พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | |
---|---|
![]() | |
สมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย | |
ครองราชย์ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย |
ถัดไป | พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |
คู่อภิเษก | เจ้าหญิงจีโอวันนาแห่งซาวอย |
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา |
พระราชบิดา | พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิน-ปาร์มา |
ประสูติ | 30 มกราคม พ.ศ. 2437 โซเฟีย, ราชอาณาจักรบัลแกเรีย |
สวรรคต | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (49 ปี) โซเฟีย, ราชอาณาจักรบัลแกเรีย |
ฝังพระศพ | ลิลา มอเนสเตรี |
ศาสนา | ศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออทอร์ดอกซ์ |
ลายพระอภิไธย | ![]() |
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย (30 มกราคม พ.ศ. 2437 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) (พระนามเต็ม:บอริส คลีเมนต์ โรเบิร์ต มาเรีย ปิอุส ลุดวิก สตานิสเลาส์ ซาเวียร์[1])เป็นพระโอรสในพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรียกับเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งปาร์มา พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระบิดาทรงสละราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 2461 หลังจากความพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรบัลแกเรียในสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นการพ่ายแพ้ครั้งที่ 2 หลังจากกองทัพบัลแกเรียพ่ายแพ้ในสงครามบอลข่านครั้งที่ 2ในปีพ.ศ. 2456 ด้วยสนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์ทำให้บัลแกเรียต้องแบ่งดินแดนและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการคุกคามความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดกระแสการต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างมากในช่วงรัชกาลของพระองค์
ภายใต้การปกครองของพระบิดาผู้เข้มงวด[แก้]
การรับศีลจุ่มที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง[แก้]
เจ้าชายบอริสได้ประสูติในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ประเทศบัลแกเรีย เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรียและเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิน-ปาร์มา พระมเหสีได้ประกาศให้มีการยิงปืนร้อยเอ็ดนัดเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติบุตรองค์แรก ในนาม เจ้าชายบอริสแห่งทูร์นูโว [2]
ในช่วงที่ประสูตินี้บัลแกเรียอยู่ในท่ามกลางปัญหาความซับซ้อนทางการเมือง เนื่องจากเป็นประเทศใหม่ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ นิกายกรีกออร์ทอด็อกซ์ และเคยเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิออตโตมัน เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรียและเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิกอย่างแรงกล้า ทำให้ปัญหาทางด้านศาสนาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องแก้ไขในดินแดนนี้[3]
บัลแกเรียกับรัสเซียมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน รัสเซียไม่พอใจกับการเป็นพระเจ้าซาร์ของเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าชายเยอรมันที่เป็นพันธมิตรกับอังกฤษและพระมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศสคือ เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ได้รับการเลือกให้เป็นเจ้าผู้ครองบัลแกเรียซึ่งทรงเกลียดชังรัสเซีย
แต่เจ้าชายบอริส พระโอรสของของพระองค์ทรงแบ็ฟติสท์ตามคาทอลิกแล้ว พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงจริงจังอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนมานับถือออร์ทอด็อกซ์ การแบ็ฟติสท์ในนิกายนี้จะช่วยให้พระองค์ใกล้ชิดกับชาวบัลแกเรียได้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียทรงปฏิเสธที่จะรับรองพระองค์
อย่างไรก็ตามการที่ทรงกระทำเช่นนี้ทำให้เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วยุโรป สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13แห่งโรมันคาทอลิกทรงบัพพาชนียกรรมพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียทรงร้องขอให้เจ้าหญิงมารี หลุยส์ทูลเตือนการกระทำของพระสวามี ทำให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงลังเลพระทัยเล็กน้อยแต่ในที่สุดฝ่ายรัฐชนะ ทำให้พระองค์ทรงยืนยันความคิดเดิม ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารีตนับถือออร์ทอด็อกซ์ และจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (พระโอรสในจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 ซึ่งพระเจ้านิโคลัสทรงอภิเษกสมรสกับพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร)ได้กลายเป็นพระบิดาอุปถัมภ์ของเจ้าชายบอริส พระเจ้าเฟอร์ดินานด์และเจ้าหญิงมารี หลุยส์ พระมเหสีหลังจากทรงถูกบัพพาชนียกรรม ทรงตัดสินใจให้พระโอรสองค์ที่ 2 คือ เจ้าชายคีริลแห่งบัลแกเรียเข้ารีตโรมันคาทอลิก เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา
การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด[แก้]
ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2442 หลังจากเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงพระประสูติกาลพระธิดาองค์ที่ 2 คือ เจ้าหญิงนาเด็จดาแห่งบัลแกเรีย พระนางก็สิ้นพระชนม์ [4]ทำให้ทุกพระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูจากพระอัยยิกาคือ เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แค่พระนางก็สิ้นพระชนม์ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 พระบิดาจึงทรงเลี้ยงดูและให้การศึกษาด้วยพระองค์เอง[5]
ครูสอนพิเศษของพระองค์เป็นครูชาวสวิส[6] โดยพระเจ้าเฟอร์ดินานด์จะทรงคัดเลือกครูด้วยพระองค์เองและมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เจ้าชายบอริสทรงศึกษาทุกวิชาในโรงเรียนบัลแกเรีย ทรงสำเร็จการศึกษาในภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน [7] ทรงศึกษาต่ออิตาลีและอังกฤษ แม้แต่ภาษาแอลเบเนียก็ทรงสำเร็จการศึกษา พระบิดาของพระองค์ทรงให้ศึกษาวิทยาศสตร์ธรรมชาติ ทำให้พระองค์ศึกษาตลอดชีวิตซึ่งทำให้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ พระบิดาให้พระองค์ศึกษากลศาสตร์เฉพาะหัวรถจักร [8]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2453 ทรงผ่านการสอบวิศวกรรถไฟเมื่อมีพระชนมายุเพียง 15 ชันษา [9]
อย่างไรก็ตามชีวิตในวังนั้นไม่เรียบง่าย พระโอรสธิดาทุกพระองค์ต้องเรียกพระบิดาว่า"ฝ่าบาท" ไม่มีการเรียกพระนามแบบสนิทสนม ทำให้พระโอรสธิดาทรงเก็บกด อารมณ์รุนแรงหรืออ่อนไหวง่าย เมื่อไม่มีภารกิจเจ้าชายบอริสจะไม่ได้ทรงติดต่อภายนอกต้องอยู่ในพระราชวังในสภาพไม่ต่างจากคุก [10]
ทรงเป็นพยานในเหตุการณ์ใหญ่[แก้]
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2451 เกิดการขัดแย้งทางการเมืองภายในจักรวรรดิออตโตมัน พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ประกาศตนเป็น "สมเด็จพระเจ้าซาร์" และทรงประกาศอิสรภาพบัลแกเรียจากจักรวรรดิออตโตมันอย่างสมบูรณ์[11]
ในปีพ.ศ. 2454 เจ้าชายบอริสทรงเดินทางไปยังประเทศต่างๆเพื่อเป็นตัวแทนของบัลแกเรียในเวทีโลก[12] เช่น ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอน และพระราชพิธีฝังพระศพสมเด็จพระราชินีมาเรีย เพียแห่งโปรตุเกสที่เมืองตูริน ทำให้มีการติดต่อกับระดับผู้นำประเทศตางๆ ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2454 ทรงเข้าเยี่ยมพระบิดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงได้เป็นพยานในเหตุการณ์สำคัญคือ การลอบสังหารพอยเทอ สตอฟพิน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งทรงเห็นด้วยพระองค์เองที่โรงละครโอเปร่าในเคียฟ
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2455 เจ้าชายบอริสทรงเฉลิมฉลองวันประสูติครบรอบ 18 ชันษา และทรงบรรลุนิติภาวะ ในเดือนเดียวกันพระองค์ได้ดำรงเป็นนายทหารและเป็นนายกองร้อยที่ 6[13] 9 เดือนหลังจากเริ่มต้นสงครามบอลข่านครั้งที่ 1ที่ซึ่งเซอร์เบีย,กรีซ,มอนเตเนโกรและบัลแกเรียร่วมกันต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันเพื่ออิสรภาพแห่งภูมิภาคมาซิโดเนีย โดยพระองค์ทรงเข้าร่วมรบในแนวหน้าของสมรภูมิ หลังจากได้รับชัยชนะแต่บัลแกเรียไม่ได้ผลประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้บัลแกเรียตัดสินใจเข้าโจมตีอดีตพันธมิตรในพ.ศ. 2456 กลายเป็นสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ซึ่งจบลงด้วยโรคระบาด กองทัพถูกทำลายยับเยินด้วยอหิวาตกโรค [14]
หลังจากเกิดความล้มเหลวทางทหารอย่างมาก ทำให้พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ต้องทรงสละราชบัลลังก์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เจ้าชายบอริสได้ถูกเรียกกลับพระราชวังเพื่อเตรียมตัวสืบราชสมบัติ แต่เจ้าชายทรงปฏิเสธและกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการ เมื่อฝ่าบาทจำเป็นต้องไป ข้าพเจ้าจะไปกับพระองค์" พระเจ้าเฟอร์ดินานด์จึงไม่สละราชสมบัติและให้เจ้าชายบอริสไปศึกษาที่วิทยาลัยการสงคราม
ในปีพ.ศ. 2458 พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ทรงตัดสินใจนำประเทศบัลแกเรียเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1ร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง เจ้าชายบอริสทรงพยายามขัดขวางการตัดสินพระทัยของพระบิดาแต่พระเจ้าซาร์ทรงหยุดพระองค์ไว้ จากนั้นมกุฎราชกุมารได้รับการแต่งตั้งในการมอบหมายพิเศษกับสำนักงานใหญ่ของภารกิจของกองทัพ
