ข้ามไปเนื้อหา

ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้นำหลักฝ่ายอักษะ:
(ซ้าย) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งเยอรมนี
(กลาง) เบนิโต มุสโสลินี แห่งอิตาลี
(ขวา) ฮิเดกิ โทโจ แห่งญี่ปุ่น
ผู้นำฝ่ายอักษะ: (ซ้าย)​ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งเยอรมนี, เบนิโต มุสโสลินี แห่งอิตาลี ในสงครามภาคพื้นทวีปยุโรปและแอฟริกา (ขวา)​ บะมอ, จาง จิ่งฮุ่ย, วาง จิงเว่ย์, ฮิเดกิ โทโจ, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, โฮเซ เป. เลาเรล, สุภาษ จันทระ โพส ในสงครามภาคพื้นทวีปเอเชียและแปซิฟิก
ประมุขแห่งรัฐหลักฝ่ายอักษะ:
(ซ้าย) สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น
(กลาง) คาร์ล เดอนิทซ์ แห่งเยอรมนี
(ขวา) พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี
ผู้นำรองฝ่ายอักษะ: ลาสโล บาดอสซี (ฮังการี), บ็อกดาน ฟิลอฟ (บัลแกเรีย), เอียน อันโตเนสคู (โรมาเนีย), จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ไทย), โยฮัน วิลเลม รังเงล (ฟินแลนด์) และราชิด อาลี อัล-เกลานี (อิรัก)
โฆษณาชวนเชือญี่ปุ่นยุคโชวะ แสดงภาพอดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ฟูมิมาโระ โคโนเอะ และ เบนิโต มุสโสลินี สามผู้นำหลักฝ่ายอักษะในปี ค.ศ. 1938
ประมุขแห่งรัฐรองฝ่ายอักษะ: มิกโลช โฮร์ตี (ฮังการี), พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 (บัลแกเรีย), พระเจ้ามีไฮที่ 1 (โรมาเนีย), พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ไทย), ริสโต รุติ (ฟินแลนด์) และพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 (อิรัก)
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(Adolf Hitler)
20 เมษายน ค.ศ. 1889 - 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ผู้นำนาซีเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ต่อมาตั้งตนเป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) ฮิตเลอร์เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันทั้งหมด และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำสงครามของเยอรมนี และ นโยบายด้านการต่างประเทศตามลัทธินาซี เขาก่ออัตวินิบาตกรรมในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945
ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์
(Heinrich Himmler)
7 ตุลาคม ค.ศ. 1900 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสและหน่วยตำรวจลับเกสตาโป มีส่วนรู้เห็นต่อการสร้างค่ายกักกันชาวยิวในทวีปยุโรป เขาก่ออัตวินิบาตกรรมระหว่างถูกจับกุมโดยกองทัพอังกฤษด้วยไซยาไนด์
แฮร์มันน์ เกอริง
(Hermann Göring)
12 มกราคม ค.ศ. 1893 - 15 ตุลาคม ค.ศ. 1946 ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ ได้รับเหรียญกางเขนเหล็กชั้นที่หนึ่งในความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม เขาถูกจัดเป็นอาชญากรสงครามอันดับที่ 3 ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาก่ออัตวินิบาตกรรมด้วยไซยาไนด์ก่อนที่จะถูกประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง
โยเซฟ เกิบเบลส์
(Joseph Goebbels)
29 ตุลาคม ค.ศ. 1897 - 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Ministry for Popular Enlightenment and Propaganda) ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 - 2488 เป็นคนใกล้ชิดและผู้ติดตามคนสนิทของฮิตเลอร์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังใจและการเตรียมตัวของประชาชนชาวเยอรมัน ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นมุขมนตรีแห่งเยอรมนี ก่อนหน้าที่เขาจะก่ออัตวินิบาตกรรมเพียงหนึ่งวัน
รูดอล์ฟ เฮสส์
(Rudolf Hess)
26 เมษายน ค.ศ. 1894 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1987 รองหัวหน้าพรรคนาซีและผู้ช่วยของฮิตเลอร์ในพรรคนาซี เขาได้บินเดี่ยวไปยังสกอตแลนด์ในความพยายามที่จะเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักร แต่เขาถูกจับกุมและตกเป็นเชลยศึก เฮสส์ถูกพิจารณาที่เนือร์นแบร์กและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ที่เรือนจำสพันเดา กรุงเบอร์ลิน และเสียชีวิตในเรือนจำแห่งนี้ใน ค.ศ. 1987
เอริช แรดเดอร์
(Erich Raeder)
