สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง
สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทหารเกณฑ์อิตาลีขึ้นรถไฟที่เมืองมอนเตวาร์ชีเพื่อเข้าร่วมสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง (ค.ศ. 1935) | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ราชอาณาจักรอิตาลี | จักรวรรดิเอธิโอเปีย | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
เบนิโต มุสโสลินี พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี เอมีลีโอ เด โบโน ปีเอโตร บาโดลโย โรดอลโฟ กราซีอานี โจวันนี เมสเซ |
จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี | ||||||||
กำลัง | |||||||||
พลรบ ~500,000 คน (Approx. 100,000 mobilized) อากาศยาน ~595 ลำ[1] รถถัง ~795 คัน[1] |
พลรบ 800,000 คน (~330,000 mobilized) อากาศยาน ~3 ลำ รถถัง ~3 คัน | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ตาย 10,000 คน1 (ประมาณการ พ.ค. 1936) [2] บาดเจ็บ 44,000 คน (ประมาณการ พ.ค. 1936) [3] ตาย 9,555 คน2 (ประมาณการในปี 1936-1940) [4] ป่วย/เจ็บ144,000 คน (ประมาณการในปี 1936-1940) [5] |
ตาย ~275,000 คน, บาดเจ็บ ~500,000 คน [nb 1] | ||||||||
1Official pro-Fascist Italian figures are around 3,000, which Alberto Sbacchi considers deflated.[2] |
สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง เป็นสงครามอาณานิคมซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกองทัพราชอาณาจักรอิตาลีกับจักรวรรดิเอธิโอเปีย (หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ "อะบิสซิเนีย") โดยเริ่มต้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1935 และสิ้นสุดลงในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1936 ผลของสงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเอธิโอเปียและถูกอิตาลีผนวกเข้าเป็นดินแดนอาณานิคมแห่งใหม่ภายใต้ชื่อ "แอฟริกาตะวันออกของอิตาลี" ( อังกฤษ: Italian East Africa, อิตาลี: Africa Orientale Italiana)
ในทางการเมือง สงครามครั้งนี้เป็นเครื่องหมายจดจำที่โดดเด่นที่สุดถึงความอ่อนแออันเป็นปกติวิสัยขององค์การสันนิบาตชาติ วิกฤตการณ์อะบิสซิเนียในปี ค.ศ. 1934 มักถูกมองว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงความไร้ประสิทธิภาพของสันนิบาตชาติ เช่นเดียวการที่จักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครอง 3 มณฑลของจีนในกรณีมุกเดนเมื่อปี ค.ศ. 1931 ทั้งอิตาลีและเอธิโอเปียล้วนเป็นชาติสมาชิกของสันนิบาต แต่สันนิบาตชาติก็ไม่สามารถปกป้องเอธิโอเปียให้พ้นจากการคุกคามของอิตาลีได้เมื่อการณ์ปรากฏชัดเจนว่าอิตาลีได้ละเมิดต่อบทบัญญัติของสันนิบาตชาติมาตรา 10 อนึ่ง สงครามครั้งนี้ยังถูกจดจำด้วยการใช้ก๊าซพิษทำสงครามอย่างผิดกฎหมายอย่างก๊าซมัสตาร์ด (mustard gas) และสารฟอสจีน (Phosgene) โดยฝ่ายกองทัพอิตาลี
ผลลัพธ์ในเชิงบวกของสงครามต่อฝ่ายอิตาลีได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับความนิยมระดับสูงสุดต่อลัทธิฟาสซิสต์ของมุสโสลินีในเวทีนานาชาติ[7] ผู้นำในหลายประเทศได้ยกย่องความสำเร้จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
ภูมิหลัง
[แก้]สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นจากความปรารถนาอย่างแรงกล้าของมุสโสลินีในการสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งดินแดนของจักรวรรดิที่มุสโสลินีต้องการครอบครองนั้นคือบริเวณรอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา สงครามครั้งนี้ยังเป็นความต้องการล้างอายที่อิตาลีพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ต่อเอธิโอเปียในยุทธการอัดวาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 ในช่วงสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่หนึ่งอันทำให้อิตาลีต้องเสื่อมเสียเกียรติภูมิเป็นอย่างยิ่ง การที่มุสโลลินีได้ใหคำสัญญาแก่ชาวอิตาลีว่าจะต้องได้ "แผ่นดินภายใต้ดวงตะวัน" ("a place in the sun") ก็เป็นช่วงที่สอดคล้องกับการขยายอาณานิคมครั้งใหม่ของสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
