สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์
![]() | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 13 มิถุนายน 1942 |
หน่วยงานก่อนหน้า | |
ยุบเลิก | 20 กันยายน 1945 |
หน่วยงานสืบทอด | |
บุคลากร | 13,000 คน[3] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ (อังกฤษ: Office of Strategic Services, ย่อ: O.S.S) เป็นหน่วยสืบราชการของสหรัฐที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นองค์กรก่อนสำนักข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอ โอเอสเอสก่อตั้งขึ้นเพื่อประสานกิจกรรมจารกรรมหลังแนวรบข้าศึกแก่เหล่าทัพต่าง ๆ ของกองทัพสหรัฐ นอกจากนี้กำลังพลของ O.S.S นั้นยังได้รับการฝึกยุทธวิธีทางทหารนอกแบบอีกด้วย เช่น การซุ่มโจมตีตลบหลังแนวข้าศึก การก่อวินาศกรรม การใช้ภาษา การกระโดดร่ม การใช้อาวุธและการป้องกันตนเอง และการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับหน่วยทหารอื่นๆได้เป็นอย่างดี
ประวัติของหน่วย O.S.S[แก้]
เป็นหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐที่ก่อตั้งขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแทนที่หน่วยงานข่าวกรองก่อนหน้านั้น คือ Office of the Coordinator of Information เพื่อประสานกิจกรรมจารกรรมหลังแนวรบข้าศึก ในช่วงแรกมีผู้เข้ารับการฝึกส่วนใหญ่เป็นบุคลากรในกองทัพ และในจำนวนนี้ มีนายทหารสัญญาบัตรของเหล่าทัพต่างๆของสหรัฐเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพอังกฤษได้ยื่นข้อเสนอต่อนายพลของกองทัพสหรัฐ William Joseph Donovan จึงได้แจ้งไปทางกองบัญชาการของกองทัพสหรัฐเพื่อความประสงค์ให้ก่อตั้งหน่วยข่าวกรองหน่วยใหม่แก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ทางประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt มีความสนใจในหน่วยข่าวกรองเป็นอย่างมากและเขาเองก็พยายามเสนออยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากเห็นความสำคัญของสหรัฐที่จำเป็นต้องมีหน่วยข่าวกรอง เพื่อทำการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยทหารในด้านการข่าวกรอง เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการระบุตำแหน่งสถานที่ที่จำเป็นต่อการรบและการวางแผนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้เสนอต่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เพื่อก่อตั้งหน่วยทางการทหารใหม่ ทางสภาองเกรสจึงมีมติให้รับรองหน่วยงานนี้เป็นหน่วยข่าวกรองอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1942 ซึ่งสหรัฐได้เข้าร่วมสงครามเพียงหนึ่งปีเท่านั้น ช่วงที่หน่วยเปิดการฝึกในช่วงแรกนั้น มีแม่แบบการฝึกบางส่วนจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ(สหราชอาณาจักร)หรือ S.O.E อยู่บ้าง แต่ต่อมาได้เปลี่ยนบางหลักสูตรการฝึกให้เป็นแบบเฉพาะของหน่วย นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรพิเศษรวมอยู่ในการฝึกหลักด้วย ซึ่งได้รับผู้เชี่ยวชาญจากกองทัพในแต่ละสาย ซึ่งจะรับผิดชอบการฝึกในแต่ละส่วนของการฝึก ซึ่งในช่วงแรกก่อตั้งนี้ ได้มีการแต่งตั้ง พลตรี William Joseph Donovan เป็นผู้รับผิดชอบและสั่งการบังคับบัญชาหน่วย O.S.S ด้วย
การฝึกและการเตรียมความพร้อม[แก้]
การฝึกส่วนใหญ่แม้ว่าจะเป็นความลับมาก แต่ก็มีการเผยแพร่ออกมาบ้าง ในการฝึกนี้มีผู้สมัครมากมายรวมถึงการฝึกสำหรับหญิง ซึ่งเป็นบุคลากรพิเศษทางทหารและการเมืองอีกด้วย สำหรับการฝึกเหล่าสายลับมีดังนี้
การทำการฝึกเต็มขั้นจะฝึกที่ Camp X Area B ซึ่งนอกจากเป็นสนามฝึกของทหารราบสหรัฐที่สังกัดอยู่หน่วยข่าวกรองของแต่ละเหล่าทัพแล้ว ยังใช้ฝึกสายลับจากกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง และยังรวมถึงสายลับของหน่วย O.S.S ด้วย ซึ่งการฝึกนั้นผู้รับการฝึกจะต้องเปลี่ยนชุดเฉพาะของหน่วยเสียก่อน จึงจะสามารถเข้ารับการฝึกได้ ซึ่งการฝึกจะเริ่มต้นให้ผู้ฝึกทำการฝึกหลักสูตรรูปแบบต่างๆ เช่น การทักษะใช้เชือกและข้ามสิ่งกีดขวางที่กำหนดไว้ เมื่อผ่านการฝึกเบื้องต้นแล้ว สายลับ O.S.S ทุกคนนั้นจะได้รับการฝึกขั้นสูงต่อไป เช่น การฝึกทางยุทธวิธีการรบ การจารกรรมทางทหาร การกำจัดเป้าหมายสำคัญและเป้าหมายขนาดใหญ่ และทักษะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าและอาวุธระยะประชิด สำหรับเทคนิคการต่อสู้นี้ ผู้ฝึกจะได้รับการเรียนรู้การต่อสู้จากผู้เชี่ยวชาญจากกองทัพ และองค์กรต่างๆภายในห้องเรียนยุทธวิธี ซึ่งนอกจากการฝึกการต่อสู้แล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการทหาร และองค์กรที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ จะให้ผู้รับการฝึกเรียนรู้เกี่ยวกับจุดอ่อนของร่างกาย การช่วยชีวิตผู้อื่นและการปฐมพยาบาล นอกจากนี้มีการฝึกยุทธวิธีกองโจรและการใช้อาวุธประเภทต่างๆ เช่น อาวุธประเภทระเบิด อาวุธประเภทปืนไรเฟิล ปืนเล็กยาวจู่โจม ปืนกลมือ เครื่องยิงจรวด และ อาวุธต่อต้านรถถังชนิดอื่นๆ และอาวุธพิเศษ และการฝึกการวางกับดักและการปลอมตัว การกระโดดร่มและยุทธวิธีพิเศษอื่นๆเช่นการจู่โจมขนาดเล็กทั้งทางบกและทางทะเลก็มีในหลักสูตรการฝึกของหน่วย O.S.S เช่นกัน
ภารกิจต่างๆในระหว่างสงตราม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ The OSS Society osssociety.org
- ↑ National Archives and Records Administration archives.gov
- ↑ Dawidoff, p. 240
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ |
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |