ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรโรมาเนีย

Regatul României
1881–1947
คำขวัญNihil Sine Deo
"ไม่มีสิ่งใดหากปราศจากพระเจ้า"
เพลงชาติMarș triumfal
("มาร์ชชัยชนะ")
(1881–1884)
เตรอยัสเกอเรเจเล
("ทรงพระเจริญ")
(1884–1947)

ราชอาณาจักรโรมาเนียในปี 1939
ราชอาณาจักรโรมาเนียในปี 1939
เมืองหลวงบูคาเรสต์
(1881–1916 / 1918–1947)
ยาช
(1916–1918)
ภาษาทั่วไปโรมาเนีย[1]
ศาสนา
โรมาเนียออร์โธดอกซ์
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(1881–1937; 1944-1947)
เผด็จการฟาสซิสต์
(1937–1938)
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(1938–1940)
รัฐรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ
(1940–1941)
เผด็จการทหาร
(1941–1944)
พระมหากษัตริย์ 
• 1881–1914
คาโรลที่ 1
• 1914–1927
เฟอร์ดินานด์ที่ 1
• 1927–1930
ไมเคิลที่ 1 (ครองราชย์ครั้งที่ 1)
• 1930–1940
คาโรลที่ 2
• 1940–1947
ไมเคิลที่ 1 (ครองราชย์ครั้งที่ 2)
นายกรัฐมนตรี 
• 1881
เอียน บราตอนคู (คนแรก)
• 1940–1944
เอียน อันโตเนสคู[a]
• 1946–1947
เปตรู โกซา (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติParliament
Senate
Chamber of Deputies
ยุคประวัติศาสตร์
14 มีนาคม 1881
4 มิถุนายน 1920
29 มีนาคม 1923
23 สิงหาคม 1944
12 กันยายน 1944
30 ธันวาคม 1947
พื้นที่
1915[b]138,000 ตารางกิโลเมตร (53,000 ตารางไมล์)
1939[b]295,049 ตารางกิโลเมตร (113,919 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1915[b]
7900000
• 1939[b]
20000000
สกุลเงินRomanian Leu
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหราชรัฐ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยมอลโดวา
บูโควิน่า
ราชอาณาจักรฮังการี
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย
สหภาพโซเวียต
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บัลแกเรีย
 มอลโดวา
 โรมาเนีย
 ยูเครน
a. ^ Was formally declared Conducător (literally, "Leader") of the state on 6 September 1940, by a royal decree which consecrated a ceremonial role for the monarch.[2]
b. ^ Area and population according to Ioan Suciu, Istoria contemporana a României (1918–2005) .[3]

ราชอาณาจักรโรมาเนีย (โรมาเนีย: Regatul României; อังกฤษ: Kingdom of Romania) เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก ที่อยู่ในระหว่าง 13 มีนาคม ค.ศ. 1881 และ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 และมีการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง ในปี (1866, 1923, 1938) ราชอาณาจักรโรมาเนียก่อตั้งขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ประกาศเอกราชของโรมาเนียจากจักรวรรดิออตโตมัน และสิ้นสุดเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย สละราชสมบัติ ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 และรัฐสภาได้ประกาศให้ประเทศโรมาเนียเป็นสาธารณรัฐ