เอธิโอเปียเป็นดินแดนเป้าหมายชั้นดีในการยึดครองเป็นอาณานิคมด้วยหลายสาเหตุ จากการแข่งขันแย่งชิงทวีปแอฟริกาของชาติจักรวรรดินิยมยุโรป ในเวลานั้นเหลือดินแดนที่เป็นอิสระอยู่เพียงแห่งเดียวคือเอธิโอเปีย การได้ยึดครองเอธิโอเปียจะทำให้อิตาลีสามารถรวมดินแดนนี้เข้ากับเอริเทรียและและอิตาเลียนโซมาลีแลนด์ที่ตนยึดครองไว้ก่อนได้ อนึ่ง เอธิโอเปียเองก็มีกำลังทหารที่อ่อนแอจากการที่ทหารชนพื้นเมืองในเอธิโอเปียมีอาวุธเพียงหอกกับโล่ แลกองทัพอากาศเอธิโอเปียก็มีอากาศยานประจำการเพียง 13 ลำเท่านั้น
การคุกคามของอิตาลี
[แก้]สนธิสัญญาอิตาลี-เอธิโอเปีย ฉบับ ค.ศ. 1928 กำหนดให้พรมแดนระหว่างโซมาลีแลนด์ของอิตาลีกับเอธิโอเปียมีความยาว 21 ลีก (ราว 73.5 ไมล์) โดยขนานไปตามชายฝั่งเบนาดีร์ (Benadir) ในปี ค.ศ. 1930 อิตาลีได้สร้างป้อมขึ้นที่โอเอซิสเวลเวล (Welwel) ในบริเวณเขตโอกาเดน (Ogaden) และส่งทหารนอกประจำการชาวโซมาลีที่เรียกว่าดูบัต (dubat) เข้ามาประจำการ ป้อมที่สร้างขึ้นที่เวลเวลนั้นอยู่นอกเหนือเขตจำกัด 21 ลีกและรุกร้ำเข้ามาในเขตแดนของเอธิโอเปีย
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1934 กองกำลังรักษาดินแดนของเอธิโอเปียซึ่งคุ้มครองคณะกรรมการปักปันชายแดนแดนอังกฤษ-เอธิโอเปีย ได้ประท้วงการละเมิดอธิปไตยของอิตาลี สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายอังกฤษได้ถอนตัวไปทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้อิตาลีเสียหน้า โดยที่กองกำลังทั้งฝ่ายอิตาลีและเอธิโอเปียยังคงตั้งค่ายเผชิญหน้ากันในระยะใกล้
การปะทะบริเวณชายแดนที่เวลเวล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1934 ความตึงเครียดของทั้งสองฝ่ายได้ปะทุขึ้นจากเหตุการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ "กรณีเวลเวล" ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีทหารเอธิโอเปียเสียชีวิตประมาณ 150 นาย ฝ่ายอิตาลีตาย 50 นาย และนำไปสู่ "วิกฤตการณ์อะบิสซิเนีย" ในที่ประชุมสันนิบาตชาติ
วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1935 สันนิบาตชาติได้ประกาศปลดเปลื้องความผิดของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจากกรณีเวลเวล [8] สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสพยายามอย่างอย่างที่จะดึงอิตาลีไว้เป็นพันธมิตรต่อต้านเยอรมนี จึงไม่ได้ขัดขวางการเสริมสร้างกำลังทางทหารของอิตาลี ในไม่ช้าอิตาลีจึงเสริมกองทัพของตนในบริเวณชายแดนของเอธิโอเปียด้านที่ต่อกับเอริเทรียและโซมาลีแลนด์ของอิตาลี
อิตาลีสามารถเปิดฉากการรุกโดยปราศจากการขัดขวางอย่างจริงจัง เนื่องจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสให้ความสำคัญแก่การดึงเอาอิตาลีเป็นพันธมิตรในการต่อต้านนาซีเยอรมนี ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1935 ฝรั่งเศสจึงได้ลงนามในข้อตกลงกับอิตาลี โดยยกให้อิตาลีจัดการกับทวีปแอฟริกาได้โดยอิสระ เพื่อเป็นการประกันความมั่นคงในความร่วมมือกับอิตาลี [9] ถัดจากนั้นมาในเดือนเมษายน อิตาลีก็ได้ใจยิ่งขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงแนวสเตรซา ซึ่งเป็นข้อตกลงในการกำหนดทิศทางการขยายอำนาจของเยอรมนี[10] ถึงเดือนมิถุนายน แผนการของอิตาลีดำเนินไปได้โดยสะดวกมากขึ้น จากการแตกร้าวทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสอันมีมูลเหตุจากข้อตกลงทางนาวีของทั้งสองประเทศ อ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref>
สำหรับป้ายระบุ <ref>
|group=nb}}
จากการประเมินโดยฝ่ายอิตาลี ช่วงก่อนหน้าการเปิดสงครามนั้นเอธิโอเปียมีกองทัพซึ่งมีกำลังพลราว 350,000-760,000 คน แต่มีเพียง 1 ใน 4 ของกำลังพลดังกล่าวที่ได้รับการฝึกฝนตามวินัยทหาร และมีปืนไรเฟิลเพียง 400,000 กระบอกเท่านั้น โดยนับรวมจากปืนไรเฟิลทุกชนิดและอยู่ในทุกสถานะ[11]
