สงครามโปแลนด์–โซเวียต
สงครามโปแลนด์-โซเวียต | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองรัสเซีย | |||||||
![]() ทหารโปแลนด์กำลังยึดธงชัยของกองทัพแดงหลังยุทธการที่วอร์ซอ (ค.ศ. 1920) | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() ![]() |
![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
From ~50,000 in early 1919[1] to almost 800,000 in summer 1920[2] | From ~50,000 in early 1919[3] to ~738,000 in August 1920[4] | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
estimated 60,000 killed[5] 80,000 – 157,000 taken prisoner |
About 48,000 killed[8][9] 113,518 wounded[9] 51,351 taken prisoner[9] ------------------------ Names of Polish Armed Forces mortal casualties in period 1918 – 1920 totaling 47,055 |
สงครามโปแลนด์-โซเวียต (เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 – เดือนมีนาคม ค.ศ. 1921) เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างรัสเซียโซเวียตและยูเครนโซเวียตฝ่ายหนึ่งกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 และสาธารณรัฐประชาชนยูเครนอีกฝ่ายหนึ่งเหนือการควบคุมดินแดนซึ่งเทียบเท่ากับประเทศยูเครนและบางส่วนของประเทศเบลารุสปัจจุบัน สุดท้ายฝ่ายโซเวียต หลังการรุกไปทางตะวันตก ค.ศ. 1918–1919 หวังยึดครองโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ และในบางช่วงของสงครามก็ดูเป็นไปได้
ยูแซฟ ปิวซุดสกี (Józef Piłsudski) ประมุขแห่งรัฐโปแลนด์ รู้สึกว่าสบเวลาเหมาะในการขยายชายแดนโปแลนด์ไปทางตะวันออกให้ไกลที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตามด้วยสหพันธรัฐอินเตอร์มาเรียม (Intermarium) รัฐยุโรปตะวันออก-กลางที่มีโปแลนด์เป็นผู้นำให้เป็นกำแพงต่อการกำเนิดใหม่ของจักรวรรดินิยมเยอรมันและรัสเซีย ขณะเดียวกัน เลนินซึ่งมองโปแลนด์ว่าเป็นสะพานที่กองทัพแดงต้องข้ามเพื่อสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์อื่นและนำการปฏิวัติยุโรปอื่นอีก ใน ค.ศ. 1919 กองทัพโปแลนด์ควบคุมเวสเทิร์นยูเครนเป็นบริเวณกว้าง หลังเป็นผู้ชนะจากสงครามโปแลนด์–ยูเครน สาธารณรัฐประชาชนเวสเทิร์นยูเครน ซึ่งมี Yevhen Petrushevych เป็นผู้นำ พยายามสร้างรัฐยูเครนบนดินแดนซึ่งทั้งฝ่ายโปแลนด์และยูเครนอ้างสิทธิ์ ขณะเดียวกัน ยูเครนส่วนของรัสเซีย ซีมอน เปตลูย์รา (Symon Petliura) พยายามป้องกันและเสริมสร้างสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ แต่เมื่อบอลเชวิคเริ่มเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามกลางเมืองรัสเซีย พวกเขาเริ่มรุกไปทางตะวันตกสู่ดินแดนยูเครนส่วนพิพาท ทำให้กำลังของ เปตลูย์รา ถอยไปโปโดเลีย เมื่อสิ้น ค.ศ. 1919 มีการตั้งแนวร่วมชดเจนเมื่อ เปตลูย์รา ตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับปิลซุดสกี การปะทะชายแดนบานปลายระหว่างการรุกเคียฟของปิลซุดสกีในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 การรุกของโปแลนด์ถูกกองทัพแดงตีโต้ตอบสำเร็จในทีแรก ปฏิบัติการของโซเวียตขับกองทัพโปแลนด์ถอยไปทางตะวันตกถึงกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ ขณะที่หน่วยอำนวยการยูเครนหนีไปยุโรปตะวันตก ขณะเดียวกัน ตะวันตกกลัวว่ากองทัพโซเวียตที่เข้าใกล้ชายแดนเยอรมันเพิ่มความสนใจในสงครามของชาติตะวันตก กลางฤดูร้อน ดูเหมือนกรุงวอร์ซอจะเสียแน่นอน แต่ในกลางเดือนสิงหาคม กระแสก็พลิกอีกครั้ง เมื่อกองทัพโปแลนด์ได้ชัยอย่างคาดไม่ถึงและเด็ดขาดในยุทธการที่วอร์ซอ ในห้วงที่โปแลนด์รุกไปทางตะวันออก ฝ่ายโซเวียตขอเจรจาสันติภาพและสงครามยุติด้วยการหยุดยิงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1920
มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพริกา สนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1921 ซึ่งแบ่งดินแดนพิพาทระหว่างโปแลนด์และโซเวียตรัสเซีย สงครามนี้เป็นตัวตัดสินใหญ่ซึ่งชายแดนโซเวียต–โปแลนด์ระหว่างสงครามโลก ดินแดนกวางใหญ่ที่จัดสรรให้โปแลนด์ในสนธิสัญญาริกากลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อชายแดนตะวันออกของโปแลนด์ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนดใหม่ให้สอดคล้องใกล้เคียงกับแนวเคอร์ซอน (Curzon Line) ค.ศ. 1920
ดูเพิ่ม[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อresult
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Davies 2003, p. 39
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdavies_WERS_142
- ↑ Davies 2003, p. 41
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDavies_WERS-196;202pl
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRummel1990
- ↑ NDAP 2004 Official Polish government note about 2004 Rezmar, Karpus and Matveev book.
- ↑ Matveev 2006
- ↑ Norman Davies (1972). White eagle, red star: the Polish-Soviet war, 1919–20. Macdonald and Co. p. 247. สืบค้นเมื่อ 23 October 2011.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKarpus_zwyciezcy
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สงครามโปแลนด์–โซเวียต |
- Electronic Museum of the Polish-Soviet War
- The Bolsheviks and the "Export of Revolution": The Russo-Polish War
- Bibliography of the Polish-Soviet War by Anna M. Cienciala, University of Kansas
- Russo-Polish War 1919–20 at Onwar.com
- Maps of the Polish-Bolshevik War: Campaign Maps (Battle of Warsaw) by Robert Tarwacki ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (archived ตุลาคม 27, 2009).
- A Knock on the Door – chapter three of Wesley Adamczyk's memoirs of the Polish-Soviet war, When God Looked.
- Sławomir Majman, War and Propaganda, Warsaw Voice, 23 August 1998
- The Russo-Polish War, 1919–1920: A Bibliography of Materials in English by John A. Drobnicki. Originally Published in the Polish Review, XLII, no. 1 (Mar. 1997), 95–104