายของสตาลินเลย[155][156] ไม่นานหลังจากนั้น ฮิตเลอร์ออกคำสั่งลับในการรุกรานสหภาพโซเวียต[157][158] เหตุผลรวมทั้งอุดมการณ์นาซีอย่างเลเบินส์เราม์และไฮม์ อินส์ ไรช์(กลับบ้านสู่ไรช์)[159]

ฝรั่งเศสเขตวีชี

[แก้]

กองทัพเยอรมันได้เข้าสู่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 มิถถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากยุทธการที่ฝรั่งเศส เปแต็งกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มิถถุนายน ค.ศ. 1940

อิรัก อิรัก

[แก้]

ประเทศอิรัก ได้เป็นประเทศพันธมิตรอักษะในช่วงสั้น ๆ โดยได้ต่อสู้กับสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามอังกฤษ-อิรักในเดือน พ.ค. 1941

รัฐหุ่นเชิด

[แก้]

รัฐบาลที่เป็นอิสระเพียงในนามต่าง ๆ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาจากกลุ่มผู้ฝักใฝ่ท้องถิ่นภายใต้ระดับต่าง ๆ ของการควบคุมของเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นภายในอาณาเขตที่พวกเขายึดครองในช่วงสงคราม บางส่วนของรัฐบาลเหล่านั้นได้ประกาศตนว่าเป็นกลางในความขัดแย้งกับฝ่ายสัมพันธมิตร หรือไม่เคยสรุปเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับฝ่ายอักษะ แต่พวกเขาถูกควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพโดยฝ่ายอักษะทำให้พวกเขาในความเป็นจริงที่เป็นการแผ่ขยายอาณาเขตของมันและด้วยเหตุนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของมัน สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากเจ้าหน้าที่อำนาจทางทหารและคอมมิสซิเนอร์ที่มีอำนาจทางฝ่ายพลเรือนที่ได้รับมอบหมายแต่งตั้งโดยอำนาจที่เป็นผู้ยึดครอง พวกเขาได้ก่อตั้งขึ้นมาจากประชาชนของประเทศที่ถูกยึดครองและความชอบธรรมที่ถูกอนุมานว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดนั้นได้รับการยอมรับโดยผู้ยึดครองโดยนิตินัย หากไม่ใช่โดยพฤตินัย[160]

เยอรมัน

[แก้]

ฝ่ายบริหารปกครองที่ให้ความร่วมมือของประเทศที่ถูกเยอรมันยึดครองในยุโรปนั้นมีการปกครองตนเองที่มีระดับที่แตกต่างกันไป และไม่ใช่ทุกประเทศที่มีคุณสมบัติที่เป็นรัฐอธิปไตยที่ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ เขตปกครองสามัญในโปแลนด์ที่ถูกยึดครองเป็นเขตการบริหารปกครองของเยอรมันโดยสมบูรณ์ ในประเทศนอร์เวย์ที่ถูกยึดครอง รัฐบาลแห่งชาติภายใต้การนำโดยวิดกึน ควิสลิง - ซึ่งเป็นชื่อของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความร่วมมือของเหล่าผู้นิยมฝ่ายอักษะในหลายภาษา - ภายใต้การปกครองของไรชส์ค็อมมิสซารีอาท นอร์เวย์ ไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีกองกำลังติดอาวุธใด ๆ ในฐานะพันธมิตรทางทหารที่เป็นที่ยอมรับหรือมีอำนาจปกครองตนเองแต่อย่างใด ในเนเธอร์แลนด์ที่ถูกยึดครอง อันตอน มุสเซิร์ตได้รับตำแหน่งเชิงสัญลักษณ์ว่า 'ฟือเรอร์แห่งประชาชนเนเธอร์แลนด์' - ขบวนการชาติสังคมนิยมของเขาได้จัดตั้งรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือแก่ฝ่ายบริหารปกครองของเยอรมัน แต่ไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐบาลดัตซ์ที่แท้จริง

แอลแบเนีย (ราชอาณาจักรแอลเบเนีย)

[แก้]

ภายหลังการสงบศึกของอิตาลี สูญญากาศแห่งอำนาจได้เปิดฉากขึ้นในแอลเบเนีย กองทัพอิตาลีที่ยึดครองนั้นกลับดูไร้อำนาจเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติได้เข้าควบคุมทางใต้และแนวร่วมแห่งชาติ (Balli Kombëtar) ได้เข้าควบคุมทางเหนือ ชาวอัลแบเนียในกองทัพอิตาลีได้เข้าร่วมกองกำลังกองโจร ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 กองกำลังกองโจรได้เข้ายึดกรุงติรานาที่เป็นเมืองหลวง แต่พลทหารโดดร่มเยอรมันได้โดดร่มเข้าสู่เมือง ไม่นานภายหลังจากการสู้รบ กองบัญชาการทหารสูงสุงได้ประกาศว่าพวกเขาจะยอมรับความเป็นเอกราชของมหาประเทศแอลเบนีย พวกเขาได้จัดตั้งรัฐบาล ตำรวจ และทหารของแอลเบเนียในความร่วมมือกับ Balli Kombëtar เยอรมันไม่ได้ออกแรงการควบคุมอย่างหนักในการปกครองแอลเบเนีย แต่กลับพยายามที่จะได้รับความนิยมโดยการให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการแก่พันธมิตรทางการเมือง เหล่าผู้นำหลายคนของ Balli Kombëtar ได้รับตำแหน่งในระบอบการปกครอง กองทัพร่วมซึ่งเป็นการรวมตัวเข้าด้วยกันโดยคอซอวอ มาซิโดเนียตะวันตก มอนเตเนโกรทางตอนใต้ และเปรเซโวจนกลายเป็นรัฐแอลเบเนีย สภาผู้สำเร็จราชการระดับสูงได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ ในขณะที่รัฐบาลส่วนใหญ่เป็นผู้นำโดยนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมชาวแอลเบเนีย แอลเบเนียเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายอักษะ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงด้วยจำนวนประชากรชาวยิวที่มีมากมายก่อนช่วงสงคราม[161] รัฐบาลแอลเบเนียได้ปฏิเสธที่จะส่งมอบประชากรชาวยิว พวกเขาได้จัดทำเอกสารปลอมแปลงให้กับครอบครัวชาวยิวและช่วยเหลือให้พวกเขาได้กระจัดกระจายออกไปในประชากรชาวแอลเบเนีย[162] แอลเบเนียได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944

ดินแดนของผู้บัญชาการทหารในเซอร์เบีย

[แก้]

รัฐบาลผู้พิทักษ์ชาติ(Government of National Salvation) หรือเรียกว่า ระบอบเนดิก เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของเซอร์เบียที่สอง ภายหลังจากรัฐบาลผู้ตรวจการณ์(Commissioner Government) ซึ่งถูกก่อตั้งในเขตปกครอง(เยอรมนี)ผู้บัญชาการทหารในเซอร์เบีย[163]|group=nb}} ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้บัญชาการทหารเยอรมันในเซอร์เบียและดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 แม้ว่าระบอบหุ่นเชิดเซอร์จะได้รับการสนับสนุนบางส่วน[164] ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเซิร์บส่วนใหญ่ที่ต่างได้เข้าร่วมกับพลพรรคยูโกสลาเวียหรือกลุ่มเชทนิกส์ของดราฌา มิฮาอิลอวิช[165] นายกรัฐมนตรีตลอดกาลคือ นายพล มิลาน เนดิก รัฐบาลผู้พิทักษ์ชาติได้อพยพออกจากกรุงเบลเกรดไปยังเมือง Kitzbühel ณ เยอรมนี ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 ก่อนที่เยอรมันถอนกำลังออกจากเซอร์เบียอย่างสมบูรณ์

กฎหมายทางเชื้อชาติได้ถูกนำมาใช้ในทุกพื้นที่ดินแดนยึดครองโดยมีผลทันทีต่อประชาชนชาวยิวและโรมานี เช่นเดียวกับการจำคุมขังต่อผู้ที่ต่อต้านลัทธินาซี ค่ายกักกันหลายแห่งถูกก่อตั้งขึ้นในเซอร์เบีย และงานนิทรรศการต่อต้านฟรีเมสัน ค.ศ. 1942 ในกรุงเบลเกรด เมืองนี้ได้ถูกประกาศว่า ปลอดชาวยิว(Judenfrei) เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1942 เกสตาโปของเซอร์เบียได้ถูกก่อตั้งขึ้น ผู้คนประมาณ 120,000 คนถูกกักขังในค่ายกักกันที่เยอรมันเป็นผู้ดำเนินในเซอร์เบียภายใต้เนดิก ระหว่าง ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1944 อย่างไรก็ตาม ค่ายกักกันบานจิกา(Banjica Concentration Camp) ได้ถูกดำเนินการร่วมกันโดยกองทัพบกเยอรมันและระบอบเนดิก[166] จำนวน 50,000 ถึง 80,000 คนล้วนถูกสังหารในช่วงเวลานั้น เซอร์เบียกลายเป็นประเทศที่สองในยุโรป รองจากเอสโตเนีย ซึ่งได้ถูกประกาศว่า ปลอดชาวยิว(Judenfrei) ชาวเซอร์เบียเชื้อสายยิวประมาณ 14,500 คน - 90 เปอร์เซ็นของประชากรชาวเซอร์เบียเชื้อสายยิวจำนวน 16,000 คน ถูกสังหารในสงครามโลกครั้งที่สอง

เนดิกถูกจับกุมโดยอเมริกัน เมื่อพวกเขายึดครองดินแดนเดิมของออสเตรียและต่อมาก็ถูกส่งตัวมอบให้กับทางการคอมมิวนิส์ยูโกสลาเวียเพื่อทำหน้าที่เป็นพยานต่ออาชญากรสงคราม ด้วยความเข้าใจว่า เขาจะถูกส่งตัวกลับไปยังการดูแลของอเมริกันเพื่อเผชิญหน้ากับการพิจารณาคดีโดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ทางการยูโกสลาเวียได้ปฏิเสธที่จะส่งตัวเนดิกกลับคืนสู่การดูแลของอเมริกัน เขาเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ภายหลังจากได้กระโดดหรือตกลงมาจากหน้าต่างของโรงพยาบาลเบลเกรด ภายใต้เหตุการณ์ตามสภาพแวดล้อมที่ดูไม่ชัดเจน

อิตาลี (สาธารณรัฐสังคมอิตาลี)

[แก้]
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี
กองกำลังทหารแห่งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี(ISR) เดือนมีนาคม ค.ศ. 1944

ผู้นำฟาซิสต์อิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี(Repubblica Sociale Italiana ในภาษาอิตาลี) เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1943 รับช่วงต่อจากราชอาณาจักรอิตาลีในฐานะสมาชิกของฝ่ายอักษะ

มุสโสลินีได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งและถูกจับกุมโดยพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังอิตาลีได้ลงนามสงบศึก ในการตีโฉบฉวยที่นำโดยพลทหารโดดร่มเยอรมันอย่างออทโท สกอร์เซนี มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากการจองจำขัง

เมื่อได้รับการฟื้นคืนสู่อำนาจ มุสโสลินีได้ประกาศว่าอิตาลีเป็นสาธารณรัฐและเขาเป็นประมุขแห่งรัฐคนใหม่ เขาได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมันในช่วงปลายสงคราม

รัฐบริวารที่ถูกปกครองร่วมกันระหว่างเยอรมัน-อิตาลี

[แก้]

กรีซ (รัฐเฮลเลนิก)

