ฟรันซิสโก ฟรังโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพลสูงสุด
ฟรันซิสโก ฟรังโก
จอมพลสูงสุด ฟรันซิสโก ฟรังโก ค.ศ. 1964
เกาดีโญแห่งสเปน
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน 1939 – 20 พฤศจิกายน 1975
นายกรัฐมนตรี เขาเอง , ลุยส์ การ์เรโร บลังโก , ฆาร์ลอส อาเรียส นาวาร์โร
ก่อนหน้า มานูเอล อาซานญ่า
(ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสเปนที่ 2)
ถัดไป เจ้าชายควน การ์โลส
(พระมหากษัตริย์สเปน)
นายกรัฐมนตรีสเปน
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม 1938 – 9 มิถุนายน 1973
ผู้นำ เขาเอง
รอง ฟรันซิสโก โกเมซ-จอร์ดานา
อกุสติน มูนอซ กรานเดส
ลุยส์ การ์เรโร บลังโก
ก่อนหน้า ฆวน เนกริน (นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสเปนที่ 2)
ถัดไป ลุยส์ การ์เรโร บลังโก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด Francisco Franco y Bahamonde
4 ธันวาคม 1892
เฟร์รอล , อาโกรุญญา , ราชอาณาจักรสเปน
เสียชีวิต 20 พฤศจิกายน 1975 (82 ปี)
มาดริด , รัฐสเปน
ที่ไว้ศพ Valle de los Caídos
40°38′31″N 4°09′19″W / 40.641944°N 4.155278°W / 40.641944; -4.155278
เชื้อชาติ สเปน
พรรค FET y de las JONS (Falange)
คู่สมรส Carmen Polo
บุตร María del Carmen
ที่อยู่ El Pardo, Madrid
ศาสนา โรมันคาทอลิก
ลายมือชื่อ Francisco Franco Signature.svg
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
Spain
สังกัด Coat of arms of Spain (1945–1977).svg กองทัพสเปน
ประจำการ 1907–1975
ยศ 2ej.png Chief of the General Staff
บังคับบัญชา All (Generalissimo/supreme commander)
การยุทธ์ สงครามริฟ
สงครามกลางเมืองสเปน
สงครามอิฟนี่
^ For the handover to Juan Carlos I (King of Spain)

ฟรันซิสโก เปาลีโน เอร์เมเนคิลโด เตโอดูโล ฟรังโก อี บาอามอนเด ซัลกาโด ปาร์โด (สเปน: Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco y Bahamonde Salgado Pardo) และ เอลเกาดิโย หรือ "ท่านผู้นำ" (El Caudillo) (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2435 - ถึงแก่อสัญกรรม 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เป็นจอมพลและผู้เผด็จการชาวสเปนในช่วงปี พ.ศ. 2479-2518 เกิดที่เมืองเอลเฟร์โรล แคว้นกาลิเซีย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยโตเลโดในปี พ.ศ. 2453 ได้รับประสบการณ์ในการรบเป็นอย่างมากในสงครามโมร็อกโก และได้เป็นนายพลที่หนุ่มที่สุดของประเทศสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2469 ระหว่างสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2479) ฟรังโกได้เป็นผู้นำทำการปราบปรามกบฏชาวเหมืองอัสตูรีอัส และในปี พ.ศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะเสนาธิการทหาร

ในปี พ.ศ. 2479 ฟรังโกได้เข้าร่วมสมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายกบฏเพื่อต่อต้านรัฐบาล (เลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2479) และลงมือก่อการกบฏเมื่อวันที่ 17-18 กรกฎาคมซึ่งได้กลายเป็นชนวนสงครามกลางเมืองสเปน (พ.ศ. 2479-2482) ความเป็นผู้นำของฟรังโกในกองทัพแอฟริกาที่สำคัญยิ่งและความใกล้ชิดสนิทสนมกับอิตาลีและเยอรมนีซึ่งเข้าข้างฝ่ายกบฏ ทำให้ฟรังโกกลายเป็นนายพลผู้บัญชาการกองกำลังฝ่ายกบฏและเป็นประมุขประเทศของคณะรักชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม 2479 - เมษายน 2482 ฟรังโกได้เป็นผู้นำคณะชาติสู่ชัยชนะ และนับแต่นั้นมาก็ได้วางรากฐานระบอบเผด็จการที่ยั่งยืนมาจนถึงวันสิ้นชีวิต

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ระยะแรกฟรังโกยืนอยู่ข้างเยอรมนีและอิตาลีในลักษณะผู้ไม่เข้าร่วมประกาศสงครามมากว่าการเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2486 ฟรังโกได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย นำเอาสเปนออกจากการเกี่ยวข้องกับฝ่ายอักษะได้อย่างชาญฉลาด ระหว่าง พ.ศ. 2492-2502 การต่อต้านคอมมิวนิสต์ของฟรังโกทำให้สเปนสามารถเชื่อมสัมพันธไมตรีได้เป็นอย่างดีกับฝ่ายอำนาจตะวันตก

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไกล ในปี พ.ศ. 2512 จอมพลฟรังโกได้ประกาศให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า หากตนสิ้นชีวิตไปแล้ว ขอให้มีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่โดยให้มีการปราบดาภิเษก "เจ้าชายควน การ์โลส" พระราชนัดดาของกษัตริย์องค์สุดท้ายขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สเปนสืบต่อไป ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี หลังท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมนั้น ความเป็นเผด็จการของสเปนได้หายไปอย่างที่อาจเรียกได้เกือบไม่มีร่องรอยให้เห็น

ดูเพิ่ม[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Blinkhorn, Martin. (1988) Democracy and Civil war in Spain 1931–1939 Routledge. ISBN 978-0415006996.
  • Carroll, Warren H. (2004) The Last Crusade: Spain 1936 Christendom Press. ISBN 978-0931888670.
  • Cerdá, Néstor. (October 2011) "Political Ascent and Military Commander: General Franco in the Early Months of the Spanish Civil War, July–October 1936". Journal of Military History. 75 (4) pp. 1125–1157.
  • Jerez Mir, Miguel; Luque, Javier. (2014) eds. Costa Pinto, António; Kallis, Aristotle. Rethinking Fascism and Dictatorship in Europe. "State and Regime in Early Francoism, 1936–45: Power Structures, Main Actors and Repression Policy". ISBN 978-1137384416 Palgrave Macmillan. pp. 176–197.
  • Lines, Lisa. (2017) "Francisco Franco as Warrior: Is It Time for a Reassessment of His Military Leadership?" Journal of Military History 81 (2) pp. 513–534.
  • Tussell, Javier(1995) Franco, España y la II Guerra Mundial: Entre el Eje y la Neutralidad. Spanish. Ediciones Temas de Hoy. ISBN 978-8478805013.
  • Tusell, Javier. (1992) Franco en la guerra civil – Una biografia política Spanish. Editorial Tusquets. ISBN 978-8472236486.
  • Tusell, Javier. (1996) La Dictadura de Franco Spanish. Altaya. ISBN 978-8448706371.

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]