จากปี ค.ศ. 1859 ถึง ค.ศ. 1877, โรมาเนีย วิวัฒน์ขึ้นจากการรวมกันของสองรัฐ (มอลเดเวียและวอลเลเกีย ภายใต้ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ราชอาณาจักรโรมาเนียก่อตั้งขึ้นเมื่อคาโรลที่ 1 ประกาศเอกราชของโรมาเนียจากจักรวรรดิออตโตมัน ในสงครามประกาศอิสรภาพของโรมาเนีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามรัสเซีย-ตุรกี (1877-1878) โรมาเนียได้รับดินแดนเพิ่มมากขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1918-1920 ช่วงที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ทรานซิลเวเนีย, มอลเดเวียตะวันออก (เบสซาเรเบีย และ บูโควีนา ถูกผนวกรวมกับราชอาณาจักรโรมาเนีย กลายเป็นมหาอาณาจักรโรมาเนีย ในปี ค.ศ. 1940 เพื่อเป็นการแบ่งครึ่งดินแดนให้เท่ากัน แคว้นเบสซาเรเบีย ตอนเหนือของบูโควีนา ทรานซิลเวเนียเหนือ และ ดอบรูจาใต้ ทำให้โรมาเนียต้องเสียดินแดนให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้แรงกดดันจากทั้งนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ตามมาด้วยเหตุการณ์มหันตภัยในสงครามโลกครั้งที่สอง ราชอาณาจักรโรมาเนียนำโดยนายพลเอียน อันโตเนสคูได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ แต่ต่อมาสถานการณ์กลับพลิกผันฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ จนสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนียได้ทรงตัดสินพระทัยก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากนายพลเอียน อันโตเนสคู และทรงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1944 โดยพระองค์ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ทำให้สหภาพโซเวียตส่งใบสัญญาให้โรมาเนียว่าจะได้ดินแดนคืนเพียงทรานซิลเวเนียเหนือกลับมา ภายใต้อิทธิพลของโซเวียตและแรงกดดันทางการเมืองตามมาด้วยการที่พรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียได้จัดตั้งรัฐบาลผสมทำให้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1947 ไมเคิลที่ 1 ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ และสาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียเข้ามาแทนที่ระบอบกษัตริย์

ประวัติ

[แก้]

การรวมชาติและระบอบกษัตริย์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1859 การขึ้นครองตำแหน่งของอเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา เป็นเจ้าชายแห่งราชรัฐมอลเดเวียและราชรัฐวัลเลเคีย ภายใต้เพียงในนามตามพิธี[4][5] ภายใต้อาณัติแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ประเทศโรมาเนียได้รวมเป็นปึกแผ่นภายใต้ผู้ปกครองคนเดียว

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 (24 มกราคม Old Style) ราชรัฐทั้งสองได้รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ กลายเป็น สหราชรัฐแห่งโรมาเนีย, โดยมีกรุงบูคาเรสต์เป็นเมืองหลวง

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1866 สิ่งที่เรียกว่า พันธมิตรครั้งใหญ่, ประกอบด้วยพรรคอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยมได้บีบบังคับให้อเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา สละราชสมบัติ เจ้าชายชาร์ลส์ชาวเยอรมันแห่งราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งโรมาเนียแทน ในการย้ายเพื่อรับรอง เยอรมัน ในการสนับสนุนความสามัคคีและความเป็นอิสระในอนาคตของประเทศโรมาเนีย หลังจากเข้าปกครองโรมาเนียแล้วพระองค์ได้เปลี่ยนชื่อของพระองค์เป็นภาษาโรมาเนียมีพระนามว่า คาโรลที่ 1 และลูกหลานของพระองค์จะปกครองโรมาเนียจนกว่าจะมีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1947

ตามมาด้วย สงครามรัสเซีย-ตุรกี (1877-1878), โรมาเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชโดย สนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1878 และได้รับดินแดนดอบรูจา, แม้ว่าจะถูกบังคับให้ยอมยก ภาคใต้ของเบอร์รัสซาเบีย (บูคจัค) ให้แก่จักรวรรดิรัสเซีย ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1881, ในฐานะที่เป็นคำยืนยันของอธิปไตยอย่างสมบูรณ์รัฐสภาโรมาเนียได้ยกประเทศให้อยู่ในสถานะของราชอาณาจักรและคาโรลที่ 1 ก็ได้รับการสวมมงกุฎให้เป็นกษัตริย์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม

ในฐานะประเทศรัฐใหม่ ราชอาณาจักรโรมาเนียมีอาณาเขตที่ถูกกดดันบีบคั้นระหว่างจักรวรรดิออตโตมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี, และ จักรวรรดิรัสเซีย, ด้วยการมีประชากรชาวสลาฟอยู่ทางทิศใต้, ทิศตะวันตกเฉียงใต้, ชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ, ทะเลดำซึ่งอยู่ทางตะวันออก และชาวฮังการี ในฐานะปรแทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ

ประเทศโรมาเนียได้ประกาศเป็นกลางและงดเข้าร่วม สงครามบอลข่านครั้งแรก ในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรโรมาเนียได้เข้าร่วม สงครามบอลข่านครั้งที่สอง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1913 สู้รบกับราชอาณาจักรบัลแกเรีย กองทัพโรมาเนีย 330,000 นาย เคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำดานูบและเข้าสู่ ประเทศบัลแกเรีย กองทัพหนึ่งได้ยึดครองดอบรูจาใต้และส่วนอื่นๆได้เคลื่อนเข้าบัลแกเรียทางตอนเหนือเข้าใกล้กรุงโซเฟีย ในการช่วยยุติสงคราม โรมาเนียจึงได้รับดินแดนที่ผสมเชื้อชาติของภาคใต้ดอบรูจา ซึ่งเป็นที่ต้องการของโรมาเนียมานานหลายปี

ใน ค.ศ. 1916 โรมาเนียเข้าร่วม สงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยอยู่ในฝ่ายไตรภาคี โรมาเนียมีส่วนเกี่ยวข้องกในการสู้รบกับบัลแกเรีย แต่เป็นผลให้กองทัพบัลแกเรีย หลังจากการต่อสู้ที่ประสบความสำเร็จได้ชัยชนะหลายครั้ง ได้ครอบครองดอบรูจา ซึ่งได้รับการยกให้ก่อนหน้านี้จสกบัลแกเรียโดยสนธิสัญญาบูคาเรสต์และรัฐสภาเบอร์ลิน แม้ว่ากองทัพทหารของโรมาเนียไม่ได้เป็นกองทัพที่ดีมีประสิทธิภาาพในด้านการสู้รบมากนัก ในตอนท้ายของสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิรัสเซียก็ล่มสลาย หน่วยงานปกครองที่สร้างขึ้นใน ทรานซิลเวเนีย, เบอร์รัสซาเบีย และ บูโควิน่า เลือกที่จะเข้าร่วมสหภาพกับโรมาเนีย, ได้รับการสนับสนุนรับรอง ในปี ค.ศ. 1919 สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล และในปี ค.ศ. 1920 โดยสนธิสัญญาทรียานง

ราชอาณาจักรโรมาเนียเก่า (ค.ศ. 1881–1918)

[แก้]
การเปลี่ยนแปลงชายแดนโรมาเนียนับตั้งแต่ค.ศ. 1881— ราชอาณาจักรเก่าแสดงสีม่วง, มหาโรมาเนียแสดงสีชมพู

ราชอาณาจักรโรมาเนียเก่า (โรมาเนีย: Vechiul Regat หรือแค่เพียง เรกัต; เยอรมัน: Regat หรือ Altreich) เป็นคำที่พูดถึงดินแดนที่ครอบคลุมโดยการเป็นอิสรภาพเป็นครั้งแรกของรัฐชาติโรมาเนีย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มราชรัฐดานูบ อันรวม ราชรัฐมอลเดเวียและราชรัฐวัลเลเคียไว้ด้วยกัน การรวมก็ประสบความสำเร็จเมื่อภายใต้การอุปถัมภ์ของสนธิสัญญาปารีส (1856) สภาแอด ฮอค ดีวานส์ (ad hoc Divans) ของทั้งสองดินแดน ที่ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของซูเซอร์เรนแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ได้เลือกให้อเล็กซานดรู เอียน คูซาขึ้นเป็นองค์อธิปัตย์ ถือเป็นการรวมประเทศโดยพฤตินัยในนามว่าสหราชรัฐแห่งมอลเดเวียและวัลลาเซีย ดินแดนได้ถูกกำหนดตัวเองโดยผลจากการกระทำทางการเมือง ตามมาด้วยการรวมเอาโดบรูจาเหนือและถ่ายโอนทางตอนใต้ของเบสซาราเบียให้แก่รัสเซียในปีค.ศ. 1878 การประกาศสถาปนาราชอาณาจักรโรมาเนียในปีค.ศ. 1881 และการผนวกโดบรูจาใต้ในปีค.ศ. 1913