24 เมษายน ค.ศ. 1876 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 จอมพลเรือ (Großadmiral) และผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือ แห่งนาซีเยอรมนี หรือครีคส์มารีเนอ (Kriegsmarine) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 - 30 มกราคม พ.ศ. 2486
คาร์ล เดอนิทซ์
(Karl Dönitz)
16 กันยายน ค.ศ. 1891 - 24 ธันวาคม ค.ศ. 1980 เป็นจอมพลเรือและผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือต่อจากแรดเดอร์ และเป็นประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีเป็นเวลา 23 วันหลังจากการตายของฮิตเลอร์ เป็นผู้บัญชาการกองเรืออูระหว่างยุทธบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก
ไฮนซ์ กูเดเรียน
(Heinz Guderian)
17 มิถุนายน ค.ศ. 1888 - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 พลเอกอาวุโสแห่งกองทัพบกนาซีเยอรมนี เขาเป็นผู้คิดค้นยุทธการสายฟ้าแลบ (บลิทซครีก) เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันจำนวนมากในช่วงต้นของสงคราม ต่อมาได้เป็นหัวหน้าเสนธิการของกองทัพภายหลังเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944
เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์
(Karl Rudolf Gerd von Rundstedt)
12 ธันวาคม ค.ศ. 1875 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 จอมพลแห่งกองทัพเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight) เขาเป็นผู้รวบรวมกองกำลังเพื่อรับมือกับปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างรวดเร็วและได้รับชัยชนะ
เออร์วิน รอมเมล
(Erwin Rommel)
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1891 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ผู้บัญชาการกองทัพแอฟริกาและเป็นที่รู้จักกันดีในฉายา "จิ้งจอกทะเลทราย" ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทุกฝ่ายแม้แต่ฝ่ายศัตรู ภายหลังได้รับเลือกให้บัญชาการทหารเยอรมันระหว่างยุทธการแห่งนอร์มังดี รอมเมลถูกบังคับให้ทำอัตวินิบาตกรรมโดยฮิตเลอร์
โรแบร์ท ฟ็อน ไกรม์
(Robert von Greim)
22 มิถุนายน ค.ศ. 1892 – 24 มิถุนายน ค.ศ. 1945 เป็นจอมพลอากาศและผู้บัญชาการแห่งกองทัพอากาศต่อจากเกอริง ต่อมาหลังจากที่เยอรมันได้ยอมจำนนต่อสัมพันธมิตร ไกรม์ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพสหรัฐ ต่อมาเขาได้ทำอัตวินิบาตกรรมในเรือนจำ
อัลแบร์ท เค็สเซิลริง
(Albert Kesselring)
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
ว็อล์ฟรัม ฟ็อน ริชท์โฮเฟิน
(Wolfram von Richthofen)
10 ตุลาคม ค.ศ. 1895 – 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
ฮูโก ชแปร์เลอ
(Hugo Sperrle)
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 – 2 เมษายน ค.ศ. 1953 เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
แอร์ฮาร์ท มิลช์
(Erhard Milch)
30 มีนาคม ค.ศ. 1892 – 25 มกราคม ค.ศ. 1972 เป็นจอมพลอากาศแห่งลุฟท์วัฟเฟอ
ฮันส์-เกออร์ค ฟ็อน ฟรีเดอบวร์ค
(Hans-Georg von Friedeburg)
15 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เป็นพลเรือเอกอาวุโสและผู้บัญชาการใหญ่กองทัพเรือคนสุดท้ายต่อจากเดอนิทซ์ ฟรีเดอบวร์คเป็นคนเดียวที่เป็นตัวแทนของกองกำลังที่จะนำเสนอในการลงนามในตราสารยอมจำนนของเยอรมนีในเมืองแร็งส์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และในเบอร์ลินเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ต่อมาเขาได้กระทำอัตวินิบาตกรรมภายหลังจากการล่มสลายของรัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค
วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์
(Walther von Brauchitsch)
4 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1948 เป็นจอมพลและผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ต่อมาฮิตเลอร์ได้ปลดเขาออกจากตำแหน่งไปประจำอยู่ในกำลังสำรอง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพจากโรคหัวใจ ต่อมาเขาถูกจับกุมและนำตัวขึ้นพิจารณาคดีข้อหาอาชญากรรมสงคราม แต่ระหว่างที่คดีของเขายังไม่ถูกพิพากษา เขาก็เสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1948
แฟร์ดีนันท์ เชอร์เนอร์
(Ferdinand Schörner)
22 มิถุนายน ค.ศ. 1892 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1973 เป็นจอมพลคนสุดท้ายของนาซีเยอรมนี และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่กองทัพบกต่อจากฮิตเลอร์ในสัปดาห์สุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป
วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล
(Wilhelm Keitel)
22 กันยายน ค.ศ. 1882 - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 จอมพลและหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ จอมพลไคเทิลเป็นผู้ลงนามในตราสารยอมจำนนของเยอรมนีเพื่อยุติสงคราม
อัลเฟรท โยเดิล
(Alfred Jodl)
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 พลเอกอาวุโสและเสนาธิการกิจการทหารแห่งแวร์มัคท์ จอมพลโยเดิลได้รับมอบอำนาจจากประธานาธิบดีคาร์ล เดอนิทซ์ เพื่อได้ลงนามตราสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1945
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี
(King Victor Emmanuel III of Italy)
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 - 28 ธันวาคม ค.ศ. 1947 พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี และประมุขสูงสุดของกองทัพอิตาลี
เบนิโต มุสโสลินี
(Benito Mussolini)
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 - 28 เมษายน ค.ศ. 1945 นายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีระหว่างปี ค.ศ. 1922-1943 ในภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประมุขแห่งรัฐสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี ในช่วงปี ค.ศ. 1943-1945 มุสโสลินีเป็นผู้ให้กำเนิดหลักการลัทธิฟาสซิสต์โดยใช้แนวความคิดด้านชาตินิยม ลัทธินิยมทหารและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ รวมไปถึงการใช้สื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ ฟาสซิสต์อิตาลีได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนาซีเยอรมนี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หลังสิ้นอำนาจเขาถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาทรยศต่อชาติ
ปีเอโตร บาโดลโย
(Pietro Badoglio)
28 กันยายน ค.ศ. 1871 - 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 จอมพลแห่งกองทัพอิตาลี หนึ่งในผู้นำกองทัพอิตาลีในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง ลาออกจากตำแหน่งจอมพลหลังพ่ายแพ้ให้กรีซในปี ค.ศ. 1940 ในปี ค.ศ. 1943 ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการให้อิตาลีลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร และจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายนิยมกษัตริย์ขึ้นในภาคใต้ของอิตาลี
อูโก คาวาเยโร
(Ugo Cavallero)
20 กันยายน ค.ศ. 1880 - 13 กันยายน ค.ศ. 1943 ผู้บัญชาการทหารบกแห่งกองทัพราชอาณาจักรอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้นำทัพอิตาลีในการทำสงครามกับกรีซซึ่งประสบกับความล้มเหลว
อาร์ตูโร ริคาร์ดี
(Arturo Riccardi)
30 ตุลาคม ค.ศ. 1878 - 20 ธันวาคม ค.ศ. 1966 พลเรือเอกและผู้บัญชาการทหารเรือแห่งราชนาวีอิตาลีระหว่าง ค.ศ. 1940 - 1943
อิตาโล บัลโบ
(Italo Balbo)
6 มิถุนายน ค.ศ. 1896 - 28 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ผู้บัญชาการทหารอากาศแห่งกองทัพอากาศราชอาณาจักรอิตาลีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1930 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1940 และเป็นผู้ควบคุมกองทัพที่ 10 ของอิตาลีในลิเบียตราบจนเสียชีวิต
กาลีซโซ ชิอาโน
(Galeazzo Ciano)
18 มีนาคม ค.ศ. 1903 - 11 มกราคม ค.ศ. 1944 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้ได้รับการแต่งตั้งจากมุสโสลินีในปี ค.ศ. 1936 (มุสโสลินีเป็นพ่อตาของคิอาโน) และดำรงตำแหน่งดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองระบอบฟาสซิสต์ในปี ค.ศ. 1943 เขาเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญาเหล็กร่วมกับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1939 และในสนธิสัญญาสามพันธมิตรกับเยอรมนีและญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940 ชิอาโนได้พยายามโน้วน้าวให้มุสโสลินีนำอิตาลีออกจากสงครามเพราะอิตาลีได้รับความสูญเสียอย่างหนักแต่ถูกเพิกเฉย ถึงปี ค.ศ. 1943 เขาได้สนับสนุนการขับไล่มุสโสลินีลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ในเวลาต่อมาเขาถูกพวกฟาสซิสต์ในฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี (รัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลีภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนี) ประหารชีวิตในโทษฐานทรยศต่อมุสโสลินี
