แอลเบเนียในอารักขาของอิตาลี (ค.ศ. 1939–1943)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย

Mbretënia e Shqipënisë  (แอลเบเนีย)
Regno d'Albania  (อิตาลี)
1939–1943
เพลงชาติฮีมนี อี ฟลามูริท
("เพลงสรรเสริญแก่ธง")

แอลเบเนียใน ค.ศ. 1942
แอลเบเนียใน ค.ศ. 1942
สถานะรัฐร่วมประมุขกับราชอาณาจักรอิตาลี
เมืองหลวงติรานา
ภาษาทั่วไปแอลเบเนีย
อิตาลี
ศาสนา
อิสลาม
คริสต์ (โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์)
เดมะนิมชาวแอลเบเนีย
การปกครองลัทธิฟาสซิสต์ รัฐพรรคการเมืองเดียวรวบอำนาจเบ็ดเสร็จภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• 1939–1943
วิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3
รองพระมหากษัตริย์ 
• 1939–1943
Francesco Jacomoni
• 1943
Alberto Pariani
นายกรัฐมนตรี 
• 1939–1941
Shefqet Vërlaci
• 1941–1943
Mustafa Merlika-Kruja
• 1943
Maliq Bushati
• 1943
Ekrem Libohova
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม · สงครามโลกครั้งที่สอง
12 เมษายน 1939
10 กรกฎาคม 1941
8 กันยายน 1943
พื้นที่
1939[1]27,538 ตารางกิโลเมตร (10,632 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1939[1]
1,063,893
สกุลเงินฟรังกา (1939–1941)
ลีราอิตาลี (1941–1943)
ก่อนหน้า
ถัดไป
1939:
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย
1941:
มณฑลเซตา
มณฑลวาร์ดาร์
เยอรมนีเข้ายึดครอง

แอลเบเนียในอารักขาของอิตาลี บางครั้งรู้จักกันในชื่อ ราชอาณาจักรแอลเบเนีย หรือ เกรตเทอร์แอลเบเนีย[2][3] เป็นช่วงเวลาหนึ่งของประเทศแอลเบเนียในฐานะรัฐในอารักขาของราชอาณาจักรอิตาลี ซึ่งทางปฏิบัติแล้วถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งกับอิตาลี มีประมุขแห่งรัฐคือพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี และมีรัฐบาลของตนเองอย่างเป็นทางการ จากการที่แอลเบเนียตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ว่าการอิตาลีนับตั้งแต่การยึดครองทางทหารใน ค.ศ. 1939 จนถึง ค.ศ. 1943 ทำให้แอลเบเนียในช่วงเวลานี้ยุติสถานะความเป็นรัฐเอกราชลงและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตปกครองตนเองของจักรวรรดิอิตาลี รัฐบาลอิตาลีพยายามหลอมรวมแอลเบเนียตามแนวคิดเกรตเทอร์อิตาลี โดยการเปลี่ยนชาวแแอลเบเนียเป็นพลเมืองอิตาลี และเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของชาวอิตาลีในแอลเบเนียมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนแอลเบเนียให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอิตาลีทีละน้อย[4]

ตามสนธิสัญญาลอนดอนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไตรภาคีได้ให้สัญญาการยกดินแดนแอลเบเนียตอนกลางและใต้แก่อิตาลีเพื่อตอบแทนสำหรับการเข้าร่วมต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง[5] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1917 เมื่อทหารอิตาลีเข้ายึดครองพื้นที่จุดสำคัญของแอลเบเนีย อิตาลีได้ประกาศให้แอลเบเนียตอนกลางและใต้เป็นรัฐในอารักขาของตน อย่างไรก็ตาม สัญญาที่ให้ไว้กับอิตาลีถูกระงับลงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920 เมื่ออิตาลีได้รับแรงกดดันให้ถอนกำลังออกจากดินแดนดังกล่าว[5] อิตาลีไม่พอใจต่อผลตอบแทนที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจากการเจรจาสันติภาพ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาลอนดอน นักฟาสซิสต์อิตาลีได้อ้างว่าชาวแอลเบเนียมีความเชื่อมโยงทางชาติพันธุ์กับชาวอิตาลีจากการโยงใยกับประชากรอิตาริค อิลลิเรีย และโรมโบราณ และได้กล่าวถึงอิทธิพลของจักรวรรดิโรมันและเวนิสที่มีต่อแอลเบเนีย ซึ่งทำให้อิตาลีมีสิทธิในการครองครองดินแดนนี้[6] นอกจากนี้ ชาวแอลเบเนียหลายแสนคนยังถูกบังคับอพยพไปยังภาคใต้ของอิตาลี เพื่อใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการผนวกแอลเบเนียเป็นรัฐเดียว[7] อิตาลีให้การสนับสนุนอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนของชนชาติเดียวกันของชาวแอลเบเนีย โดยมุ่งต่อต้านดินแดนคอซอวอของยูโกสลาเวีย และอิไพรัสของกรีซที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นแอลเบเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวพรมแดนชาเมเรีย (Chameria) ที่มีชนกลุ่มน้อยแอลเบเนียชาติพันธุ์ชาม (Cham Albania) อาศัยอยู่[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Soldaten-Atlas (Tornisterschrift des Oberkommandos der Wehrmacht, Heft 39). Leipzig: Bibliographisches Institut. 1941. p. 32.
  2. Micheletta, Luca (2007), "Questioni storiche: Italy, Greater Albania and Kosovo 1939–1943", Nuova Rivista Storica, 2/2013, Universita degli studi di Roma La Sapienza: 521–542
  3. Papa Pandelejmoni, Enriketa (2012), Doing politics in Albania doing World War II: The case of Mustafa Merlika Kruja fascist collaboration, Založba ZRC, ZRC SAZU, pp. 67–83, ISBN 978-9612544010
  4. Lemkin, Raphael; Power, Samantha (2008), Axis Rule in Occupied Europe, The Lawbook Exchange, Ltd., pp. 99–107, ISBN 978-1584779018
  5. 5.0 5.1 Nigel Thomas. Armies in the Balkans 1914–18. Osprey Publishing, 2001. p. 17.
  6. Rodogno., Davide (2006). Fascism's European empire: Italian occupation during the Second World War. Cambridge University Press. p. 106. ISBN 0521845157.
  7. Owen Pearson. Albania in the twentieth century: a history, Volume 3. London; New York: I.B. Taurus Publishers, 2004. p. 389.
  8. Fischer, Bernd Jürgen (1999), Albania at War, 1939–1945, C. Hurst & Co. Publishers, pp. 70–73, ISBN 978-1850655312

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]