ต้นรัชกาล[แก้]
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 กษัตริย์แห่งปวงชนบัลแกเรีย[แก้]
บัลแกเรียในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ ทรงประสบความล้มเหลวทางด้านการทหาร ได้แก่
- สงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทำให้เกิดสนธิสัญญาบูคาเรสต์(1913)ที่ซึ่งบัลแกเรียต้องสูญเสียดินแดนและต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาลแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
- สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ซึ่งให้ผลในทางเดียวกันคือ สนธิสัญญานิวอิลี-เซอร์-แซน ทำให้สูญเสียขอบเขตอำนาจของประเทศที่ครอบคลุมถึงทะเลอีเจียน
ประชาชนชาวบัลแกเรียได้หมดความศรัทธาในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ในที่สุดพระองค์ได้สละราชบัลลังก์ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 เจ้าชายบอริสได้ครองราชสมบัติ พระนามว่า พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
มีทรงครองราชย์ลางร้ายเริ่มเกิดขึ้น พระองค์ทรงถูกแยกจากพระราชวงศ์ พระองค์ทรงไม่ได้พบกับพระขนิษฐาทั้ง 2 พระองค์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2464 และไม่ได้พบกับพระอนุชาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2469 ผลผลิตไม่ดีในปีพ.ศ. 2460 และพ.ศ. 2461 เกิดพวกฝ่ายซ้ายคือ สหภาพอกราเรียนและพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพวกฝ่ายซ้ายได้ถูกกำจัดในปีพ.ศ. 2462 และยังคงระบอบกษัตริย์ไว้
ยุคไร้อำนาจแห่งเผด็จการ[แก้]
1 ปีหลังจากทรงครองราชสมบัติ อเล็กซานเดอร์ สแตมบอลิยิสกี้จากพรรคสหภาพประชาชนบัลแกเรียได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าเขาจะได้รับคะแนนนิยมจากเหล่าเกษตรกรและชนชั้นกรรมาชีพ นายกรัฐมนตรีแสดงตนต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน ในไม่ช้าประธานคณะมนตรีได้จัดตั้งเผด็จการชาวนาขึ้นมาและแสดงตนเป็นปริปักษ์กับเหล่าผู้นำกองทัพระดับสูงและคนชนชั้นกลาง
พระเจ้าซาร์ทรงพยายามให้นายกรัฐมนตรีควรมีความเคารพ พระองค์ทรงพยายามเตือนถึงความทะเยอทะยานของสแตมบอลิยิสกี้ว่ายังคงมีกษัตริย์อยู่แต่ไม่มีอำนาจปกครอง พระองค์ทรงบอกความลับแก่พระญาติว่า "ฉันพบว่าตัวเองนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเจ้าของร้านเครื่องแก้ว ที่ซึ่งเรานำช้างมา ซึ่งทำให้เกิดเศษกระด้างและสนับสนุนความเสียหาย"
ท้ายที่สุดในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2466 การรัฐประหารกลายเป็นสิ่งเลวร้ายและฝ่ายค้านรัฐบาลอกราเรียน หนึ่งในผู้นำการรัฐประหารบัลแกเรีย พ.ศ. 2466 อเล็กซานเดอร์ ซานคอฟ และจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการขึ้นมาใหม่
ระหว่างรัฐบาลนี้เสถียรถาพของประเทศเริ่มดีขึ้น ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2466 เกิดการลุกฮือในเดือนกันยายนโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ล้มเหลว จึงเริ่มต้นยุคสมัย"หวาดกลัวขาว" ที่ซึ่งผู้ก่อการร้ายและผู้สนับสนุนกลายเป็นเหยื่อมากกว่า 20,000 คน นักการเมืองกว่า 200 คนถูกลอบสังหาร
ในขณะเดียวกันกรีซได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรียจากเหตุการณ์ที่เพทริคที่เป็นกรณีพิพาทกัน และกรีซก็ได้รับการสนับสนุนจากสันนิบาตชาติ ซึ่งกรีซสามารถยึดครองเพทริคได้
การโจมตีจากทั้งสองฝ่าย[แก้]
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2468 พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และพระสหายสี่คนได้กลับจากการล่าสัตว์ที่อราโบคอนัก ใกล้เมืองโอฮานี ในขณะที่ทางกลับ ทรงได้ยินเสียงกระสุนปืนจำนวนมาก คนเฝ้าสัตว์ป่าและพนักงานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติถูกสังหาร กระสุนปืนทำให้คนขับรถได้รับบาดเจ็บ พระเจ้าบอริสทรงควบคุมรถไว้ได้แต่รถพระที่นั่งได้พุ่งชนกับเสา โชคดีที่มีรถบัสผ่นมาทำให้พระองค์และพระสหายอีกสองคนหลบหนีมาได้ และในวันเดียวกันอดีตนายพลและผู้แทนราษฎร คอนสแตนติน จอร์เจียฟ ได้ถูกลอบสังหาร
3 วันต่อมาที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยาในกรุงโซเฟีย มีพิธีฝังศพอดีตนายพลอาวุโสคอนสแตนติน จอร์เจียฟ ที่ซึ่งมีข้าราชการระดับสูงบัลแกเรียเข้าร่วมพิธีมากมาย เหล่าคอมมิวนิสต์และพวกอนาธิปัตย์ได้วางแผนที่จะฝังระเบิดที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยา เพื่อปลงพระชนม์พระเจ้าบอริสที่ 3 และสังหารคณะรัฐบาล ได้เกิดการระเบิดขึ้นในช่วงกลางพิธีและมีผู้เสียชีวิต 128 คน ซึ่งรวมทั้ง นายกเทศมนตรีแห่งโซเฟีย,นายพลทั้ง 11 คน,ข้าราชการระดับสูง 25 คน,หัวหน้ากองตำรวจและเหล่าเยาวชนหญิงที่เข้าร่วมพิธี พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 ซึ่งต้องเข้าร่วมพิธี บังเอิญในวันนั้นพระองค์ทรงมาสายเพราะทรงไปร่วมพิธีฝังศพพระสหายฮันเตอร์ ผู้ร่วมแผนการระเบิดครั้งนี้ถูกจับ 3,194 คน ถูกประหาร 268 คน