โรดอลโฟ กราซีอานี
(Rodolfo Graziani)
11 สิงหาคม ค.ศ. 1882 - 11 มกราคม ค.ศ. 1955 จอมพลแห่งกองทัพอิตาลี หนึ่งในผู้นำกองทัพอิตาลีในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการอาณานิคมแอฟริกาเหนือของอิตาลีและผู้ว่าการอาณานิคมลิเบียของอิตาลี หลังพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายอังกฤษในการบุกอียิปต์ เขาจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในปี ค.ศ. 1941 หลังมุสโสลินีสิ้นอำนาจจากการถูกรัฐประหาร ค.ศ. 1943 กราซีอานิยังคงเป็นนายทหารคนเดียวที่ยังคงภักดีต่อมุสโสลินี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี และควบคุมกองทัพผสมอิตาลี-เยอรมนี "กองทัพลีกูเรียที่ 97" (LXXXXVII "Liguria" Army)
โจวันนี เมสเซ
(Giovanni Messe)
10 ธันวาคม ค.ศ. 1883 - 18 ธันวาคม ค.ศ. 1968 ผู้บัญชาการกองทัพน้อยของอิตาลีในรัสเซีย (Corpo di Spedizione Italiano in Russia, CSIR) กองกำลังดังกล่าวนี้ร่วมมือกับกองทัพนาซีเยอรมนีรบกับฝ่ายสหภาพโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต
(Emperor Hirohito)
24 เมษายน ค.ศ. 1901 - 7 เมษายน ค.ศ. 1989 รู้จักในนามสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 – ค.ศ. 1989 พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 – ค.ศ. 1945 และได้รับการปลดเปลื้องความผิดพร้อมกับสมาชิกราชวงศ์ทั้งหมดจากนายพลดักลาส แมคอาเธอร์
ฮิเดกิ โทโจ
(Hideki Tōjō)
30 ธันวาคม ค.ศ. 1884 - 23 ธันวาคม ค.ศ. 1948 นายกรัฐมนตรีและพลเอกแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 – ค.ศ. 1944 และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตหลังจากสงครามยุติ
เจ้าฟูมิมาโระ โคโนเอะ
(Prince Fumimaro Konoe)
12 ตุลาคม ค.ศ. 1891 - 16 ธันวาคม ค.ศ. 1945 นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1941 หลังจากการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าชายฟุมิมะโระได้ปลงพระชนม์ของพระองค์เองโดยการเสวย โพแทสเซียมไซยาไนด์ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสงคราม
มิตสึมาสะ โยไน
(Mitsumasa Yonai)
2 มีนาคม ค.ศ. 1880 - 20 เมษายน ค.ศ. 1948 นายกรัฐมนตรีและพลเรือเอกแห่งญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1940 และเป็นรัฐมนตรว่าการกระทรวงกองทัพเรือตั้งแต่ ค.ศ. 1944 – ค.ศ. 1945
คูนิอากิ โคอิโซะ
(Kuniaki Koiso)
22 มีนาคม ค.ศ. 1880 - 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1950 ผู้บัญชาการกองทัพและนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1944 – ค.ศ. 1945
คันตะโร ซุซุกิ
(Kantarō Suzuki)
18 มกราคม ค.ศ. 1868 - 17 เมษายน ค.ศ. 1948 นายกรัฐมนตรีและพลเรือเอกแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เขาได้ตกลงในการยอมจำนนต่อกองทัพสัมพันธมิตร
เจ้าชายนารูฮิโกะ เจ้าฮิงาชิกูนิ
(Prince Naruhiko Higashikuni)
3 ธันวาคม ค.ศ. 1887 - 20 มกราคม ค.ศ. 1990 นายกรัฐมนตรี (ต่อจากซุซุกิ) และพลเอกแห่งญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เขาได้ตกลงในการลงนามในเอกสารยอมจำนนบนเรือรบมิสซูรีของสหรัฐ ที่ทอดสมอในอ่าวโตเกียว เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ
เจ้าชายฮิโรยาซุ เจ้าฟูชิมิ
(Prince Fushimi Hiroyasu)
16 ตุลาคม ค.ศ. 1875 - 16 สิงหาคม ค.ศ. 1946 จอมพลเรือและหัวหน้าคณะกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1932 – ค.ศ. 1941
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
(Isoroku Yamamoto)
4 เมษายน ค.ศ. 1884 - 18 เมษายน ค.ศ. 1943 จอมพลเรือในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น และผู้บัญชาการทัพเรือผสมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้บัญชาการในปีแรกสำหรับการวางแผนในสงครามหลัก เช่น การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และยุทธนาวีที่มิดเวย์
โนบูตาเกะ คนโด
(Nobutake Kondō)
25 กันยายน ค.ศ. 1886 - 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 พลเรือเอกในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะผู้บัญชาการของกองเรือที่ 2 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกองกำลังหลักที่แยกออกของกองทัพเรือสำหรับปฏิบัติการโดยตนเอง
