น้ำมันแร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขวดน้ำมันแร่ซึ่งถูกจำหน่ายในสหรัฐ

น้ำมันแร่ เป็นส่วนผสมของแอลเคนที่สูงกว่า(higher alkanes) ที่ไร้สี ไร้กลิ่น และน้ำหนักเบา ซึ่งมาจากแหล่งแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากการกลั่นเชื้อเพลิงปิโตรเลียม[1] ซึ่งจะแตกต่างจากน้ำมันพืชที่สามารถบริโภคได้ทั่วไป

ชื่อของน้ำมันนั้นไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด เนื่องจากถูกใช้สำหรับน้ำมันหลายชนิดโดยเฉพาะในช่วงสองสามศตวรรษที่ผ่านมา ชื่ออื่น ๆ ไม่เป็นที่แน่ชัดเช่นเดียวกัน ได้แก่ น้ำมันขาว น้ำมันพาราฟิน ลิควิดพาราฟิน(เกรดทางการแพทย์ที่ผ่านการกลั่นสูง) พาราฟินัมลิควิดัม(ภาษาละติน) และลิควิกปิโตรเลียม เบบี้ ออยล์เป็นน้ำมันแร่ที่มีกลิ่นหอม

โดยส่วนมาก น้ำมันแร่เป็นของเหลวที่เป็นผลผลิตพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อผลิตน้ำมันเบนซินและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่น ๆ น้ำมันแร่ชนิดนี้เป็นน้ำมันที่ไร้สี และโปร่งใส ซึ่งประกอบไปด้วยแอลเคน[2] และไซโคลแอลเคนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมเจลลี มันมีความหนาแน่นประมาณ 0.8–0.87 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (0.029–0.031 ปอนด์ต่อลูกบาศก์นิ้ว)[3]

การประยุกต์ใช้งาน[แก้]

ทางชีวเวช[แก้]

ยาระบาย[แก้]

น้ำมันแร่ ถูกใช้เป็นยาระบายเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกโดยกักเก็บน้ำไว้ในอุจจาระและลำไส้[4] แม้ว่าโดยทั่วไปถือว่าปลอดภัย แต่กลับมีข้อกังวลในเรื่องการสูดดมควันที่นำไปสู่ภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง เช่น โรคปอดบวม[5]

น้ำมันแร่ สามารถให้ได้ทางปาก[6] หรือทางทวารหนัก[7] บางครั้งถูกใช้เป็นสารหล่อลื่นในการเตรียมพร้อมการสวนทวาร เพราะสารที่กินเข้าไปส่วนใหญ่จะถูกขับออกจากทางอุจจาระมากกว่าร่างกายจะดูดซึม[8]

สารหล่อลื่นส่วบุคคล[แก้]

ได้รับการแนะนำโดยชมรมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์อเมริกัน(ASRM) เพื่อใช้เป็นสารหล่อลื่นในช่องคลอดเพื่อรักษาภาวะเจริญพันธุ์[9] อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันดีว่า น้ำมันทำให้ถุงยางอนามัยนั้นเสื่อมคุณภาพ[10]

การเพาะเลี้ยงเซลล์[แก้]

การรักษาสัตว์[แก้]

เครื่องสำอาง[แก้]

เครื่องจักรกล ไฟฟ้า และอุตสาหกรรม[แก้]

การเตรียมอาหาร[แก้]

การใช้งานอื่น ๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mineral oil (Dictionary.com) เก็บถาวร 30 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Opinion of the Scientific Panel on Food Additives, Flavourings, Processing Aids and Materials in Contact with Food (AFC) on a request from the Commission related the use of mineral oils in jute and sisal bags" (PDF). The EFSA Journal. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2007-01-27.
  3. "Mechanical properties of materials". Kaye and Laby Tables of Physical and Chemical Constants. National Physical Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  4. "Drugs & Medications".
  5. Weinstein, M. (2001). "First do no harm: The dangers of mineral oil". Paediatrics & Child Health. 6 (3): 129–131. doi:10.1093/pch/6.3.129. PMC 2804525. PMID 20084222.
  6. "Mineral Oil". Drugs & Medications. WebMD. สืบค้นเมื่อ 2019-04-20.
  7. "Mineral Oil rectal enema". Health Library / Drugs, Devices & Supplements. Cleveland Clinic. สืบค้นเมื่อ 2019-04-20.
  8. WHO Food Additive Monograph 70.39 เก็บถาวร 6 สิงหาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 20 Sep 2009
  9. "Optimizing Natural Fertility" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-11.
  10. Voeller, B; Coulson, A. H.; Bernstein, G. S.; Nakamura, R. M. (1989). "Mineral oil lubricants cause rapid deterioration of latex condoms". Contraception. 39 (1): 95–102. doi:10.1016/0010-7824(89)90018-8. PMID 2535978.