ยุทธการที่กาซาลา

พิกัด: 32°08′43″N 23°21′27″E / 32.14528°N 23.35750°E / 32.14528; 23.35750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่กาซาลา
ส่วนหนึ่งของ การทัพทะเลทรายตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง

รถถังแพนเซอร์ 3 และยานพาหนะหุ้มเกราะที่รอมเมลบัญชาการอยู่ในทะเลทรายตะวันตกที่อยู่ในช่วงยุทธการกาซาลา
วันที่26 พฤษภาคม – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1942 (25 วัน)
สถานที่32°08′43″N 23°21′27″E / 32.14528°N 23.35750°E / 32.14528; 23.35750
ผล ฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน
 อิตาลี

 สหราชอาณาจักร

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ราชอาณาจักรอิตาลี Ettore Bastico
นาซีเยอรมนี แอร์วิน รอมเมิล
สหราชอาณาจักร Claude Auchinleck
สหราชอาณาจักร นีล ริตชี
กำลัง
90,000 men (50,000 German, 40,000 Italian)
560 tanks (228 Italian)
542 aircraft
110,000 men
843 tanks
604 aircraft
ความสูญเสีย
German: 3,360 killed, wounded or captured
Italian: fewer than the Germans
~400 tanks damaged or destroyed
50,000 killed, wounded or captured, incl. ป. 32,000 prisoners at Tobruk
1,188 tanks damaged or destroyed

ยุทธการที่กาซาลา (ใกล้กับเมืองปัจจุบันของ Ayn al Ghazālah) เป็นการสู้รบกันในช่วงการทัพทะเลทรายตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง ทางตะวันตกของท่าเรือของเมืองโทบรุก (Tobruk) ในประเทศลิเบีย ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ทหารฝ่ายอักษะของกองทัพยานเกราะแอฟริกาภายใต้การบัญชาการของจอมพลแอร์วิน รอมเมิลประกอบไปด้วยหน่วยทหารของเยอรมันและอิตาลี ส่วนกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรภายใต้การนำของผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งตะวันออกกลาง นายพล เซอร์ Claude Auchinleck ทหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยอังกฤษ, อินเดีย, แอฟริกาใต้ และเสรีฝรั่งเศส

ฝ่ายอักษะได้เข้าโจมตีฝ่ายอังกฤษด้วยการหลอกล่อโจมตีจากทางเหนือและทำให้เกิดการโจมตีหลักบริเวณรอบปีกตอนใต้ของตำแหน่งกาซาลา การจู่โจมได้เกิดสัมฤทธิ์ผล แต่การป้องกันของทหารรักษาการณ์ฝรั่งเศสของ Bir Hakeim ทางตอนใต้สุดของแนว ทำให้ฝ่ายอักษะมีเส้นทางในการส่งเสบียงที่ยาวและเปราะบางที่อยู่รอบแนวกาซาลา รอมเมิลได้ถอนตัวไปยัง Cauldron ตำแหน่งป้องกันในการช่วยเหลือไปยังเขตทุ่นระเบิดของอังกฤษ การสร้างฐานในท่ามกลางการป้องกันของอังกฤษและทหารช่างวิศวกรอิตาลีได้ทำการกู้ทุ่นระเบิดจากฝั่งตะวันตกของเขตทุ่นระเบิดเพื่อสร้างเส้นทางในการส่งเสบียงผ่านไปยังฝ่ายอักษะ

กองทัพที่แปดได้ทำการโจมตีโต้กลับ ปฏิบัติการ Aberdeen ที่ไม่ค่อยจะประสานงานด้วยกันและพ่ายแพ้อย่างราบคาบ สูญเสียรถถังไปจำนวนมากและฝ่ายอักษะสามารถฟื้นฟูในการริเริ่มการรุกกลับ ฝ่ายอังกฤษได้ถอนกำลังออกจากแนวกาซาลาและกองกำลังฝ่ายอักษะได้รุกเข้าสู่ทูบลักในหนึ่งวัน รอมเมิลได้ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จโดยไล่ติดตามฝ่ายอังกฤษที่เข้าสู่อียิปต์โดยไม่รอเวลาให้ทำการฟื้นฟูจากความพ่ายแพ้ ขณะที่ทั้งสองฝ่ายใกล้จะเริ่มอ่อนล้า กองทัพที่แปดสามารถตรวจสอบในการรุกของฝ่ายอักษะที่ยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่หนึ่ง

การสู้รบครั้งนี้ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาชีพทหารของรอมเมล แต่ปฏิบัติการเฮอร์คิวลีส แผนการที่จะโจมตีที่มอลตา (Malta) ได้ถูกเลื่อนออกไปเพื่อทำการไล่ล่า ฝ่ายอังกฤษสามารถจัดสเบียงที่มอลตาและฟื้นฟูฐานทัพจากการโจมตีขบวนเรือขนส่งของฝ่ายอักษะไปยังลิเบีย ทำให้ฝ่ายอักษะจัดส่งเสบียงได้อย่างยากลำบากไปยังเอล อาลาเมน