ราชอาณาจักรอียิปต์
ราชอาณาจักรอียิปต์ | ||||||
المملكة المصرية อัลมัมละกะฮ์ อัลมิศรี่ยะฮ์ | ||||||
| ||||||
| ||||||
เพลงชาติ "อัสซะลามิยะมิสรี" (ค.ศ. 1923-1936) เพลงสรรเสริญพระบารมี "ซะลามอัฟฟานดินาร์" (ค.ศ. 1936-1953) | ||||||
สีเขียว: ราชอาณาจักรอียิปต์ สีเขียวอ่อน: อำนาจปกครองดินแดนร่วมกันแองโกล-อียิปต์ซูดาน สีเขียวอ่อนสุด: ยกจากซูดานให้แอฟริกาเหนือของอิตาลี ใน ค.ศ. 1919 | ||||||
เมืองหลวง | ไคโร | |||||
ภาษา | อาหรับ (ภาษาราชการ)[1] ภาษาอาหรับอียิปต์ | |||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | |||||
พระมหากษัตริย์ | ||||||
- | 1922-1936 | พระเจ้าฟูอัดที่ 1 | ||||
- | 1936-1952 | พระเจ้าฟารุกที่ 1 | ||||
- | 1952-1953 | พระเจ้าฟูอัดที่ 2 a | ||||
ข้าหลวงใหญ่ | ||||||
- | 1922-1925 | เซอร์ Edmund Allenby | ||||
- | 1925-1929 | เซอร์ George Lloyd | ||||
- | 1929-1933 | เซอร์ Percy Loraine | ||||
- | 1933-1936 | เซอร์ Miles Lampson | ||||
นายกรัฐมนตรี | ||||||
- | 1922 (คนแรก) | อับเดล กาลิก ซาวัต ปาชา | ||||
- | 1952-1953 (คนสุดท้าย) | มูฮัมหม้ด นาจิบb | ||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา | |||||
- | สภาสูง | สภาชูรา | ||||
- | สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||
ยุคประวัติศาสตร์ | การปลดปล่อยอาณานิคมทวีปแอฟริกา | |||||
- | สหราชอาณาจักรรับรองเอกราช | 28 กุมภาพันธ์ 1922 | ||||
- | พระเจ้าฟูอัดที่ 1 ขึ้นครองราชย์ | 15 มีนาคม 1922 | ||||
- | ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ | 19 เมษายน 1923 | ||||
- | สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ | 27 สิงหาคม 1936 | ||||
- | สงครามปาเลสไตน์ | พฤษภาคม 1948 - มีนาคม 1949 | ||||
- | การปฏิวัติอียิปต์ | 23 กรกฎาคม 1952 | ||||
- | สถาปนาสาธารณรัฐ | 18 มิถุนายน 1953 | ||||
พื้นที่ | ||||||
- | สำมะโน 1937 | 3,418,400 ตร.กม. (1,319,852 ตารางไมล์) | ||||
ประชากร | ||||||
- | สำมะโน 1927 ประมาณการ | 14,218,000 | ||||
- | สำมะโน 1937 ประมาณการ | 15,933,000 | ||||
ความหนาแน่น | 4.7 คน/ตร.กม. (12.1 คน/ตารางไมล์) | |||||
- | สำมะโน 1947 ประมาณการ | 19,090,447 | ||||
สกุลเงิน | ปอนด์อียิปต์ | |||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() ![]() ![]() ![]() | |||||
ก. | ภายใต้ผู้สำเร็จราชการ | |||||
ข. | ต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐ | |||||
Area and density include inhabited areas only. The total area of Egypt, including deserts, is 994,000 km2.[2][3] |
ราชอาณาจักรอียิปต์ (อาหรับ: المملكة المصرية) เป็นชื่อของรัฐอิยิปต์สมัยใหม่รัฐแรก ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 - ค.ศ. 1953 ราชอาณาจักรได้รับสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1922 เมื่อสหราชอาณาจักรตัดสินใจจะให้อียิปต์พ้นจากฐานะความเป็นรัฐในอารักขาของตนซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 สุลต่านฟูอัดที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรแห่งนี้ ต่อมาพระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1936
ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักร ประเทศอียิปต์ได้ถูกยึดครองและควบคุมโดยสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่ ค.ศ. 1882 เมื่อมหาอำนาจยุโรปได้ส่งกองทัพเข้ามาสนับสนุนการปกครองระบอบเคดีฟเพื่อต่อต้านการลุกฮือของขบวนการชาตินิยม เหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สหราชอาณาจักรเข้าควบคุมอียิปต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันแต่เพียงในนาม ในปี ค.ศ. 1914 ผลจากการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิออตโตมันได้ทำให้สหราชอาณาจักรต้องประกาศให้อียิปต์เป็นรัฐในอารักขาและถอดถอนเคดีฟออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแต่งตั้งฮุสเซน กามิล พระญาติของเคดีฟ ขึ้นเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์แทน
อียิปต์ได้รับการสถาปนาและได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 โดยมีพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ และได้ต่อสู้ทางการเมืองกับพรรควาฟด์ (Wafd) อันเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านทั้งอิทธิพลของสหราชอาณาจักรและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งพรรคดังกล่าวต้องการจะให้อียิปต์เข้าควบคุมคลองสุเอซโดยตรง นอกจากนั้นยังมีขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในยุคนี้ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์อียิปต์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1925) และขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood - ก่อตั้ง ค.ศ. 1928) ซึ่งขบวนการหลังนี้เป็นขบวนการที่ทรงอำนาจทั้งทางการเมืองและศาสนา
พระเจ้าฟูอัดที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 ราชสมบัติจึงตกอยู่กับเจ้าชายฟารุกซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา การรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลีในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เป็นสัญญานเตือนให้พระองค์ต้องลงพระนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ เพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนทหารออกไปจากอียิปต์ทั้งหมด โดยยกเว้นเพียงบริเวณคลองสุเอซ ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ตกลงถอนทหารในปี ค.ศ. 1949
ราชอาณาจักรอียิปต์ประสบความยุ่งยากจากภาวะการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการที่พลเมืองของตนเองมองว่าประเทศของตนเป็นเพียงหุ่นเชิดของสหราชอาณาจักร จากเหตุเหล่านี้ และซ้ำเติมด้วยสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี ค.ศ. 1948 ได้นำไปสู่การปฏิวัติอียิปต์ในปี ค.ศ. 1952 โดยคณะนายทหารซึ่งเรียกตัวเองว่า "ขบวนการนายทหารอิสระ" (Free Officers Movement) พระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงทรงสละราชสมบัติให้แก่เจ้าชายฟูอัดที่ 2 พระราชโอรสวัยเยาว์ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ระบอบราชาธิปไตยอียิปต์ได้ถูกล้มเลิกอย่างเป็นทางการและได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอียิปต์ขึ้นแทนในปี ค.ศ. 1953
อ้างอิง[แก้]
- ↑ มาตรา 149 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ค.ศ. 1923.
- ↑ Bonné, Alfred (2003) [First published 1945]. The Economic Development of the Middle East: An Outline of Planned Reconstruction after the War. The International Library of Sociology. London: Routledge. p. 24. ISBN 978-0-415-17525-8. OCLC 39915162. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ Shousha, Aly Tewfik (1947). "Cholera Epidemic in Egypt: A Preliminary Report". Bull. World Health Organ. National Center for Biotechnology Information. 1 (2): 371. PMC 2553924. PMID 20603928.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|