ข้ามไปเนื้อหา

หน่วย 731

พิกัด: 45°36′N 126°38′E / 45.6°N 126.63°E / 45.6; 126.63
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วย 731
731部隊
กลุ่มอาคารหน่วย 731 เรือนจำ 2 แห่งซ่อนอยู่ ณ ใจกลางของอาคารหลัก
ประเทศ ญี่ปุ่น
ขึ้นต่อ กองทัพคันโต และกระทรวงสาธารณสุข
บทบาทแพทย์ทหาร, ป้องกันโรคระบาด, ทดลองมนุษย์, ผลิตอาวุธชีวภาพ
กองบัญชาการผิงฝาง, ฮาร์บิน, ประเทศแมนจู
สมญาหน่วยแมนจูเรีย 731
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญศัลยแพทย์ทหาร ชิโร อิชิอิ
Lt. General Masaji Kitano
Epidemic Prevention and Water Purification Department
หน่วย 731
The Unit 731 complex
สถานที่ประเทศแมนจูกัว แมนจูกัว ผิงฝาง, ฮาร์บิน
พิกัด45°36′N 126°38′E / 45.6°N 126.63°E / 45.6; 126.63
วันที่1935–1945
ประเภทการทดลองมนุษย์
อาวุธชีวภาพ
อาวุธเคมี
อาวุธอาวุธชีวภาพ
อาวุธเคมี
ระเบิด
แก๊สพิษ
เชื้อโรค
ตายมากกว่า 3,000 คน จากการทดลองภายในห้องแล็ปและนับหมื่นจากการทดลองภาคสนาม

หน่วย 731 (ญี่ปุ่น: Unit 731โรมาจิ731部隊ทับศัพท์: Nana-san-ichi Butai) เป็นหน่วยงานเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาอาวุธชีวภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยใช้มนุษย์เป็นหนูทดลองในช่วง สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (1937–1945 ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง) หน่วย 731 มีฐานหลักที่เขตผิงฝาง เขตหนึ่งของฮาร์บิน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแมนจูกัว รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น(ปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของจีน)

เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการคือ กรมการผลิตน้ำสะอาดและป้องกันการแพร่เชื้อโรคของกองทัพคันโต(関東軍防疫給水部本部 Kantōgun Bōeki Kyūsuibu Honbu) เดิมทีได้ถูกก่อตั้งขึ้นให้อยู่ภายใต้สารวัตรทหาร เค็นเปย์ไท แห่งจักรวรรดิญี่ป่น หน่วย 731 ได้ถูกควบคุมและบัญชาการจนกระทั่งสงครามยุติลงโดยพลโท ชิโร อิชิอิ เจ้าหน้าที่แพทย์สนามของกองทัพคันโต โรงงานแห่งนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ 1939 และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "หน่วย 731" ในปี ค.ศ. 1941

จำนวนผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กอย่างน้อย 3,000 คน[1][2]—นับตั้งแต่อย่างน้อยทุกๆ 600 ปีจะถูกจัดส่งโดยเค็นเปย์ไท[3] ซึ่งจะถูกระบุว่าเป็น "ท่อนซุง" ไปยังการทดลองที่ถูกจัดทำขึ้นโดยหน่วย 731 ที่ฐานทัพค่ายในเขตผิงฝางแห่งเดียว ซึ่งยังไม่รวมถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากแผนกการทดลองทางการแพทย์อื่นๆ เช่น หน่วย 100[4]

ผู้มีส่วนร่วมในหน่วย 731 ของญี่ปุ่นได้ยืนยันว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ที่พวกเขาได้ทำการทดลองล้วนเป็นชาวจีน ในขณะที่มีส่วนที่น้อยก็คือชาวโซเวียต มองโกเลีย เกาหลี และเชลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตรคนอื่นๆ หน่วยนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นจนถึงช่วงปลายสงครามในปี ค.ศ. 1945

แทนที่จะมีการตั้งข้อกล่าวหาสำหรับอาชญากรรมสงครามในช่วงหลังสงคราม นักวิจัยที่เกี่ยวข้องในหน่วย 731 ได้รับการยกเว้นอย่างลับๆโดยสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับข้อมูลที่รวบรวมมาได้จากการทดลองกับมนุษย์[5] นักวิจัยคนอื่นๆได้ถูกกองกำลังโซเวียตทำการเข้าจับกุมเป็นครั้งแรกและนำตัวขึ้นศาลที่การพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามฮาบารอฟสค์ในปี ค.ศ. 1945 อเมริกันไม่ได้ทำการพิจารณาคดีต่อนักวิจัยที่ได้ให้ข้อมูลและประสบการณ์ที่ได้รับในอาวุธชีวภาพซึ่งสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมในโครงการการสงครามชีวภาพของสหรัฐได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับนักวิจัยเยอรมันในปฏิบัติการคลิปหนีบกระดาษ[6] เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ดักลาส แมกอาเธอร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งฝ่ายสัมพันธมิตรได้เขียนจดหมายไปถึงกรุงวอชิงตันได้กล่าวว่า"ข้อมูลที่รวบรวมหามาได้นั้น, อาจมีความเป็นไปได้ที่รายงานบางส่วนจากอิชิอิได้แสดงให้เห็นแก่ญี่ปุ่นว่า ข้อมูลเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องจะถูกเก็บไว้ช่องทางข่าวกรองลับและจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นหลักฐาน'ข้อหาอาชญากรรม'อย่างแน่นอน"[7] บัญชีรายชื่อของเหยื่อได้ถูกเพิกเฉยหรือลืมเลือนในโลกตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของพวกคอมมิวนิสต์

วัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

หนังสือ

[แก้]
  • ชายผู้ยุติประวัติศาสตร์ : สารคดี (2011) เรื่องสั้นเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดสวนสัตว์กระดาษ โดย Ken Liu ケン・アイユ เล่าเรื่องของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ทายาทของเหยื่อสามารถเดินทางไปประสบและเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่หน่วยนี้กระทำ

ภาพยนตร์

[แก้]

ภาพยนตร์ที่สะท้อนความโหดร้ายของหน่วย 731

  • ภาพยนตร์เรื่อง จับคนมาทำเชื้อโรค หรือ Men Behind the Sun ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ปี ค.ศ. 1988 เกี่ยวกับค่ายทดลองมนุษย์หน่วย 731 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น บริเวณดินแดนแมนจูกัวโดยอาศัยชาวจีนที่เคราะห์ร้ายมาทำการทดลองมนุษย์เพื่อวิจัยอาวุธอย่างโหดร้าย

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dcr
  2. Khabarovsk War Crime Trials. Materials on the Trial of Former Servicemen of the Japanese Army Charged with Manufacturing and Employing Biological Weapons, Moscow: Foreign Languages Publishing House, 1950. p. 117
  3. Yuki Tanaka, Hidden Horrors, Westviewpress, 1996, p.138
  4. "[IAB8] Imperial Japanese Medical Atrocities". osaka-cu.ac.jp.
  5. Hal Gold, Unit 731 Testimony, 2003, p. 109
  6. Harris, S.H. (2002) Factories of Death. Japanese Biological Warfare, 1932—1945, and the American Cover-up, revised edn. Routledge, New York, U.S.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gold 2003 p1093

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]