ข้ามไปเนื้อหา

การก่อการกำเริบวอร์ซอ

พิกัด: 52°13′48″N 21°00′39″E / 52.23000°N 21.01083°E / 52.23000; 21.01083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การก่อการกำเริบวอร์ซอ
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการเทมเพสท์ในแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน:
พลเมืองทำการสร้างหลุมต่อต้านรถถังในเขตโวลา; ปืนต่อต้านรถถังของเยอรมันใน Theatre Square; ทหารของกองทัพบ้านเกิดกำลังป้องกันในสิ่งกีดขวาง; ซากปรักหักพังในถนน Bielańska; เหล่าผู้ก่อการกำเริบได้ออกจากซากเมืองหลังการยอมจำนนต่อกองกำลังเยอรมัน; เครื่องบินขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งยุทธปัจจัยลงสู่อากาศใกล้กับโบสถ์โฮลี่ครอส
วันที่1 สิงหาคม – 2 ตุลาคม ค.ศ. 1944
(63 วัน)
สถานที่52°13′48″N 21°00′39″E / 52.23000°N 21.01083°E / 52.23000; 21.01083
ผล

เยอรมันได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม

รัฐใต้ดินโปแลนด์

กองทัพบกโปแลนด์ในตะวันออก
(ตั้งแต่ 14 กันยายน)[1]


ได้รับการสนับสนุนโดย:

 ไรช์เยอรมัน

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
T. Komorowski (เชลย)
Tadeusz Pełczyński (เชลย)
Antoni Chruściel (เชลย)
Karol Ziemski (เชลย)
Edward Pfeiffer (เชลย)
Leopold Okulicki
Jan Mazurkiewicz
โปแลนด์ Zygmunt Berling

นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
นาซีเยอรมนี Nikolaus von Vormann
นาซีเยอรมนี Rainer Stahel
นาซีเยอรมนี E. v.d. Bach-Zelewski
นาซีเยอรมนี Heinz Reinefarth
นาซีเยอรมนี Bronislav Kaminski
นาซีเยอรมนี อ็อสคาร์ เดียร์เลอวังเงอร์
นาซีเยอรมนี Petro Dyachenko
นาซีเยอรมนี [[โรแบร์ท ฟ็อน ไกรม์

]]
นาซีเยอรมนี Paul Otto Geibel
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพบ้านเกิด

  • กลางเมือง– เหนือ
  • กลางเมือง – ใต้
  • Powiśle
  • วอร์ซอ – เหนือ
  • โซลิบอร์ซ
  • Kampinos Forest
  • วอร์ซอ – ใต้
  • Kedyw Units

โปแลนด์ กองทัพโปแลนด์ที่หนึ่ง


การขนส่งทางอากาศที่วอร์ซอ:
สหราชอาณาจักร กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
(รวมทั้งฝูงบินโปแลนด์)
สหรัฐ กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ
แอฟริกาใต้ กองทัพอากาศแอฟริกาใต้
สหภาพโซเวียต กองทัพอากาศโซเวียต

นาซีเยอรมนี กองทหารรักษาการณ์ประจำกรุงวอร์วอ

  • Kampfgruppe Rohr
  • Kampfgruppe Reinefarth
  • Sturmgruppe Reck
  • Sturmgruppe Schmidt
  • Sturmgruppe Dirlewanger
  • Schutzpolizei

ได้รับการสนับสนุนโดย:
ลุฟท์วัฟเฟอ
กำลัง

20,000[3]–49,000[4]
2,500 equipped with guns (initially)
2 captured Panther tanks
1 captured Hetzer tank destroyer
2 captured armoured personnel carrier
Improvised armored vehicles


Warsaw Airlift:

สหรัฐ US Army Air Force

  • 107 B-17s, P-51 Mustangs

13,000[5]–25,000[6] (initially)
Throughout the course of uprising: ~50,000[ต้องการอ้างอิง]
Dozens of tanks


Luftwaffe
  • 6 Junkers Ju 87s
ความสูญเสีย

Polish resistance:
15,200 killed and missing[7]
5,000 WIA[7]
15,000 POW (incl. capitulation agreement)[7]
Polish First Army: 5,660 casualties[7]


Warsaw Airlift: 41 aircraft destroyed

German forces:
2,000–17,000[8][9][10][11] killed and missing
9,000 WIA

Multiple tanks and armored vehicles
150,000[12]–200,000 civilians killed[13][14]
700,000 expelled from the city[7]