ชูอิจิ นางูโมะ
(Chūichi Nagumo)
25 มีนาคม ค.ศ. 1887 - 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 พลเรือเอกแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้บัญชาการในสงครามหลัก เช่น การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์, การทิ้งระเบิดดาร์วินและยุทธนาวีที่มิดเวย์ นางูโมะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างยุทธการที่ไซปัน
โอซามิ นางาโนะ
(Osami Nagano)
15 มิถุนายน ค.ศ. 1880 - 5 มกราคม ค.ศ. 1947 จอมพลเรือและหัวหน้าคณะกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 – ค.ศ. 1944
โซเอมุ โทโยดะ
(Soemu Toyoda)
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885 - 22 กันยายน ค.ศ. 1957 พลเรือเอกและผู้บัญชาการกองเรือผสมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 – ค.ศ. 1945
ฮาจิเมะ ซูงิยามะ
(Hajime Sugiyama)
1 มกราคม ค.ศ. 1880 - 12 กันยายน ค.ศ. 1945 จอมพลและเสนาธิการทหารบกของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1944
ชุนโรกุ ฮาตะ
(Shunroku Hata)
26 กรกฎาคม ค.ศ. 1879 - 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 จอมพลแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาตะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
โทโมยูกิ ยามาชิตะ
(Tomoyuki Yamashita)
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 - 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 พลเอกแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยามาชิตะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างการทัพมาลายาและยุทธการที่สิงคโปร์
ทาดามิจิ คูริบายาชิ
(Tadamichi Kuribayashi)
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1891 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1945 พลเอกแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คูริบายาชิเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างยุทธการที่ฮ่องกงและยุทธการที่อิโวะจิมะ
โคทาโร่ นากามูระ
(Kōtarō Nakamura)
28 สิงหาคม ค.ศ. 1881 - 29 สิงหาคม ค.ศ. 1947 พลเอกและผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออกแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
อาเกโตะ นากามูระ
(Aketo Nakamura)
11 เมษายน ค.ศ. 1889 - 12 กันยายน ค.ศ. 1966 พลโทและผู้บัญชาการกองทัพแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
มิคอส ฮอร์ธี
(Miklós Horthy)
18 มิถุนายน ค.ศ. 1868 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี (ประมุขแห่งรัฐ) ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 - ค.ศ. 1944
ลาสโล บาดอสซี
(László Bárdossy)
10 ธันวาคม ค.ศ. 1890 - 10 มกราคม ค.ศ. 1946 นายกรัฐมนตรีแห่งฮังการี ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 - ค.ศ. 1942 ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตในปีค.ศ. 1946
มิคอส คัลเลย์
(Miklós Kállay)
23 มกราคม ค.ศ. 1887 - 14 มกราคม ค.ศ. 1967 นายกรัฐมนตรีแห่งฮังการีตั้งแต่ ค.ศ. 1942 - ค.ศ. 1944
โดเม ซโตเจย์
(Döme Sztójay)
5 มกราคม ค.ศ. 1883 - 22 สิงหาคม ค.ศ. 1946 นายกรัฐมนตรีแห่งฮังการีในปี ค.ศ. 1944 ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตในปีค.ศ. 1946
เกซา ลากาตอส
(Géza Lakatos)
30 เมษายน ค.ศ. 1890 - 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 ผู้บัญชาการของกองกำลังฮังการีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และนายกรัฐมนตรีแห่งฮังการีในปี ค.ศ. 1944
แฟแร็นตส์ ซาลอชี
(Ferenc Szálasi)
6 มกราคม ค.ศ. 1897 - 12 มีนาคม ค.ศ. 1946 หัวหน้าพรรคแอร์โรว์ครอสส์, ผู้นำชาติฮังการี และเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ ค.ศ. 1944 - ค.ศ. 1945 ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตในปีค.ศ. 1946
เบลา มิคอส
(Béla Miklós)
11 มิถุนายน ค.ศ. 1890 - 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 นายกรัฐมนตรีเพียงในนามแห่งฮังการีตั้งแต่ ค.ศ. 1944 - ค.ศ. 1945
อิวาน ฮินดี
(Iván Hindy)
