ยุทธการที่นาร์วา (ค.ศ. 1944)
ยุทธการที่นาร์วา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) | |||||||
![]() ทหารฝ่ายป้องกันของเอสโตเนียที่แม่น้ำนาร์วา,กับป้อมปราการ Ivangorod ที่อยู่ด้านตรงข้าม | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
|
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() |
![]() ![]() | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
|
| ||||||
กำลัง | |||||||
123,541 personnel[1] 32 tanks[2] 137 aircraft[1] |
200,000 personnel[2][3] 2500 guns 125 tanks[4] 800 aircraft[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
14,000 dead or missing 54,000 wounded or sick 68,000 casualties[5] |
100,000 dead or missing 380,000 wounded or sick[nb 1] 300 tanks 230 aircraft[2] 480,000 casualties[5] | ||||||
|
ยุทธการที่นาร์วา เป็นการทัพทางทหารระหว่างกองทัพเยอรมัน ดีทอาทเมนท์ "นาร์วา" และแนวรบเลนินกราดของโซเวียต การสู้รบเพื่อครอบครองพื้นที่ที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ที่นาร์วา อิทชมุส (Narva Isthmus) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 10 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
การทัพครั้งนี้เกิดขึ้นในทางตอนเหนือของแนวรบด้านตะวันออกและประกอบด้วยสองช่วงที่สำคัญ: ยุทธการที่หัวสะพานนาร์วา (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม ค.ศ. 1944) และยุทธการที่แนวทันเนนแบร์ก (กรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1944) การรุก Kingisepp–Gdov และการรุกนาร์วาของโซเวียต (15-28 กุมภาพันธ์, 1-4 มีนาคม และ 18-24 มีนาคม) เป็นส่วนหนึ่งของการทัพฤดูหนาวสปริงของกองทัพแดงในปี ค.ศ. 1944 ตามกลยุทธ์ที่เรียกว่า "แนวรบกว้าง" ของโจเซฟ สตาลิน การสู้รบเหล่านี้เกิดขึ้นเวลาเดียวกันกับการรุกนีเปอร์–คาร์เพเทียน (ธันวาคม ค.ศ. 1943 - เมษายน ค.ศ. 1944) และการรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซ (กรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1944) จำนวนของทหารอาสาสมัครชาวต่างชาติและชาวเอสโตเนียที่อยู่ตามท้องถิ่นได้เข้าร่วมรบเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเยอรมัน โดยให้การสนับสนุนเพื่อเรียกร้องให้เกณฑ์ทหารที่ผิดกฏหมายของเยอรมัน จากขบวนการใต้ดินที่เรียกตัวเองว่า คณะกรรมการแห่งชาติของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ได้คาดหวังว่าจะสร้างกองทัพแห่งชาติและฟื้นฟูความเป็นเอกราชของประเทศ
ผลสืบเนื่องจากการรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดของเดือนมกราคม ค.ศ. 1944 ปฏิบัติการเอสโตเนียของโซเวียตได้เริ่มผลักดันแนวรบตะวันตกไปยังแม่น้ำนาร์วา ด้วยความมุ่งหมายทำลายกองทัพ"นาร์วา" และผลักดันลึกเข้าไปในเอสโตเนีย หน่วยทหารของโซเวียตได้สร้างหัวสะพานหลายแห่งบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่เยอรมันพยายามที่จะรักษาหัวสะพานบนฝั่งตะวันออก ตามที่ความพยายามกลับล้มเหลวในการขยายแนวหน้าของพวกเขา เยอรมันได้โจมตีตอบโต้กลับทำลายหัวสะพานที่ไปทางเหนือของนาร์วาและลดหัวสะพานทางตอนใต้ของเมือง การทำให้คงที่ของแนวรบจนกระทั่งถึงกรกฎาคม ค.ศ. 1944 การรุกนาร์วาของโซเวียต (กรกฎาคม ค.ศ. 1944) ได้นำไปสู่การยึดครองเมืองหลังจากพวกทหารเยอรมันได้ล่าถอยกลับไปเพื่อเตรียมความพร้อมในแนวป้องทันเนนแบร์กในเขา Sinimäed ที่อยู่ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตรจากนาร์วา ในการสู้รบที่ตามที่แนวทันเนนแบร์ก กลุ่มกองทัพเยอรมันได้จัดตั้งขึ้นบนพื้นที่นี้ เป้าหมายทางยุทธศาสตร์หลักของสตาลิน—การเข้ายึดครองเอสโตเนียกลับคืนอย่างรวดเร็วเพื่อใช้เป็นฐานทัพทางอากาศและโจมตีทางทะเลเพื่อปะทะกับฟินแลนด์และการบุกครองปรัสเซียตะวันออก—ยังไม่อาจบรรลุ อันเป็นผลมาจากการป้องกันอย่างแน่นหนาของกองทัพเยอรมัน ความพยายามสงครามของโซเวียตในทะเลบอลติกได้ถูกขัดขวางเป็นเวลา 7 เดือนครึ่ง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Toomas Hiio (2006). "Combat in Estonia in 1944". ใน Toomas Hiio; Meelis Maripuu; Indrek Paavle (บ.ก.). Estonia 1940–1945: Reports of the Estonian International Commission for the Investigation of Crimes Against Humanity. Tallinn. pp. 1035–1094.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Mart Laar (2006). Sinimäed 1944: II maailmasõja lahingud Kirde-Eestis (Sinimäed Hills 1944: Battles of World War II in Northeast Estonia) (ภาษาเอสโตเนีย). Tallinn: Varrak.
- ↑ Hannes Walter. "Estonia in World War II". Mississippi: Historical Text Archive.
- ↑ F.I.Paulman (1980). "Nachalo osvobozhdeniya Sovetskoy Estoniy". Ot Narvy do Syrve (From Narva to Sõrve) (ภาษารัสเซีย). Tallinn: Eesti Raamat. pp. 7–119.
- ↑ 5.0 5.1 Doyle, Peter (2013). World War II in Numbers. A & C Black. p. 105. ISBN 9781408188194.
![]() |
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |