รายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
เนื้อหา
ฝ่ายสัมพันธมิตร[แก้]
สหรัฐ[แก้]
- นายแฟรงกลิน ดี.รูสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) (30 มกราคม 2425 -12 เมษายน 2488) แฟรงกลิน ดี.รูสเวลต์ เกิดที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคมพ.ศ. 2476 - 12 เมษายน พ.ศ. 2488 เขาได้นำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามหลังการโจมตีของญี่ปุ่นที่อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ โดยเข้าร่วมกับประเทศสัมพันธมิตรและการที่รูสเวลต์นำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามนั้น เป็นเหตุทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะในสงคราม ซึ่งก่อนสงครามโลกในยุโรปจะยุติลงไม่นาน รูสเวลต์ได้ถึงแก่กรรมในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488
- นายแฮรี เอส. ทรูแมน แฮรี เอส.ทรูแมน เกิดที่เมือง Lamar มลรัฐ Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวัยเด็ก ทรูแมน ชอบฟังเพลงและอ่านหนังสือ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ และได้สมัครเรียนนายร้อยที่โรงเรียนนายร้อยเวสต์พอยต์ (United States Military Academy at West Point (USMA))
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรูแมนได้เข้าร่วมรบที่สมรภูมิแนวรบด้านตะวันตก (Western Front) และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง ทรูแมนได้กลับมาเล่นการเมืองและสมรสกับนาง Bess Wallance ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2462 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรูแมนได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดีและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาต่อจากรูสเวลต์ที่ถึงแก่อสัญกรรมลงไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยเขาเป็นคนอนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่นด้วย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง เขาได้มีการอนุมัติให้แผนการมาร์แชลล์ (Marshall Plan) เพื่อทำการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปหลังสิ้นสุดสงคราม
- จอมพลดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight David Eisenhower) (14 ตุลาคม 2433 - 28 มีนาคม 2512) ไอเซนฮาวร์เกิดที่ Denison รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเป็นลูกคนที่ 3 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน เขาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสหรัฐฯ และพันธมิตรประจำภาคพื้นยุโรป โดยก่อนที่จะมาบัญชาการรบในยุโรปร่วมกับพลเอกเบอร์นาต มอนต์โกเมอรี่ เขาได้ทำการบัญชาการกองทัพพันธมิตรในการยกพลขึ้นบกที่แอฟริกาเหนือตามแผนยุทธการทอร์ช ในปี 2485 และหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เขาได้ลาออกจากกองทัพ เพื่อจะมาลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยไอเซนฮาวร์สังกัดพรรค Republican จนเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) และอีกสมัยหนึ่งในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ไอเซนฮาวร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2512 ขณะมีอายุ 78 ปี
