ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการฉางชา (1939)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการฉางชา
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

กองทัพญี่ปุ่นเข้าตีเมืองฉางชา
วันที่17 กันยายน – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1939
สถานที่
ฉางชาและบริเวณโดยรอบ
ผล สาธารณรัฐจีนได้รับชัยชนะทางยุทธศาสตร์
คู่สงคราม
 สาธารณรัฐจีน  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เฉิน เฉิง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เสวี่ย เยวี่ย
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กวน หลินเจิ้ง
จักรวรรดิญี่ปุ่น ยะสุจิ โอคามูระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น มูซะตะชิ ไซโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น เรียวทาโร่ นะคะอิ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชินนิจิ ฟูจิตะ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน

 กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
กำลัง
ทหาร 180,000 นาย (5 กลุ่มกองทัพ 1 กองทัพ และ 7 กรมทหาร) ทหาร 90,000 นาย (6 กองพล เรือจำนวนหนึ่ง และเรือยนต์อีกมากกว่า 100 ลำ)

ยุทธการฉางชา (17 กันยายน – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1939) เป็นความพยายามครั้งแรกของญี่ปุ่นในการยึดครองฉางชา ประเทศจีน ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

เบื้องหลัง

[แก้]

สงครามจีน-ญี่ปุ่นยังคงดำเนินต่อไปหลังจากการสู้รบเป็นเวลาสองปี ในช่วงต้นเดือนกันยายน นายพลญี่ปุ่น โตชิโซะ นิชิโอะ ของ "กองทัพโพ้นทะเลญี่ปุ่นในจีน" และพลโท เซย์ชิโร อิตากาคิ ได้วางแผนที่จะยึดครองฉางชา เมืองหลวงของมณฑลหูหนาน กองพลที่ 101 และ 106 ของญี่ปุ่นได้มีการจัดวางกำลังทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกาน ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และกองพลที่ 6, 3, 13 และ 33 เคลื่อนกำลังลงใต้จากมณฑลหูเป่ย์มายังมณฑลหูหนาน

ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจสองประการของญี่ปุ่นในการโจมตี ได้แก่ การลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างพันธมิตรเยอรมนีและสหภาพโซเวียตศัตรูของญี่ปุ่น และหลังจากความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในมองโกเลียใน การโจมตีในจีนครั้งใหญ่จะช่วยฟื้นขวัญกำลังใจของกองทัพได้[1]

มีความชัดเจนว่ากองทัพญี่ปุ่นมีกำลังพลถึง 100,000 นาย ที่กำลังมุ่งหน้ามาบรรจบกันที่ฉางชา ยุทธศาสตร์ของจีนคือการตอบโต้แนวของข้าศึกทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซีแล้วจึงล้อมแนวที่กำลังเดินทัพมุ่งลงใต้

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]
ทหารญี่ปุ่นสวมหน้ากากกันแก๊สและถุงมือยางในระหว่างการโจมตีทางเคมี
ทหารจีนได้รับบาดเจ็บจากการถูกโจมตีจากแก๊สพิษญี่ปุ่น

ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มการโจมตีเมื่อวันที่ 17 กันยายน เมื่อกองทัพที่ประจำอยู่ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซีโจมตีไปทางตะวันตกมุ่งหน้าไปยังมณฑลเหอหนาน อย่างไรก็ตาม แนวของญี่ปุ่นขยายออกไปกว้างเกินไปทางตะวันตกและถูกโจมตีโต้โดยกองทัพจีนทั้งทางเหนือและทางใต้ บีบบังคับให้ต้องถอนกำลังกลับไปทางตะวันออก

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ฝ่ายญี่ปุ่นดำเนินการโจมตีจีนตามแม่น้ำซินเชียงโดยตัดสินใจใช้แก๊สพิษ ถึงแม้ว่าการใช้แก๊สพิษจะถูกห้ามตามอนุสัญญาเจนีวา ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น อาวุธเคมีได้รับมอบอำนาจจากคำสั่งเฉพาะที่กำหนดโดยจักรพรรดิฮิโรฮิโตะซึ่งถูกส่งผ่านไปยังกองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิ การใช้อาวุธเคมีดังกล่าวได้มาจากการทดลองเชลยชาวจีนโดยหน่วย 731 อย่างไรก็ตามกองทัพญี่ปุ่นก็ได้ใช้แก๊สพิษต่อที่ตั้งของทหารจีน เมื่อวันที่ 23 กันยายน กองทัพญี่ปุ่นสามารถขับไล่ทหารจีนออกจากพื้นที่แม่น้ำซินเชียงได้ และกองพลที่ 6 และที่ 13 ข้ามแม่น้ำโดยมีการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่และเคลื่อนพลต่อลงไปทางใต้ตามแม่น้ำมีหลัว

การสู้รบอย่างหนักยังคงดำเนินต่อไปหลังวันที่ 23 กันยายน และกองทัพจีนล่าถอยไปทางทิศใต้เพื่อหลอกล่อให้ฝ่ายญี่ปุ่นติดตามมา ในขณะที่กองพันสนับสนุนเข้ามาถึงในทางตะวันออกและทางตะวันตกสำหรับกลยุทธ์การโอบล้อมกองทัพจีน เมื่อวันที่ 29 กันยายน ญี่ปุ่นเข้าถึงชานเมืองฉางชา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถยึดเมืองนี้ได้เนื่องจากเส้นทางเสบียงถูกตัดขาดโดยกองทัพจีน

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม กองทัพจีนได้ยิงเครื่องบินญี่ปุ่นตกเป็นจำนวนมาก ซี่งเครื่องบินดังกล่าวได้รับคำสั่งจากยาสุจิ โอคามูระ เพื่อเป็นการเปิดทางรุกเข้าสู่ฉางชา และในวันที่ 6 ตุลาคม กองทัพญี่ปุ่นที่ฉางชาได้ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ส่วนที่เหลืออยู่ล่าถอยไปทางทิศเหนือ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม กองทัพจีนได้ยึดครองพื้นที่ในมณฑลหูหนานทางตอนเหนือของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลเจียงซีตอนเหนือคืนกลับมาได้สำเร็จ

บทสรุป

[แก้]

ฉางชาถือเป็นเมืองหลักเมืองแรกที่ไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือหลังการโจมตีของญี่ปุ่น ผู้บัญชาการ เสวี่ย เยวี่ย ผู้เป็นขุนศึกที่มีสีสันและพันธมิตรของเจียง ไคเช็ค ได้รับการชื่นชมจากชัยชนะที่ฉางชา การรักษาเมืองฉางชาไว้ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถขยายอิทธิพลลงไปทางตอนใต้ของจีน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Van De Ven, Hans J., War and Nationalism in China, 1925–1945, pg. 237.