ข้ามไปเนื้อหา

การทัพหมู่เกาะโซโลมอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทัพหมู่เกาะโซโลมอน
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

แผนที่ของหมู่เกาะโซโลมอนแสดงการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างปี ค.ศ. 1943 และฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศที่เป็นกุญแจสำคัญ
วันที่มกราคม ค.ศ. 1942 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1945
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม

 สหรัฐ
 ออสเตรเลีย
 นิวซีแลนด์

 บริเตนใหญ่
จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์
สหรัฐ ดักลาส แมกอาเธอร์
สหราชอาณาจักร วิลเลียม ซิดนีย์ มาร์ชาน์ต[1]
สหรัฐ โรเบิร์ต กอร์มลีย์
สหรัฐ วิลเลียม ฮอลซี จูเนียร์
สหรัฐ อเล็กซ์แซนเดอร์ แวนดีกรีฟต์
สหรัฐ อเล็กซ์แซนเดอร์ แพตช์
สหรัฐ แฟรงก์ แจก แฟลตเชอร์
สหรัฐ ริชมอนด์ เค. เทอร์เนอร์
ออสเตรเลีย อีริก เฟล์ดต์[2]
สหรัฐ รอย ไกเกอร์
สหรัฐ เทียดดอร์ เอส. วิลคินซัน
สหรัฐ ออสการ์ กริสวูล์ด
ออสเตรเลีย สแทนลีย์ ซาเวก
จักรวรรดิญี่ปุ่น อิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ 
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชิเงะโยะชิ โอะโนะอุเอะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น นิชิโซ สึกะฮะระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น จินิชิ คุซะกะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น กันอิชิ มิกะวะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ระอิโซ ทะนะกะ
Flag of the Empire of Japan ฮิโตชิ อิมะมุระ
Flag of the Empire of Japan ฮะรุกิชิ เฮียะกุตะเกะ
Flag of the Empire of Japan มิโนะรุ ซะซะกิ
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 20,600+
เรืออับปาง 50+
เครื่องบินถูกทำลาย 845+[3]
เสียชีวิต 80,000+
เรืออับปาง 50+
เครื่องบินถูกทำลาย 880+[3]

การทัพหมู่เกาะโซโลมอน เป็นการทัพหลักของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพเริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและยึดครองดินแดนหลายแห่งในหมู่เกาะโซโลมอนบริเตนและเกาะบัวเกนวิลล์ (Bougainville) ในดินแดนแห่งนิวกินีระหว่าง 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นได้ยึดพื้นที่หลายส่วนและเริ่มสร้างท่าเรือและสนามบินหลายแห่งเพื่อใช้ป้องกันแนวด้านข้างของการบุกโจมตีในนิวกินี การสร้างแนวปลอดภัยสำหรับฐานทัพหลักของญี่ปุ่นอยู่ที่ราบวล (Rabaul) ในนิวบริเตน (New Britain) และเป็นฐานทัพที่จัดเตรียมเพื่อหยุดเส้นทางลำเลียงเสบียงระหว่างมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์

เพื่อปกป้องการสื่อสารและเส้นทางลำเลียงเสบียงในแปซิฟิกใต้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สนับสนุนการรุกตอบโต้ในนิวกินีและโดดเดี่ยวฐานทัพญี่ปุ่นในราบวล และ ได้โต้กลับญี่ปุ่นในหมู่เกาะโซโลมอนด้วยการยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล, (ดู การทัพกัวดาลคาแนล) และเกาะเล็กๆที่อยู่ใกล้เคียงในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1942 การยกพลขึ้นบกนี้เป็นการเริ่มต้นการต่อสู้แบบผสมผสานระหว่างสองปรปักษ์ เริ่มต้นด้วยยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล ตามติดด้วยยุทธการหลายครั้งในตอนกลางและตอนเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน และรอบๆเกาะนิวกินี และเกาะบัวเกนวิลล์

ในการทัพนี้เป็นการต่อสู้ทั้งบนแผ่นดิน ในทะเล และกลางอากาศ สัมพันธมิตรยัดเยียดความเสียหายที่ไม่สามารถทดแทนได้ในด้านสินทรัพย์ทางทหารให้กับญี่ปุ่น สัมพันธมิตรยึดบางส่วนของหมู่เกาะโซโลมอนกลับคืนมาได้ (แม้ว่าจะมีการต่อต้านในเวลาต่อมาจนกระทั่งสงครามสิ้นสุด) และสามารถแบ่งแยกและโดดเดี่ยวญี่ปุ่นบางต่ำแหน่งซึ่งได้ตัดผ่าน การทัพหมู่เกาะโซโลมอนได้มาบรรจบกับการนิวกินี

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ข้าหลวงประจำบริเตนแห่งหมู่เกาะโซโลมอนรัฐในอารักขาของบริเตน ดังนั้นจึงเป็นผู้บังคัญบัญชาในนามของกองกำลังเครือจักรภพในหมู่เกาะโซโลมอน
  2. ผู้บัญชาการยามฝั่ง
  3. 3.0 3.1 จำนวนนั้นรวมการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ประกอบด้วย จากการรบ โรค และอุบัติเหตุ เรือที่จมประกอบไปด้วย เรือรบ และ เรือสนับสนุน เครื่องบินที่โดนทำลายประกอบไปด้วยจากการรบและความสูญเสียในปฏิบัติการ

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]