คำที่เข้ามาใช้หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, เมื่อราชอาณาจักรเก่าไม่เห็นด้วยกับ มหาอาณาจักรโรมาเนีย, ซึ่งประกอบด้วย ทรานซิลเวเนีย, บานัต, เบสซาราเบีย, และ บูโควิน่า ในปัจจุบันคำนี้ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และถูกนำมาใช้เป็นคำทั่วไปสำหรับทุกภูมิภาคในโรมาเนียที่รวมอยู่ในทั้งสองอาณาจักรและอาณาเขตปัจจุบัน (กล่าวคือ: วอลเลเกีย, มอลเดเวีย, และ โดบรูจาเหนือ)

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

[แก้]

โรมาเนียตัดสินใจเข้าร่วมอย่างล่าช้าในการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแต่สุดท้ายก็ประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในปี ค.ศ. 1916 การรบในโรมาเนีย โรมาเนียถูกรุกกรานโดยกองทัพจากฝ่ายมหาอำนาจกลางถึง 3 ประเทศได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และ ราชอาณาจักรบัลแกเรียทางตอนใต้ สิ้นสุดลงเมื่อเมื่อฝ่ายอำนาจกลางได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วใน การรุกสู่ทรานซิลเวเนียและยึดครอง วอลเลเกียและโดรบรูจา รวมถึงบูคาเรสต์และแหล่งน้ำมันที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ในตอนท้ายของปี ค.ศ. 1916 ในปี ค.ศ. 1917 แม้จะมีความต้านทานรุนแรงของโรมาเนียโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมอเรอเชสต์ เนื่องมาจากการถอนตัวของจักรวรรดิรัสเซียจากสงครามเนื่องจากติดปัญหาการเมืองภายในประเทศตามมาด้วย การปฏิวัติเดือนตุลาคม ประเทศโรมาเนียซึ่งได้ถูกล้อมรอบเกือบทั้งหมดโดย ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้ถูกกดดันให้ยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม มีการเซ็นสัญญาการสงบศึกฟอกชานี และในปีต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 ตามมาด้วยสนธิสัญญาบูคาเรสต์ แต่หลังจากประสบความสำเร็จในการรุกรานแนวรบเทซซาโรกินีที่ซึ่งดึงเอาราชอาณาจักรบัลแกเรียออกจากสงคราม รัฐบาลของโรมาเนียรีบยืนยันการควบคุมและทำให้กองทัพกลับเข้ามาในสนามรบในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 หนึ่งวันก่อนสงครามจะสิ้นสุดในแนวรบตะวันตก ตามมาด้วยการประกาศ การรวมทรานซิลเวเนียเข้ากับราชอาณาจักรโรมาเนีย ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918, โดยจากผู้แทนของรัฐทรานซิลเวเนีย

สถานการณ์ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

การเติบโตของลัทธิฟาสซิสต์

[แก้]
คอร์เดรียนู เซลา คอร์ดรานู ผู้ก่อตั้งพรรคผู้พิทักษ์เหล็ก ซึ่งมีแนวคิดแบบฟาสซิสต์แห่งโรมาเนีย

หลังจากนั้นสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 2ได้ขึ้นครองราชย์สืบเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโรมาเนียต่อ

พระองค์ทรงทราบมั้ยว่า โรมาเนียนั้นมีเผด็จการอยู่เพียงหนึ่งเดียวคือคอร์เดรียนู

หลังไดัฟังคำของฮิตเลอร์ที่วิลล่าแบร์กโฮฟ พระพักตร์ของกษัตริย์คาโรลเริ่มซีดเผือก พระองค์รู้ดีว่าผู้นำเยอรมันหมายความว่าอย่างไร การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็ก (Iron Guard) ของคอร์เดรียนู เซลา คอร์ดรานูซึ่งนิยมฟาสซิสต์นั้นเริ่มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จดกัดกินราชบัลลังค์ของพระองค์อย่างรวดเร็ว

สถานการณ์ของประเทศโรมาเนียนั้น ที่ผ่าน ๆ มานับตั้งแต่ยุคนโปเลียน ฝรั่งเศสนั้นแทบจะเป็นทุกสิ่งของประเทศนี้ การวัฒนธรรมการทหาร, บ้านเรือนหรือแม้แต่หลักประกันความอยู่รอดของประเทศก็เป็นตามแบบฝรั่งเศสทั้งหมด

