ปฏิบัติการคบเพลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการคบเพลิง
ส่วนหนึ่งของ แนวรบแอฟริกาเหนือในสงครามโลกครั้งที่สอง

กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกใกล้กับเมืองแอลเจียร์
วันที่8- 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
สถานที่
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ

คู่สงคราม

 บริเตนใหญ่
 สหรัฐ
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี ฝรั่งเศสเสรี

 ฝรั่งเศสเสรี[1]
Naval only:
 แคนาดา
เนเธอร์แลนด์
 ออสเตรเลีย

ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเขตวีชี

นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ สหรัฐ จอร์จ เอส. แพตตัน

สหราชอาณาจักร Kenneth Anderson

ฝรั่งเศส ฟร็องซัว ดาร์ล็อง ฝรั่งเศส Alphonse Juin

นาซีเยอรมนี แอ็นสท์ คัลส์
ความสูญเสีย
เสียชีวิต มากกว่า 479 คน
บาดเจ็บ 720 คน
เสียชีวิต มากกว่า 1,346 คน
บาดเจ็บ 1,997 คน

ปฏิบัติการคบเพลิง (อังกฤษ: Operation Torch) เดิมเคยเรียกว่า ปฏิบัติการจิมแนสต์ (อังกฤษ: Operation Gymnast) เป็นปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อรุกรานอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชี ปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทัพแอฟริกาเหนือ

เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้กดดันให้รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษเปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรปเพื่อกดดันกองทัพเยอรมันต่อกองทัพโซเวียตในแนวรบตะวันออก ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาจึงเห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัติการ "ค้อนยักษ์" (Sledgehammer) เพื่อยกพลขึ้นบกในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพนาซีให้เร็วที่สุด แต่ปฏิบัติการนี้ถูกผู้บัญชาการทหารของอังกฤษคัดค้านว่าจะทำให้พันธมิตรตะวันตกต้องเจอกับความสูญเสียอย่างหนัก การโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชีจึงถูกเสนอมาแทนโดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือและทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรครองการควบคุมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มากขึ้นเพื่อเตรียมการบุกยุโรปใต้ต่อไปในปี ค.ศ. 1943 [2]

การรบ[แก้]

แผนที่แสดงแผนปฏิบัติการคบเพลิง

แผนของฝ่ายสัมพันธมิตรคือการยกพลขึ้นบกเพื่อยึดท่าเรือและสนามบินที่สำคัญในโมร็อกโกและแอลจีเรีย เป้าหมายหลักของแผนปฏิบัติการนี้อยู่ที่เมืองสำคัญสามเมือง นั่นคือ กาซาบล็องกา, ออร็อง (ออราน) และแอลเจียร์ ถ้าแผนการสำเร็จลุล่วงด้วยดีฝ่ายสัมพันธมิตรจะบุกไปทางตะวันออกมุ่งสู่ตูนิเซียต่อไป

กาซาบล็องกา[แก้]

กองกำลังอเมริกันยกพลขึ้นบกช่วงก่อนฟ้าสางของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 โดยไม่มีการทิ้งระเบิดก่อนการโจมตีเพราะฝ่ายสัมพันธมิตรคาดการณ์ว่ากองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีจะไม่ทำการต่อต้านใด ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาดของฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะมีบางส่วนของกองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีที่ยิงต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรแต่กองกำลังเหล่านั้นก็โดนยิงโต้ตอบและยอมจำนนในที่สุด กองเรือของฝรั่งเศสเขตวีชีที่เมืองกาซาบล็องกาซึ่งประกอบด้วยเรือลาดตระเวน เรือพิฆาต และเรือดำน้ำได้เข้าโจมตีสกัดกองกำลังอเมริกันที่กำลังยกพลขึ้นบก แต่ถูกทำลายโดยปืนเรือและเครื่องบินของอเมริกันทำให้เรือลาดตระเวน 1 ลำ เรือพิฆาต 6 ลำ และเรือดำน้ำ 6 ลำของฝรั่งเศสเขตวีชีต้องจมลง ส่วนฝ่ายอเมริกันมีเรือพิฆาตโดนโจมตีเสียหาย 2 ลำ

ออร็อง[แก้]

กองกำลังสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่หาดสามแห่ง สองแห่งอยู่ทางตะวันตกและอีกแห่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองออร็องตามลำดับ การยกพลขึ้นบกเพื่อยึดหาดที่อยู่ทางตะวันตกที่สุดต้องประสบปัญหาล่าช้ากว่าหาดอื่นเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการเคลียร์ทุ่นระเบิดที่ล่าช้าและสับสน และไม่มีการส่งหน่วยลาดตระเวนมาประเมินสภาพแวดล้อมของหาด ทำให้เรือระบายพลบางลำเกยตื้นหรือโดนทุ่นระเบิดได้รับความเสียหาย ความผิดพลาดนี้จะถูกนำแก้ไขในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งต่อ ๆไปของฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด เป็นต้น กองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชียิงโต้ตอบกับกองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นเวลาสองวัน แต่หลังจากโดนระดมยิงด้วยปืนใหญ่จากเรือประจัญบานของอังกฤษในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 กองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีที่ปกป้องเมืองออร็องก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

การบุกโดยพลร่ม[แก้]

ปฏิบัติการคบเพลิงเป็นการบุกโดยใช้พลร่มครั้งแรก ๆ ของสหรัฐอเมริกาโดยพลร่มที่เข้าร่วมปฏิบัติการนี้บินจากเกาะอังกฤษผ่านสเปนและจะถูกปล่อยลงใกล้กับเมืองออร็องเพื่อยึดสนามบินที่สำคัญสองแห่งคือ Tafraoui และ La Senia ซึ่งห่างจากออร็อง 15 และ 5 ไมล์ทางใต้ของออร็องตามลำดับ ภารกิจนี้ถูกขัดขวางโดยสภาพอากาศที่แย่เหนือสเปน ปัญหาเรื่องระบบนำร่องและระบบการสื่อสาร และระยะทางที่ไกลมากจากจุดที่เครื่องขึ้นถึงจุดปล่อย แต่อย่างไรก็ตามสนามบินทั้งสองก็ถูกยึดได้และภารกิจนี้ก็ประสบความสำเร็จ

แอลเจียร์[แก้]

การบุกแอลเจียร์นำโดยกองพลทหารราบที่ 34 ของอเมริกันและกองพลน้อยอังกฤษที่ 78 ยกพลขึ้นบกที่หาดสามหาดใกล้แอลเจียร์ ซึ่งกองกำลังสัมพันธมิตรบางส่วนยกพลขึ้นบกผิดหาดแต่ก็ไม่มีผลกระทบที่เลวร้ายอะไรเพราะกองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีไม่ได้ทำการต่อต้านใด ๆ การรบที่แอลเจียร์เกิดขึ้นที่เดียวคือ ที่ท่าเรือของเมืองแอลเจียร์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการเทอร์มินอลโดยเรือพิฆาตสัญชาติอังกฤษ 2 ลำพยายามนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อส่งหน่วยเรนเจอร์ของสหรัฐอเมริกาลงไปเพื่อยึดท่าเรือก่อนที่กองกำลังป้องกันจะทำลายท่าเรือและจมเรือที่ทอดสมออยู่ การยิงจากปืนใหญ่ของฝ่ายป้องกันทำให้เรือพิฆาตของฝ่ายสัมพันธมิตร 1 ใน 2 ลำต้องถอนตัวจากปฏิบัติกา รแต่อีกลำสามารถเทียบท่าได้สำเร็จและหน่วยเรนเจอร์ก็สามารถยึดท่าเรือได้[3] กองกำลังสัมพันธมิตรที่ขึ้นบกสำเร็จแล้วก็เข้าโอบล้อมกองกำลังของฝรั่งเศสเขตวีชีและในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชีที่เมืองแอลเจียร์ก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

ผลลัพธ์ของการรบ[แก้]

กองกำลังฝรั่งเศสเขตวีชียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายสัมพันธมิตรมุ่งหน้าบุกต่อไปยังตูนิเซีย

อ้างอิง[แก้]

  1. OPÉRATION TORCH Les débarquements alliés en Afrique du Nord
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-15. สืบค้นเมื่อ 2009-09-07.
  3. Stephen Roskill,The War at Sea Vol II (1956) ISBN