28 มิถุนายน ค.ศ. 1890 - 29 สิงหาคม ค.ศ. 1946 เป็นผู้พันแห่งกองทหารฮังการี เขาเป็นผู้ทำให้เกิดการปิดล้อมบูดาเปสต์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945เขาได้ถูกจับตัวโดยโซเวียต พยายามหลบหนีแต่ล้มเหลว เขาได้ถูกตัดสินประหารชีวิตในปีค.ศ. 1946
กุสตาฟ ยานี
(Gusztáv Jány)
21 ตุลาคม ค.ศ. 1883 - 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เป็นพลเอกอาวุโสแห่งกองทหารฮังการี เขาได้บังคับบัญชากองทัพฮังการีที่สองในยุทธการที่สตาลินกราดต่อมาเขาถูกตัตสินว่ามีความผิดในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามและถูกประหารชีวิต
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1
(King Michael I of Romania)
25 ตุลาคม ค.ศ. 1921 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 2017 ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียตั้งแต่ ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์โดยอำนาจของอันโตเนสคูที่ต้องการให้พระองค์แทนที่พระบิดาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แต่พระองค์ได้ทำการรัฐประหารอันโตเนสคูและเปลี่ยนเป็นฝ่ายพันธมิตรได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1944
เอียน อันโตเนสคู
(Ion Antonescu)
15 มิถุนายน ค.ศ. 1882 - 1 มิถุนายน ค.ศ. 1946 นายกรัฐมนตรีแห่งโรมาเนียและผู้นำเผด็จการโรมาเนียตั้งแต่ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1944 ได้ถูกโค่นล้มจากการรัฐประหารของสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิล และเขาได้ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1946
เปเตร ดูมิเทสคู
(Petre Dumitrescu)
18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882 - 15 มกราคม ค.ศ. 1950 ผู้บัญชาการกองกำลังโรมาเนียที่ 3 ในการต่อต้านสหภาพโซเวียต
- คอนสแตนติน คอนสแตนติเนสคู-เคร็ป
(Constantin Constantinescu-Claps)
20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884 - ค.ศ. 1961 ผู้บัญชาการกองกำลังโรมาเนียที่ 4
โฮเรีย ซีมา
(Horia Sima)
3 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 - 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 หัวหน้ารัฐบาลโปร-นาซี รัฐบาลพลัดถิ่น
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
(Tsar Boris III of Bulgaria)
30 กรกฎาคม ค.ศ. 1894 - 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 ทรงเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ค.ศ. 1918 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตอย่างเป็นปริศนาในค.ศ. 1943
พระเจ้าซาร์ซีโมนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย
(Tsar Simeon II of Bulgaria)
16 มิถุนายน ค.ศ. 1937 - ยังทรงพระชนม์ ทรงเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ค.ศ. 1943 จนถึงค.ศ. 1946 ยังทรงพระเยาว์และไม่ทรงมีพระราชอำนาจใด ๆ จนกระทั่งราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรีย
(Prince Kiril of Bulgaria)
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ทรงเป็นเจ้าชายแห่งบัลแกเรีย และประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างปีค.ศ. 1943 - ค.ศ. 1944 ทรงถูกประหารชีวิตโดยคอมมิวนิสต์
บ็อกดาน ฟิลอฟ
(Bogdan Filov)
10 เมษายน ค.ศ. 1883 - 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรียระหว่างปีค.ศ. 1940 - 1943 และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างปีค.ศ. 1943 - ค.ศ. 1944 ถูกประหารชีวิตโดยคอมมิวนิสต์
อีวาน อีวานอฟ บักรียานอฟ
(Ivan Ivanov Bagryanov)
29 ตุลาคม ค.ศ. 1891 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรียในปีค.ศ. 1944 เขาพยายามดึงประเทศออกจากสงครามโดยประกาศเป็นกลาง ต่อมาเขาถูกประหารชีวิตโดยคอมมิวนิสต์
สโตยาน สโตยานอฟ
(Stoyan Stoyanov)
12 มีนาคม ค.ศ. 1913 - 13 มีนาคม ค.ศ. 1997 ผู้ที่ยิงเครื่องบินของศัตรูได้สูงสุดแห่งกองทัพอากาศบัลแกเรียด้วยชัยชนะ 14 ครั้ง
- เฟอร์ดินานด์ คอซอฟสกี
(Ferdinand Kozovski)
27 มกราคม ค.ศ. 1892 - 12 กันยายน ค.ศ. 1965 นักการเมืองคอมมิวนิสต์และพลโทกองทัพบัลแกเรีย ผู้ซึ่งได้เป็นประธานสมัชชาแห่งชาติบัลแกเรียระหว่างค.ศ. 1950 - 1965
วลาดิมีร์ สตอยเชฟ
(Vladimir Stoychev)
24 กันยายน ค.ศ. 1892 - 27 เมษายน ค.ศ. 1990 นายพันกองทัพบัลแกเรียและนักการทูต