[แก้]
กรีซ ค.ศ. 1941–1944

ภายหลังจากเยอรมันรุกรานกรีซและการลี้ภัยของรัฐบาลกรีซไปยังเกาะครีตและอียิปต์ รัฐเฮลเลนิกได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 ในฐานะรัฐหุ่นเชิดของทั้งอิตาลีและเยอรมนี ในช่วงแรก อิตาลีต้องการผนวกกรีซ แต่ถูกเยอรมนีกดดันให้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์การก่อความไม่สงบจากพลเรือน ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ผนวกบัลแกเรีย ผลที่ได้รับคืออิตาลีได้ยอมรับการก่อตั้งระบอบหุ่นเชิดโดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อิตาลีได้รับการรับรองจากฮิตเลอร์ถึงบทบาทหลักในกรีซ ส่วนใหญ่ของประเทศถูกกองทัพอิตาลียึดครอง แต่พื้นที่ในทางยุทธศาสตร์(มาซิโดเนียตอนกลาง หมู่เกาะอีเจียนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ของเกาะครีต และส่วนหนึ่งของแอตติกา(Attica)) ถูกครอบครองโดยเยอรมัน ซึ่งได้ทำการยึดทรัพย์สินทางเศรษฐกิจของประเทศและควบคุมรัฐบาลที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ ระบอบหุ่นเชิดไม่เคยสั่งการในอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด และไม่ได้รับความภักดีจากประชาชน ด้วยค่อนข้างประสบสำเร็จในการขัดขวางขบวนการแบ่งแยกดินแดนอย่างเหล่าทหารโรมันแห่งอะโรเมเนียจากการก่อตั้งของพวกเขาเอง ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1943 ขบวนการต่อต้านกรีกได้เข้าปลดปล่อยส่วนใหญ่ของพื้นที่ภายในภูเขา("เสรีกรีซ") ได้ก่อตั้งเขตปกครองที่แยกต่างหากที่นั่น ภายหลังการสงบศึกของอิตาลี เขตยึดครองของอิตาลรได้ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน ซึ่งยังคงอยู่ในหน้าที่ดูแลประเทศจนพวกเขาได้ถอนกำลังในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1944 ในบางแห่งของหมู่เกาะอีเจียน กองทหารรักษาการณ์ของเยอรมันได้ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และทำได้แค่เพียงยอมจำนนในภายหลังสงครามยุติลง

ญี่ปุ่น

[แก้]

จักรวรรดิญี่ปุ่นได้สร้างรัฐบริวารจำนวนมากในเขตพื้นที่ยึดครองโดยกองทัพ จุดเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งแมนจูกัวใน ค.ศ. 1932 รัฐหุ่นเชิดเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติในระดับที่แตกต่าง

กัมพูชา

[แก้]

ราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นที่มีอายุสั้นซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม ถึง 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพเข้าสู่กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศสในกลางปี ค.ศ. 1941 แต่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสยังคงดำรงตำแหน่งบริหารปกครอง ในขณะที่ญี่ปุ่นได้เรียกร้องถึง "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" ได้ชนะใจแก่ชาวกัมพูชาผู้รักชาติหลายคน

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่น ญี่ปุ่นได้ทำการยุบการปกครองดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสและกดดันให้กัมพูชาประกาศเอกราชภายในวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา กษัตริย์สีหนุทรงประกาศว่าราชอาณาจักรกัมพูชา(แทนที่นามของฝรั่งเศส) เป็นอิสระ เซิน หง็อก ถั่ญซึ่งลี้ภัยไปอยู่ที่ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1942 ได้เดินทางกลับมาในเดือนพฤษภาคม และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ[167] ในวันที่ญี่ปุ่นได้ยอมจำนน รัฐบาลชุดใหม่ได้ถูกประกาศโดยมีเซิน หง็อก ถั่ญเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดครองกรุงพนมเปญในเดือนตุลาคม เซิน หง็อก ถั่ญถูกจับกุมในข้อหาให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นและถูกเนรเทศไปยังฝรั่งเศส[167]

อซาดฮินด์

[แก้]

The Arzi Hukumat-e-Azad Hind "รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งเสรีอินเดีย" เป็นรัฐที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลฝ่ายอักษะทั้งเก้าประเทศและได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะโดยญี่ปุ่น[168]

นำโดยสุภาษ จันทระ โพส นักชาตินิยมชาวอินเดียที่ได้ปฏิเสธถึงวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรงของมหาตมา คานธีในการได้รับเอกราช กองทัพบกแห่งชาติอินเดียที่หนึ่งได้เกิดความลังเลใจ ภายหลังจากผู้นำได้คัดค้านการตกเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อสำหรับเป้าหมายการทำสงครามของญี่ปุ่น และบทบาทของสำนักงานการประสานงานของญี่ปุ่น ได้รับการฟื้นฟูโดยสันนิบาตเอกราชอินเดียด้วยการสนับสนุนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1942 ภายหลังจากที่อดีตเชลยศึกและพลเรือนชาวอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตกลงที่จะเข้าร่วมในการลองเสี่ยงของกองทัพบกแห่งชาติอินเดียภายใต้เงื่อนไข้ที่นำโดยโพส ตั้งแต่สิงคโปร์ถูกยึดครอง โพสได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินเดีย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1943 กองทัพบกแห่งชาติอินเดียได้รับมอบหมายให้เป็นส่วนหนึ่งของการรุกอูโก(U Go Offensive) มันเป็นการเล่นบทบาทส่วนใหญ่ในการสู้รบ และได้ประสบความสูญเสียอย่างหนัก และต้องถอนตัวไปพร้อมกองทัพญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ภายหลังจากการล้อมที่อิมผาลถูกตีแตกหัก ต่อมาได้รับมอบหมายในการป้องกันพม่าจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้มีผู้ละทิ้งหน้าที่จำนวนมากในส่วนหลังนี้ กองกำลังทหารที่เหลืออยู่ของกองทัพบกแห่งชาติอินเดียยังคงรักษาความสงบเรียบร้อยในย่างกุ้ง ภายหลังจากการถอนตัวของรัฐบาลบะ ม่อ รัฐบาลเฉพาะกาลได้รับการควบคุมแต่เพียงในนามของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945

มองโกเลียใน (เหมิ่งเจียง)

[แก้]

เหมิ่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในเขตมองโกเลียใน ถูกปกครองเพียงแต่ในนามโดยเจ้าชาย Demchugdongrub ขุนนางชาวมองโกลที่สืบเชื้อสายมาจากเจงกิส ข่าน แต่ในความจริงแล้ว ได้ถูกควบคุมโดยกองทัพญี่ปุ่น ความเป็นเอกราชของเหมิ่งเจียงได้ถูกประกาศ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 ภายหลังจากญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองภูมิภาคนี้

ชาวมองโกเลียในมีความรู้สึกข้อข้องใจหลายประการต่อส่วนกลางของรัฐบาลจีนในนานกิง รวมถึงนโยบายของพวกเขาที่ได้อนุญาตให้ชาวจีนเชื้อสายฮั่นอพยพไปยังภูมิภาคได้อย่างไม่จำกัด เจ้าชายน้อยหลายพระองค์ของมองโกเลียในได้เริ่มยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพจากรัฐบาลส่วนกลางมากขึ้น และโดยผ่านคนเหล่านี้ที่เมื่อญี่ปุ่นมองเห็นถึงโอกาศที่ดีในการใช้ประโยชน์จากลัทธิชาตินิยมอุดมการณ์รวมกลุ่มชาวมองโกล และในที่สุดก็เข้ายึดการควบคุมเขตมองโกเลียนอกจากสหภาพโซเวียต

ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งเหมิ่งเจียงเพื่อใช้ประโยชน์จากความตึงเครียดระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมองโกเลียและรัฐบาลส่วนกลางของจีน ซึ่งในทางทฤษฏีแล้ว ได้ปกครองเขตมองโกลเลียใน เมื่อรัฐบาลหุ่นเชิดต่าง ๆ ของจีนได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้รัฐบาลของวาง จิงเว่ย์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 เหมิ่งเจียงยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนในฐานะสหพันธ์อิสระ แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างมั่นคงของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งได้ยึดครองดินแดน เจ้าชาย Demchugdongrub ก็มีกองทัพอิสระของพระองค์เอง เหมิ่งเจียงได้สูญหายไปใน ค.ศ. 1945 ภายหลังญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง

ลาว

[แก้]

อินโดจีนฝรั่งเศส รวมทั้งลาวได้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 แม้ว่ารัฐบาลโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสยังคงดำเนินต่อไป การปลดปล่อยฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1944 ได้ทำให้ชาร์ล เดอ โกลได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งหมายความว่าความเป็นพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงในอินโดจีน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้ก่อรัฐประหารในกรุงฮานอย และวันที่ 8 เมษายน พวกเขาได้เดินทางมาถึงหลวงพระบาง สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ได้ถูกควบคุมตัวโดยญี่ปุ่นและถูกบีบบังคับให้ออกแถลงการณ์ประกาศสถานะเอกราช แม้ว่าดูเหมือนไม่เคยมีพิธีการเกิดขึ้นก็ตาม ฝรั่งเศสก็ได้กลับมาควบคุมลาวอีกครั้งใน ค.ศ. 1946[169]

ฟิลิปปินส์ (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่สอง)

[แก้]

ภายหลังการยอมจำนนของกองทัพฟิลิปปินส์และอเมริกันในคาบสมุทรบาตาอันและเกาะกอร์เรฮีดอร์ ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดในฟิลิปปินส์ใน ค.ศ. 1942[170] ในปีต่อมา สมัชชาแห่งชาติฟิลิปปินส์ได้ประกาศให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐอิสระและได้เลือกโฮเซ เลาเรล เป็นประธานาธิบดี[171] ไม่เคยมีพลเรือนที่ให้การสนับสนุนแก่รัฐอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นเพราะความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นโดยทั่วไปซึ่งเกิดขึ้นจากความโหดร้ายที่ถูกกระทำโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น[172] สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่สองได้สิ้นสุดลงพร้อมกับการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 และเลาเรลถูกจับกุมและตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏโดยรัฐบาลสหรัฐ เขาได้รับนิรโทษกรรมโดยประธานาธิบดีมานูเอล โรฮัส และยังคงมีบทบาททางการเมือง ในท้ายที่สุดก็ได้เข้าที่นั่งในวุฒิสภาในภายหลังสงคราม

เวียดนาม (จักรวรรดิเวียดนาม)

[แก้]

จักรวรรดิเวียดนามเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นที่มีอายุสั้นซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ถึง 23 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส พวกเขาได้ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของวิชีฝรั่งเศสอยู่ในการควบคุมเพียงแต่ในนาม การปกครองของฝรั่งเศสนี้ได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นได้เข้าควบคุมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ไม่นานหลังจากนั้น จักรพรรดิบ๋าว ดั่ยได้ทำให้สนธิสัญญากับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1884 ตกเป็นโมฆะ และเจิ่น จ่อง กีม นักประวัติศาสตร์ได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรี

การร่วมมือในสงครามโลกครั้งที่สองของเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

[แก้]

การร่วมมือของฝ่ายอักษะ เยอรมนี-ญี่ปุ่น

[แก้]

สมาชิก

[แก้]
ชาติ ดินแดน เข้าร่วม WWII
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี ออสเตรีย 1 กันยายน 1939
ราชอาณาจักรอิตาลี ราชอาณาจักรอิตาลี ราชอาณาจักรอิตาลี ลิเบีย
ราชอาณาจักรอิตาลี เอริเทเรีย
ราชอาณาจักรอิตาลี เอธิโอเปีย
ราชอาณาจักรอิตาลี ดินแดนโพ้นทะเลของประเทศอิตาลี
10 มิถุนายน 1940
จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น เกาหลี
จักรวรรดิญี่ปุ่น ไต้หวัน
จักรวรรดิญี่ปุ่น กวันตง
คาราฟูโตะ
แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
ประเทศแมนจูกัว แมนจู
7 ธันวาคม 1941
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี 12 กันยายน 1943
ฮังการี ราชอาณาจักรฮังการี 6 เมษายน 1941
รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี 15 ตุลาคม 1944
ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย 22 มิถุนายน 1941
บัลแกเรีย ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 6 เมษายน 1941
ฟินแลนด์ สาธารณรัฐฟินแลนด์ 25 มิถุนายน 1941
ไทย ราชอาณาจักรไทย 25 มกราคม 1942
อิรัก ราชอาณาจักรอิรัก 2 พฤษภาคม 1941
สาธารณรัฐสโลวักที่ 1 1 กันยายน 1939
รัฐเอกราชโครเอเชีย 14 ธันวาคม 1941
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย 17 ธันวาคม 1941
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 23 กันยายน 1944

การยอมแพ้

[แก้]

       

ระยะเวลาการยอมแพ้ของฝ่ายอักษะ
ธง ชื่อ วันยอมแพ้
ราชอาณาจักรอิรัก 31 พฤษภาคม 1941
ราชอาณาจักรอิตาลี ลิเบีย 13 พฤษภาคม 1943
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย 8 กันยายน 1943
ราชอาณาจักรอิตาลี ราชอาณาจักรอิตาลี 8 กันยายน 1943
บัลแกเรีย ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 9 กันยายน 1944
โรมาเนีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย 12 กันยายน 1944
ฟินแลนด์ สาธารณรัฐฟินแลนด์ 22 กันยายน 1944
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ราชอาณาจักรฮังการี 15 ตุลาคม 1944
รัฐผู้พิทักษ์แห่งเซอร์เบีย 20 ตุลาคม 1944
สาธารณรัฐสโลวักที่ 1 4 เมษายน 1945
รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี 4 เมษายน 1945
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี 25 เมษายน 1945
รัฐเอกราชโครเอเชีย 8 พฤษภาคม 1945
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี 8 พฤษภาคม 1945
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 17 สิงหาคม 1945
จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น 2 กันยายน 1945

กรณีของประเทศไทยนั้นไม่ใช่ผู้แพ้สงคราม(โดยพฤตินัย)
เพราะมีการรับรองเสรีไทยจากฝ่ายสัมพันธมิตรแล้วก่อนจบสงคราม
มีการยึดอำนาจจอมพล แปลก พิบูลสงครามแล้วมีการต่อต้านญี่ปุ่น
เพื่อไม่ให้แพ้สงครามแต่ต้องเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพ
แต่ไม่มีการแบ่งเขตพื้นที่หรือยึดไปเป็นของสัมพันธมิตร

       