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว กองทัพเอธิโอเปียมีอาวุธประจำการในระดับย่ำแย่มาก กองทัพดังกล่าวมีเพียงปืนใหญ่สนามที่ล้าสมัยราว 200 กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานทั้งชนิดเบาและชนิดหนักประมาณ 50 กระบอก (ประกอบด้วยปืน Oerlikon ขนาด 20 มม., ปืนใหญ่ชไนเดอร์ และปืนใหญ่วิคเกอร์ส ขนาดกระสุน 75 มม.) สำหรับยานพาหนะประกอบด้วยรถรบหุ้มเกราะยี่ห้อฟอร์ดและรถถังเฟียต 3000 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพียงจำนวนเล็กน้อย[11]
สำหรับขีดความสามารถของกองทัพอากาศเอธิโอเปียก็อยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน เครื่องบินรบที่ใช้ได้มีเพียงเครื่องบินล้าสมัยปีกสองชั้นรุ่นโปเตซ 25 เพียง 3 ลำ[12] นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินขนส่งอีกจำนวนเล็กน้อยที่รวบรวมได้ในช่วงปี ค.ศ. 1934 - 1935 เพื่อใช้เป็นเครื่องบินพยาบาล โดยรวมแล้ว กองทัพอากาศเอธิโอเปียมีเครื่องบินประจำการเพียง 13 ลำ และมีนักบิน 4 คน เมื่อสงครามปะทุขึ้น [13] กองทัพดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้การบัญชาการของอังเดร มายแย็ต นายทหารอากาศชาวฝรั่งเศส
หน่วยรบที่ดีที่สุดคือกองทหารรักษาพระองค์ของจักรพรรดิ ("Kebur Zabangna") กองกำลังดังกล่าวนี้เป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกและมีอาวุธประจำการที่ดียิ่งกว่าหน่วยทหารใดๆ ในประเทศ อย่างไรก็ตาม เครื่องแบบของกองทหารรักษาพระองค์นั้นใช้เครื่องแบบสีเขียวกากีตามแบบของกองทัพบกเบลเยี่ยม ทำให้ดูแตกต่างต่างไปจากทหารหน่วยอื่นที่ใช้เครื่องแบบผ้าสีขาวที่เรียกว่า "ชัมมา" ("shamma") ซึ่งเครื่องแบบสีขาวข้างต้นนั้น สำหรับผู้สวมใส่แล้วนับเป็นเรื่องที่โชคไม่ดีนักที่ชุดนี้เป็นเป้าสังหารอย่างดีของฝ่ายศัตรู [11] ด้านความสามารถของผู้บัญชาการทัพที่ดำรงตำแหน่ง "ราส" ก็มีแตกต่างกันไปตั้งแต่ดีที่สุดไปจนถึงแย่ที่สุด
ฝ่ายอิตาลี
[แก้]ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1935 กองทัพบก (Regio Esercito) และกองทัพอากาศ (Regia Aeronautica) แห่งราชอาณาจักรอิตาลีในแอฟริกาตะวันออก ได้เริ่มการสะสมกำลังขึ้นอย่างจริงจัง ในไม่กี่เดือนถัดมาได้มีการเคลื่อนกำลังทหารราบปกติ ทหารราบภูเขา และหน่วยเชิ้ตดำ รวม 8 หน่วย เข้ามาในเอริเทรีย และส่งกำลังทหารราบปกติ 4 หน่วยเข้ามาประจำการในโซมาลีแลนด์ของอิตาลี ตัวเลขของทหารชุดดังกล่าวมีรวม 680,000 คน โดยยังไม่ได้นับรวมกับทหารอิตาลีที่ประจำการในแอฟริกาตะวันออก กองทหารอาณานิคม และจำนวนทหารที่เสริมกำลังเข้ามาระหว่างสงคราม เช่น ในเอริเทรียมีทหารอิตาลีอยู่แล้ว 400,000 คน และในโซมาลีแลนด์ของอิตาลี 220,000 คน ก่อนหน้าจะมีการส่งกำลังเสริมเข้ามา เป็นต้น กองทัพขนาดใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในแอฟริกาตะวันออกนี้ยังมีหน่วยลำเลียงและหน่วยสนับสนุนจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีนักข่าวสงครามของอิตาลีรวมอยู่ในกองทัพด้วยอีก 200 คน[14]
ยุทธภัณฑ์ที่อิตาลีได้ส่งเข้ามาเสริมกำลังพลประกอบด้วย ปืนกล 6,000 กระบอก ปืนใหญ่สนาม 2,000 กระบอก รถถัง 595 คัน อากาศยาน 390 ลำ ในช่วงก่อนหน้าการเสริมกำลังอิตาลีมีปืนกล 3,300 กระบอก ปืนใหญ่สนาม 275 กระบอก รถถังขนาดย่อม 200 คัน และอากาศยาน 205 ลำ การส่งกำลังบำรุงจำนวนมหาศาลดังกล่าวรวมทั้งอาหาร กระสุนปืน และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ได้รับการสนับสนุนจากราชนาวีอิตาลี (Regia Marina) เป็นหลัก นอกจากนี้การลำเลียงยุทธภัณฑ์และเคลื่อนย้ายกำลังพลในสมรภูมิ อิตาลียังได้เปรียบจากการใช้ยานยนต์เป็นพาหนะ ต่างจากฝ่ายเอธิโอเปียซึ่งใช้ม้าต่างเป็นพาหนะ[1]