ดินแดนที่พวกเขาได้เพิ่มมาตอนจบมหาสงครามนั้นกลับกลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่นับถอยหลังอยู่ทุกอณูลมหายใจ เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ไปเสียแล้ว ประเทศใดที่จะมาดุลอำนาจระหว่างประเทศให้ บรรดาชาติต่าง ๆ รอบบ้านต่างเริ่มหาข้ออ้างมาเรียกร้องดินแดนคืนทั้งออสเตรียและโซเวียต

การลอบสังหารคอร์เดรียนูนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้ทำให้ปัญหาจบลงแบบที่กษัตริย์คาโรลตั้งพระทัยไว้ ชาวบ้านรากหญ้าส่วนใหญ่ของประเทศต่างรอฟังการสืบสวนอย่างใจจดใจจ่อ

กษัตริย์คาโรลกับคอร์เดรียนูนั้นเคยเป็นผู้รวมอุดมการณ์กันมาก่อน โดยกษัตริย์โรมาเนียเป็นคนริเริ่มให้นำลัทธิฟาสซิสต์เข้ามาในประเทศตามแบบสมัยนิยมมุสโสลินีแต่ด้วยความที่ฐานันดรชาติกษัตริย์ที่สูงเกินไปทำให้ยังเข้าถึงประชาชนได้เท่าที่ควรซึ่งคอร์เดรียนูสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยศิลปะการครองใจคน, ใบหน้าที่หล่อเหลาและอุดมการณ์ชาตินิยมแบบสุดลิ่มทิ่มประตู

ฉายา "กัปตัน" (โรมาเนีย: Căpitanul) นั้นคือฉายาที่เรียกคอร์เดรียนูอย่างเป็นที่รู้กันไปทั่ว ไม่ว่ากัปตันจะไปที่ไหนก็จะมีแต่คนต้อนรับอย่างล้นหลาม นี่ยิ่งสุมไฟริษยาให้กับพระราชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะมีคาวมพยายามปรองดองกันแล้วเป็นการส่วนตัวโดยกษัตริย์คาโรลบอกให้นักเคลื่อนไหวหนุ่มลดบทบาทลงและช่วยดันเค้าขึ้นเป็นผู้นำแทนแต่ทางคอร์เดรียนูกลับบอกว่าเค้าคงไม่ได้ สิ่งที่ตัวเค้าจะช่วยคือการไม่ขุดเรื่องคอรัปชันของราชสำนักขึ้นมาเล่นเป็นประเด็นให้แคลงใจแทน

ฟางเส้นสุดท้ายขาดลงเมื่อศพขององค์กรผู้พิทักษ์เหล็ก ถูกส่งกลับมาจากสเปนหลังจากไปช่วยนายพลฟรังโกรบในสงครามกลางเมืองสเปน เมื่อเคลื่อนขบวนศพไปที่ใดก็จะมีประชาชนนับแสน ๆ คนออกมายืนไว้อาลัยตามท้องถนนจนแน่นขนัด กษัตริย์ผู้ริษยาเริ่มคิดหาวิธีจัดการศัตรูการเมืองขั้นเด็ดขาดแล้ว

คอร์เดรียนู ล้อมรอบด้วยเหล่าสมาชิกพรรคผู้พิทักษ์เหล็ก ในปี ค.ศ. 1937

หลังการเลือกตั้งในปี 1937 พรรคของคอร์เดรียนูได้คะแนนมาเป็นอันดับสาม นโยบายฟาสซิสต์ ต่อต้านยิวและคอมมิวนิสต์เหมือนดั่งพรรคนาซีที่คุ้มหัวอยู่ห่าง ๆ นับว่าเรียกเสียงประชาชนได้ไม่น้อย เค้ากระจายแนวคิดโดยอาศัยหลัก "คูอิบ" หรือรังนก โดยแต่ละรังจะมีสมาชิก 13 คน หากมีสมาชิกเพิ่มจะแตกรังออกเป็นสองแล้วเติมเต็มสมาชิกใหม่เรื่อย ๆ