พระเจ้าซาร์ของประชาชน[แก้]
พระเจ้าซาร์เพื่อประชาชน[แก้]
ตั้งแต่การครองราชสมบัติของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย พระองค์อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการพักผ่อน เช่น การเก็บดอกไม่ป่าและจับผีเสื้อหรือทรงศึกษากลศาสตร์ โดยเฉพาะหัวรถจักร พระองค์ทรงเริ่มประพาสทั่วประเทศ ได้แก่ ทรงเข้าเมือง,หมู่บ้าน,โรงงาน,ฟาร์มและบางครั้งทรงพำนักในบ้านของชาวนาและทรงจัดทำพันธบัตรแก่ประชาชนบัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์บอริสทรงปรากฏอยู่ในข่าวเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างฤดูร้อน พ.ศ. 2474 ในขณะที่ทะเลดำสภาพอากาศแปรปรวน พระเจ้าซาร์ทรงขับเรือมอเตอร์ออกไปช่วยเหลือประชาชน 6 คนที่กำลังจมน้ำได้อย่างปลอดภัย ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2477 ระหว่างที่ทรงเดินทางเพื่อไปพักผ่อนอยู่ริมฝั่งทะเลดำ รถไฟของพระองค์เกิดหยุด พระองค์ทรงตกพระทัยรีบต่อเครื่อง พบว่ารถไฟไหม้อย่างรุนแรงจากน้ำมันเครื่องของล้อติดไฟ พระองค์ทรงพยายามให้ผู้โดยสารสงบสติ และทรงควบคุมขบวนรถไฟไปยังสะพานที่ใกล้ที่สุด พระองค์ทรงใช้ทรายเปียกดับไฟและทรงดูแล ควบคุมรถไฟจนถึงเมืองวาร์นา
ในปีพ.ศ. 2469 พระเจ้าซาร์บอริสเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกหลังจากทรงครองราชสมบัติ เสด็จประพาสสวิสเซอร์แลนด์และอิตาลี จนกระทั่งพ.ศ. 2473 ทรงข้ามไปยุโรปพร้อมกับเจ้าหญิงยูโดเซียแห่งบัลแกเรีย พระขนิษฐา แต่ด้วยความเกรงกลัวจะถูกลอบโจมตี พระองค์ทรงใช้นามแฝงว่า "เคานท์สตานิสลาส วอร์ซอ ริลสกี้" และเป็นพระเจ้าบอริสที่ 3 เมื่อพบปะบุคคลสำคัญอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงเข้าร่วมสันนิบาตชาติในสวิสเซอร์แลนด์ ทรงเข้าพบ แกสตัน โดวเมอกูร์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส,พอล ฟาน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีเยอรมนี, สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม, พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลีและทรงล่าสัตว์ร่วมกับพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ยังทรงเข้าพบอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และนักปรัชญา เฮนรี เบิร์กสัน
ในการเสด็จประชุมครั้งแรกที่โรม ทรงเข้าพบเบนิโต มุสโสลินีครั้งแรก มีพระปฏิสันถารกับเขาว่า "ผมชื่นชมท่านที่มีการจัดการเพื่อฟื้นฟู ปรับปรุงอิตาลี แต่เผด็จการเป็นระบอบเบ็ดเสร็จนิยมมีความสามารถชั่วคราวเท่านั้น จำคำพูดของบิสมาร์กที่ว่า คุณสามารถทำทุกอย่างด้วยดาบปลายปืนยกเว้นนั่งบนมัน ผมชื่นชมคุณมากขึ้นถ้าคุณออกจากระบอบนี้ด้วยตนเอง แต่เมื่อจำเป็นที่ต้องออก คุณควรให้อำนาจกลับคืนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย"
ซารีนาเพื่อชาวบัลแกเรีย[แก้]
ในปีพ.ศ. 2470 พระองค์มีพระชนมายุกว่า 30 ปีแล้ว พระเจ้าซาร์บอริสยังไม่ทรงอภิเษกสมรส ทั้งในยุโรปและอเมริกาได้มีการลือมากมายเกี่ยวกับราชินีในอนาคตของบัลแกเรีย ในที่สุดพระองค์ทรงตกหลุมรักเจ้าหญิงชาวอิตาเลียน พระนามว่า เจ้าหญิงจีโอวันนาแห่งซาวอย[15] พระธิดาพระองค์ที่ 3 ใน พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงเอเลนาแห่งมอนเตเนโกร หลังจากพระราชพิธีอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารอุมแบร์โตแห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม พระเจ้าซาร์บอริสได้ขอเจ้าหญิงจีโอวันนาอภิเษกสมรส
แต่เรื่องของนิกายทางศาสนาทำให้เกิดปัญหาขึ้น โดยรัฐธรรมนูญบัลแกเรียได้เขียนไว้ว่า รัชทายาททุกพระองค์ต้องเป็นนิกายออร์ทอด็อกซ์ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11ทรงต้องการให้พระโอรสธิดาที่ประสูติเข้ารีตโรมันคาทอลิก พระเจ้าซาร์ทรงไม่ยินยอม พระสันตปาปาได้เตรียมบัพพชนียกรรมพระเจ้าซาร์บอริส แต่พระคาร์ดินัลด์ อันเจโล จิอูเซปเป รอนกัลลีซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้ห้ามปรามพระสันตปาปาไว้ พระเจ้าซาร์บอริสจึงทำข้อตกลงกับพระสันตปาปา
ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ถูกจัดขึ้นแบบคาทอลิกที่อาซิซิ ประเทศอิตาลี และต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน จัดแบบออร์ทอด็อกซ์ที่กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย ทั้ง 2 พระองค์ทีพระโอรสและธิดารวมกัน 2 พระองค์ ได้แก่
- เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบัลแกเรีย ประสูติ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 ทรงอภิเษกสมรสกับ
- ในปีพ.ศ. 2500 เจ้าชายคาร์ลแห่งเลนนินเกน มีพระโอรสธิดารวมกัน 2 พระองค์
- ในปีพ.ศ. 2512 บรอนิสลอว์ โครว์บอก มีพระโอรสธิดารวมกัน 2 พระองค์
- พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ประสูติ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2480 เป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 – 15 กันยายน พ.ศ. 2489 ได้ลี้ภัยไปยังสเปน และได้กลับมายังบัลแกเรียในปีพ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรีย
ทั้งสองพระองค์ได้ตัดสินใจที่จะให้พระโอรสและธิดาทำพิธีแบ็ฟติสท์และมีพระนามแบบออร์ทอด็อกซ์ ทำให้ทางวาติกันประท้วงและกล่าวว่า
"พระเจ้าซาร์ต้องลงนามในสัญญาเพื่อทำพิธีล้างบาปเจิมน้ำมนต์และตั้งชื่อลูก ๆ ของเขาให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หากไม่ทำตาม พระองค์ต้องยอมรับในสิ่งที่ทรงตอบตามมโนธรรมของพระองค์เอง" และซารีนาจีโอวันนาจะไม่ถูกบัพพาชนียกรรม
อำนาจเต็มแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์[แก้]
ขึ้นสู่อำนาจ[แก้]
บัลแกเรียในยุคนี้เป็นยุคที่ต่างจากยุคอื่นมาก ถ้าสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศสูงขึ้น จะส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจจนถึงขั้นวิกฤต ผลผลิตลดลงถึง 40% ในเวลาเพียง 2 ปีและอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 200,000 คนจากประชากรทั้งหมด 7 ล้านคน ได้มีการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2474 ประชาชนผิดหวังมากเพราะบุคคลที่เลือกไปไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ในการเลือกตั้งสภาเทศบาลในปีพ.ศ. 2475 พรรคคอมมิวนิสต์ได้คะแนนเสียงในเมืองหลวงโซเฟียแต่สภาถูกสลายอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาล
สถานการณ์แย่ลงทุกวัน กลุ่มปัญญาชนและกลุ่มทหารซเวโน ได้ทำการรัฐประหารในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2477[16] พันเอกดาเมียน วาลเชฟและพันเอกจอร์เจียฟ คิมอน เป็นผู้ดำเนินการ พระเจ้าซาร์บอริสทรงถูกบีบบังคับให้ลงพระนามยอมรับรัฐบาลใหม่ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเผด็จการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและได้ประกาศเป็นศัตรูกับราชสำนักและสนับสนุนการจัดตั้งสาธารณรัฐ
พระเจ้าซาร์บอริสตัดสินใจที่จะนำอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2478 8 เดือนหลังจากจอร์เจียฟยึดอำนาจ พระเจ้าซาร์ได้แต่งตั้งนายพลเพนโช สลาเตฟ ทำหน้าที่ "ล่าพวกสาธารณรัฐ" และปฏิรูปรัฐบาลใหม่[17] พระองค์ได้เข้ามาในการเมือง ทำให้พระองค์ได้อำนาจที่แท้จริงในการปกครอง
การจัดตั้งพระราชอำนาจเผด็จการ[แก้]
การครองอำนาจของพระเจ้าซาร์บอริสในช่วงต้น เป็นการก่อจั้งรัฐบาลของจอร์เจียฟ คิมอน รัฐบาลชุดใหม่นั้ได้ประกอบด้วย 3 นายพล ,สมาชิกจากพรรคต้องห้ามทั้ง 3 คือ พรรคเกษครกร,พรรคประชาธิบไตยแลสกอวอร์และพรรคAgreement และสมาชิกจาก 3 คณะพลเรือน
พระเจ้าซาร์ทรงลดอำนาจและบทบาททางการทหาร พระองค์ได้เสริมสร้างอำนาจแก่พระองค์เองและจัดตั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แผนใหม่ ซึ่งคือ เป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการทหาร กลุ่มทหารซเวโนและรับอบรัฐสภาแบบดั้งเดิม
ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2479 เสรีภาพแห่งฝูงชนและสิทธิในการรวมกลุ่มทางการเมืองได้รับการฟื้นฟูแต่เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมืองยังคงห้าม การเลือกตั้งเทศบาลพ.ศ. 2480 ได้ให้สิทธิการลงคะแนนเสียงแก่สตรีที่สมรสแล้วและเยาวชน ในปีพ.ศ. 2481 สมัชชาแห่งชาติบัลแกเรียได้รับการฟื้นฟูและมีการเลือกตั้งขึ้น แต่สมัชชาไม่ได้มีอำนาจที่แท้จริง ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มของพระเจ้าซาร์บอริส ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 พระองค์ปฏิเสธที่จะไว้วางใจคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี จอร์กี คียอเซอิวานอฟ ทำให้เขาจำเป็นต้องปรับคณะรัฐมนตรีของเขา
นโยบายต่างประเทศผิดแปลก[แก้]
การสร้างสัมพันธไมตรีกับนาซีเยอรมนี[แก้]
จากสนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์ ทำให้กองทัพบัลแกเรียเป็นอันตรายและหลายครั้งที่รัฐบาลต้องการการแก้ไข ในปีพ.ศ. 2478 ได้เผชิญหน้ากับตุรกี เพื่อป้องกันช่องแคบที่ เธรซทางตะวันตก เมื่อขอบเขตแดนถูกรุกล้ำ บัลแกเรียได้เตรียมทำการโจมตีโดยมีมหาอำนาจยินยอม บัลแกเรียได้หันไปพึ่งฝรั่งเศส,อังกฤษและเยอรมนี เพื่ออาวุธที่ทันสมัย จักรวรรดิไรช์ที่สามได้ตอบรับพร้อมข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ในขณะที่รับข้อเสนอพระเจ้าซาร์บอริสทรงพยายามไม่มีสัญญาณที่ผูกมิตรกับทหารเยอรมัน
ในเชิงพาณิชย์ นาซีเยอรมนีได้ค้นหาประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตเกี่ยวกับอาหารและบัลแกเรียมีทรัพยากรมาก ดังนั้นจึงมีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจกันทั้ง 2 ประเทศ บัลแกเรียส่งออก 70% แม้จะมีการเจริญเติบโตของฝ่ายประชาชนที่พระองค์ทรงกลัว บัลแกเรียได้อยู่ภายใต้การครอบงำของเยอรมันตามที่ทรงคาด พระองค์จึงพยายามหันไปหาประชาธิปไตยตะวันตก
นโยบายทางการทูตของพระเจ้าซาร์[แก้]
ตั้งแต่พ.ศ. 2478 พระเจ้าซาร์บอริสและนายกรัฐมนตรี จอร์กี คียอเซอิวานอฟ พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาธิปไตยตะวันตก พระองค์เสด็จไปฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้งเพื่อรองรับประชาธิปไตยแต่ไม่สำเร็จด้านสัญญาการค้า ในช่วงหนึ่งทรงเดินทางไปอังกฤษในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2481 พระองค์ได้รับการช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิลล์ แซมเบอร์เลน เกี่ยวกับวิกฤตชูเดเตน พระองค์ทรงทราบว่า ฟือเรอห์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์รู้สึกเห็นใจเขาและได้มีบทบาทเป็นตัวกลางในกิจการของพระองค์ในเยอรมนี ซึ่งพระองค์ได้พบปะเป็นการลับกับฟือเรอห์ หลังจากการพบปะนี้พระองค์ทรงเขียนถึงเลขาธิการที่จะใช้คำแนะนำการติดต่อโดยตรงกับฮิตเลอร์และกำหนดขอบเขตแคว้นชูเดเตน
ในพ.ศ. 2478 ในระหว่างการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของอิตาลีโดยสัมพันธมิตร ในกรณีที่อิตาลีรุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปีย พระเจ้าซาร์บอริสทรงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนการคว่ำบาตรอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี เตือนพระองค์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์บัลแกเรียและอิตาลี พระองค์ทรงตอบกลับว่า "ผมไม่ต้องการดำเนินนโยบายโดยใช้ความรู้สึกต่อพ่อแม่ภรรยาผม"
สำหรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในกลุ่มบอลข่านนับว่าตึงเครียดยิ่งกว่า บัลแกเรียได้ปฏิเสธที่เกี่ยวข้องกับ"ข้อตกลงบอลข่าน" โรมาเนีย,ยูโกสลาเวีย,ตุรกีและกรีซได้กำหนดข้อตกลงขึ้นเพื่อไม่ให้บัลแกเรียเกิดลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน โดยข้อตกลงนี้บังคับให้บัลแกเรียยอมรับสภสพที่เป็นอยู่ ทำให้ต้องยอมแพ้ทางพฤตินัย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ สัญญามิตรภาพระหว่างบัลแกเรียและยูโกสลาเวียลงนามในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2480
เมื่อสงบ พระเจ้าซาร์บอริสทรงมั่นใจได้ว่าลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนของบัลแกเรียสามารถแก้ไขได้ผ่านช่องทางการทูตและจะเพิ่มขึ้นด้วยการสนับสนุนอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และสงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นกลาง[แก้]
ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความคิดเห็นในสาธารณะระหว่างการสนับสนุนเยอรมนี ซึ่งสัญญาจะจะได้รับอาณาเขตที่เสียไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเห็นใจฝ่ายที่ต่อต้านฝ่ายอักษะ พระเจ้าซาร์บอริสทรงกล่าวในปีพ.ศ. 2483 ว่า "นายพลของข้าคือผู้นิยมเยอรมัน ข้าคือผู้นิยมนโยบายอังกฤษ,พระราชินีและพสกนิกรคือผู้นิยมอิตาลีและผู้นิยมรัสเซีย ดังนั้นข้าบัลแกเรียเป็นกลาง"
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 ฮิตเลอร์ประสบความสำเร็จ พระเจ้าซาร์บอริสทรงเป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรีบ็อกดาน ฟิลอฟ ซึ่งนิยมเยอรมัน หลังจากการเข้าพบฮิตเลอร์ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พระองค์ทรงบอกว่า โรมาเนียมีแนวโน้มที่จะยึดครองโดบรุลยา ดังนั้นหลังจากเจรจาโดบรุลยาใต้ถูกคืนสู่บัลแกเรียในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยสนธิสัญญาคราอิโอวา พระองค์ทรงส่งผลของสนธิสัญญาให้กับฮิตเลอร์,มุสโสลินี และรวมทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสด้วย
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 มุสโสลินีได้เชิญพระองค์ให้ร่วมในสงครามอิตาลี-กรีซ ซึ่งทำให้บัลแกเรียได้รับพื้นที่ถึงทะเลอีเจียนแต่พระองค์ปฏิเสธคำเชิญ ในทำนองเดียวกันแม้จะมีแรงกดดันที่ว่าซาร์ทำให้ฮิตเลอร์ไม่ประสบความสำเร็จ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 บัลแกเรียได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาไตรภาคี พระเจ้าซาร์ทรงต้องการที่จะเป็นกลางและตามคำเชิญของฟือเรอห์ พระองค์ตอบว่า "ไม่ตอนนี้" ทัศนคติของพระองค์ตอนนี้ทำให้ได้ชื่อเล่นจากฮิตเลอร์ว่า"จิ้งจอกเขี้ยวลากดิน"
ความกังวลเกี่ยวกับการพบปะกับฮิตเลอร์ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน สหภาพโซเวียตเสนอพระเจ้าซาร์บอริสให้เป็นสัญญาทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ พระเจ้าซาร์ปฏิเสธ นาซีได้ย้ำอีกครั้งถึงสนธิสํญญาไตรภาคีแต่พระองค์ทรงปฏิเสธไปทั้งหมด
