ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1941

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
เรียงตามลำดับเวลา
1939
1940
1941
1942
1943
1944
1945
เพิ่มเติม

แนวรบด้านตะวันออก
โครงการแมนฮัตตัน

แผนที่ของเขตปฏิบัติการปฏิบัติการเข็มทิศ - ธันวาคม 1940 - กุมภาพันธ์ 1941
นายพลรอมเมลในแอฟริกาเหนือ
ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ลงนามในกฤษฎีกาให้เช่า-ยืม ภายหลังจากได้รับการลงคะแนนเสียงจากรัฐสภาแล้ว
ทหารเยอรมันขณะทำการรบในกรีซ - เมษายน 1941
พลร่มเยอรมันถูกส่งไปยังเกาะครีต - พฤษภาคม 1941
รถถังแพนเซอร์ของเยอรมนีรุดหน้าผ่านทะเลทรายเปิด
เส้นทางการรุกรานของกองทัพฝ่ายอักษะในปฏิบัติการบาร์บารอสซา - มิถุนายน 1941
เชลยศึกทหารโซเวียตถูกจับกุมหลังจากยุทธการแห่งมินสค์
ทหารเกณฑ์โซเวียตในมณฑลทหารบกเลนินกราด
ประธานาธิบดีโรสเวลต์และนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์พบกันบนดาดฟ้าของเรือรบหลวง พรินซ์ออฟเวลส์ ระหว่างการประชุมเพื่อลงนามกฎบัตรแอตแลนติก - 10-12 สิงหาคม 1941
สตรีชาวโซเวียตขุดสนามเพลาะรอบกรุงมอสโกเพื่อเตรียมรับการโจมตีของกองทัพเยอรมนี
กองทัพเยอรมันรุกไปตามท้องถนนของเมืองคาร์คอฟ - ตุลาคม 1941
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์: เรือประจัญบาน แอริโซนา ถูกเพลิงไหม้หลังจากถูกโจมตีโดยเครื่องบินรบญี่ปุ่น - 7 ธันวาคม 1941

มกราคม[แก้]

กุมภาพันธ์[แก้]

  • 3: นายพล เออร์วิน รอมเมล ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันในแอฟริกาเหนือ
  • 7: หลังจากการสู้รบอย่างหนักเป็นเวลาหลายวัน กองทัพน้อยที่ 13 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งขึ้นตรงกับ กองกำลังทะเลทรายตะวันตก ได้ทำลาย กองทัพที่ 10 แห่งอิตาลี ได้ระหว่างยุทธการแห่งบีดา ฟอมม ทหารอังกฤษสามารถจับกุมเชลยศึกได้กว่า 130,000 นาย
  • 11: นายพลรอมเมลเดินทางถึงทริโปลี ประเทศลิเบีย; กองทัพอังกฤษรุกเข้าโซมาลิแลนด์ อาณานิคมของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออก
  • 14: กองทัพเยอรมันยกพลขึ้นบกในแอฟริกาเหนือ และเคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันออก กองทัพอังกฤษอ่อนแอเนื่องจากได้ส่งกองกำลังบางส่วนไปสนับสนุนการรบในกรีซ
  • 21: กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพผ่านบัลแกเรียเพื่อไปโจมตีกรีซ
  • 25: กองทัพอังกฤษสามารถยึดโมกาดิชู เมืองหลวงของโซมาลิแลนด์ได้สำเร็จ

มีนาคม[แก้]

  • 4: หน่วยคอมมานโดของอังกฤษโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในเมืองนาร์วิก ประเทศนอร์เวย์
  • 4: เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวียทรงเห็นชอบให้ร่วมลงนามกับกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ
  • 8: พระราชวังบัคคิงแฮมถูกทิ้งระเบิดทางอากาศ
  • 9: การรุกของอิตาลีตามแนวรบอัลเบเนียเริ่มต้นขึ้น
  • 10: กองทัพอิตาลีและกองทัพอังกฤษปะทะกันในเอริเตรีย
  • 11: ประธานาธิบดีโรสเวลต์ลงนามในบัญญัติให้เช่า-ยืม โดยอนุญาตให้ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร โดยสามารถผ่อนชำระได้จนกระทั่งสงครามยุติ
  • 12: กองกำลังแพนเซอร์ของเยอรมนีมาถึงแอฟริกาเหนือ กองทัพเยอรมันเริ่มการบุกโดยใช้ยานเกราะ
  • 20: การรุกของอิตาลีในอัลเบเนียยุติลงด้วยความสูญเสียมหาศาล และไม่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของการรบได้
  • 27: ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน: กองทัพเรืออังกฤษเผชิญหน้ากับกองทัพเรืออิตาลีทางตอนใต้ของกรีซ
  • 27: กองทัพอังกฤษเคลื่อนทัพออกจากซูดาน และสามารถเอาชนะกองทัพอิตาลีได้ในยุทธการแห่งคาเรน เอริเตรีย
  • 27: มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวียขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย และขึ้นปกครองประเทศ ภายหลังจากกองทัพทำการรัฐประหารรัฐบาลนิยมเยอรมนีนำโดยเจ้าชายพอล

เมษายน[แก้]

  • 3: รัฐบาลนิยมเยอรมนีถูกจัดตั้งขึ้นในอิรัก
  • 6: กองทัพเยอรมนี ฮังการีและอิตาลีเคลื่อนทัพผ่านโรมาเนียและฮังการีเพื่อไปโจมตียูโกสลาเวียและกรีซ
  • 6: กองทัพอิตาลีพ่ายแพ้ในแอดดิส อะบาบา ประเทศเอธิโอเปีย
  • 7: กองทัพอากาศเยอรมันโจมตีกรุงเบลเกรดทางอากาศเป็นเวลาสองวัน
  • 10: กรีนแลนด์ถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา และได้มีการสร้างฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศเพื่อออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติก
  • 10: แม้การรบจะยังไม่ยุติ แต่ดินแดนยูโกสลาเวียถูกแบ่งออกเป็นเขตยึดครองระหว่างเยอรมนีและอิตาลี
  • 10: กองทัพเยอรมันเริ่มการปิดล้อมเมืองท่าโทรบรุค กองทัพเยอรมันอีกส่วนหนึ่งเคลื่อนทัพไปยึดค่ายคาพุสโซและโซลุม ประชิดชายแดนอียิปต์
  • 13: ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางระหว่างกัน
  • 14: การโจมตีเมืองโทรบรุคของกองทัพเยอรมันล้มเหลว
  • 17: ยูโกสลาเวียยอมจำนน รัฐบาลพลัดถิ่นถูกจัดตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน สมเด็จพระเจ้าพอลเสด็จหนีไปยังกรีซ
  • 23: รัฐบาลกรีซหลบหนีไปยังเกาะครีต
  • 24: กองทัพอังกฤษและออสเตรเลียอพยพจากกรีซมายังเกาะครีตและอียิปต์
  • 25: นายพลรอมเมลได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ที่ช่องเขาฮัลฟายา ทางผ่านไปสู่ชายแดนอียิปต์
  • 26: นายพลรอมเมลโจมตีแนวป้องกันกาซาลา
  • 27: กรุงเอเธนส์ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน กรีซยอมจำนน

พฤษภาคม[แก้]

  • 1: ทหารอังกฤษในอิรักถูกโจมตีโดยกองทัพอิรัก
  • 3: กองทัพอิตาลีและกองทัพอังกฤษปะทะกันในเอธิโอเปีย
  • 8: เรืออูลำหนึ่งของเยอรมนีถูกกองทัพเรืออังกฤษยึดได้ พร้อมกับเครื่องอินิกมา ซึ่งเปลี่ยนโชคชะตาของสงคราม
  • 9: กองทัพอังกฤษยึดครองอิรัก
  • 9: ญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ยในสงครามไทย-ฝรั่งเศส โดยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพในกรุงโตเกียว
  • 16: กองทัพเยอรมันภายใต้การบัญชาการของนายพลรอมเมลพ่ายแพ้หลังถูกโจมตีโต้ "ปฏิบัติการเบรวิตี" ที่ช่องเขาฮัลฟายา ทั้งสองฝ่ายผลัดเปลี่ยนกันยึดครองค่ายคาพุสโซ่และช่องเขาฮัลฟายา
  • 20: ยุทธการเกาะครีต: พลร่มเยอรมันถูกส่งไปยังเกาะครีต
  • 24: ยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์ก
  • 27: บิสมาร์คถูกโจมตีอย่างหนักเป็นเวลานานเกือบสองชั่วโมงก่อนที่จะจมลงสู่ก้นทะเล การจมของบิสมาร์คได้รับการรายงานบนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์หลายฉบับทั่วโลก
  • 28: การโจมตีโต้กลับของอังกฤษ "ปฏิบัติการเบรวิตี" ล้มเหลว

มิถุนายน[แก้]

  • 1: กองทัพเครือจักรภพอพยพออกจากเกาะครีตสำเร็จ
  • 1: สหราชอาณาจักรเริ่มการปันส่วนเสื้อผ้า
  • 4: สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี สิ้นพระชนม์ในฮอลแลนด์
  • 4: กองทัพอังกฤษรุกรานอิรัก และล้มล้างรัฐบาลต่อต้านอังกฤษ
  • 8: ซีเรียและเลบานอนภายใต้การปกครองของวิชีฝรั่งเศส ถูกโจมตีโดยกองทัพอังกฤษ ออสเตรเลีย อินเดียและกองทัพฝรั่งเศสเสรี
  • 9: ฟินแลนด์ประกาศระดมพล เพื่อเตรียมการรับการโจมตีจากสหภาพโซเวียต
  • 15: ปฏิบัติการขวานศึกเพื่อพยายามปลดปล่อยการปิดล้อมโทรบรุคประสบความล้มเหลว กองทัพอังกฤษพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่ช่องเขาฮัลฟายา
  • 16: สถานกงสุลของเยอรมนีและอิตาลีทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาถูกปิด และทูตของทั้งสองประเทศถูกสั่งขับออกนอกประเทศ
  • 22: ปฏิบัติการบาร์บารอสซา: กองทัพเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายอักษะรุกรานสหภาพโซเวียต โดยแบ่งการโจมตีออกเป็นสามทาง พุ่งเป้าหมายไปยังนครเลนินกราด กรุงมอสโกและแหล่งน้ำมันแถบเทือกเขาคอเคซัส; กองทัพเยอรมันบางส่วนได้รับอนุญาตให้ใช้ดินแดนฟินแลนด์ในการโจมตีสหภาพโซเวียต
  • 26: ฮังการีและสโลวาเกียประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต; สหภาพโซเวียตทิ้งระเบิดกรุงเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ประกาศสงครามต่อสหภาพโซเวียต สงครามต่อเนื่องเริ่มต้นขึ้น
  • 28: อัลเบเนียประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต

กรกฎาคม[แก้]

  • 1: กองทัพเยอรมันยึดครองกรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวีย ระหว่างทางไปโจมตีนครเลนินกราด
  • 3: สตาลินประกาศ "นโยบายเผาให้ราบ"
  • 5: กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพถึงแม่น้ำดไนเปอร์
  • 7: ไอซ์แลนด์ถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา
  • 8: ยูโกสลาเวียถูกผนวกเข้ากับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายนิยมอักษะ
  • 8: กองทัพเยอรมันแบ่งเลนินกราดออกจากส่วนที่เหลือของสหภาพโซเวียต
  • 8: อังกฤษและสหภาพโซเวียตลงนามในข้อตกลงป้องกันร่วมกัน โดยให้สัตยาบันว่าจะไม่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับเยอรมนี
  • 10: กองทัพแพนเซอร์ยึดเมืองมินสค์ และเปิดทางไปสู่ยูเครน
  • 12: กองกำลังวิชีฝรั่งเศสยอมจำนนในซีเรีย
  • 13: ได้มีการลุกฮือขึ้นในมอนเตเนโกรเพื่อต่อต้านฝ่ายอักษะ หลังจากเกิดการลุกฮือของพวกนิยมกษัตริย์ในเซอร์เบีย
  • 15: กองทัพแดงโจมตีโต้แถบเลนินกราด
  • 25: อิหร่านถูกยึดครองโดยอังกฤษและสหภาพโซเวียต
  • 28: กองทัพญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส

สิงหาคม[แก้]