แม้ไอเอินการ์ดจะดูเข้มแข็ง แต่ยังไงก็ยังสู้พลังระบอบกษัตริย์ไม่ได้ คอร์เดรียนูถูกเรียกให้ไปเข้ารับฟังข้อกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทนายก นิโคไล ยอร์กา แบบงง ๆ หลังจากนั้นก็ต่อด้วยข้อหากบฏพร้อมโทษจำคุกอีก 10 ปี ทางรัฐบาลโรมาเนียกล่าวอ้างว่าพวกเขาพบเจอจดหมายว่ากัปตันลักลอบวางแผนล้มล้างกษัตริย์แล้วเปลี่ยนไปใช้ระบอบฟาสซิสต์โดยสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับอย่างฮิตเลอร์และดูเช่ของอิตาลี

คอร์เดรียนูถูกจำคุกอยู่ได้ไม่นาน แผนการแก้แค้นของกษัตริย์คาโรลก็เริ่มดำเนินการแบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อประชาชนโรมาเนียตื่นขึ้นมาพบกับข่าวการตายของนักสู้โรมาเนีย ข่าวลงว่าคอร์เดรียนูและเหล่าแกนนำอีก 14 คนได้วางแผนร่วมกันทำการหลบหนีจากรถเรือนจำจึงถูกเจ้าหน้าที่ยิงตายทั้งหมด ร่างถูกฝังไว้ใต้พื้นเรือนจำฉาบปูนปกปิดไว้ ไม่น่าแปลกใจที่ประชาชนจะสงสัยในตัวรัฐบาลและกษัตริย์ไม่น้อย รวมทั้งเยอรมันเองก็มองโรมาเนียเองอย่างตาขวางจากการไปเล่นกับอิทธิพลของตนในสังกัดโดยตรง โรมาเนียจะเดินอย่างไรต่อไปท่ามกลางโลกที่ผันผวน

ปัญหาดินแดน

[แก้]
พระที่นั่งกษัตริย์โรมาเนีย

เยอรมันลงทุนลงแรงไปในโรมาเนียมาก ทั้งท่อน้ำมันและข้าวสาลีถูกซื้อและส่งไปทั่วยุโรปเพื่อเลี้ยงเยอรมันให้อยู่รอด การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อได้ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่จากไรซ์มาช่วยเสริม เมล็ดพันธุ์ถูกแจกให้เกษตรกรแบบฟรี ๆ และระบบประกันราคาทำให้ชนชั้นล่างยิ้มได้ถ้วนหน้า

กษัตริย์คาโรลทรงประกาศให้ประเทศนี้เป็นกลางตั้งแต่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นสารพัดสายลับเดินกันให้ควั่กในกรุงบูคาเรสต์ (București) ทั้งจากอังกฤษ ตุรกี เยอรมันโดยเฉพาะในโรงแรมเอเธนส์พาเลส (Athénée Palace)

ฤดูใบไม้ร่วงปี 1940 ขณะที่โลกกับลังจ้องมองเยอรมันว่าจะปกครองยุโรปอย่างไร โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตก็ถือโอกาสยื่นหนังสือแสดงความจำนง "ขอคืนพื้นที่" จากโรมาเนียเป็นจังหวัดเบสซาราเบียและบูโควิน่าโดยให้เวลาอพยพชาวโรมาเนีย 3.75 ล้านคนออกภายใน 4 วันมิเช่นนั้นจะขู่บุกรุกรานประเทศ

ข่าวความทะเยอทะยานของโซเวียตมาถึงเมืองหลวงอย่างฉับไว้ ทางเยอรมันตื่นตกใจพอ ๆ กันเพราะพวกเขาจะเสียพื่นที่เพาะปลูกที่ไปเกริ่นนำไปกว่า 30% ของประเทศนี้และแหล่งอุตสาหกรรมอีก 40% เป็นอย่างต่ำ เรียกว่าไม่ได้เกรงใจสนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพแม้แต่น้อย

กษัตริย์คาโรลทรงเรียกประชุมฉุกเฉินทันทีแต่ก็ไม่ได้อะไรมากนัก เสียงของประชาชนที่มาชุมนุมกับนอกวังก็เปลี่ยนจากเสียง "ทรงพระเจริญ" เป็นการร้องเพลงชาติอย่างเศร้าสร้อย พวกเขารู้กันดีว่าการตัดสินใจที่แท้จริงจะมาจากอูรเดอเรียนู องค์รักษ์คู่ใจที่ทำตัวเปรียบเหมือนขันทีเฒ่าในราชสำนักจีน เค้าเข้ามามีบทบาทในวังเนื่องจากเป็นพ่อสื่อให้กับชู้รักพระราชาอย่างสาวยืวอย่างนาง ลูเปสกู

