ความตกลงสมบูรณ์แบบ
ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติสถานะสงครามระหว่างประเทศไทย กับบริเตนใหญ่และอินเดีย | |
---|---|
![]() พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยลงนามในสนธิสัญญา | |
ประเภท | สนธิสัญญาสันติภาพ |
วันลงนาม | 1 มกราคม พ.ศ. 2489 |
ที่ลงนาม | สิงคโปร์ สหพันธรัฐมลายู |
วันมีผล | 1 มกราคม พ.ศ. 2489 |
ภาคี | ![]() |
ภาษา | ไทย และอังกฤษ |
![]() |
ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติสถานะสงครามระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย (อังกฤษ: Formal Agreement for the Termination of the State of War between Siam and Great Britain and India) หรือ ความตกลงสมบูรณ์แบบ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ณ สิงคโปร์ อันเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างไทยกับบริเตนใหญ่ที่ไทยประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในวันเดียวกับที่ลงนาม และมีการขึ้นทะเบียนที่ชุดสนธิสัญญาสหประชาชาติในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2494[1]
ผลลัพธ์[แก้]
ผลลัพธ์หลักของสนธิสัญญาฉบับนี้คือยกเลิกการผนวกรัฐฉานและรัฐมลายูที่ไม่ได้เข้าเป็นสหพันธ์ (Unfederated Malay States) จำนวนสี่รัฐ บริเตนใหญ่ได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาด ส่วนใหญ่เพราะสหรัฐคัดค้านมาตรการลงโทษต่อประเทศไทย กล่าวคือ ไม่สามารถลดขนาดกองทัพไทยได้[2] อย่างไรก็ดีสนธิสัญญาฯ กำหนดให้ไทยส่งมอบข้าวสาร 1.5 ล้านตันให้แก่มาลายาของบริเตนซึ่งขาดแคลนข้าว[3] นอกจากนี้ยังห้ามไทยขุดคลองข้ามคอคอดกระหากรัฐบาลบริเตนไม่ยินยอม ซึ่งบ่อนทำลายอำนาจของรัฐบาลปรีดี พนมยงค์[4][5]
หลังตราสนธิสัญญาฯ สหรัฐและบริเตนฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางทูตกับไทยในวันที่ 5 มกราคม และวันถัดไปมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป สหรัฐยังให้เงินกู้ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ประเทศไทยเป็นการบูรณะเครือข่ายขนส่งของไทยซึ่งได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐ[2] ไทยเข้าร่วมสหประชาชาติในวันที่ 16 ธันวาคม 2489
มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทยแยกต่างหาก โดยมีการลงนามในวันที่ 3 เมษายน 2489 ทั้งนี้ตามประกาศสงครามของออสเตรเลียในวันที่ 2 มีนาคม 2485 และพระราชบัญญัติการมีมติเห็นชอบบทกฎหมายแห่งเวสต์มินสเตอร์ของออสเตรเลีย[6]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ United Nations Treaty Series, vol. 99, pp. 131–47.
- ↑ 2.0 2.1 Darling 1962, pp. 96–97.
- ↑ Reynolds 2005, pp. 423–24.
- ↑ Fine 1965, p. 71.
- ↑ Tarling 1978, p. 63.
- ↑ Battersby 2000, p. 21–23.
บรรณานุกรม[แก้]
- Battersby, Paul (2000). "An Uneasy Peace: Britain, the United States and Australia's Pursuit of War Reparations from Thailand, 1945–1952". Australian Journal of International Affairs. 54 (1): 15–31. doi:10.1080/00049910050007014. S2CID 153688878.
- Darling, Frank C. (1962). "American Policy in Thailand". The Western Political Quarterly. 15 (1): 93–110. doi:10.1177/106591296201500107. S2CID 154874038.
- Fine, Herbert A. (1965). "The Liquidation of World War II in Thailand". Pacific Historical Review. 34 (1): 65–82. doi:10.2307/3636740. JSTOR 3636740.
- Peterson, Alec (1946). "Britain and Siam: The Latest Phase". Pacific Affairs. 19 (4): 364–72. doi:10.2307/2752453. JSTOR 2752453.
- Reynolds, E. Bruce (2005). Thailand's Secret War: OSS, SOE and the Free Thai Underground During World War II. Cambridge University Press.
- Tarling, Nicholas (1978). "Rice and Reconciliation: The Anglo-Thai Peace Negotiations of 1945" (PDF). Journal of the Siam Society. 66 (2): 59–112.
- Tarling, Nicholas (1979). "Atonement before Absolution: British Policy Towards Thailand during World War II" (PDF). Proceedings of the Seventh IAHA Conference. Bangkok. 2: 1433–49.
- ความตกลงระหว่างประเทศ
- สนธิสัญญาสงครามโลกครั้งที่สอง
- สนธิสัญญาสันติภาพ
- สนธิสัญญาสันติภาพเกี่ยวข้องกับไทย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับไทย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับนิวซีแลนด์
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหภาพแอฟริกาใต้
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับบริติชอินเดีย
- สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- สนธิสัญญาทวิภาคีเกี่ยวข้องกับไทย
- สนธิสัญญาทวิภาคีเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย
- ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
- สนธิสัญญาไทย–สหราชอาณาจักร
- ความสัมพันธ์นิวซีแลนด์–ไทย
- ความสัมพันธ์อินเดีย–ไทย
- ความสัมพันธ์แอฟริกาใต้–ไทย
- ฝ่ายสัมพันธมิตร (สงครามโลกครั้งที่สอง)
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2489