- จอมพลดักลาส แมคอาเทอร์ (Douglas MacArthur) (26 มกราคม 2423 - 5 เมษายน 2507) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ช่วงก่อนที่ญี่ปุ่นจะถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์วันที่ 7 ธันวาคม เขาได้เป็นผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ หลังจากญี่ปุ่นถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์แล้ว นายพลแมคอาเทอร์ได้เดินทางไปยังออสเตรเลีย โดยเขาบอกกับชาวฟิลิปปินส์ว่า ผมจะกลับมา (I shall return) โดยเขาได้กลับมาฟิลิปปินส์หลังจากนั้น 3 ปี แมคอาร์เทอร์ทำงานร่วมกับพลเรือเอก วิลเลียม นิมิตซ์ ผู้บัญชาการทหารเรือของสหรัฐฯ และแมคอาเทอร์ยังเป็นผู้บัญชาการรบในช่วงสงครามเกาหลีอีกด้วย นายพลแมคอาร์เทอร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2507 ขณะมีอายุ 84 ปีเศษ
- จอมพลเรือเชสเตอร์ วิลเลียม นิมิตซ์ (Chester William Nimitz) (24 กุมภาพันธ์ 2428 - 20 กุมภาพันธ์ 2509) ผู้บัญชาการทหารเรือประจำภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ ทำงานร่วมกับ พลเอกดักลาส แมคอาเทอร์ เขาเป็นผู้ที่ทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ชนะกองทัพญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์และอีกหลายๆ ยุทธภูมิในแถบแปซิฟิก จนสามารถเข้าใกล้แผ่นดินญี่ปุ่นได้
- พลเอก จอร์จ แพตตัน (George Smith Patton) (11พฤศจิกายน 2428 - 21 ธันวาคม 2488) เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารของสหรัฐฯ เขามีส่วนในบัญชาการรบที่แอฟริกาเหนือ การยกพลขึ้นบกที่เกาะชิชิลีของอิตาลี ภายใต้ปฏิบัติการฮัสกี้ (Operation Husky) จนทำให้ฝ่ายพันธมิตรยึดเกาะชิชิลีได้ และทำการยกพลขึ้นบกที่แผ่นดินใหญ่ของอิตาลีในเวลาต่อมา (Allied invasion of Italy) ด้วยลักษณะนิสัยที่มีความเคร่งครึมในตัว นายพลแพตตันจึงเป็นนายพลเพียงคนเดียวของฝ่ายพันธมิตรที่ทหารในกองทัพเยอรมันกลัว
- จอมพลจอร์จ ซี. มาร์แซลล์ (George Catlett Marshall) (31 ธันวาคม 2423 - 16 ตุลาคม 2502) หัวหน้าเสนาธิการทหารของสหรัฐอเมริกา เขาเป็นผู้เสนอแผนการมาร์แซลล์ในการช่วยเหลือและฟื้นฟูประเทศในทวีปยุโรปทางด้านเศรษฐกิจหลังสงคราม จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2496
- นาย จอห์น เอฟ เคนเนดี้ (John Fitzgerald Kennedy) (29 พฤษภาคม 2460 - 22 พฤศจิกายน 2506) เกิดที่ Brookline รัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา เขาได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปฏิบัติอยู่ในหน่วย PT-109 หลังสงครามสิ้นสุดลง เคนเนดี้ได้รับยศเรือเอก จากนั้นเขาได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 35 ต่อจากไอเซนฮาวร์ ซึ่งเขาเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2504 ขณะมีอายุเพียง 43 ปี จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลอบสังหารที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ขณะมีอายุ 46 ปี
- จอมพลโอมาร์ แบรดเลย์ (Omar Bradley) (12 กุมภาพันธ์ 2436 - 8 เมษายน 2524) ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ ในยุโรปและแอฟริกาเหนือ โดยหลังจากแผนยุทธการทอร์ชแล้ว แบรดเลย์ได้ให้ทหารของเขาไปช่วยทำการรบในแอฟริกาเหนือกับนายพลไอเซนฮาวร์ในแนวหน้าหลายครั้ง