การปกครองของโรมาเนียเองก็เป็นปัญหา เพราะกษัตริย์คาโรลทรงทุบพรรคการเมืองต่าง ๆ ทิ้งหมดในปี 1938 แล้วตั้งพรรค National Renaissance Front (FRN) ขึ้นมาเป็นพรรคที่ถูกกฎหมายพรรคเดียวในประเทศซึ่งเป็นปัญหา พระองค์และที่ปรึกษาเล่นไม่เอาใครเลยนอกพรรคเลยไม่มีปัญญาที่จะจัดการกับปัญหาใหญ่ระดับนี้ได้ง่าย ๆ

นายพลเอียน อันโตเนสคูได้เดินเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหานี้แต่ก็แฝงไปด้วยความทะเยอทะยาน เค้าพิมพ์ใบปลิวประกาศว่าตัวเองคือผู้ที่จะมาคลี่คลายวิกฤตนี้พร้อมทั้งขอเข้าเฝ้ากษัตริย์คาโรลเพื่อขออำนาจ แน่นอนว่าท่านนายพลได้ไปนอนคุกแทน สร้างความไม่พอใจต่อเยอรมันอีกรอบหนึ่งที่ไปขังผู้เล่นที่เตรียมพร้อมใช้เชิดของพวกเขา

กษัตริย์คาโรลทรงตัดสินใจเอียงฝ่ายนาซี พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อพรรค FRN เป็น พรรคแห่งชาติ หรือ PN แนวคิดเป็นฟาสซิสต์เต็มรูปแบบโดยมีประชาชนทุกคนเป็นสมาชิก ซึ่งในความคิดพระองค์นั้น นอกจากจะสลายกลุ่มก้อนอย่างพรรคผู้พิทักษ์เหล็กได้ พระองค์จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากฮิตเลอร์แน่ ๆ เลย การกระทำเอาใจนาซีนั้น ทางที่ปรึกษาเยอรมันล้วนส่ายหน้าบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ท่านผู้นำไม่ชอบผักชีโรยหน้า"

ผิดคาดเมื่อคำตอบจากเบอร์ลินบอกโรมาเนียว่า "ให้ยอมผ่อนปรนกับโซเวียต แล้วหลังสงครามครั้งนี้เราจะคุยเรื่องดินแดนให้ใหม่แน่นอน" การที่เยอรมันตอบมาอย่างนี้ไมน่าแปลกใจนักเพราะพวกเค้ายังไม่พร้อมที่จะปะทะกับกองทัพแดง โรมาเนียต้องกล้ำกลืนน้ำตาเซ็นต์แบ่งดินแดนให้กับสตาลิน ประชาชนและทหารเริ่มทยอยออกจากบ้านแลค่ายตัวเอง เกิดความวุ่นวายขึ้นตลอดทางจากการปะทะกับพวกนิยมคอมมิวนิสต์และจากทหารโซเวียตที่บุกเข้ามาเอาพื้นที่ก่อนครบเวลาที่กำหนด การรบส่งผลให้ทหารโรมาเนียพลีชีพไปกว่า 43,000 นาย สถาบันกษัตริย์โรมาเนียกำลังอ่อนกำลังลงและหายใจรวยรินลงอย่างเห็นได้ชัด

การตกลงเรื่องดินแดน

[แก้]
สี่ประเทศ นาซีเยอรมนี, ฟาสซิสต์อิตาลี, ฮังการี, โรมาเนีย ลงนามข้อตกลงรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง
ดินแดนที่ราชอาณาจักรโรมาเนียสูญเสียให้ฮังการีหลังลงนามรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง, ซึ่งเป็นดินแดนทรานซิลเวเนียเหนือ แสดงสีเหลือง