การก่อการกำเริบวอร์ซอ(โปแลนด์: powstanie warszawskie; เยอรมัน: Warschauer Aufstand) เป็นปฏิบัติการในสงครามโลกครั้งที่สองครั้งสำคัญโดยขบวนการต่อต้านใต้ดินชาวโปล เพื่อปลดปล่อยกรุงวอร์ซอจากการยึดครองของเยอรมัน มันเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1944 และมันถูกนำโดยขบวนการต่อต้านชาวโปลจากกองทัพบ้านเกิด(โปแลนด์: Armia Krajowa) การก่อการกำเริบอยู่ในช่วงเวลาตรงกับการล่าถอยของกองกำลังเยอรมันออกจากโปแลนด์ก่อนการรุกคืบของโซเวียต ในขณะที่เข้าใกล้เขตชานเมืองทางตะวันออกของเมือง กองทัพแดงได้หยุดปฏิบัติการการสู้รบแบบชั่วคราว ทำให้เยอรมันสามารถรวบรวมกองกำลังใหม่และปราบปรามจนเอาชนะขบวนการต่อต้านชาวโปลและทำลายล้างเมืองเพื่อเป็นการแก้แค้น การก่อการกำเริบนี้เป็นการต่อสู้เป็นเวลา 63 วันโดยได้รับการสนับสนุนจากภายนอกเพียงเล็กน้อย มันเป็นความพยายามทางทหารขนาดใหญ่เพียงครั้งเดียวของขบวนการต่อต้านของยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[15]

การก่อการกำเริบดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเทมเพสท์ทั่วทั้งประเทศ ได้เปิดฉากในช่วงเวลาที่การรุกลูบลิน-เบรสต์ของโซเวียต เป้าหมายหลักของชาวโปลคือการขับไล่เยอรมันออกไปจากกรุงวอร์ซอ ในขณะที่ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะเยอรมนี เป้าหมายทางการเมืองเพิ่มเติมของรัฐใต้ดินโปแลนด์คือการปลดปล่อยเมืองหลวงของโปแลนด์และยืนยันอำนาจอธิปไตยของโปแลนด์ก่อนที่คณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยโปแลนด์ซึ่งโซเวียตคอยหนุนหลังจะเข้ามาควบคุม สาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอื่นอีก ได้แก่ การคุกคามของเยอรมันที่ทำการไล่ต้อนชายฉกรรจ์ชาวโปลขนาดใหญ่สำหรับ "การอพยพ" การเรียกร้องโดยหน่วยงานชาวโปลของวิทยุมอสโคว์สำหรับการก่อการกำเริบ และความรู้สึกของชาวโปลที่ต้องการความยุติธรรมและการล้างแค้นต่อศัตรูหลังห้าปีที่เยอรมันยึดครอง[16][17]

นักวิชาการล่าสุดนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ร่วมกับรายงายพยานได้เรียกร้องสู่การตั้งคำถามถึงมูลเหตุจูงใจของรัสเซียและได้เสนอว่าพวกเขาขาดการสนับสนุนสำหรับการก่อการกำเริบวอร์ซอเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปราถนาอันแรงกล้าของโซเวียตในยุโรปตะวันออก กองทัพแดงไม่ได้เข้ามาให้การสนับสนุนแก่นักสู้ฝ่ายต่อต้านหรือการจัดหาการสนับสนุนทางอากาศ เอกสารที่ถูกปลดออกจากการเป็นเอกสารลับล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าโจเซฟ สตาลินได้หยุดยั้งกองกำลังของเขาอย่างแยบยลเพื่อให้ปฏิบัติการล้มเหลวและปล่อยให้ขบวนการต่อต้านชาวโปลถูกกำจัด "จุดสำคัญของข้อพิพาทระหว่างโปแลนด์และโซเวียตเหนือชายแดนตะวันออกของโปแลนด์"[18]

ในความเป็นจริง นักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกตว่าช่วงเวลาสองเดือนของการก่อการกำเริบวอร์ซอถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น[19] ตามที่นักประวัติศาสตร์นามว่า Alexandra Richie ได้กล่าวไว้ สำหรับกรณี การก่อการกำเริบวอร์ซอ "ได้เปิดเผยถึงความต้องการของโปแลนด์สำหรับระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพแบบตะวันตก และความปราถนาอันแรงกล้าอย่างโหดเหี้ยมของสตาลินเพื่อที่จะทำให้ยุโรปตะวันออกและกลางกลายเป็นคอมมิวนิสต์หลังสงคราม"[20]

ความสูญเสียในช่วงการก่อการกำเริบวอร์ซอคือหายนะ แม้ว่าจำนวนความสูญเสียที่แน่ชัดนั้นไม่ปรากฏ มันเป็นการคาดคะเนว่าสมาชิกของขบวนการต่อต้านชาวโปลซึ่งเสียชีวิตประมาณ 16,000 คน และบาดเจ็บสาหัสประมาณ 6,000 คน นอกจากนี้ พลเรือนชาวโปลที่เสียชีวิตจำนวนระหว่าง 150,000 และ 200,000 คน ส่วนมากมาจากการประหารชีวิตหมู่ ชาวยิวที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นโดยชาวโปลได้ถูกเปิดเผยโดยการกวาดล้างแบบบ้านต่อบ้านของเยอรมันและการขับไล่มวลชนในย่านใกล้เคียงทั้งหมด ความปราชัยของการก่อการกำเริบวอร์ซอยังได้ทำลายพื้นที่เมืองของโปแลนด์เพิ่มเติม[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Davies 2004
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Airlift to Warsaw. The Rising of 1944
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BW
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AB1
  5. Borodziej, p. 75.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WUmuseumcom
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wufaq
  8. Tadeusz Sawicki: Rozkaz zdławić powstanie. Niemcy i ich sojusznicy w walce z powstaniem warszawskim. Warszawa: Bellona, 2010. ISBN 978-83-11-11892-8. p. 189.
  9. Tadeusz Bór-Komorowski: Armia Podziemna. Warszawa: Bellona, 1994. ISBN 83-11-08338-X. p. 443.
  10. Marek Getter. Straty ludzkie i materialne w Powstaniu Warszawskim. "Biuletyn IPN". 8–9 (43–44), sierpień – wrzesień 2004., s. 70.
  11. Ilu Niemców naprawdę zginęło w Powstaniu Warszawskim? Paweł Stachnik, ciekawostkihistoryczne.pl 31.07.2017 Accessed 12 September 2019
  12. Meng, Michael (2011). Shattered Spaces. Encountering Jewish Ruins in Postwar Germany and Poland. Harvard University Press. p. 69. ISBN 978-0674053038.
  13. Bartrop, Paul R.; Grimm, Eve E. (2019). Perpetrating the Holocaust: Leaders, Enablers, and Collaborators. ABC-CLIO. p. 12. ISBN 978-1440858963.
  14. Wolfson, Leah (2015). Jewish Responses to Persecution: 1944–1946. Rowman&Littlefield. p. 534. ISBN 978-1442243378.
  15. Duraczyński, Eugeniusz; Terej, Jerzy Janusz (1974). Europa podziemna: 1939–1945 [Europe underground: 1939–1945] (ภาษาโปแลนด์). Warszawa: Wiedza Powszechna. OCLC 463203458.
  16. Davies 2008, pp. 268, 271.
  17. Warsaw Uprising 1944 เก็บถาวร 2021-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.warsawuprising.com, accessed 12 September 2019
  18. Cienciala, Anna M.; Hanson, Joanna K. M. (January 1984). "The Civilian Population and the Warsaw Uprising of 1944". Military Affairs. 48 (1): 49. doi:10.2307/1988362. ISSN 0026-3931. JSTOR 1988362.
  19. Rock, William R. (June 1995). "The Origins of the Cold War in Europe: International Perspectives". History: Reviews of New Books. 23 (4): 179–180. doi:10.1080/03612759.1995.9946252. ISSN 0361-2759.
  20. Garliński, Jarek (2015-04-01). "Warsaw 1944: Hitler, Himmler, and the Warsaw Uprising". The Polish Review. 60 (1): 111–115. doi:10.5406/polishreview.60.1.0111. ISSN 0032-2970.
  21. Alfred Peszke, Michael (December 2005). "A Review of: "Norman Davies.Rising '44. The Battle For Warsaw."". The Journal of Slavic Military Studies. 18 (4): 767–769. doi:10.1080/13518040500357003. ISSN 1351-8046. S2CID 219625918.

หนังสือเพื่มเติม

[แก้]
See also http://www.polishresistance-ak.org/FurtherR.htm เก็บถาวร 2012-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน for more English language books on the topic.

แหล่อข้อมูลอื่น

[แก้]