เนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองรอตเทอร์ดาม ภายหลังการทิ้งระเบิดในช่วงเยอรมันบุกยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940.

การเข้าร่วมสงครามโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการรุกรานโดยนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เนเธอร์แลนด์ได้ประกาศความเป็นกลางเมื่อสงครามได้เริ่มแตกหักในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 เหมือนในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทำการรุกรานอย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 หนึ่งวันภายหลังการทิ้งระเบิดที่รอตเทอร์ดาม,กองทัพเนเธอร์แลนด์ได้ยอมจำนน รัฐบาลและราชวงศ์เนเธอร์แลนด์ได้อพยพหลบหนีและลี้ภัยไปยังกรุงลอนดอน

ภายหลังความพ่ายแพ่ เนเธอร์แลนด์ได้อยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน ซึ่งได้อดทนในบางพื้นที่จนกระทั่งเยอรมันได้ยอมจำนนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 ความเคลื่อนไหวในการต่อต้านได้ถูกปฏิบัติการโดยชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กซึ่งได้เติบโตขึ้นในช่วงการยึดครอง ผู้ยึดครองได้ทำการขับไล่เนรเทศชนหมู่มากส่วนใหญ่ของชาวยิวไปยังค่ายกักกันนาซี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากตำรวจชาวดัตช์และข้าราชการพลเรือน

เนื่องจากการแปรปรวนสูงของอัตราความอยู่รอดของชาวยิวในภูมิภาคต่างๆในเนเธอร์แลนด์ นักวิชาการได้สอบถามความถูกต้องของการนิยามเดียวในระดับชาติ ถึงกระนั้น และเนื่องจากมีการจัดระเบียบไว้เป็นอย่างดีในสำมะโนประชากรที่ได้มีการเปรียบเทียบไปยังประเทศอื่นๆ ประมาณ 70% ของประชากรชาวยิวของประเทศได้ถูกสังหารในช่วงความขัดแย้ง ซึ่งสูงกว่าประเทศที่เทียบเคียงมากที่สุด เช่น เบลเยียมและฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่ถูกยึดครองโดยนาซีทั้งหมด เมืองอัมสเตอร์ดัมได้จัดตั้งในกิจกรรมในอุตสาหกรรมเพื่อประท้วงการประหัตประหารต่อชาวยิว

ส่วนทางใต้ของประเทศได้รับการปลดปล่อยในช่วงครึ่งหลังของปี ค.ศ. 1944 ส่วนที่เหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันตกและเหนือของประเทศยังคงถูกยึดครองอยู่ซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานจากความอดอยากในช่วงท้ายของปี ค.ศ. 1944 เป็นที่รู้จักกันคือ "ความหิวฤดูหนาว"(Hunger Winter) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ประเทศทั้งหมดได้รับการปลดปล่อยในที่สุดโดยการยอมจำนนของกองทัพเยอรมันทั้งหมด.