หลังจากเสีย 2 จังหวัดไปแล้ว ธงทั่วประเทศลดลงครึ่งเสาได้ไม่นานก็ได้ทีฮังการีมาขอแบ่งบ้าง จังหวัดทรานซิลวาเนียคือเป้าหมายหลัก ตามประวัติแล้วโรมาเนียกับฮังการีนั้นไม่ถูกกันมายาวนานโดยโรมาเนียนั้นมักจะถูกดูถูกอยู่เสมอมา ด้านกษัตริย์คาโรลหวังว่าฮิตเลอร์จะช่วยชาติอักษะในการเคลียร์ปัญหากันเองแต่ดูเหมือนพระองค์จะทรงคิดผิดอีกแล้ว

พระราชาเรียกบรรดาสมาชิกกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กมารับตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัฐบาลเป็นการเอาใจและไล่บรรดาวิศวกรน้ำมันของอังกฤษออกไปแล้วทบทวนสัมปทานใหม่โดยบอกว่าถ้าอยากจะเข้ามาสูบน้ำมันต้องผ่านความเห็นชอบของเยอรมันก่อน

นโยบายต่อต้านยิวก็รุนแรงขึ้นตามกระแสนาซี บรรดายิวต่างไปยืนต่อคิวหน้าสถานทูตอเมริกันเพื่อขอลี้ภัยทว่าโควต้ารับคนเข้าเมืองของอเมริกากลับเต็มอย่างรวดเร็วจนต้องรอคิวข้ามปี น่าขันอยู่อย่างหนึ่งคือนาง ลูเปสกู ชู้รักในยามวิกาลของพระองค์กลับเป็นยิวแท้ ประชาชนโรมาเนียกำลังหาที่ระบาย แน่นอนว่าพวกเค้าเชื่อเรื่องกาลกิณีมากตามประสาคนยุโรปพื้นบ้าน ซึ่งก็มักจะโทษยิวตั้งแต่ไหนแต่ไรมาตั้งแต่ยุคกลาง นางลูเปสกูเองก็ไม่พ้นข้อครหานี้ด้วยเช่นกัน

ระหว่างการรอการตัดสินใจของฮิตเลอร์ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร โรมาเนียพยายามดึงสื่อให้เข้าไปทำข่าวว่าที่ในทรานซิลวาเนียนั้นมีแต่ชาวโรมาเนียแท้ ๆ อยู่ การจะมาเอาไปดื้อ ๆ ก็แปลกอยู่นัก

ในที่สุดบทสรุปเยอรมันก็มาถึง ฮิตเลอร์บอกให้โรมาเนียต้องยอมเสียพื้นที่ 45,000 ตรกม. (จาก 60,000 ในตอนแรกที่ขอ) เป็นเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า รางวัลเวียนนาครั้งที่สอง (Second Vienna Award) นี่อาจจะเป็นบทลงโทษจากฮิตเลอร์สำหรับพวกพยายามจะเป็นนาซีหรืออาจจะเป็นอิตาลีที่มักจะช่วยพูดให้ฮังการีก็เป็นได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร กษัตริย์คาโรลก็ล้มเหลวที่จะปกป้องแผ่นดินของพระองค์ไปแล้ว

หลายเสียงเริ่มมองไปที่อังกฤษว่าอาจจะเป็นบุรุษขี่ม้าขาวมาช่วยพวกเขาได้ ก็นับว่าเป็นความหวังของคนใกล้ตายเพราะปี 1940 อังกฤษยังรบติดพันในบ้านตัวเองอยู่เลย ไฉนจะมาช่วยประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาณานิคมตนได้ เมื่อนายกจิกูรตูกลับจากเวียนนามาประกาศผลให้ประชาชนทราบ ความโกรธแค้นของพวกเขาเริ่มพุ่งทวีคูณ คำว่า "อักษะทรยศเรา!!" ดังกึกก้องโรมาเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Constitutiunea din 1923" (ภาษาโรมาเนีย). Legislatie pentru Democratie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 19 September 2011.
  2. Dennis Deletant, Hitler's Forgotten Ally: Ion Antonescu and His Regime, Romania, 1940–1944, Palgrave Macmillan, London, 2006. ISBN 1-4039-9341-6
  3. Ioan Scurtu (2005). "Istoria contemporana a a României (1918-2005)" (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest. สืบค้นเมื่อ 19 September 2011.
  4. "Timeline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-19.
  5. "Romania - The Crimean War and Unification".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]