- นายพล Holland Smith (20 เมษายน 2425 - 12 มกราคม 2510) ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ ในยุทธการที่มหาสมุทรแปซิฟิก นายพลSmith ได้บัญชาการรบในยุทธการที่เกาะกิลเบิร์ต (The Gilberts), เกาะมาร์แชลล์ (Marshalls), เกาะไซปัน (Saipan) และที่เกาะติเนียน (Tinian) ในหมู่เกาะมาเรียนา (The Mariana Islands) และเขายังเป็นผู้บัญชาการรบที่เกาะอิโวจิมา (Iwo Jima)
- จอมพลอากาศเฮนรี่ เอช. อาร์โนลด์ (Henry Harley Arnold) (25 มิถุนายน 2429 - 15 มกราคม 2493) จากสหรัฐอเมริกา
- พลเอกโจเซฟ สติลเวลล์ (Joseph Warren Stilwell) (19 มีนาคม 2426 - 12 ตุลาคม 2489) จากสหรัฐอเมริกา
สหราชอาณาจักร[แก้]
- นาย วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) (30 พฤศจิกายน 2417 - 24 มกราคม 2508) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยเขาได้ให้คนอังกฤษทั้งประเทศยืนหยัดต่อสู้กับเยอรมนี จนเขาสามารถทำให้อังกฤษชนะสงครามโลกครั้งนี้ได้ในที่สุด
- จอมพลเบอร์นาต มอนต์โกเมอรี่ (Bernard Law Montgomery) (17 พฤศจิกายน 2430 - 24 มีนาคม 2519) มอนต์โกเมอรี่เกิดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขารับราชการทหารตั้งแต่ปี 2451 ขณะมีอายุ 21 ปี และทำงานในกองทัพนานถึง 50 ปี เขาเป็นผู้บัญชาการทหารของอังกฤษ และเป็นผู้บังคับบัญชาการที่บัญชาการรบที่ทำให้ทหารพันธมิตรได้ชัยชนะในหลายสมรภูมิเช่น ยุทธการเอล-อาลาเมน การรบในตูนิเซีย การยกพลที่เกาะชิชิลี การยกพลที่แผ่นดินใหญ่ของอิตาลี การยกพลที่นอร์ม็องดีของฝรั่งเศส และการบุกข้ามแม่น้ำไรน์ของเยอรมนี มอนต์โกเมอรี่ได้ถึงแก่กรรมขณะมีอายุ 88 ปี
- จอมพลฮาโรลด์ อเล็กซานเดอร์ (Harold Alexander) (10 ธันวาคม 2434 - 16 มิถุนายน 2512) จากแคนาดา
- นาย หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน
- นาย อลัน บรู๊ก
- จอมพลอาชิบาลด์ วาเวลล์
- นาย จอห์น เวเกอร์
- เซอร์เคลาด์ ออเชนเลก
- นาย ชาร์ลี พอเทอ
- เซอร์อาร์เธอร์ แฮร์ริส
- นาย ฮิวจ์ โดว์ดิง
- นาย แอนดรูว์ คันนิงแฮม
- นาย ดูลลี่ ปอน
สหภาพโซเวียต[แก้]
- จอมทัพโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) (18 ธันวาคม 2421 - 5 มีนาคม 2496) โจเซฟ สตาลิน เกิดที่เมือง Gori สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตทันทีที่ วลาดิเมียร์ เลนิน ได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งเขาได้ครอบครองอำนาจเหนือสหภาพโซเวียตยาวนานเกือบ 30 ปี ในสมัยที่สตาลินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ได้มีการสังหารพลเรือนไปมากถึง 20 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2476 มีชาวยูเครนเสียชีวิตถึง 7 ล้านคน ซึ่งชาวยูเครนส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการขาดแคลนอาหาร และสตาลินยังเป็นผู้ที่ทำให้สหภาพโซเวียตมีชัยชนะเหนือนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งนี้อีกด้วยและเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2496 ขณะมีอายุ 74 ปี เขาถึงแก่กรรมเนื่องจากทะเลาะกับ นิกิตา ครุสซอฟ อย่างรุนแรง ซึ่งครุสซอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียตต่อจากสตาลิน โดยครุสซอฟได้มีการเปิดเผยรายละเอียดและสิ่งที่สตาลินเคยทำเอาไว้กับสหภาพโซเวียตในอดีต และได้สั่งทำลายรูปปั้นของเขาลง
- นายพล เกออร์กี จูคอฟ (Georgy Konstantinovich Zhukov) (1 ธันวาคม 2439 - 18 มิถุนายน 2517) เขาทำงานในกองทัพตั้งแต่ปี 2458 จนถึงปี 2500 เขาเป็นผู้บัญชาการของกองทัพแดงในการโต้ตอบกองทัพนาซีเยอรมันในยุทธการที่สตาลินกราด และเขายังสามารถทำให้กองทัพโซเวียตได้ชัยชนะในยุทธการเคิร์สและเขายังทำให้กองทัพโซเวียตสามารถยึดครองกรุงเบอร์ลิน นครหลวงของเยอรมนีได้
- นายพล คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี (Konstantin Rokossovsky) (21 ธันวาคม 2439 - 3 สิงหาคม 2511) เขาทำงานในกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 2457- 2460 ในกองทัพสหภาพโซเวียต 2460-2492 เป็นผู้บัญชาการกองทัพโปแลนด์ 2492-2499 และกลับมาสหภาพโซเวียตอีกครั้งหนึ่งในปี 2499-2511 เขาเป็นนายพลที่รับใช้กองทัพโซเวียตจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2511 ด้วยอายุ 71 ปี
- นายพล อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี (Aleksandr Mikhaylovich Vasilevsky) (30 กันยายน 2438 - 5 ธันวาคม 2520) เขาทำงานให้กับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 2458- 2460 กองทัพของสหภาพโซเวียต 2460-2502 โดยเขาได้ทำการวางแผนการรบร่วมกับ นายพลกอร์กี้ ชูคอฟ ในการตอบโต้กองทัพเยอรมนีและเขาได้ออกจากองทัพในปี พ.ศ. 2502
- นายพล วาซีลี ชุยคอฟ (Vasily Ivanovich Chuikov) (12 กุมภาพันธ์ 2443 - 18 มีนาคม 2525) เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติในรัสเซียเมื่อปี 2460 และเขาเป็นผู้ที่ทำให้กองทัพโซเวียตได้ชัยชนะในการรบที่ยุทธการสตาลินกราด
- นายพล อีวาน โคเนฟ (28 ธันวาคม 2440 - 21 พฤษภาคม 2516) เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงของโซเวียตและยังเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังของการปราบปรามการก่อกบฏในฮังการีในปี พ.ศ. 2499
- นายพล เลโอนิต โกโวลอฟ (22 กุมภาพันธ์ 2440 - 19 มีนาคม 2498) เขาทำงานให้กับกองทัพแดงเมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยเขาได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในการต้านกับกองทัพเยอรมนีที่กรุงเลนินกราด ซึ่งกรุงเลนินกราดได้ถูกกองทัพฝ่ายอักษะล้อมไว้นานกว่า 900 วัน ก็ยังไม่สามารถที่จะตีแตกได้
- นายพล เซมิออน ตีโมเชนโค (Semyon Konstantinovich Timoshenko) (18 กุมภาพันธ์ 2438 - 31 มีนาคม 2513)
- นายพล นีโคไล บุลกานิน (Nikolai Fyodorovich Vatutin) (16 ธันวาคม 2444 - 14 เมษายน 2487)
- นายพล วาซีลี โซโคลอฟสกี (Vasily Danilovich Sokolovsky) (21 กรกฎาคม 2440 - 10 พฤษภาคม 2511)
- นายพล คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ (4 กุมภาพันธ์ 2424 - 2 ธันวาคม 2512)
- นายพล ดมิลีร์ ลีไลยูเชนโก
- นายพล อเล็กสกี้ แอนโทนอฟ
- นายพล อิวาน เฟดยุนนินสกี้
- นายพล วาเลเรียน โฟรลอฟ
- นายพล วาซิลลี่ กอร์ดอฟ
- นายพล มิคาอิล คีร์โพนอส
- นายพล พาเวล ไลบัลโก