พันธมิตรที่ผิดแปลก[แก้]
เยอรมนี พันธมิตรใหม่[แก้]
ในเดือรมกราคม พ.ศ. 2484 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ช่วยเหลือเบนิโต มุสโสลินี หลังจากกรีทาทัพเข้ายึดกรีซ กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนทัพผ่านโรมาเนียและได้เคลื่อนทัพต่อไปยังบัลแกเรีย พระเจ้าซาร์บอริสทรงถูกบังคับให้ร่วมสนธิสัญญาไตรภาคี โดยบ็อกดาน ฟิลอฟเป็นผู้ลงนามในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 และในวันเดียวกันกองทัพเยอรมนีได้เข้าสู่บัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์บอริสทรงปฏิเสธที่เจ้าเข้าร่วมดำเนินการทางทหาร แต่เยอรมันได้ขอกำลังบัลแกเรียในวันที่ 19 และ 20 เมษายน กองทัพบัลแกเรียสามารถยึดครองเทรซและมาซิโดเนีย ซึ่งเยอรมันยังมีปัญหากับลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน ทำให้บัลแกเรียเป็นผู้ดูแลประเทศในแถบบอลข่าน ชาวบัลแกเรียได้ให้ขนานนามพระเจ้าซาร์ว่า "ผู้รวมแผ่นดิน"
ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ราชอาณาจักรบัลแกเรียได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
ชาวยิวในบัลแกเรีย[แก้]
ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้วางแผนก่อตั้งองค์กรยุวชน เบรนนิกซึ่งเป็นแรงบันดาลใจจากฮิตเลอร์ แต่สี่วันก่อนหน้ารัฐสภาโหวตกฎหมาย"การป้องกันชาติ" ผ่ายต่อต้านเซมิติกได้เสนอมาตรการซึ่งมีผลต่อชาวยิวในประเทศ 50,000 คน แต่แผนการนี้ได้ถูกคัดค้าน ในปีพ.ศ. 2483 กลุ่มต่อต้านเซมิติไม่ได้อยู่ในบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามมาตรการของกลุ่มได้รับการตอบรับในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2484
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 ฮิตเลอร์ได้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับ "ปัญหาพวกยิว" แผนการนี้ได้ใช้ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ข้าหลวงของชาวยิวได้ถูกโจมตี ในการจัดการขั้นต้น ได้มีการประกาศเคอร์ฟิว,บุกตรวจบ้านเรือน,ลดการแบ่งปันอาหารแก่ชาวยิว,ให้ชาวยิวปักดาวสีเหลือง ในขั้นต่อมาได้มีการส่งชาวยิวเข้าค่ายกักกัน โดยได้รับการปรึกษาจากนาซีเยอรมนีหน่วย SS ธีโอดอร์ เดนเน็คเกอร์
มีการเริ่มต้นการส่งชาวยิว 11,363 คนสู่ค่ายกักกัน โดยเป็นชาวยิวจากดินแดนที่บัลแกเรียครอบครองคือในเทรซและมาซิโดเนีย เมื่อแผนขั้นต้นสำเร็จจึงมีการกวาดล้างชาวยิวในบัลแกเรีย ได้มีการประท้วงรุนแรงจากรองประธานสภา ดิมิทาร์ เปเชฟและอาร์คบิชอปสเตฟานที่เป็นสัญลักษร์ในการเคลื่อนไหวช่วงแรก
ในปีพ.ศ. 2486 รัฐบาลมีแผนการที่จะกำจัดประชาชนที่ต่อต้าน ประชาชนได้ถูกส่งเข้าค่ายกักกันที่ซึ่งก่อตั้งใกล้พระราชวังของซาร์ ได้มีการกักขังประชาชนกว่าแสนคน พระเจ้าซาร์ทรงมีดำริเหมือนประชาชนคือการไม่กักกันชาวยิว ฮิตเลอร์ได้โกรธและกล่าวว่า"ยิวไว้สำหรับดูแลข้างถนน" ชาวยิวจำนาวนมากได้หลบหนีออกจากค่ายกักกันในบัลแกเรีย
การสวรรคตอย่างลึกลับและกะทันหัน[แก้]
ในปีพ.ศ. 2486 สงคามใกล้ถึงจุดเปลี่ยนที่สตาลินกราด เยอรมันเริ่มเพลี่ยงพล้ำ พระเจ้าซาร์บอริสทรงตระหนักถึงเรื่องนี้ดีและต้องการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเช่นเดียวกันกับพระบิดา เมื่อ 25 ปีก่อน พระองค์ทรงติดต่อกับอเมริกาอย่างเป็นการลับ
ฮิตเลอร์ได้รู้ถึงการติดต่อนี้ ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2486 เขาได้เรียกพระองค์มาที่ศูนย์บัญชาการแนวรบด้านตะวันออกใกล้กับราสเตนเบิร์ก ในปรัสเซียตะวันออก การพบปะกันเป็นการขัดแย้งที่สุด ฮิตเลอร์ได้เตือนถึงบุญคุณของเขาที่มีต่อพระองค์ที่เยอรมนี มันเป็นความจริงว่าตั้งแต่เริ่มต้นของสงครามที่บัลแกเรียไม่ได้เกี่ยวข้องมากในความขัดแย้ง
ฮิตเลอรืพยายามชักจูงพระองค์และจะให้ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นทางภาคใต้และตะวันตกเพื่อต่อต้านการขยายตัวของสหภาพโซเวียต พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับ พระองค์ทรงกลับในวันถัดไปไปที่กรุงโซเฟียกับเครื่องบินของเยอรมัน 9 วันหลังจากเสด็จกลับ พระเจ้าซาร์บอริสทรงอาเจียนอย่างรุนแรงและเสด็จสวรรคตในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 สิริพระชนมายุ 49 พรรษา
การเสด็จสวรรคตของพระองค์ยังเป็นที่โต้แย้งกันมาก บางคนกล่าวโทษฮิตเลอร์ แม้พระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรียทรงประกาศถึงการสวรรคตของพระองค์ในปีพ.ศ. 2488 ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษระหว่างเสด็จกลับทางเครื่องบิน แต่การชันสูตรพระศพแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าซาร์บอริสทรงหัวใจวายจากอาการที่ทรงเครียด