  • 1: สหรัฐอเมริกาประกาศห้ามส่งน้ำมันให้แก่ญี่ปุ่น
  • 5: ทหารโซเวียตถูกล้อมโดยทหารเยอรมันที่สโมเลนสก์ และจับเชลยศึกได้กว่า 300,000 นาย เมืองโอเรลถูกยึด
  • 6: เยอรมนียึดเมืองสโมเลนสก์
  • 6: รัฐบาลอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเตือนญี่ปุ่นไม่ให้รุกรานไทย
  • 9: กฎบัตรแอตแลนติกได้รับการลงนาม
  • 12: ฮิตเลอร์ย้ายกำลังบางส่วนจากกองทัพกลุ่มกลางไปช่วยกองทัพกลุ่มเหนือและกองทัพกลุ่มใต้
  • 22: กองทัพเยอรมันเคลื่อนประชิดนครเลนินกราด ประชาชนรีบสร้างเครื่องกีดขวางข้าศึก
  • 25: กองทัพอังกฤษและกองทัพโซเวียตรุกรานอิหร่านเพื่อยึดครองแหล่งน้ำมันอบาดาน และทางรถไฟสายสำคัญซึ่งสามารถขนส่งทรัพยากรน้ำมันให้แก่สหภาพโซเวียตได้
  • 27: เครื่องอินิกมาอีกเครื่องหนึ่งถูกยึด

กันยายน[แก้]

  • 1: ด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพฟินแลนด์ เลนินกราดถูกตัดขาดออกจากโลกภายนอก
  • 5: เยอรมนียึดครองเอสโตเนีย
  • 8: การปิดล้อมเลนินกราดเริ่มต้นขึ้น
  • 10: กองทัพเยอรมันล้อมเคียฟ
  • 19: กองทัพเยอรมันยึดเคียฟ สหภาพโซเวียตสูญเสียทหารจำนวนมากในการป้องกันนคร

ตุลาคม[แก้]

  • 2: ปฏิบัติการไต้ฝุ่น: กองทัพกลุ่มกลางของเยอรมนีเริ่มการโจมตีกรุงมอสโกเต็มขั้น นายพลเกออร์กี จูคอฟเป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียตป้องกันกรุงมอสโก
  • 3: มหาตมะ คานธีเริ่มการต่อต้านการปกครองของอังกฤษในอินเดีย
  • 8: ในการรุกรานไปทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียต กองทัพเยอรมันไปถึงทะเลอซอฟและสามารถยึดเมืองมาริอูพอล
  • 14: อุณหภูมิที่ลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดหิมะตกที่แนวหน้ามอสโก ทำให้รถถังเยอรมันใช้การไม่ได้
  • 16: รัฐบาลโซเวียตย้ายไปยังเมืองคุยบีเชฟ ริมฝั่งแม่น้ำโวลกา แต่สตาลินยังคงอยู่ในกรุงมอสโก ส่วนประชาชนในกรุงมอสโกเตรียมสร้างกับดักรถถังเพื่อรับมือกับกองทัพเยอรมัน
  • 18: กองกำลังเสริมของกองทัพแดงจากไซบีเรียเดินทางมาถึงกรุงมอสโก
  • 18: นายพลฮิเดกิ โตโจ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 40 ของญี่ปุ่น
  • 19: กรุงมอสโกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
  • 21: กองทัพนิวซีแลนด์ยกพลขึ้นบกในอียิปต์และยึดค่ายคาพุสโซ่
  • 21: การเจรจาระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะประสบความล้มเหลว
  • 22: เมืองรอสตอฟ-ดอน-วอนถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน
  • 23: เกิดการรบครั้งใหญ่ในลิเบีย รอมเมลพยายามต่อต้าน "ปฏิบัติการนักรบศักดิ์สิทธิ์" ใกล้กับเมืองโทรบรุค
  • 24: เมืองคาร์คอฟถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน
  • 26: กองทัพอิตาลีกองสุดท้ายยอมจำนนในเอธิโอเปีย
  • 27: กองทัพกลุ่มใต้เคลื่อนทัพไปจนถึงเมืองซาเวสโตปอล ในคาบสมุทรไครเมีย แต่กองทัพเยอรมันไม่มีรถถังในการบุก
  • 30: ประธานาธิบดีโรสเวลต์อนุมัติเงินกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐตามนโยบายให้เช่า-ยืม ให้แก่สหภาพโซเวียต