- นายพลเรือ นิโคเลย์ คูเนสซอฟ (Nikolay Gerasimovich Kuznetsov) (24 กรกฎาคม 2447 - 6 ธันวาคม 2517) เริ่มเขาทำงานในกองทัพเรือโซเวียตเมือปี พ.ศ. 2463-2499 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือโซเวียตในปี พ.ศ. 2484 ในการปฏิบัติการต่อสู้กับกองทัพนาซีเยอรมัน ร่วมกันกับ นายพล กอร์กี้ ชูคอฟ และ นายพล เซมโยน ทิโมเชนโก
- พลเรือเอก อิวาน ยูมาเชฟ (Ivan Stepanovich Yumashev) (9 ตุลาคม 2438 - 2 กันยายน 2515)
- พลเรือเอก วลาดิเมียร์ ตริบุคต์ (Vladimir Filippovich Tributs) (28 กรกฎาคม 2443 - 30 สิงหาคม 2520)
ฝรั่งเศส[แก้]
- พลจัตวาชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ผู้นำของฝรั่งเศส เขาได้ถูกนายเรโนด์ นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสในสมัยนั้น ส่งไปราชการทหารที่ลอนดอนในวันที่ 5 มิถุนายน 2483 พอหลังจากฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพนาซีแล้ว เขาได้ประกาศให้ชาวฝรั่งเศสทำการต่อสู้กับผู้รุกรานต่อไป และหลังสงครามสงบลง เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส
- นายฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี
- นายอัลฟงซ์ จูน
- นายมอริซ กาเมแลง
- นายแมกซิม เวแกน
- นายฟรานโก ดาลัน
- นายเฮนรี่ จีโฮค์
- นายฟิลิปเป้ เลอแคร์ เดอ ฮัวเตอร์เลอคัว
- นายมาเรีย-ปีแยร์ โคนิก
- นายจอร์จ คาทรูซ์
สาธารณรัฐจีน[แก้]
- จอมพลเจียง ไคเช็ก (Chiang Kai-shek) ผู้นำของสาธารณรัฐจีน
- นายเหมา เจ๋อตง (Mao Zedong) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
- นายจาง เซวเหลียง
- นายหยาน สีซาน
- นายเฉิน เฉิง
- นายจูเต๋อ
- นายชเว ยูเอะ
ฝ่ายอักษะ[แก้]
นาซีเยอรมัน[แก้]
- นายอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) (20 เมษายน 2432 - 30 เมษายน 2488) ฮิตเลอร์เกิดที่ Braunau am Inn ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2432 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงบ เขาได้ยศสิบโท หลังจากนั้นได้เข้ามาเล่นการเมือง โดยได้สังกัดพรรคนาซี เมื่อเขาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในปี พ.ศ. 2476 จากนั้นอีก 1 ปี เขาได้ควบตำแหน่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือที่เรียกกันว่าผู้นำหรือ ฟือเรอร์ ในปี พ.ศ. 2482 เขาได้ส่งทหารไปรุกรานโปแลนด์วันที่ 1 กันยายน จนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยใช้ยุทธวิธีแบบสายฟ้าแลบจนทำให้สามารถปราบโปแลนด์และยึดครองทวีปยุโรปได้เกือบทั้งหมด ยกเว้นประเทศอังกฤษที่สามารถต้านทานกองทัพเยอรมันได้ และในเวลานั้นเขาสั่งให้มีการสังหารชาวยิวไปมากถึง 6 ล้านคน และก่อนสิ้นสุดสงคราม เขาได้ยิงตัวตายในห้องใต้ดินที่บ้านของตัวเองในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2488 และศพของเขาก็ถูกลากออกมาและเผาทิ้งทันที ส่วนอีวา บราวน์ ภรรยาของเขาก็ตายเขาไปโดยการดื่มยาพิษเข้าไป
- จอมพลเฮอร์มาน เกอริ่ง (Hermann Wilhelm Göring) ผู้บัญชาการทหารอากาศของนาซีเยอรมัน เขาเป็นลูกน้องคนสำคัญของฮิตเลอร์ พอฮิตเลอร์ตายแล้ว เขาก็ถูกจับในฐานะอาชญกรสงคราม เกอริ่งถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ
- จอมพลไฮนซ์ กุเดอเรียน ผู้บัญชาการกองทัพรถถังแพนเซอร์ของเยอรมนี เขาบัญชาการรบได้รวดเร็ว จนสามารถยึดครองกลุ่มประเทศเบเนลักซ์และฝรั่งเศสได้อย่างรวดเร็ว
- จอมพลเฟรดดริก พอลลัส (Friedrich Paulus) ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันในการรุกรานสหภาพโซเวียต เขาเป็นแม่ทัพคนสำคัญของเยอรมันและเมื่อเขาได้ยอมแพ้ต่อกองทัพโซเวียตที่สตาลินกราดแล้ว ทำให้กองทัพเยอรมันต้องเสียเกียรติไปมาก
- จอมพลเฟดเดอร์ ฟอน บอค (Fedor von Bock) (3 ธันวาคม 2423 - 4 พฤษภาคม 2488) เกิดที่ Kustrin รัฐแบรนด์เดนเบิร์ก จักรวรรดิเยอรมนี เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมนี เขาได้บัญชาการรบหลายครั้ง เช่น การรุกรานโปแลนด์ (กองกำลังภาคเหนือ), การรุกรานฝรั่งเศส (กลุ่มกองทัพ B), การรุกรานสหภาพโซเวียต (กองกำลังทางภาคกลาง) และการบัญชาการครั้งสุดท้ายที่ทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียต (กองกำลังทางภาคใต้)
- นาย โจเซฟ เกิบเบิลส์ (Dr.Joseph Goebbels) เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีโฆษณาชวนเชื่อของนาซีเยอรมนี ผู้ที่จงรักภักดีต่อฮิตเลอร์มาก และพอหลังจากที่ฮิตเลอร์ยิงตัวตายแล้ว ฮิตเลอร์ได้ระบุในพินัยกรรมให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เขาดำรงตำแหน่งเพียงหนึ่งวัน หลังจากนั้นเขาได้สั่งให้ภรรยาและบุตรทั้งหมดกินยาพิษฆ่าตัวตาย และตัวเขาเองก็ได้ฆ่าตัวตายตามทีหลัง
- จอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ (Grand Admiral Karl Doenitz) จอมพลเรือคนสุดท้ายของเยอรมนี เป็นผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำอูที่เลื่องชื่อของเยอรมัน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเยอรมัน เมื่ออาณาจักรใกล้สิ้นสุด ฮิตเลอร์ได้ระบุในพินัยกรรมให้จอมพลเรือเดอนิทซ์รับตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมัน ก่อนที่เขาจะฆ่าตัวตายเนื่องจากเขาเชื่อว่ากองทัพบกกับกองทัพอากาศได้ทรยศเขาก่อนหน้านั้น หลังฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลเดอนิทซ์ได้ตั้งศูนย์กลางรัฐบาลใหม่ที่เมืองเฟลนซเบิร์ก ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของนาซีเยอรมัน ก่อนที่จะถูกบังคับให้สละอำนาจให้กับกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อ 23 พฤษภาคม 2488 หลังสงคราม เขาคือบุคคลที่มีตำแหน่งสูงที่สุดที่ถูกพิจารณาคดี (ในฐานะผู้นำนาซีเยอรมันก่อนล่มสลาย) เขาถูกตั้งข้อหาเป็นอาชญากรสงครามและถูกจำคุกสิบปี
- จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) (15 พฤศจิกายน 2434 - 14 ตุลาคม 2487) เออร์วิน รอมเมล เกิดที่ Heidenheim จักรวรรดิเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 เขาทำการบัญชาการรบในหลายๆ สมรภูมิ ในช่วงต้นของสงครามนั้น เขาบัญชาการรบอยู่ในยุโรป โดยเขามีส่วนในการรบที่ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นเขาถูกย้ายไปบัญชาการรบที่สมรภูมิในแอฟริกา และได้รับฉายาว่า จิ้งจอกแห่งทะเลทราย ซึ่งหลังจากที่กองทัพเยอรมันในสมรภูมิแอฟริกาเหนือได้ถูกตีถอยร่น เขาก็ได้ล้มป่วย หลังจากที่เขาหายดีแล้ว เขาถูกฮิตเลอร์เรียกมาบัญชาการหน่วยรถถังแพนเซอร์ เพื่อทำการต่อต้านกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำการยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งนอร์ม็องดีของฝรั่งเศส ต่อมาเขาได้ถูกเข้าใจผิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในแผนสังหารฮิตเลอร์เมื่อ 20 กรกฎาคม 2487 แต่แผนล้มเหลว เขาถูกนายพลโยเดลบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายหลังจากนั้น
- จอมพล อีริค ฟอน แมนสไตน์ (Erich von Manstein) (24 พฤศจิกายน 2430 - 9 มิถุนายน 2516) จอมพลของกองทัพเยอรมนีซึ่งเขาบัญชาการรบในหลายสมรภูมิ เช่น การรุกรานโปแลนด์, การรบในฝรั่งเศส, ปฏิบัติการบาร์บารอสซา, ยุทธภูมิเซวาสโตปอล, ยุทธภูมิเคิร์ส (Kursk), ยุทธภูมิสตาลินกราด เป็นต้น เขาได้เสียชีวิตลง ขณะมีอายุได้ 86 ปี
- จอมพลคาร์ล รูดอล์ฟ ฟอน รุนสเตดท์ (Karl Rudolf von Rundstedt) (12 ธันวาคม 2418 - 24 กุมภาพันธ์ 2496) เกิดที่ Aschersleben จักรวรรดิเยอรมนี เขาเข้ารับราชการทหารในกองทัพเยอรมนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 ขณะที่อายุเพียง 17 ปี เขามีรับฉายาว่า อัศวินดำ และในสงครามโลกครั้งที่ 2 รุนสเตดท์บัญชาการรบในการรุกรานโปแลนด์ จนทำให้กองทัพโปแลนด์พ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว ส่วนการบุกฝรั่งเศส รุนสเตดท์ก็สามารถทำให้กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสต้องถอยร่นไปยังท่าเรือดังเคิร์ก จนทำให้ฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้ต่อเยอรมนี และการรุกรานสหภาพโซเวียต เขาทำให้กองทัพเยอรมนีสามารถรุกจนถึงกรุงมอสโกได้ ต่อจากนั้นเมื่อกองทัพเยอรมนีกำลังถูกโต้กลับ เขาได้ถูกฮิตเลอร์เรียกมาทำการป้องกันการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ชายฝั่งนอร์ม็องดี ซึ่งรุนสเตดท์ก็ป้องกันอย่างเต็มที่ และจอมพลรุนสเตดท์เป็นจอมพลของฝ่ายเยอรมนีที่ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้ตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามเหมือนจอมพลคนอื่นๆ
- โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ (Joachim von Ribbentrop) (30 เมษายน 2436 - 16 ตุลาคม 2489) เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนี ซึ่งเขาได้เป็นตัวแทนในการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ กับสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสงครามถูกตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามและได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
- นายพลอัลเบิร์ต เคสเซอริ่ง (Albert Kesselring)
- ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ (6 มกราคม ค.ศ. 1900 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส ผู้บัญชาการทหาร และสมาชิกระดับสูงของพรรคนาซี ในตำแหน่งหัวหน้าตำรวจเยอรมันและรัฐมนตรีมหาดไทยนับแต่ ค.