ข้ามไปเนื้อหา

การทัพหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทัพมาเรียนาและปาเลา
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามทะเลแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

รถสายพานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่บรรจุด้วยนาวิกโยธินกำลังเข้าใกล้เกาะทีเนียนในช่วงที่สหรัฐยกพลขึ้นบกบนเกาะ
วันที่มิถุนายน – พฤศจิกายน ค.ศ. 1944
สถานที่
ผล สหรัฐชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐ  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Chester Nimitz
Raymond A. Spruance
Richmond K. Turner
Holland Smith
Roy Geiger
Harry Schmidt
William H. Rupertus
Paul J. Mueller
Yoshitsugu Saito 
Chuichi Nagumo 
Jisaburō Ozawa
Kakuji Kakuta 
Takeshi Takashina 
Hideyoshi Obata 
Kiyochi Ogata 
Sadae Inoue
Kunio Nakagawa 
กำลัง
128,000
600+ ships
71,000
ความสูญเสีย
8,125 killed and missing 67,000+ killed
แม่แบบ:Campaignbox Marianas and Palaus แม่แบบ:Campaignbox Pacific Ocean

การทัพหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลา ยังเป็นที่รู้จักกันคือ ปฏิบัติการโฟเรเจอร์ เป็นการรุกที่เปิดฉากโดยกองทัพสหรัฐต่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลาในมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามแปซิฟิก การุกของสหรัฐภายใต้คำสั่งโดยรวมของเชสเตอร์ นิมิซท ภายหลังจากการทัพเกาะกิลเบิร์ตและมาร์แชลล์และมีเป้าหมายเพื่อปราศจากฐานทัพญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง สนับสนุนการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อยึดครองฟิลิปปินส์กลับคืนมา และจัดตั้งเป็นฐานทัพสำหรับการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่น

การรุกได้เริ่มต้นขึ้น เหล่านาวิกโยธินสหรัฐและกองทัพบกสหรัฐ ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพเรือสหรัฐ ได้ทำการยกพลขึ้นบกที่เกาะไซปันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 ในการตอบสนอง กองเรือผสมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำการโจมตีกองเรือสหรัฐที่ให้การสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ในผลลัพธ์ครั้งนี้ทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินในยุทธการที่ทะเลฟิลิปปินส์(ซึ่งเรียกกันว่า “Great Marianas Turkey Shoot”) เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน กองทัพเรือญี่ปุ่นได้พบความปราชัยอย่างย่อยยับพร้อมกับความสูญเสียอย่างหนักและไม่สามารถทดแทนมาได้สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินและฐานทัพอากาศยานบนบก

สหรัฐได้ทำการยกพลขึ้นบกบนเกาะกวมและทีเนียนในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1944 ภายหลังการต่อสู้อย่างหนัก เกาะไซปันถูกยึดครองในเดือนกรกฏาคมตามมาด้วยเกาะกวมและทีเนียนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 สหรัฐได้สร้างสนามบินขึ้นที่ไซปันและทีเนียนซึ่งเป็นที่ประจำการของเครื่องบินรุ่นบี-29เอส ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิบัติภารกิจการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์เหนือญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง รวมทัั้งการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

ในเวลาเดียวกัน ในคำสั่งเพื่อรักษาปีกสำหรับกองทัพสหรัฐที่ได้เตรียมรับมือกับการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1944 เหล่านาวิกโยธินและกองทัพบกสหรัฐได้ทำการยกพลขึ้นบกบนเกาะปาเลลิวและอาเงาร์ในหมู่เกาะปาเลา ภายหลังจากการต่อสู้อย่างหนักและเข้มข้นในเกาะปาเลลิว เกาะนี้ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1944

ภายหลังจากการยกพลขึ้นบกในหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลา ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ประสบความสำเร็จในการทัพต่อต้านญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดกองทัพสหรัฐยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 และหมู่เกาะโวลคาโนและรีวกีวได้เริ่มต้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945