พฤศจิกายน[แก้]

  • 3: กองทัพเยอรมันยึดเมืองเคิร์สก์
  • 6: ผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน กล่าวคำปราศรัยต่อประชาชนโซเวียตเป็นครั้งที่สองระหว่างการปกครองนานสามทศวรรษของเขา
  • 12: ยุทธการแห่งมอสโก: อุณหภูมิใกล้กรุงมอสโกลดต่ำลงถึง -12 °C ทหารสกีถูกส่งออกไปโจมตีกองทัพเยอรมัน
  • 18: ปฏิบัติการนักรบศักดิ์สิทธิ์: กองทัพอังกฤษเคลื่อนทัพข้ามลิเบีย และสามารถปลดปล่อยการปิดล้อมโทรบรุคได้ชั่วคราว
  • 22: อังกฤษยื่นคำขาดให้ฟินแลนด์ยกเลิกสถานะสงครามกับสหภาพโซเวียต หรืออาจต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร
  • 24: สหรัฐอเมริกาอนุมัตินโยบายให้เช่า-ยืมให้แก่ฝรั่งเศสเสรี
  • 24: กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในอียิปต์เป็นระยะทางกว่า 15 กิโลเมตร
  • 26: ญี่ปุ่นส่งเรือรบ 33 ลำ เรือสนับสนุนและเรือบรรทุกเครื่องบินอีก 6 ลำมุ่งหน้าจากญี่ปุ่นมายังหมู่เกาะฮาวาย คำขาดในจดหมายฮูลถูกส่งไปยังญี่ปุ่น

ธันวาคม[แก้]

  • 3: การเกณฑ์ทหารของอังกฤษครอบคลุมชายทุกคนที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปี ส่วนหญิงจะถูกจัดสรรเข้าสู่หน่วยดับเพลิงหรือกองกำลังสนับสนุนการรบ
  • 5: กองทัพเยอรมนีอยู่ห่างจากกรุงมอสโก 11 ไมล์ กองทัพโซเวียตตีโต้ในช่วงที่เกิดพายุหิมะครั้งใหญ่; สหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับฟินแลนด์
  • 7: ญี่ปุ่นโจมตีไทย มาลายา และโจมตีทางอากาศที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะกวม เกาะเวก; ญี่ปุ่นประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร; นอกจากนี้ ฮ่องกง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และเซี่ยงไฮ้ถูกโจมตีทางอากาศด้วยเช่นกัน; แคนาดาประกาศสงครามกับญี่ปุ่น; สำนักงานยุทธศาสตร์ได้สร้างพันธมิตรกับโฮจิมินห์และกองโจรเวียดมินห์
  • 7: "กฤษฎีการาตรีและหมอก" ของเยอรมนีมีผลบังคับใช้ มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านลัทธินาซีในยุโรปตะวันตก
  • 8: สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์และนิวซีแลนด์ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น; กองทัพญี่ปุ่นยึดหมู่เกาะกิลเบิร์ต
  • 9: จีนและออสเตรเลียประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น
  • 11: เยอรมนีและอิตาลีประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามตอบ; กองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถขับไล่การยกพลขึ้นบกที่เกาะเวค; ญี่ปุ่นรุกรานพม่า
  • 12: โรมาเนียและบัลแกเรียประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรประกาศสงครามตอบ; อินเดียประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น
  • 13: ฮังการีประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรประกาศสงครามตอบ
  • 15: กองทัพเยอรมันล่าถอยไปยังแนวกาซาลา
  • 16: ญี่ปุ่นรุกรานเกาะบอร์เนียว
  • 16: การรุกกรุงมอสโกหยุดชะงักลงอย่างสมบูรณ์
  • 17: ยุทธการแห่งซาเวสโตปอลเริ่มต้น
  • 18: ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบนเกาะฮ่องกง
  • 19: ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเยอรมัน
  • 25: ฮ่องกงยอมจำนนต่อกองทัพญี่ปุ่น
  • 28: พลร่มญี่ปุ่นถูกส่งไปยังเกาะสุมาตรา