ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ราชอาณาจักรฮังการี Magyar Királyság | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1920–1946 | |||||||||
![]() อาณาเขตของราชอาณาจักรฮังการีใน พ.ศ. 2485 | |||||||||
เมืองหลวง | บูดาเปสต์ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ฮังการี | ||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก ลัทธิคาลวิน (โปรเตสแตนต์) · ลูเทอแรน อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนายูดาห์ | ||||||||
การปกครอง | รัฐผู้สำเร็จราชการภายใต้ระบอบอำนาจนิยม (1920-1944) รัฐฮังการีนิยมภายใต้ระบอบเบ็ดเสร็จ (1944-1945) คณะเปลี่ยนผ่านภายใต้รัฐบาลผสม (1945-1946) | ||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||
• 1920-1946 | ไม่มี (ตำแหน่งถูกประกาศมิได้มีการปกครอง) | ||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | |||||||||
• 1920-1944 | มิกโลช ฮอร์ตีb | ||||||||
• 1944-1945 | แฟแร็นตส์ ซาลอชีc | ||||||||
• 1945-1946 | สภาสูงแห่งชาติd | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• 1920 (คนแรก) | Sándor Simonyi-Semadam | ||||||||
• 1945-1946 (คนสุดท้าย) | โซลตาน ทิลดี | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | ||||||||
• สภาสูง | Felsőház | ||||||||
• สภาผู้แทน | Képviselőház | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ระหว่างสงคราม · สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||
• ฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ | 1 มีนาคม 1920 | ||||||||
4 มิถุนายน 1920 | |||||||||
2 พฤศจิกายน 1938 | |||||||||
30 สิงหาคม 1940 | |||||||||
16 ตุลาคม 1944 | |||||||||
• ล้มเลิกระบอบกษัตริย์ | 1 กุมภาพันธ์ 1946 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
1920[2] | 92,833 ตารางกิโลเมตร (35,843 ตารางไมล์) | ||||||||
1930[3] | 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) | ||||||||
1941[4] | 172,149 ตารางกิโลเมตร (66,467 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1920[2] | 7980143 | ||||||||
• 1930[3] | 8688319 | ||||||||
• 1941[4] | 14669100 | ||||||||
สกุลเงิน | โกโรนอ (1920-1927) แป็งเกอ (1927-1946) | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||||
|
ราชอาณาจักรฮังการี (ฮังการี: Magyar Királyság) ในบางครั้งจะมีการเรียกว่า ยุคผู้สำเร็จราชการ หรือ ยุคโฮร์ตี ดำรงอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1920 จนถึง ค.ศ. 1946 โดยอยู่ภายใต้การปกครองของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มิกโลช โฮร์ตี ซึ่งเป็นตัวแทนในนามของราชาธิปไตยฮังการี แต่แท้จริงแล้วกลับไม่มีองค์พระมหากษัตริย์ปกครอง อย่างไรก็ตาม ได้เคยมีความพยายามของโฮร์ตีที่จะนำพระเจ้าคาร์ลที่ 4 กลับมาครองราชบัลลังก์ก่อนที่ไม่นานพระองค์จะทรงสวรรคต
ราชอาณาจักรฮังการีภายใต้การนำของโฮร์ตีนั้น มีรูปแบบการปกครองในลักษณะอนุรักษนิยม ชาตินิยม และการต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยรัฐบาลมีรากฐานมาจากพันธมิตรอนุรักษนิยมและฝ่ายขวาที่ไม่มั่นคง นโยบายต่างประเทศของฮังการีมีลักษณะเฉพาะคือการแก้ไขหรือการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนของสนธิสัญญาทรียานง ซึ่งทำให้ฮังการีสูญเสียดินแดนมากกว่า 70% ของดินแดนในประวัติศาสตร์ พร้อมด้วยชาวฮังการีประมาณสามล้านคนที่อยู่นอกพรมแดนใหม่ของราชอาณาจักร การเมืองของฮังการีในช่วงระหว่างสงครามจึงถูกครอบงำจากการสูญเสียดินแดนตามสนธิสัญญานี้ และความแค้นที่ดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน
จากอิทธิพลของเยอรมนีในฮังการี ทำให้นักประวัติศาสตร์บางคนสรุปว่าประเทศนี้กลายเป็นรัฐบริวารของนาซี ภายหลังจากปี ค.ศ. 1938[5] ราชอาณาจักรฮังการีเข้าร่วมฝ่ายอักษะในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหวังที่จะทวงคืนดินแดนส่วนใหญ่ของฮังการีที่สูญเสียไปในสนธิสัญญาทรียานง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1941 ต่อมาในปี ค.ศ. 1944 หลังจากความพ่ายแพ้อย่างหนักของฝ่ายอักษะ รัฐบาลของโฮร์ตีได้ทำการการเจรจาลับกับฝ่ายสัมพันธมิตร และพยายามถอนตัวออกจากสงคราม เพราะเหตุนี้ฮังการีจึงถูกยึดครองโดยเยอรมนี และโฮร์ตีจึงถูกล้มล้างอำนาจ นำไปสู่การขึ้นสู่อำนาจของแฟแร็นตส์ ซาลอชีจากพรรคแอร์โรว์ครอสส์ โดยได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากนาซี ทำให้ฮังการีกลายเป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมนีอย่างสมบูรณ์
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยมีเปลี่ยนชื่อเป็น รัฐฮังการี[6] (ฮังการี: Magyar Állam) หลังจากนั้นไม่นาน สาธารณรัฐฮังการีที่สองก็ประกาศจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1946 และสืบทอดต่อโดยสาธารณรัฐประชาชนฮังการี ในปี ค.ศ. 1949
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Adeleye, Gabriel G. (1999). World Dictionary of Foreign Expressions. Ed. Thomas J. Sienkewicz and James T. McDonough, Jr. Wauconda, IL: Bolchazy-Carducci Publishers, Inc. ISBN 0-86516-422-3.
- ↑ Kollega Tarsoly, István, บ.ก. (1995). "Magyarország". Révai nagy lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. Volume 20. Budapest: Hasonmás Kiadó. pp. 595–597. ISBN 963-8318-70-8.
{{cite encyclopedia}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Kollega Tarsoly, István, บ.ก. (1996). "Magyarország". Révai nagy lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. Volume 21. Budapest: Hasonmás Kiadó. p. 572. ISBN 963-9015-02-4.
{{cite encyclopedia}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Élesztős László, บ.ก. (2004). "Magyarország". Révai új lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. Volume 13. Budapest: Hasonmás Kiadó. pp. 882, 895. ISBN 963-9556-13-0.
{{cite encyclopedia}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Seamus Dunn, T.G. Fraser. Europe and Ethnicity: The First World War and Contemporary Ethnic Conflict. Routledge, 1996. P97.
- ↑ "Az ideiglenes nemzeti kormány 1945. évi 539. M. E. számú rendelete az államhatalom gyakorlásával kapcsolatos egyes kérdések rendezéséről" [Prime Ministerial Decree No. 539/1945 of the Provisional National Government on the Settlement of Certain Issues relating to the Exercise of State Authority]. Magyarországi Rendeletek Tára (ภาษาฮังการี). Budapest: Ministry of Interior of Hungary. 79 (1): 53–54. 8 March 1945.
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับประเทศฮังการีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ โครงการวิกิประเทศฮังการี |
- CS1 errors: extra text: volume
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2489
- ประวัติศาสตร์ฮังการี
- ราชอาณาจักรฮังการี
- ฮังการีในศตวรรษที่ 20
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463
- รัฐฟาสซิสต์
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศฮังการี
- ราชอาณาจักรในอดีต
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศฮังการี ที่ยังไม่สมบูรณ์