ไทย ราชอาณาจักรไทย (ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1944)

[แก้]
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(King Ananda Mahidol)
20 กันยายน ค.ศ. 1925 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1946 พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี (ค.ศ. 1935 - 1946) ระหว่างสงครามทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงวางพระองค์เป็นกลาง หลังสิ้นสงครามจึงเสด็จนิวัติพระนครในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนแต่การเสด็จสวรรคตของพระองค์ยังคงเป็นปริศนา
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(Plaek Pibulsonggram)
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1897 - 11 มิถุนายน ค.ศ. 1964 จอมพลแห่งกองทัพบกไทย และนายกรัฐมนตรีไทย (ค.ศ. 1938 - 1944) การปกครองในสมัยนี้อยู่ภายในแนวคิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจและนโยบายการต่อต้านชาวจีน จอมพล ป. ได้ตัดสินใจนำไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในปลายปี พ.ศ. 2484 และยอมให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่านในการเคลื่อนทัพเข้าสู่พม่าและมลายา เขาได้ลาออกจากนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2487
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
(Jarun Rattanakuln Seriroengrit)
27 ตุลาคม ค.ศ. 1895 - 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 ผู้นำกองทัพพายัพเข้ารุกรานพม่ามีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสหรัฐไทยเดิม
ผิน ชุณหะวัณ
(Phin Choonhavan)
14 ตุลาคม ค.ศ. 1891 - 26 มกราคม ค.ศ. 1973 ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 แห่งกองทัพพายัพ ต่อมาได้เป็นรองแม่ทัพแห่งกองทัพพายัพ ภายหลังได้เป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม
ปรีดี พนมยงค์
(Pridi Banomyong)
11 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 - 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 อดีตนักปฏิวัติในคณะราษฎรและรัฐมนตรี ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปีค.ศ. 1941 โดยในปีค.ศ. 1944 เขาได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแต่เพียงผู้เดียวและเป็นประมุขแห่งประเทศไทยโดยพฤตินัย แต่ตำแหน่งนี้ก็เป็นเพียงในนาม เขาได้กลายเป็นหัวหน้าของเสรีไทยอย่างลับ ๆ ในปีค.ศ. 1942 และต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ. 1946
พันตรี ควง อภัยวงศ์
(Khuang Aphaiwong)
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1902 - 15 มีนาคม ค.ศ. 1968 นายกรัฐมนตรีระหว่างปีค.ศ. 1944 - 1945 ได้ประกาศสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร
รูป ชื่อ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
ริสโต รุติ
(Risto Ryti)
19 ธันวาคม ค.ศ. 1940 - 1 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์
โยฮัน วิลเลม รังเงล
(Johan Wilhelm Rangell)
4 มกราคม ค.ศ. 1941 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1943 นายกรัฐมนตรีแห่งฟินแลนด์
คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม
(Carl Gustaf Emil Mannerheim)
17 ตุลาคม 1939 – 12 มกราคม 1945 จอมพลแห่งกองทัพฟินแลนด์และผู้สำเร็จราชการแห่งฟินแลนด์
รูป ชื่อ ช่วงชีวิต หมายเหตุ
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2
(King Faisal II of Iraq)
4 เมษายน ค.ศ. 1939 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1958 พระมหากษัตริย์แห่งอิรัก
ราชิด อาลี อัล-เกลานี
(Rashid Ali al-Gaylani)
3 เมษายน ค.ศ. 1941 - 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 นายกรัฐมนตรีแห่งอิรัก


