ปฏิบัติการดรากูน
ปฏิบัติการดรากูน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ เขตเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง และ เขตยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||||
![]() แผนที่ของปฏิบัติการ | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
![]()
![]() |
![]() | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
| |||||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
![]() ![]() ![]() | |||||||||
กำลัง | |||||||||
Initial landing 151,000 men[1] Entire invasion force 576,833 men[2] French Resistance 75,000 men[3] |
Initial landing 85,000–100,000 men[4] 1,481 artillery pieces[5] Southern France 285,000–300,000 men[4] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
![]() Total: ~25,574 |
![]() ~21,000 wounded 131,250 captured[9][10][11] 1,316 artillery pieces[12] Total: ~159,000 |
ปฏิบัติการดรากูน (ขั้นแรกเรียกว่า ปฏิบัติการแอนวิล) เป็นรหัสนามสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกฝรั่งเศสทางตอนใต้ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ปฏิบัติการครั้งนี้ในช่วงแรกที่จะเปิดฉากพร้อมกับปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่นอร์ม็องดี แต่กลับขาดแคลนทรัพยากรจนนำไปสู่การยกเลิกการยกพลขึ้นบกที่สอง ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 การยกพลขึ้นบกได้ถูกนำมาพิจารณาใหม่ ว่าท่าเรือนอร์ม็องดีจะไม่มีสมรรถภาพที่เพียงพอที่จะให้การสนับสนุนแก่กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะเดียวกัน, กองบัญชาการระดับสูงฝรั่งเศสได้ผลักดันให้เกิดการรื้อฟื้นปฏิบัติการครั้งนี้ ซึ่งรวมไปถึงจำนวนขนาดใหญ่ของทหารฝรั่งเศส ผลลัพธ์คือ, ปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับการอนุมัติในที่สุดในเดือนกรกฎาคมเพื่อที่จะดำเนินการในเดือนสิงหาคม
เป้าหมายของปฏิบัติการครั้งนี้คือการรักษาความปลอดภัยให้กับท่าเรือที่สำคัญของฝรั่งเศลบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเพิ่มการกดดันต่อกองกำลังเยอรมันโดยเปิดฉากแนวรบที่สอง ภายหลังเบื้องต้นบางส่วนของปฏิบัติการคอมมานโด รวมถึงทหารโดดร่มที่สองของบริติซจะทำการลงสู่บนแนวหลังข้าศึกเพื่อรักษาความปลอดภัยต่อการขนส่งที่สำคัญ กองทัพน้อยที่ 4 แห่งสหรัฐจะทำการยกพลขึ้นบกที่ชายหาดของโกตดาซูร์ภายใต้การคุ้มกันของกองเรือขนาดใหญ่ ตามด้วยหลายกองพลของกองทัพฝรั่สเศสบี พวกเขาต้องพบการต่อต้านของกองกำลังที่กระจัดจายของกองทัพเยอรมันกลุ่มจี ความอ่อนแอลงโดยการโยกย้ายกองพลไปยังแนวรบอื่นๆและการสับเปลี่ยนทหารด้วยออสลีเจียน (Ostlegionen) เป็นสามเท่าที่ติดตั้งด้วยเครื่องมือที่ล้าสมัย
มันได้ถูกขัดขวางโดยอำนาจทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรและการก่อการกำเริบในวงกว้างของขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส กองกำลังเยอรมันที่อ่อนแอลงต้องพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว เยอรมันได้ถอนกำลังไปยังทางเหนือผ่านหุบเขาแม่น้ำโรน เพื่อสร้างแนวป้องกันที่มั่นคงที่ดีฌง หน่วยทหารฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถไล่ติดตามเยอรมันทันและบล็อกเส้นทางของพวกเขาบางส่วนที่ montélimar การสู้รบที่ตามมาได้นำไปสู่การจนมุม พร้อมกับทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุการบุกทะลวงได้อย่างเด็ดขาด จนกระทั่งในที่สุดเยอรมันสามารถบรรลุในการถอนกำลังและล่าถอยออกจากเมือง ในขณะที่เยอรมันกำลังล่าถอย ฝรั่งเศสได้เข้ายึดท่าเรือที่สำคัญคือ มาร์แซย์ และตูลง ที่ได้ถูกกำหนดไว้ในปฏิบัติการไม่นานหลักจากนั้น
เยอรมันไม่สามารถครองดีฌงได้และได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังออกจากฝรั่งเศสทางตอนใต้ กองทัพกลุ่มจีได้ล่าถอยไปยังทางเหนือ ซึ่งถูกไล่ติดตามโดยกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร การสู้รบอย่างไปๆมาๆจนไปถึงภูเขาโวฌที่กองทัพกลุ่มจีสามารถสร้างแนวป้องกันที่มั่นคงได้ในที่สุด กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างและเผชิญหน้ากับการต้านทานที่แข็งแกร่งของเยอรมัน การรุกได้หยุดลง เมื่อวันที่ 14 กันยายน ปฏิบัติการดรากูนนับว่าเป็นความประสบความสำเร็จโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ช่วยให้พวกเขาทำการปลดปล่อยส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสทางตอนใต้ในเวลาเพียงสี่สัปดาห์ ในขณะที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักต่อกองกำลังเยอรมัน แม้ว่าหลายนายของหน่วยทหารเยอรมันที่ดีที่สุดสามารถหลบหนีไปได้ การเข้ายึดครองท่าเรือฝรั่งเศสได้ถูกใส่ไปในปฏิบัติการ ได้ช่วยให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อแก้ไขปัญหาการสนับสนุนบางส่วน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Clarke & Smith (1993), p. 92.
- ↑ Tucker-Jones (2010), p. 92.
- ↑ Clarke & Smith (1993), p. 42.
- ↑ 4.0 4.1 Clarke & Smith (1993), p. 70.
- ↑ Clodfelter, M. (2017). "Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015" (4th ed.). Jefferson, North Carolina: McFarland. Page 474.
- ↑ "Statistical and accounting branch office of the adjutant general p. 93"
- ↑ "Statistical and accounting branch office of the adjutant general p. 93"
- ↑ Clarke & Smith (1993), p. 195.
- ↑ 9.0 9.1 Vogel (1983), pp. 604–605.
- ↑ Zaloga (2009), p. 88.
- ↑ Clarke & Smith (1993), p. 197.
- ↑ Clodfelter 2017, p. 474