สนธิสัญญาที่ฝ่ายแพ้สงครามถูกบังคับให้ลงนาม
ธง ชื่อ สนธิสัญญา
เยอรมนี ความตกลงพ็อทซ์ดัม
เยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก อนุสัญญาบ็อน–ปารีส
เยอรมนีตะวันตก
เยอรมนีตะวันออก
เยอรมนี
เยอรมนีตะวันตก
เยอรมนีตะวันออก
เยอรมนี
สนธิสัญญาสองบวกสี่
อิตาลี อิตาลี สนธิสัญญาสันติภาพสำหรับอิตาลี
ญี่ปุ่น สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น สนธิสัญญากรุงไทเป
ปฏิญญาร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น
ฮังการี สนธิสัญญาสันติภาพปารีส
โรมาเนีย โรมาเนีย สนธิสัญญาสันติภาพปารีส
บัลแกเรีย สนธิสัญญาสันติภาพปารีส
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ สนธิสัญญาสันติภาพปารีส
ไทย ไทย สนธิสัญญาสันติภาพอังกฤษ–ไทย
สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย
สนธิสัญญาระงับกรณีฝรั่งเศส–ไทย
ออสเตรีย ออสเตรีย สนธิสัญญารัฐออสเตรีย
อิรัก สนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tom Gallagher, C. Hurst & Co. Publishers, 2005, Theft of a Nation: Romania Since Communism, p. 35
  2. Goldberg, Maren; Lotha, Gloria; Sinha, Surabhi (24 March 2009). "Rome-Berlin Axis". Britannica.Com. Britannica Group, inc. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.
  3. Cornelia Schmitz-Berning (2007). Vokabular des Nationalsozialismus. Berlin: De Gruyter. p. 745. ISBN 978-3-11-019549-1.
  4. "Axis". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  5. Cooke, Tim (2005). History of World War II: Volume 1 - Origins and Outbreak. Marshall Cavendish. p. 154. ISBN 0761474838. สืบค้นเมื่อ 28 October 2020.
  6. Tucker, Spencer; Roberts, Priscilla Mary (2005). Encyclopedia of World War II A Political, Social and Military History. ABC-Clio. p. 102. ISBN 9781576079997. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
  7. Momah, Sam (1994). Global strategy : from its genesis to the post-cold war era. Vista Books. p. 71. ISBN 9789781341069. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
  8. 8.0 8.1 Hedinger, Daniel (8 June 2017). "The imperial nexus: the Second World War and the Axis in global perspective". Journal of Global History. 12 (2): 184–205. doi:10.1017/S1740022817000043.
  9. Martin-Dietrich Glessgen and Günter Holtus, eds., Genesi e dimensioni di un vocabolario etimologico, Lessico Etimologico Italiano: Etymologie und Wortgeschichte des Italienischen (Ludwig Reichert, 1992), p. 63.
  10. 10.0 10.1 D. C. Watt, "The Rome–Berlin Axis, 1936–1940: Myth and Reality", The Review of Politics, 22: 4 (1960), pp. 530–31.
  11. Sinor 1959, p. 291.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 MacGregor Knox. Common Destiny: Dictatorship, Foreign Policy, and War in Fascist Italy and Nazi Germany. Cambridge University Press, 2000. p. 124.
  13. MacGregor Knox. Common Destiny: Dictatorship, Foreign Policy, and War in Fascist Italy and Nazi Germany. Cambridge University Press, 2000. p. 125.
  14. John Gooch. Mussolini and His Generals: The Armed Forces and Fascist Foreign Policy, 1922–1940. Cambridge University Press, 2007. p. 11.
  15. Gerhard Schreiber, Bern Stegemann, Detlef Vogel. Germany and the Second World War. Oxford University Press, 1995. p. 113.
  16. H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 68.
  17. Christian Leitz. Nazi Foreign Policy, 1933–1941: The Road to Global War. p. 10.
  18. H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 75.
  19. H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 81.
  20. 20.0 20.1 H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 82.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 76.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 H. James Burgwyn. Italian foreign policy in the interwar period, 1918–1940. Wesport, Connecticut, USA: Greenwood Publishing Group, 1997. p. 78.
  23. 23.0 23.1 Peter Neville. Mussolini. London, England: Routledge, 2004. p. 123.
  24. 24.0 24.1 Knickerbocker, H.R. (1941). Is Tomorrow Hitler's? 200 Questions On the Battle of Mankind. Reynal & Hitchcock. pp. 7–8. ISBN 9781417992775.
  25. Peter Neville. Mussolini. London, England: Routledge, 2004. pp. 123–125.
  26. Gordon Martel. Origins of Second World War Reconsidered: A. J. P. Taylor and Historians. Digital Printing edition. Routledge, 2003. p. 179.
  27. Gordon Martel. Austrian Foreign Policy in Historical Context. New Brunswick, New Jersey, USA: Transaction Publishers, 2006. p. 179.
  28. Peter Neville. Mussolini. London, England: Routledge, 2004. p. 125.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 29.5 29.6 Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. pp. 32–39
  30. Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. p. 33.
  31. Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. p. 38.
  32. Adriana Boscaro, Franco Gatti, Massimo Raveri, (eds). Rethinking Japan. 1. Literature, visual arts & linguistics. pp. 39–40.
  33. Hill 2003, p. 91.
  34. Shelley Baranowski. Axis Imperialism in the Second World War. Oxford University Press, 2014.
  35. Stanley G. Payne. A History of Fascism, 1914–1945. Madison, Wisconsin, USA: University of Wisconsin Press, 1995. p. 379.
  36. 36.0 36.1 Harrison 2000, p. 3.
  37. Harrison 2000, p. 4.
  38. Harrison 2000, p. 10.
  39. Harrison 2000, pp. 10, 25.
  40. 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 40.5 Harrison 2000, p. 20.
  41. Harrison 2000, p. 19.
  42. Lewis Copeland, Lawrence W. Lamm, Stephen J. McKenna. The World's Great Speeches: Fourth Enlarged (1999) Edition. p. 485.
  43. Hitler's Germany: Origins, Interpretations, Legacies. London, England: Routledge, 1939. p. 134.
  44. 44.0 44.1 Stephen J. Lee. Europe, 1890–1945. p. 237.
  45. Peter D. Stachura. The Shaping of the Nazi State. p. 31.
  46. Stutthof. Zeszyty Muzeum, 3. PL ISSN 0137-5377. Mirosław Gliński Geneza obozu koncentracyjnego Stutthof na tle hitlerowskich przygotowan w Gdansku do wojny z Polska
  47. 47.0 47.1 Jan Karski. The Great Powers and Poland: From Versailles to Yalta. Rowman & Littlefield, 2014. p. 197.
  48. Maria Wardzyńska, "Był rok 1939. Operacja niemieckiej policji bezpieczeństwa w Polsce Intelligenzaktion Instytut Pamięci Narodowej, IPN 2009
  49. A. C. Kiss. Hague Yearbook of International Law. Martinus Nijhoff Publishers, 1989.
  50. William Young. German Diplomatic Relations 1871–1945: The Wilhelmstrasse and the Formulation of Foreign Policy. iUniverse, 2006. p. 271.
  51. 51.0 51.1 51.2 Gabrielle Kirk McDonald. Documents and Cases, Volumes 1–2. The Hague, Netherlands: Kluwer Law International, 2000. p. 649.
  52. Geoffrey A. Hosking. Rulers And Victims: The Russians in the Soviet Union. Harvard University Press, 2006 p. 213.
  53. Catherine Andreyev. Vlasov and the Russian Liberation Movement: Soviet Reality and Emigré Theories. First paperback edition. Cambridge, England: Cambridge University Press, 1989. pp. 53, 61.
  54. 54.0 54.1 Randall Bennett Woods. A Changing of the Guard: Anglo-American Relations, 1941–1946. University of North Carolina Press, 1990. p. 200.
  55. 55.0 55.1 55.2 Molotov–Ribbentrop Pact 1939.
  56. Roberts 2006, p. 82.
  57. John Whittam. Fascist Italy. Manchester, England; New York, New York, USA: Manchester University Press. p. 165.
  58. Michael Brecher, Jonathan Wilkenfeld. Study of Crisis. University of Michigan Press, 1997. p. 109.
  59. *Rodogno, Davide (2006). Fascism's European Empire: Italian Occupation During the Second World War. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 46–48. ISBN 978-0-521-84515-1.
  60. 60.0 60.1 60.2 H. James Burgwyn. Italian Foreign Policy in the Interwar Period, 1918–1940. Westport, Connecticut, USA: Praeger Publishers, 1997. pp. 182-183.
  61. H. James Burgwyn. Italian Foreign Policy in the Interwar Period, 1918–1940. Westport, Connecticut, USA: Praeger Publishers, 1997. p. 185.
  62. John Lukacs. The Last European War: September 1939 – December 1941. p. 116.
  63. 63.0 63.1 Jozo Tomasevich. War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: Occupation and Collaboration. pp. 30–31.
  64. Lowe & Marzari 2002, p. 289.
  65. McKercher & Legault 2001, pp. 40–41.
  66. McKercher & Legault 2001, p. 41.
  67. Samuel W. Mitcham: Rommel's Desert War: The Life and Death of the Afrika Korps. Stackpole Books, 2007. p. 16.
  68. Stephen L. W. Kavanaugh. Hitler's Malta Option: A Comparison of the Invasion of Crete (Operation Merkur) and the Proposed Invasion of Malta (Nimble Books LLC, 2010). p. 20.
  69. Mussolini Unleashed, 1939–1941: Politics and Strategy in Fascist Italy's Last War. pp. 284–285.
  70. 70.0 70.1 Patricia Knight. Mussolini and Fascism. Routledge, 2003. p. 103.
  71. Davide Rodogno. Fascism's European Empire: Italian Occupation during the Second World War. Cambridge, England: Cambridge University Press, 2006. p. 30.
  72. John Lukacs. The Last European War: September 1939 – December 1941. Yale University Press, 2001. p. 364.
  73. Shirer 1960, p. 1131.
  74. Albania: A Country Study: Italian Occupation, Library of Congress. Last accessed 14 February 2015.
  75. "Albania – Italian Penetration". countrystudies.us.
  76. Barak Kushner. The Thought War: Japanese Imperial Propaganda. University of Hawaii Press, p. 119.
  77. Hilary Conroy, Harry Wray. Pearl Harbor Reexamined: Prologue to the Pacific War. University of Hawaii Press, 1990. p. 21.
  78. Euan Graham. Japan's sea lane security, 1940–2004: a matter of life and death? Oxon, England; New York, New York, USA: Routledge, 2006. p. 77.
  79. 79.0 79.1 79.2 Daniel Marston. The Pacific War: From Pearl Harbor to Hiroshima. Osprey Publishing, 2011.
  80. Hilary Conroy, Harry Wray. Pearl Harbor Reexamined: Prologue to the Pacific War. University of Hawaii Press, 1990. p. 60.
  81. Herbert P. Bix, Hirohito and the Making of Modern Japan (2001) ch. 13
  82. Dull 2007, p. 5.
  83. 83.0 83.1 83.2 Asada 2006, pp. 275–276.
  84. Li Narangoa, R. B. Cribb. Imperial Japan and National Identities in Asia, 1895–1945. Psychology Press, 2003. pp. 15-16.
  85. Seamus Dunn, T.G. Fraser. Europe and Ethnicity: The First World War and Contemporary Ethnic Conflict. Routledge, 1996. p. 97.
  86. Montgomery 2002, p. [ต้องการเลขหน้า].
  87. Hungary and the Holocaust Confrontation with the Past (2001) (Center for Advanced Holocaust Studies United States Holocaust Memorial Museum); Tim Cole; Hungary, the Holocaust, and Hungarians: Remembering Whose History? pp. 3-5; [1]
  88. Randolph L. Braham; (2010) Hungarian, German, and Jewish calculations and miscalculations in the last chapter of the Holocaust pp. 9-10; Washington, D.C. : Center for Advanced Holocaust Studies, United States Holocaust Memorial Museum, [2]
  89. "Szita Szabolcs: A budapesti csillagos házak (1944-45) | Remény". Remeny.org. 15 February 2006. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
  90. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-05-18.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  91. Jasenovac United States Holocaust Memorial Museum web site
  92. Senn 2007, p. [ต้องการเลขหน้า].
  93. Dinu C. Giurescu, Romania in the Second World War (1939–1945)
  94. Craig Stockings, Eleanor Hancock, Swastika over the Acropolis: Re-interpreting the Nazi Invasion of Greece in World War II, p. 37
  95. Carlile Aylmer Macartney, October Fifteenth: A History of Modern Hungary, 1929–1945, Volume 1, p. 481
  96. Dennis Deletant, Final report, p. 498
  97. Robert D. Kaplan, In Europe's Shadow: Two Cold Wars and a Thirty-Year Journey Through Romania and Beyond, p. 134
  98. David T. Zabecki, World War II in Europe: An Encyclopedia, p. 1421
  99. Zaloga 2013, p. 31.
  100. Axworthy 1995, pp. 350–351.
  101. Axworthy 1995, pp. 239, 243.
  102. Axworthy 1995, p. 229.
  103. Atkinson, Rick (2013). The Guns at Last Light (1 ed.). New York: Henry Holt. p. 354. ISBN 978-0-8050-6290-8.
  104. Dennis Deletant, "Romania", in David Stahel, Joining Hitler's Crusade (Cambridge University Press, 2017), p. 78
  105. Axworthy 1995, p. 9.
  106. Radu Ioanid; (2008) The Holocaust in Romania: The Destruction of Jews and Gypsies Under the Antonescu Regime 1940-1944 pp. 289-297; Ivan R. Dee, ISBN 1461694906
  107. Spencer C. Tucker, World War II at Sea: An Encyclopedia, p. 633
  108. 108.0 108.1 Goda, Norman J. W. (2015). "The diplomacy of the Axis, 1940–1945". The Cambridge History of the Second World War: 276–300. doi:10.1017/CHO9781139524377.015. ISBN 9781139524377. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  109. "Den Dansk-Tyske Ikke-Angrebstraktat af 1939". Flådens Historie. (ในภาษาเดนมาร์ก)
  110. Aage, Trommer. ""Denmark". The Occupation 1940–45". Foreign Ministry of Denmark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-18. สืบค้นเมื่อ 2006-09-20.
  111. William L. Langer and S. Everett Gleason, The Undeclared War, 1940–1941 (1953), pp. 172–73, 424–31, 575–78
  112. Richard Petrow, The Bitter Years: The Invasion and Occupation of Denmark and Norway, April 1940 – May 1945 (1974) p. 165
  113. "Jasenovac". 11 July 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2003.
  114. "Flåden efter 29 August 1943". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2007.
  115. "Den Danske Brigade DANFORCE – Den Danske Brigade "DANFORCE" Sverige 1943–45". 12 August 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2002.
  116. Petrow, The Bitter Years (1974) pp. 185–95
  117. Kirby 1979, p. 134.
  118. Kent Forster, "Finland's Foreign Policy 1940–1941: An Ongoing Historiographic Controversy," Scandinavian Studies (1979) 51#2 pp. 109–123
  119. "Treaty of Peace With Finland". 1947. p. 229. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  120. Wagner, Margaret E.; Osbourne, Linda Barrett; Reyburn, Susan (2007). The Library of Congress World War II companion. New York: Simon & Schuster. p. 39. ISBN 9780743252195. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
  121. Jukes, Geoffrey; O'Neill, Robert (2010). World War II: The Eastern Front 1941-1945. The Rosen Publishing Group. p. 52. ISBN 978-1435891340. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