รัฐบริวารและรัฐในอารักขาของฝ่ายอักษะ

[แก้]
  • ฟิลิป เปแตง เป็นจอมพลกองทัพบกและหัวหน้ารัฐบาลวิชีจากการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1940 จนกระทั่งการบุกครองที่นอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1944 รัฐบาลเปแตงได้ให้ความร่วมมือกับนาซีและได้จัดตั้งกองกำลังในการตีโฉบฉวยเพื่อจับกุมชาวยิวเชื้อสายฝรั่งเศส รัฐบาลเปแตงได้ถูกต่อต้านโดยนายพล ชาร์ล เดอ โกล แห่งกองกำลังเสรีฝรั่งเศส และในที่สุดก็ได้โค่นล้มอำนาจ ภายหลังสงคราม เปแตงได้ถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหาทรยศและตัดสินโทษให้จำคุกตลอดชีวิต
  • ปีแยร์ ลาวาล ผู้นำรัฐบาลเปแตงในปี ค.ศ. 1940 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1944 ภายใต้รัฐบาลที่สองของเขา ได้ให้ความร่วมมือกับนาซีเยอรมนีที่ทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1945 ลาวาลได้ถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหาทรยศและตัดสินโทษประหารชีวิต
  • เรอเน บูสเกต์ รองหัวหน้ากองกำลังตำรวจฝรั่งเศส มีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือกับนาซีในการไล่ต้อนชาวยิวในฝรั่งเศส เขาได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าก่ออาญชญากรรมต่อมนุษยชาติในช่วงหลังสงคราม แต่เขากลับถูกลอบสังหารในช่วงการพิจารณาคดีจะเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1993
  • โฌแซ็ฟ ดาร์น็อง เป็นผู้บัญชาการแห่งกองกำลังกึ่งทหารมีลิสฟร็องแซซ ผู้นำนิยมนาซี, เขาได้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อรัฐบาลฮิตเลอร์และเปแตง เขาได้ก่อตั้งกองกำลังมีลิสขึ้นเพื่อทำการกวาดต้อนชาวยิวและต่อสู้กับฝ่ายต่อต้านฝรั่งเศส เขาได้ถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหาทรยศและตัดสินโทษประหารชีวิต
  • ฌอง เดอกูซ์ ข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนฝรั่งเศส เป็นตัวแทนของรัฐบาลวิชี ภารกิจของเดอกูซ์ในอินโอจีนฝรั่งเศสคือการหันกลับไปทำนโยบายการจำยอมสละต่อญี่ปุ่นภายใต้การนำโดยนายพล ฌอร์ฌ เดอกูซ์ คนก่อนหน้านี้ แต่ความเป็นจริงทางการเมืองในไม่ช้าได้บีบบังคับให้เขาเดินไปตามถนนสายเดียวกัน ได้ถูกจับและนำตัวขึ้นศาลภายหลังสงคราม เดอกูซ์ได้ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดแต่อย่างใด

สโลวาเกีย สาธารณรัฐสโลวัก (พ.ศ. 2482-2488)

[แก้]

โครเอเชีย รัฐเอกราชโครเอเชีย (พ.ศ. 2484-2486)

[แก้]

รัฐบาลอิสระที่สนับสนุนฝ่ายอักษะ

[แก้]

อินเดีย รัฐบาลชั่วคราวเสรีอินเดีย (พ.ศ. 2486-2488)

[แก้]

รัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี

[แก้]

เซอร์เบีย รัฐผู้พิทักษ์, เซอร์เบีย (พ.ศ. 2484-2487)

[แก้]

Milan Nedić, นายพลและนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐผู้พิทักษ์

เดนมาร์ก รัฐเดนมาร์กในอารักขา (พ.ศ. 2483-2488)

[แก้]

จังหวัดลูบลิยานา, สโลวิเนีย (1943–1945)

[แก้]
  • Leon Rupnik, เป็นประธานของรัฐบาลเฉพาะกาล

นอร์เวย์ นอร์เวย์ (พ.ศ. 2483-2488)

[แก้]
  • วิดคัน ควิสลิง รัฐมนตรี-ประมุขแห่งรัฐบาลชาตินอร์เวย์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1945

รัฐหุ่นเชิดของราชอาณาจักรอิตาลี

[แก้]

แอลเบเนีย ราชอาณาจักรอัลแบเนีย (พ.ศ. 2483-2486)

[แก้]

รัฐหุ่นเชิดหุ่นเชิดร่วมนาซีเยอรมนี–ราชอาณาจักรอิตาลี

[แก้]

กรีซ รัฐเฮเลนิค (กรีซ) (พ.ศ. 2484-2487)

[แก้]

รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น

[แก้]

สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน-นานกิง (พ.ศ. 2483-2488)

[แก้]

ประเทศพม่า รัฐพม่า (พ.ศ. 2486-2488)

[แก้]
  • บะมอ ผู้นำทางการเมือง

ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2

[แก้]

เวียดนาม จักรวรรดิเวียดนาม (พ.ศ. 2488)

[แก้]

กัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2488)

[แก้]

รัฐที่ให้การสนับสนุนฝ่ายอักษะ

[แก้]

สเปน รัฐสเปน (วางตัวเป็นกลาง)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]