ในระหว่างสงครามนั้นชาวอิตาลีได้มอบความไว้วางใจของตนให้แก่กองทัพน้อยอาณานิคม (Regio Corpo Truppe Coloniali หรือ RCTC) ซึ่งเป็นหน่วยทหารชนพื้นเมืองที่เกณฑ์มาจากเอริเทรีย โซมาเลีย และลิเบีย อันเป็นอาณานิคมในความปกครองของอิตาลี หน่วยทหารที่ทรงประสิทธิภาพที่สุ่ดของกองทัพน้อยนี้ได้แก่หน่วยทหารราบชาวเอริเทรียที่เรียกว่า "อัสคารี" ("askaris") ซึ่งมักถูกใช้เป็นหน่วยรุกเป็นประจำ การที่เป็นหน่วยรุกเช่นนี้จึงปรากฏว่าทหารเอริเทรียต้องสูญเสียอย่างหนักอยู่เสมอ ทั้งนี้นอกจากหน่วยทหารราบแล้ว เอริเทรียก็มีกองทหารม้าและกองทหารปืนใหญ่ด้วย เช่น กองทหารม้าเปนเนดีฟัลโก ("Penne di Falco" - "ขนนกอินทรี") ของเอริเทรีย ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากการปฏิบัติการในสงครามครั้งนี้ เป็นต้น กองทัพน้อยอาณานิคมยังใช้หน่วยรบอื่นที่ในการรุกสู่เอธิโอเปีย ซึ่งรวมไปถึงกองกำลังชายแดนนอกประจำการชาวโซมาลีที่เรียกว่า "ดูบัต" ("dubat") ทหารราบและทหารปืนใหญ่ชาวอาหรับ-โซมาลี และทหารราบชาวลิเบีย[15]
นอกเหนือไปจากกองทัพที่อิตาลีเกณฑ์มาจากโซมาเลีย เอริเทรีย และลิเบียของตนเองแล้ว อิตาลียังมีกองกำลังท้องถิ่นกึ่งอิสระที่เป็นศัตรูกับเอธิโอเปียเข้าร่วมรบด้วยในฐานะ "พันธมิตร" ในแนวรบทางเหนือ ชาวโอโรโมที่รวมกลุ่มกันในชื่อกลุ่มอาเซบู กัลลา (Azebu Galla) เป็นหนึ่งในหลายกลุ่มที่อิตาลีได้ชักชวนให้เข้าร่วมรบ เพราะชนกลุ่มนี้มีสาเหตุหลายประการที่ต้องการจะกวาดล้างชาวเอธิโอเปียที่ลี้ภัยมา ส่วนทางด้านทิศใต้ สุลต่านโอลโอล ดีนเล (Sultan Olol Diinle) ได้ควบคุมกองทัพส่วนตัวเข้ารกยังตอนเหนือของโอกาเดนร่วมกับกองทัพอิตาลีภายใต้การบัญชาการของพันเอกลุยจี ฟรุสชี (Luigi Frusci) แรงผลักดันที่ทำให้สุลต่านเข้าร่วมรบคือต้องการทวงเอาดินแดนที่เอธิโอเปียแย่งชิงไปกลับคืนมา อนึ่ง กองทัพอาณานิคมของอิตาลียังได้เกณฑ์พลเพิ่มเติมมาจากเยเมน โดยลำเลียงพลข้ามมาทางอ่าวเอเดนด้วยอีกทางหนึ่ง[16]
อิตาลีบุก
[แก้]วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1935 พลเอกเอมิลิโอ เด โบโน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกทั้งหมด [17] นอกจากนี้ เด โบโน ยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพในแนวรบด้านเหนือ ซึ่งรุกเข้ามาทางด้านเอริเทรียด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง กองทัพของเขาควบคุมหน่วยรบจำนวนทั้งหมด 9 กองพล จาก 3 กองทัพน้อย อันได้แก่ กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 กองทัพน้อยอิตาลีที่ 2 และกองทัพน้อยเอริเทรีย
พลเอกโรดอลโฟ กราซีอานีเป็นผู้ช่วยของเด โบโน โดยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพในแนวรบด้านใต้ ซึ่งรุกเข้ามาทางด้านโซมาลีแลนด์ของอิตาลี ในชั้นต้นนั้น กราซีอานีคุมหน่วยรบ 2 กองพล และหน่วยรบขนาดย่อยอื่นๆ อีกจำนวนมาก ประกอบด้วยทหารจากหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี โซมาลี เอริเทรีย ลิเบีย และชาติอื่นๆ เด โบโน ถือว่าโซมาลีแลนด์ของอิตาลีเป็นยุทธบริเวณรองที่จำเป็นต้องป้องกันตัวเองในชั้นต้น และอาจจะช่วยกองทัพหลักในการรุกได้หากกองกำลังฝ่ายศัตรูมีขนาดไม่ใหญ่นัก [18]
เมื่อเริ่มต้นการบุกนั้น เครื่องบินของกองทัพอากาศอิตาลีได้บินกระจายไปทั่วประเทศเอธิโอเปียเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี และสนับสนุนอียาซูที่ 5 (Iyasu V of Ethiopia) เป็น "จักรพรรดิที่แท้จริง" ขณะนั้นอียาซูที่ 5 (อดีตจักรพรรดิของเอธิโอเปียผู้ไม่เคยได้รับการราชาภิเษกในระหว่าง ค.ศ. 1913 - 1916) มีอายุ 40 ปี และถูกถอดจากตำแหน่งจักรพรรดิมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ยังคงถูกฝ่ายอำนาจรัฐจำคุกอยู่
การรุกของเด โบโน
[แก้]เวลา 5.00 น. ของวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1935 เด โบโน ได้ยกทัพข้ามแม่น้ำมาเร็บและมุ่งตรงสู่เอธิโอเปียจากชายแดนด้านเอริเทรียโดยปราศจากการประกาศสงคราม [19] ฝ่ายเอธิโอเปียจึงประกาศสงครามตอบโต้การรุกรานของอิตาลี [20] การยุทธในช่วงนี้อิตาลีพบว่าถนนเป็นสิ่งที่ฝ่ายตนเสียเปรียบอย่างมากจากการข้ามมาสู่พรมแดนเอธิโอเปีย ถนนในฝั่งที่อิตาลียึดครองนั้นสร้างตรงตามแนวชายแดน ส่วนในฝั่งเอธิโอเปียปรากฏว่าถนนมักเปลี่ยนไปและไม่แน่นอน [19]
กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 สามารถยึดครองเมืองอาดิกราตได้ในวันที่ 5 ตุลาคม และในวันถัดมาเมืองอัดวาก็ตกอยู่ในความครอบครองของกองพลน้อยอิตาลีที่ 2 จักรพรรดิเฮลี เซลาสซีมีราชโองการให้ราส เซยุม มังงาชา (Seyoum Mangasha) ผู้บัญชาการกองทัพมณฑลทีเกร (Army of Tigre) ถอนกำลังออกจากแนวแม่น้ำมาเกร็บ หลังจากนั้นพระองค์จึงบัญชาให้แม่ทัพชายแดน (Dejazmach) เฮลี เซลาสซี กุกซา (Haile Selassie Gugsa) ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ถอยทัพออกห่างจากพรมแดนในระระ 35 - 55 ไมล์ [19]
วันที่ 11 ตุลาคม เฮลี เซลาสซี กุกซา และผู้ติดตาม 1,200 คน ยอมจำนนต่อกองบัญชาการส่วนหน้าของอิตาลีที่เมืองอาดากาโมส (Adagamos) เด โบโนได้แจ้งไปยังรัฐบาลที่โรมและกระทรวงข่าวสารโดยทันทีถึงการยอมจำนนครั้งสำคัญอย่างเกินจริง เฮลี เซลาสซี กุกซา เป็นพระชามาดา (ลูกเขย) ของจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี แต่ถึงแม้จะมีความสำคัญดังกล่าวก็มีแม่ทัพชายแดนเกือบ 10 คนที่ละทิ้งเขาไป [21]
วันที่ 14 ตุลาคม เด โบโน ได้ออกประกาศให้มีการประกาศทาสในเอธิโอเปีย อย่างไรก็ตาม เขาได้บันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้าจำต้องกล่าวว่าการประกาศเลิกทาสมิได้มีผลมากนัดต่อบรรดานายทาส และบางทีคงจะมีจำนวนน้อยมากที่ยอมปลดปล่อยทาสเป็นอิสระ ยิ่งกว่านั้นในระยะต่อมา ทันทีที่พวกเขา (ทาส) ถูกปลดปล่อย พวกเขาต่างก็พากันมาหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายอิตาลีแล้วถามว่า "แล้วใครจะให้อาหารแก่ฉันเล่า" ?"[21] ชาวเอธิโอเปียเองได้มีความพยายามเลิกทาสมาโดยตลอด โดยจักรพรรดิเอธิโอเปียแต่ละองค์นับตั้งแต่พระเจ้าเตโวดรอสที่ 2เป็นต้นมาได้ตรากฎหมายประกาศเลิกทาส[22] แต่ไม่เป็นผล
ถึงวันที่ 15 ตุลาคม กองทัพของเด โบโน ได้ยาตราจากอัดวาเข้ายึดครองนครศักดิสิทธิ์ อาซุม (Axum) โดยปราศจากการนองเลือด นายพลเด โบโน ได้ขี่ม้าขาวเข้าเมืองเยี่ยงผู้ชนะ อย่างไรก็ตาม กองทหารของเขาได้เข้าปล้นสะดมที่เสาศิลาแห่งอาซุม (Obelisk of Axum)
การรุกคืบของเด โบโน ดำเนินต่อไปอย่างเป็นแบบแผน ตายตัว และเชื่องช้าจนแม้แต่มุสโสลินีก็ยังตกตะลึง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 และกองทัพน้อยเอริเทรียเข้ายึดเมืองเมกเอล (Mek'ele) สิ่งนี้ได้ทำให้ความอดทนของอิตาลีที่มีต่อการรุกของเด โบโน ดำเนินมาถึงขีดสุด [23] ในวันที่ 16 พฤศจิกายน เด โบโน ได้รับการเลื่อนยศให้เป็นจอมพลแห่งอิตาลี (Maresciallo d'Italia) แต่เมื่อถึงเดือนธันวาคมเขาก็ถูกถอดจากยศนี้และถูกแทนที่โดยจอมพลปีเอโตร บาโดลโย ด้วยเหตุที่ทำการรบอย่างเชื่องช้า อันเป็นลักษณะที่อันตรายในการรุกของเด โบโน [24]
การรุกวันคริสต์มาสของเอธิโอเปีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ช่วงมืดมนในสงคราม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฮออาเร-ลาวาล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ก๊าซพิษ
[แก้]{{ทหารอิตาลีใช้ก๊าชชัลเฟอร์มัสตาร์ดกับทหารเอธิโอเปีย
กองทัพใหม่ของอิตาลีรุกขึ้นเหนือ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แนวรบด้านใต้
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเดินทัพแห่งเจตจำนงเหล็ก
[แก้]ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1936 เมื่อบาโดลโยเริ่ม "การเดินทัพแห่งเจตจำนงเหล็ก" ("March of the Iron Will") จากเมืองเดสซี (Dessie) สู่กรุงอาดดิสอาบาบา เขาได้เผชิญกับการต่อต้านอันสูญเปล่าของชาวเอธิโอเปีย บาโดลโยได้เสี่ยงทำการรุกคืบโดยแถวรถยานเกราะนื่องจากการต่อต้านมีอยู่เพียงเล็กน้อย [25]
ก่อนวันที่ 2 พฤษภาคมเพียงเล็กน้อย จักรพรรดิเฮลี เซลาสซีได้ประทับรถไฟจากอาดดิสอาบาบาไปยังจิบูตี จากที่นั้นพระองค์ได้เสด็จไปยังอังกฤษและขอลี้ภัยทางการเมือง ก่อนเสด็จออกจากประเทศ พระองค์ได้มีพระราชโองการให้ย้ายรัฐบาลไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกอเร (Gore) ให้นายกเทศมนตรีกรุงอาดดิสอาบาบารักษาเมืองไว้จนกว่ากองทัพอิตาลีจะมาถึง และทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายราส อิมรู เฮลี เซลาสซี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระองค์ไม่ประทับในประเทศ กองตำรวจรักษาพระนครภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรีอาเบเบ อาเรไก (Abebe Aregai) และกองทหารรักษาพระองค์ที่ยังเหลืออยู่ได้พยายามยับยั้งการจลาจลที่กำลังก่อตัวขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างถึงที่สุด ทว่าในวันแรกหลังการลี้ภัยของพระเจ้าแผ่นดิน การรักษาความสงบก็ถูกยกเลิก ผู้ก่อการจลาจลกลายเป็นผู้กุมสถานการณ์แทนและก่อความวุ่นวายไปทั่วทั้งเมือง ทั้งการปล้นและวางเพลิงร้านค้าที่ชาวยุโรปเป็นเจ้าของ[26]
จบสงคราม
[แก้]กองทัพของจอมพลบาโดลโยได้เคลื่อนเข้ายึดกรุงอาดดิสอาบาบาในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1936 และทำการฟื้นฟูระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แม้ว่าจะไม่มีการประกาศยอมแพ้อย่างเป็นทางการ แต่สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สองก็ได้สิ้นสุดลงในวันนั้น[26]
ทัศนะฝ่านอิตาลี
[แก้]ในวันที่อิตาลีได้รับข่าวแห่งชัยชนะ พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 ทรงประทับรอมหาชนอยู่ ณ พระราชวังควีรีนัล (Quirinal Palace) หลายเดือนก่อนหน้าขณะที่อิตาลีเริ่มรุกเข้าไปในเอธิโอเปีย พระองค์ได้ตรัสแก่พระสหายว่า "หากเราชนะ ข้าจักเป็นกษัตริย์แห่งอะบิสซิเนีย หากเราแพ้ ข้าจักเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี"[27]
"จักรพรรดิ ! จักรพรรดิ ! คารวะองค์จักรพรรดิ !" ("Imperatore! Imperatore! Salute Imperatore!") มหาชนต่างตะโกนก้องเมื่อพระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลเสด็จยังสีหบัญชรในฉลองพระองค์เต็มยศจอมทัพ จักรพรรดิพระองค์แรกในกรุงโรมนับตั้งแต่กรุงโรมแตกเมื่อ 1,460 ปีก่อนทรงยกพระหัตถ์ที่เหี่ยวแห้งจับกระบังพระมาลาของพระองค์และมิตรัสอะไร พระราชินีเอเลนาแห่งมอนเตเนโกรของพระองค์มิได้โดยเสด็จด้วย เพราะพระองค์ประชวรที่นิ้วพระบาทจากการตกบันไดขณะที่ทรงค้นหนังสือในห้องสมุดส่วนพระองค์[28]
ขณะที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเงียบ ผู้เผด็จการแห่งอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อมุสโสลินีประกาศเชิญพระเจ้าแผ่นดินเสด็จยังระเบียงของวังเวเนเซีย (Palazzo Venezia) ในกรุงโรม ประชาชนชาวอิตาลีต่างล้วนปิติยินดีโดยถ้วนหน้า
ณ ระเบียงนั้น มุสโสลินีกล่าวคำประกาศ
- "ตลอดช่วงสามสิบศตวรรษในประวัติศาสตร์ชาติเรา อิตาลีได้เป็นที่รู้จักด้วยวาระต่างๆ อันยิ่งใหญ่และน่าจดจำ - ไม่มีข้อกังขาเลยว่านี่คือวาระหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและน่าจดจำที่สุด ชาวอิตาลีทั้งหลาบ ชาวโลกทั้งหลาย สันติภาพได้ฟื้นฟูขึ้นแล้ว"
ฝูงชนต่างไม่ยอมให้เขาไป พวกเขาเรียกชื่อมุสโสลินีถึง 10 ครั้งและต่างโห่ร้องยินดีและโบกมือไปมาเมื่อเหล่าเด็กหนุ่มจากขบวนการยุวชนฟาสซิสต์หลายกลุ่มขับร้อง "เพลงสรรเสริญแด่จักรวรรดิ ("Inno dell'impero") ซึ่งได้ประพันธ์ขึ้นใหม่ในการนี้ [29]
สี่วันต่อมา ฉากเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อท่านผู้นำกล่าวคำปราศรัยถึงประชาชนชาวอิตาลีว่า
- "ในที่สุดอิตาลีก็ได้มีจักรวรรดิของตนแล้ว" และเขาได้กล่าวเสริมว่า: "ชาวอิตาลีได้สร้างจักรวรรดิขึ้นด้วยเลือดเนื้อของตน พวกเขาจะบำรุงสิ่งนี้ไว้ด้วยการงานของตน และจะปักป้องสิ่งนี้ไว้จากใครก็ตามด้วยอาวุธของตน พวกท่านพร้อมจะทำอย่างเต็มที่หรือไม่ ?"[29]
นี่คือช่วงเวลาแห่งเกียรติยศของมุสโสลินี เขารับรู้ว่าชาติอิตาลีได้รวมกันไว้รอบตัวเขาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เขารับรู้ว่าความยินดีที่เขาได้ประจักษ์แก่ตาของตนนั้นเป็นของจริง และชาวอิตาลีเองก็ได้มูลเหตุอันสมควรที่จะทำให้พวกตนสามารถรวมใจกันได้ อิตาลีได้ครอบครองแผ่นดินที่กว้างใหญ่และสินแร่อันมั่งคั่ง ซึ่งถูกเสริมขยายให้มากขึ้นจากการโฆษณาชวนเชื่อ ความนิยมในลัทธิฟาสซิสต์และชัยชนะทางการทหารได้กลบเสียงแห่งความไม่พอใจในปัญหาเศรษฐกิจที่ยังแอบแฝงอยู่อย่างสนิท [29]
ทัศนะฝ่ายเอธิโอเปีย
[แก้]ขณะที่ชาวอิตาลีต่างพากันปิติยินดีนั้น จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี ได้เสด็จข้ามทะเลแดงด้วยเรือหลวงเอ็นเตอร์ไพรซ์ (HMS Enterprise) ของสหราชอาณาจักร พระองค์ได้ประทับเรือจากจิบูตีในวันที่ 4 พฤษภาคม ปาเลสไตน์ในอาณัติของบริเตนเป็นปลายทางของพระองค์ในการเสด็จสู่เกาะอังกฤษโดยผ่านยิบรอลตาร์ สองวันหลังจากที่พระองค์มาถึงเมืองเยรูซาเล็ม พระองค์ได้ทรงส่งพระราชโทรเลขไปยังสันนิบาตชาติดังนี้
- "เราได้ตัดสินใจยุติสงครามที่ไม่เสมอภาค ไม่ยุติธรรม และไร้อารยะอย่างที่สุดในยุคของพวกเรา และเลือกหนทางในการลี้ภัยเพื่อไม่ให้ประชาชนของเราต้องถูกประหัตประหาร และเพื่ออุทิศตัวของเราทั้งหมดให้แก่พระเจ้าและสันติภาพให้ธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระแห่งจักรวรรดิของเราไว้ ... บัดนี้เราขอเรียกร้องต่อสันนิบาตชาติโปรดดำรงไว้ซึ่งความพยายามในการรักษาบทบัญญัติแห่งสันนิบาตชาติ และไม่ควรตัดสินใจในการยอมรับการขยายดินแดนหรือยอมรับความมีอธิปไตยใดๆ อันเป็นผลมาจากการใช้กำลังทหารอย่างผิดกฎหมายและการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก"
พระราชโทรเลขของจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปียเป็นเหตุให้หลายประเทศรั้งรอเวลาในการรับรองชัยชนะของอิตาลีเป็นการชั่วคราว[29]
ในวันที่ 30 มิถุนายน จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี มีพระราชดำรัสยังที่ประชุมสันนิบาตชาติ โดยประธานแห่งสันนิบาติชาติได้เอ่ยแนะนำพระองค์ในฐานะจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย ("Sa Majesté Imperiale, l'Empereur d'Ethiopie") ปรากฏว่านักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาลีกลุ่มหนึ่งได้ตะโกนประท้วงและและกล่าวคำละเมิดต่อจักรพรรดิเอธิโอเปียจนถูกขับออกจากที่ประชุม นิโคไล ติตูเลสคู (Nicolae Titulescu) ประธานในที่ประชุมชาวโรมาเนีย ได้ตะโกนขับนักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาลีด้วยคำว่า "ไปที่ประตูเสียเถอะ พวกป่าเถื่อน!" ("A la porte les sauvages!") [29]
จากนั้นจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี ได้มีพระราชดำรัสประณามการกระทำของอิตาลีและวิจารณ์ต่อประชาคมโลกที่แสดงท่าทีนิ่งเฉยในการนั้น ในท้ายสุด พระองค์ได้เอ่ยเตือนแก่ที่ประชุม ดังปรากฏในภาพยนตร์ข่าวที่เผยแพร่ไปทั่วโลกว่า
- "วันนี้เป็นคราวของเรา วันหน้าจะเป็นคราวของท่าน" ("It is us today. It will be you tomorrow.")
เสียงตอบรับจากนานาชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลสืบเนื่องจากสงคราม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บาโดลโยและกราซีอานี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดยุกแห่งเอออสตา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จุดจบของแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ Angelo Del Boca, The Ethiopian War 1935-1941 (1965), cites a 1945 memorandum from Ethiopia to the Conference of Prime Ministers, which tallies 760,300 natives dead; of them, battle deaths: 275,000, hunger among refugees: 300,000, patriots killed during occupation: 75,000, concentration camps: 35,000, Feb. 1937 massacre: 30,000, executions: 24,000, civilians killed by air force: 17,800.[6]Secondary Wars and Atrocities of the Twentieth Century
- อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 20
- ↑ 2.0 2.1 Alberto Sbacchi, "The Price of Empire: Towards an Enumeration of Italian Casualties in Ethiopia 1935-1940," in ed. Harold G. Marcus, Ethiopianist Notes, vol. II, No. 2, p.37.
- ↑ Sbacchi, "The Price of Empire," p.36.
- ↑ 4.0 4.1 Sbacchi, "The Price of Empire," p.43.
- ↑ Sbacchi, "The Price of Empire," p.38.
- ↑ Angelo Del Boca, The Ethiopian War 1935-1941 (1965)
- ↑ Baer, p.279
- ↑ Shinn, Historical dictionary of Ethiopia, p. 392
- ↑ Peter N. Stearns, William Leonard Langer. The Encyclopedia of World History: Ancient, Medieval, and Modern, pg. 677
- ↑ Andrew J. Crozier. The Causes of the Second World War, pg. 108
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 29
- ↑ Barker, A. J., "The Rape of Ethiopia 1936, p. 57
- ↑ Shinn, Historical dictionary of Ethiopia, p. 19
- ↑ Baer, p. 13
- ↑ Piero Crociani, Le Uniformi Dell' A.O.I,
- ↑ Nicolle, David, "The Italian Invasion of Abyssinia 1935-1936", p. 41
- ↑ Gooch. Mussolini and His Generals. Pg. 301
- ↑ Gooch. Mussolini and His Generals. Pg. 299
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 33
- ↑ Nicolle, David, The Italian Invasion of Abyssinia 1935-1936, p. 11
- ↑ 21.0 21.1 Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 35
- ↑ Clarence-Smith, W. G. The Economics of the Indian Ocean Slave Trade in the Nineteenth Century. 1989, page 103.
- ↑ Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 36
- ↑ Nicolle, David, "The Italian Invasion of Abyssinia 1935-1936", p. 8
- ↑ Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 109
- ↑ 26.0 26.1 Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 125
- ↑ Time Magazine, Re ed Imperatore, 18 May 1936
- ↑ Time Magazine, Re ed Imperatore, 18 May 1936
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, p. 129 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Barker-159" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
อ้างอิง
[แก้]- Baer, George W. (1976). Test Case: Italy, Ethiopia, and the League of Nations. Stanford, California: Hoover Institute Press, Stanford University. ISBN 0-8179-6591-2.
- Barker, A.J. (1971). Rape of Ethiopia, 1936. New York: Ballantine Books. pp. 160. ISBN 978-0345024626.
- De Bono E., La preparazione e le prime operazioni, Roma: Istituto Nazionale Fascista di Cultura, 1937.
- Gooch, John (2007). Mussolini and His Generals. Cambridge: Cambridge University press. pp. 660. ISBN 978-0521-85602-7.
- Graziani, R., Fronte del Sud, Milano: A. Mondadori, 1938.
- Haile Selassie I, Edited by Harold Marcus with others and Translated by Ezekiel Gebions with others (1999). My Life and Ethiopia's Progress: The Autobiography of Emperor Haile Selassie I, King of Kings and Lord of Lords, Volume II. Chicago: Research Associates School Times Publications. p. 190. ISBN 0-94839-040-9.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Kershaw, Ian, Hitler: 1889-1936: Hubris, New York: W. W. Norton & Company, 1999.
- Mockler, Anthony (2003). Haile Sellassie's War. New York: Olive Branch Press. ISBN 9781566564731.
- Nicolle, David (1997). The Italian Invasion of Abyssinia 1935-1936. Westminster, MD: Osprey. p. 48. ISBN 978-1-85532-692-7.
- Shinn, David Hamilton, Ofcansky, Thomas P., and Prouty, Chris (2004). Historical dictionary of Ethiopia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press. p. 633. ISBN 0-8108-4910-0.
- Starace, A., La marcia su Gondar Milano: A. Mondadori, 1937.
- {{cite book|first=Ian W. | last=Walker| title=Iron Hulls, Iron Hearts : Mussolini's elite armoured divisions in North Africa| publisher=Crowood| year=2003| location=Marlborough | isbn=1-86126-646-4}
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Appeal to The League of Nations (Wikisource full text)
- Speech to the League of Nations, June 1936 เก็บถาวร 2015-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (full text)
- Regio Esercito: La Campagna d'Etiopia
- A report by the International Committee of the Red Cross on the use of mustard gas by Italian forces.
- Mussolini's Invasion and the Italian Occupation
- Mussolini's Ethiopia Campaign เก็บถาวร 2004-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- OnWar: Second Italo–Abyssinian War 1935–1936
- Haile Selassie I, Part 2
- OneWorld Magazine: Hailé Selassié VS. Mussolini เก็บถาวร 2012-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Day the Angel Cried เก็บถาวร 2010-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Emperor Leaves Ethiopia
- Ascari: I Leoni di Eritrea/Ascari: The Lions of Eritrea. Second Italo-abyssinian war. Eritrea colonial history, Eritrean ascari pictures/photos galleries and videos, historical atlas...
- Time Magazine, Monday, 11 May 1936, Empire's End เก็บถาวร 2013-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Time Magazine, Monday, 18 May 1936, Occupation เก็บถาวร 2013-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Time Magazine, Monday, 18 May 1936, Re ed Imperatore เก็บถาวร 2013-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง
- สงครามเกี่ยวข้องกับทวีปแอฟริกา
- สงครามเกี่ยวข้องกับอิตาลี
- สงครามเกี่ยวข้องกับเอธิโอเปีย
- ประวัติศาสตร์อิตาลี
- ประวัติศาสตร์เอธิโอเปีย
- แอฟริกาตะวันออกของอิตาลี
- การบุกครอง
- การบุกครองโดยอิตาลี
- สมัยระหว่างสงคราม
- พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี
- เบนิโต มุสโสลินี
- สมเด็จพระจักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซที่ 1
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์