ศ. 1943 ฮิมม์เลอร์ควบคุมตำรวจและกองกำลังความมั่นคงทั้งหมด รวมทั้งเกสตาโป (ตำรวจลับของรัฐ) ในตำแหน่งไรช์ฟือแรร์-เอสเอส และภายหลังเป็นผู้บัญชาการกองทัพกำลังทดแทน (Replacement Army) หรือกองกำลังป้องกันชาติ (Home Army) และผู้มีอำนาจเต็มทั่วไปสำหรับฝ่ายปกครองของไรช์ทั้งหมด ฮิมม์เลอร์เป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจที่สุดในนาซีเยอรมนีและหนึ่งในบุคคลที่รับผิดชอบโดยตรงที่สุดของฮอโลคอสต์ ต่อมาในช่วงปลายสงคราม เขาได้เจรจาสันติภาพกับสัมพันธมิตรอย่างลับๆโดยไม่ให้ฮิตเลอร์รู้ แต่ทว่าฮิตเลอร์กลับรู้เข้าทำให้ถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งและหมายจับกุมฐานทรยศ มิหนำซ้ำยังได้ถูกสัมพันธมิตรปฏิเสธข้อเรียกร้องของฮิมเลอร์และประกาศว่า เขาคืออาชญากรสงครามที่สมควรจะได้รับโทษอย่างแน่นอน ฮิมเลอร์ได้พยายามหลบหนีออกจากเยอรมนีโดยปลอมตัวและปะปนผู้อพยพแต่กลับถูกทหารอังกฤษจับกุมได้ และกำลังจะถูกนำตัวไปขึ้นศาล แต่ฮิมเลอร์ได้ฆ่าตัวตายด้วยการกินยาพิษไซด์ในห้องคุมขัง
ราชอาณาจักรอิตาลี[แก้]
- นายเบนิโต มุสโสลินี (BenitoMussolini) (29 กรกฎาคม 2426 - 28 เมษายน 2488) ผู้นำของอิตาลี ซึ่งเขาได้นำพาอิตาลีไปอยู่ฝ่ายเดียวกันกับนาซีเยอรมัน และก่อนสงครามสิ้นสุดลง เขากับภรรยาถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ลอบสังหารเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยศพของเขากับภรรยาถูกลากไปที่ Piazzale Loreto (มิลาน) และถูกห้อยหัวลงที่หน้าปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง
- นายปีเอโตร บาโดลโย
- จอมพลโรดอลโฟ กราซีอานี
- นายพลเอมีลีโอ เด โบโน
- นายอูโก คาวาเยโร
- นายอาร์ตูโร ริคาร์ดี
- นายอิตาโล บัลโบ
- นายกาลีซโซ ชิอาโน
- นายโจวานนี เมสซี
จักรวรรดิญี่ปุ่น[แก้]
- จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ (29 เมษายน 2444 -7 มกราคม 2532) ระหว่างสงครามทรงพระราชทานคำปรึกษาด้านนโยบายแก่ผู้นำทางทหาร ตลอดจนพระราชทานขวัญกำลังใจ
- พลเอก ฮิเดะกิ โทโจ (30 ธันวาคม 2427 -23 ธันวาคม 2491) นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ภายหลังแพ้สงครามได้กระทำอัตวินิบาตกรรมแต่ไม่สำเร็จ และถูกพิจารณาคดีในฐานะอาชญากรสงคราม
- พลเอก โคะเระชิกะ อะนะมิ (21 กุมภาพันธ์ 2430 - 15 สิงหาคม 2488) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม ภายหลังแพ้สงครามได้กระทำอัตวินิบาตกรรม
- พลเรือเอก อิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ (4 เมษายน 2427 - 18 เมษายน 2486) ผู้บัญชาการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
- พลเอก นะกะมุระ โคะตะโร (28 สิงหาคม 2424 - 29 สิงหาคม 2490) ผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออก (คันโต และ ฮนชู)
- พลเอก โทะโมะยุกิ ยะมะชิตะ (8 พฤศจิกายน 2428 - 23 กุมภาพันธ์ 2489) ในยศพลโทเขานำกำลังเข้ายึดสิงคโปร์และมาลายาของอังกฤษ
- พลเอก ทะดะมิชิ คุริบะยะชิ (7 กรกฎาคม 2434 - 23 มีนาคม 2488) ผู้นำกำลังเข้ายึดฮ่องกง และผู้บัญชาการในยุทธการที่อิโวะจิมะ
- พลโท ฮะรุกิชิ เฮียะกุตะเกะ (25 พฤษภาคม 2431 - 10 มีนาคม 2490) ผู้บัญชาการกองกำลังญี่ปุ่นที่นำกำลังเข้ายึดปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโดยรอบ
- พลโท นะกะมุระ อะเกะโตะ (1 เมษายน ค.ศ. 2432 – 12 กันยายน 2509) ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นนายพลระดับสูงเพียงไม่กี่คนที่รอดพ้นโทษประหาร
- พลโท โยะชิสึงุ ไซโต (2 พฤศจิกายน 2433 - 6 กรกฎาคม 2487) ผู้บัญชาการในยุทธการไซปัน