ชาวบ้านในพื้นที่โอซอยได้แกะสลักไม้แล้วนำไปตั้งที่หน้าสุสานของพระองค์ที่สำนักปฏิบัติธรรมริลา ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ข้อความเขียนว่า
"สำหรับกษัตริย์บอริสผู้กู้อิสรภาพ,มาซิโดเนียขอขอบคุณ"
บัลแกเรียหลังการสวรรคตของพระองค์[แก้]
หลังจากพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 สวรรคต พระโอรสของพระองค์ซึ่งพระชนมายุ 6 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์ พระนามว่า พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย โดยมีเจ้าชายคิริล ผู้เป็นเสด็จอาเป็นผู้สำเร็จราชการ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ รัฐบาลได้ประกาศเป็นกลางในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่ช้าเกินไป สหภาพโซเวียตได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรีย
ในวันต่อมา ฝ่ายจลาจลได้นำกำลังบ้านเกิดเมือนนอนโดนมีการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์และซเวโน รัฐบาลใหม่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีจอร์เจียฟ คิมอน ได้กวาดล้างผู้ต่อต้านถึง 16,000 คน และต่อมาได้มีการประหาร 2,730 คน อันประกอบด้วย เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรียและคณะผู้สำเร็จราชการ,อดีตรัฐมนตรี 22 คน,ผู้แทนราษฎร 67 คน,ที่ปรึกษาพระราชวงศ์ 8 คนและเจ้าหน้าที่ระดับสูง 47 คน ผู้คนเหล่านี้ได้ถูกกวาดล้างโดยรัฐบาลที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลได้โจมตีสถาบันกษัตริย์และบังคับเนรเทศไปยังสเปน
อย่างไรก็ตามแม้คอมมิวนิสต์จะกุมอำนาจทั้งหมดและทำการลบรอยประวัติศาสตร์ซึ่งบันทึกเรื่องราวของพระเจ้าซาร์ ประชาชนบัลแกเรียยังจดจำภาพลักษณ์ของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 หลังจากคอมมิวนิสต์หมดอำนาจไปแล้ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการฉลองครบรอบ 50 ปีการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 โดยมีการฝังที่สำนักปฏิบัติธรรมริลาอีกครั้งหลังจากที่เจ้าหน้าที่และประชาชนผู้จงรักภักดีต้องเคลื่อนย้ายพระศพไปที่ลับเพื่อหลบภัยคอมมิวนิสต์
พระราชตระกูล[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Pachanko Dimitrov, "Boris III tsar des Bulgares (1894-1943). Travailleur, citoyen, tsar", Sofia, Ed. Universitaire "Sveti Kliment Ohridski", 1990 (Пашанко Димитров, "Борис ІІІ цар на българите (1894-1943). Труженик, гражданин, цар", София, УИ "Свети Климент Охридски", 1990)]
- ↑ Dimitrina Aslanian, Histoire de la Bulgarie de l'Antiquité à nos jours p.246]
- ↑ ibid p.232-233
- ↑ ibid p.257
- ↑ ibid p.299
- ↑ Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.15
- ↑ Données p.5 de Zagreb-Sofia : Une amitié à l’aune des temps de guerre 1941-1945
- ↑ Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.16-17
- ↑ ibid. p.213
- ↑ ibid. p.24
- ↑ Dimitrina Aslanian, Histoire de la Bulgarie de l'Antiquité à nos jours p.273
- ↑ Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.24
- ↑ Nikolaĭ Petrov Nikolaev, La destinée tragique d’un roi. p.119
- ↑ ibid. p.120
- ↑ "Royal Wedding At Assisi 1930". British Pathe News.
- ↑ Tsar's Coup Time, 4 February 1935. retrieved 10 August 2008.
- ↑ Balkans and World War I เก็บถาวร 12 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SofiaEcho.com
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Bulgaria in the Second World War by Marshall Lee Miller, Stanford University Press, 1975.
- Boris III of Bulgaria 1894-1943, by Pashanko Dimitroff, London, 1986, ISBN 0-86332-140-2
- Crown of Thorns by Stephane Groueff, Lanham MD., and London, 1987, ISBN 0-8191-5778-3
- The Betrayal of Bulgaria by Gregory Lauder-Frost, Monarchist League Policy Paper, London, 1989.
- The Daily Telegraph, Obituary for "HM Queen Ioanna of the Bulgarians", London, 28 February 2000.
- Balkans into Southeastern Europe by John R. Lampe, Palgrave Macmillan, New York, 2006.
- A History of Israel: From the Rise of Zionism to Our Time by Howard M. Sachar, Alfred A. Knopf, New York, 2007, ISBN 978-0-394-48564-5
- http://en.wikipedia.org/wiki/Boris_III_of_Bulgaria
- Historical photographs of the royal palace in Sofia
- Find-A-Grave biography
ก่อนหน้า | พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย | ![]() |
![]() พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย (บัลแกเรีย) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) |
![]() |
พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |