เบลเยียมในสงครามโลกครั้งที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทหารเยอรมันได้เดินสวนสนามผ่านหน้า พระบรมราชวัง ใน บรัสเซลส์,ปี ค.ศ. 1940

แม้ว่าจะได้ตั้งตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น เบลเยียมและเขตอาณานิคมของตนต้องพบว่าได้ตกอยู่ในภาวะสงครามภายหลังจากการรุกรานยึดครองประเทศโดยกองทัพเยอรมัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1940 ภายหลัง 18 วัน ของการสู้รบต่อสู้ที่ซึ่งกองทัพเบลเยียมได้ถูกผลักดันกลับจนกระทั่งถูกโอบล้อมขนาดเล็กในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ กองทัพเบลเยียมได้ยอมจำนนต่อเยอรมัน เป็นการเริ่มต้นของการยึดครองที่จะต้องอดทนจนกระทั่งปี ค.ศ. 1944. การยอมจำนนของวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นพระราชบัญชาโดยสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียมโดยที่ทรงไม่ได้ปรึกษาหารือกับรัฐบาลของพระองค์และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลังสงคราม แม้จะยอมจำนนแล้ว เหล่าชาวเบลเยียมจำนวนมากได้ทำการอพยพไปยังสหราชอาณาจักรที่พวกเขาได้ก่อตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นและกองทัพเสรีในฝ่ายสัมพันธมิตร

เบลเจียนคองโกยังคงจงรักภักดีต่อรัฐบาลเบลเยียมในลอนดอนและมีส่วนร่วมสำคัญในวัสดุสำคัญและแรงงานมนุษย์เพื่อฝ่ายสัมพันธมิตร เหล่าชาวเบลเยียมจำนวนมากได้มีส่วนร่วมในทั้งการติดอาวุธและทำการต่อต้านกองทัพเยอรมัน แม้ว่าบางคนได้เลือกที่จะร่วมมือกับกองทัพเยอรมัน การได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทางการเมืองฝ่ายขวาและส่วนของประชาชนชาวเบลเยียมได้รับอนุญาตให้กองทัพเยอรมันในการรับสมัครการเกณฑ์ทหารในสองกองพลของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สจากชาวเบลเยียมและได้ปล่อยให้เกิดการข่มเหงของนาซีต่อชาวเบลเยียมเชื้อสายยิวซึ่งเกือบ 25,000 คนถูกสังหาร.

ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับการปลดปล่อยโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงระหว่างเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1944 แม้ว่าพื้นที่ของตะวันออกไกลของประเทศยังคงถูกยึดครองจนกระทั่งได้รับการปลดปล่อยทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1945 ชาวเบลเยียมประมาณ 88,000 คนได้เสียชีวิตในช่วงระหว่างความขัดแย้ง ได้คิดคำนวณเป็น 1.05 เปอร์เซ็นของจำนวนประชากรของประเทศในช่วงก่อนสงครามและประมาณ 8 เปอร์เซ็นของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)ได้ถูกทำลาย

อ้างอิง[แก้]