  122. DiNardo, R.L. (2005). Germany and the Axis Powers from Coalition to Collapse. University Press of Kansas. p. 95. ISBN 9780700614127. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  123. Tallgren, Immi (2014). "Martyrs and Scapegoats of the Nation? The Finnish War-Responsibility Trial, 1945–1946". Historical Origins of International Criminal Law. 2 (21): 512. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  124. Mäkinen, Esa (19 October 2008). "Historian professorit hautaavat pitkät kiistat". Helsingin Sanomat. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
  125. Kirby 1979, p. 120.
  126. Kirby 1979, pp. 120–121.
  127. 127.0 127.1 Kennedy-Pipe 1995, p. [ต้องการเลขหน้า].
  128. Kirby 1979, p. 123.
  129. Seppinen 1983, p. [ต้องการเลขหน้า].
  130. British Foreign Office Archive, 371/24809/461-556.
  131. Jokipii 1987, p. [ต้องการเลขหน้า].
  132. Wylie 2002, p. 275.
  133. Rohr 2007, p. 99.
  134. 134.0 134.1 Bowen 2000, p. 59.
  135. Reginbogin, Herbert (2009). Faces of Neutrality: A Comparative Analysis of the Neutrality of Switzerland and other Neutral Nations during WW II (First ed.). LIT Verlag. p. 120.
  136. Leonard & Bratzel 2007, p. 96.
  137. Steinberg 2000, p. 122.
  138. Payne 1999, p. 538.
  139. Seekins, Donald M. (27 Mar 2017). Historical Dictionary of Burma (Myanmar). Rowman & Littlefield. p. 438. ISBN 978-1538101834. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  140. Yoon, Won Z. (September 1978). "Military Expediency: A Determining Factor in the Japanese Policy regarding Burmese Independence". Journal of Southeast Asian Studies. 9 (2): 262–263. doi:10.1017/S0022463400009772. JSTOR 20062727. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  141. Fry, Gerald W.; Nieminen, Gayla S.; Smith, Harold E. (8 August 2013). Historical Dictionary of Thailand. Scarecrow Press. p. 221. ISBN 978-0810875258. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  142. Merrill, Dennis; Patterson, Thomas (10 Sep 2009). Major Problems in American Foreign Relations, Volume II: Since 1914. Cengage Learning. p. 343. ISBN 978-1133007548. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  143. Bowman, John Stewart (1998). FACTS ABOUT THE AMERICAN WARS. H.W. Wilson Company. p. 432. ISBN 9780824209292. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
  144. Smythe, Hugh H. (Third Quarter 1964). "Thailand Minority Groups". Phylon. Clark Atlanta University. 25 (3): 280–287. doi:10.2307/273786. JSTOR 273786. สืบค้นเมื่อ 2 April 2021.
  145. Booth Luce, Clare (14 December 1945). "Not Unduly Exacting About Java". Congressional Record: Proceedings and Debates of the US Congress. U.S. Government Printing Office: A5532. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  146. 146.0 146.1 Murashima, Eiji (October 2006). "The Commemorative Character of Thai Historiography: The 1942-43 Thai Military Campaign in the Shan States Depicted as a Story of National Salvation and the Restoration of Thai Independence". Modern Asian Studies. Cambridge University Press. 40 (4): 1056–1057. doi:10.1017/S0026749X06002198. JSTOR 3876641. S2CID 144491081. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
  147. "Thailand and the Second World War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27.
  148. Darling, Frank C. (March 1963). "British and American Influence in Post-War Thailand". Journal of Southeast Asian History. Cambridge University Press. 4 (1): 99. doi:10.1017/S0217781100000788. JSTOR 20067423. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
  149. Nekrich, A. M. (Aleksandr Moiseevich) (1997). Pariahs, partners, predators : German-Soviet relations, 1922-1941. Freeze, Gregory L., 1945-. New York: Columbia University Press. pp. 112–120. ISBN 0-231-10676-9. OCLC 36023920.
  150. Shirer, William L. (William Lawrence), 1904-1993. The rise and fall of the Third Reich. New York. pp. 495–496. ISBN 0-671-62420-2. OCLC 1286630.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  151. "Internet History Sourcebooks". sourcebooks.fordham.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
  152. Eastern Europe, Russia and Central Asia 2004, Volume 4. London, England: Europa Publications, 2003. pp. 138–139.
  153. Roberts 2006, p. 58.
  154. Brackman 2001, pp. 341–343.
  155. Donaldson & Nogee 2005, pp. 65–66.
  156. Churchill 1953, pp. 520–521.
  157. Nekrich, Ulam & Freeze 1997, pp. 202–205.
  158. Roberts 2006, p. 59.
  159. Baranowski, Shelley (2011). Nazi Empire: German Colonialism and Imperialism from Bismarck to Hitler. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85739-0.
  160. Lemkin, Raphael (1944). Axis Rule in Occupied Europe: Laws of Occupation, Analysis of Government, Proposals for Redress. Carnegie Endowment for International Peace. p. 11. ISBN 1584779012. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
  161. Sarner 1997, p. [ต้องการเลขหน้า].
  162. "Shoah Research Center – Albania" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-11-27.
  163. Hehn (1971), pp. 344–73
  164. MacDonald, David Bruce (2002). Balkan holocausts?: Serbian and Croatian victim-centred propaganda and the war in Yugoslavia. Manchester: Manchester University Press. p. 142. ISBN 0719064678.
  165. MacDonald, David Bruce (2007). Identity Politics in the Age of Genocide: The Holocaust and Historical Representation. Routledge. p. 167. ISBN 978-1-134-08572-9.
  166. Raphael Israeli (4 March 2013). The Death Camps of Croatia: Visions and Revisions, 1941–1945. Transaction Publishers. p. 31. ISBN 978-1-4128-4930-2. สืบค้นเมื่อ 12 May 2013.
  167. 167.0 167.1 David P. Chandler, A History of Cambodia, Silkworm 1993 [ต้องการเลขหน้า]
  168. Gow, I; Hirama, Y; Chapman, J (2003). Volume III: The Military Dimension The History of Anglo-Japanese Relations, 1600-2000. Springer. p. 208. ISBN 0230378870. สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
  169. Ivarsson, Søren; Goscha, Christopher E. (February 2007). "Prince Phetsarath (1890-1959): Nationalism and Royalty in the Making of Modern Laos". Journal of Southeast Asian Studies. Cambridge University Press. 38 (1): 65–71. doi:10.1017/S0022463406000932. JSTOR 20071807. S2CID 159778908. สืบค้นเมื่อ 2 April 2021.
  170. Guillermo, Artemio R. (2012). Historical Dictionary of the Philippines. Scarecrow Press. pp. 211, 621. ISBN 978-0-8108-7246-2. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
  171. Abinales, Patricio N; Amoroso, Donna J. (2005). State And Society In The Philippines. State and Society in East Asia Series. Rowman & Littlefield. pp. 160, 353. ISBN 978-0-7425-1024-1. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
  172. Cullinane, Michael; Borlaza, Gregorio C.; Hernandez, Carolina G. "Philippines". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ January 22, 2014.

บรรณานุกรม

[แก้]

สิ่งตีพิมพ์

[แก้]

ข้อมูลออนไลน์

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]