ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน
ส่วนหนึ่งของ การรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์ในช่วงแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารโดดร่มของฝ่ายสัมพันธมิตรได้โดดร่มกันทั่วเหนือน่านฟ้าเนเธอร์แลนด์, ในช่วงปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน
วันที่17–25 กันยายน ค.ศ. 1944
สถานที่
ไอนด์โฮเวนไนเมเคินอาร์เนมในพื้นที่ฉนวน, เนเธอร์แลนด์
ผล ปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรล้มเหลว[a][b]
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • กองกำลังทหารโดดร่ม: สามกองพล & หนึ่งกองพลน้อยอิสระ
    ทหาร 41,628 นาย;[6]
  • ยานเกราะ: สองกองพลน้อย,
  • ทหารราบยานยนต์: แปดกองพลน้อย[7]
ทหาร 100,000 นาย[c]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 15,326–17,200 นาย
รถถังถูกทำลาย 88 คัน[d]
สูญเสียเครื่องบินและเครื่องร่อน 377 ลำ[10][11]
เสียชีวิต 3,300–8,000 นาย[12]
รถถัง/ปืนใหญ่อัตตราจรถูกทำลาย 30 คัน
เครื่องบินถูกทำลาย 159 ลำ[13]

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ประสบความสำเร็จในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการสู้รบในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 25 กันยายน ค.ศ. 1944 มันเป็นความคิดของจอมพลมอนต์โกเมอรีและการสนับสนุนอย่างมากมายของวินสตัน เชอร์ชิลและแฟรงกลิน รูสเวสต์ ปฏิบัติการการโดดร่มซึ่งถูกดำเนินโดยกองทัพขนส่งทางอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรที่หนึ่ง(First Allied Airborne Army) กับปฏิบัติการทางบกโดยกองทัพน้อยที่ 30 ของกองทัพบกบริติชที่สอง เป้าหมายคือการสร้างส่วนที่ยื่นออกมาในระยะทางประมาณ 64 ไมล์ (103 กิโลเมตร) ในการเข้าสู่ดินแดนเยอรมัน โดยมีหัวสะพานในการข้ามแม่น้ำไรน์ การสร้างเพื่อเป็นเส้นทางการบุกครองของฝ่ายสัมพันธมิตรในการเข้าสู่เยอรมนีทางตอนเหนือ[4] สิ่งนี้จะบรรลุผลได้โดยการเข้ายึดสะพานทั้งเก้าแห่งด้วยกองกำลังทหารโดดร่มพร้อมกับกองกำลังทางบกที่เข้ามาสมทบอย่างรวดเร็วในการข้ามสะพาน ปฏิบัติการนี้ได้ประสบความสำเร็จในการปลดปล่อยเมืองไอนด์โฮเวน และไนเมเคินของเนเธอร์แลนด์พร้อมกับหลายเมืองเล็ก ๆ ได้สร้างส่วนที่ยื่นออกมาในระยะทางได้แค่เพียง 60 ไมล์ (97 กิโลเมตร) ในการเข้าสู่ดินแดนเยอรมัน ที่ตั้งฐานยิงจรวดวี-2 ที่จำกัด มันกลับล้มเหลว อย่างไรก็ตาม เพื่อเข้ายึดหัวสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ โดยการรุกคืบได้หยุดชะงักลงที่แม่น้ำ

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ประกอบไปด้วยสองปฏิบัติการขนาดย่อย คือ

มาร์เก็ต : การจู่โจมของพลทหารโดดร่มเพื่อเข้ายึดครองสะพานที่สำคัญ

การ์เดน : การโจมตีทางบกที่เคลื่อนที่เร็วในการข้ามสะพานที่ยึดมาได้ เพื่อเป็นการสร้างส่วนที่ยื่นออกมา

การโจมตีครั้งนี้เป็นปฏิบัติการการโดดร่มที่ใหญ่ที่สุดจนถึงจุดนั้นในสงครามโลกครั้งที่สอง[e]

เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายพลไอเซนฮาว คือการโอบล้อมหัวใจหลักของเขตอุตสาหกรรมของเยอรมัน พื้นที่รูห์ ในรูปขบวนแบบก้ามปู ทางเหนือสุดของปากก้ามปูจะอ้อมไปทางเหนือสุดของแนวซีคฟรีท ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าสู่เยอรมนีได้โดยง่ายขึ้น โดยผ่านทางพื้นที่ราบทางตอนเหนือ ซึ่งจะทำให้สามารถทำสงครามได้เร็วขึ้น เป้าหมายหลักของปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนคือการสร้างปีกทางเหนือสุดที่พร้อมเคลื่อนที่ในการเข้าลึกสู่เยอรมนี กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรจะมุ่งไปทางเหนือจากเบลเยียม ระยะทาง 60 ไมล์ (97 กิโลเมตร) ผ่านเนเธอร์แลนด์ ข้ามแม่น้ำไรน์ และรวบรวมกำลังกันในทางตอนเหนือของเมืองอาร์เนมที่ชายแดนเนเธอร์แลนด์/เยอรมนี เพื่อเตรียมพร้อมที่จะปิดปากทางของวงล้อม[15]

ปฏิบัติการครั้งนี้จะต้องใช้กองกำลังทหารโดดร่มจำนวนมากมาย โดยมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์คือเพื่อปกป้องสะพานและเพื่อให้หน่วยกองกำลังยานเกราะทางภาคพื้นดินได้รุกคืบไปอย่างรวดเร็วเพื่อรวมตัวกันในทางตอนเหนือของเมืองอาร์เนม ปฏิบัติการดังกล่าวจำเป็นจะต้องเข้ายึดสะพานโดยทหารโดดร่มในการข้ามแม่น้ำเมิซ แขนสองข้างของแม่น้ำไรน์(แม่น้ำวาลล์และแม่น้ำโลเออร์) พร้อมกับข้ามลำคลองและแควน้ำเล็ก ๆ หลายแห่ง อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม กองกำลังทหารโดดร่มขนาดใหญ่ กองกำลังทางภาคพื้นดินขนาดเบาโดยมีเพียงกองทัพน้อยหน่วยเดียวที่เคลื่อนทีไปทางเหนือของไอนด์โฮเวน กองทัพน้อยที่ 30 กองทัพน้อยที่ 30 ได้นำยานพาหนะจำนวน 5,000 คัน ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ทอดสะพานข้ามแม่น้ำและทหารช่างจำนวน 9,000 นาย[16]

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดสะพานหลายแห่ง ระหว่างเมืองไอนด์โฮเวน และไนเมเคิน ในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการ การรุกคืบของกองกำลังทางภาคพื้นดินของกองทัพน้อยที่ 30 ภายใต้การนำโดยพลโท Brian Horrock นั้นล่าช้า เนื่องจากความล้มเหลวครั้งแรกของหน่วยทหารโดดร่มในการปกป้องสะพานที่ Son en Breugel และไนเมเคิน กองทัพเยอรมันได้ทำลายสะพานข้ามคลอง Wilhelmina ที่ Son ก่อนที่จะถูกเข้ายึดครองโดยกองพลส่งทางอากาศที่ 101 ของสหรัฐ และสะพานเบลีย์ที่ถูกทำขึ้นได้เพียงแค่บางส่วนซึ่งถูกสร้างขึ้นบนคลองโดยทหารช่างบริติช การรุกคืบของกองทัพน้อยที่ 30 นั้นล่าช้าไป 12 ชม. อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ทำเวลา เดินทางมาถึงไนเมเคินตามเวลาที่กำหนด กองพลขนส่งทางอากาศที่ 82 ของสหรัฐ นั้นล้มเหลวในการเข้ายึดสะพานทางหลวงหลักในการข้ามแม่น้ำวาลล์ที่ไนเมเคิน ก่อนวันที่ 20 กันยายน ทำให้การรุกคืบล่าช้าไป 36 ชม. กองทัพน้อยที่ 30 ต้องเข้าไปยึดสะพานด้วยตัวพวกเขาเองก่อน แทนที่จะเร่งรีบข้ามสะพานที่ยึดมาเพื่อไปยังอาร์เนม ที่ซึ่งพลทหารโดดร่มบริติชยังคงยึดครองทางตอนเหนือสุดของสะพาน[17]

ที่จุดทางตอนเหนือของปฏิบัติการการโดดร่ม กองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 ของบริติชได้เผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรง ด้วยความล่าช้าในการเข้ายึดสะพานที่ไนเมเคินและการสร้างสะพานเบลีย์ที่ Son ทำให้กองทัพเยอรมันมีเวลา (กองพลยานเกราะที่ 9 แห่งเอ็สเอ็ส "โฮเอินชเตาเฟิน" และกองพลยานเกราะที่ 10 แห่งเอ็สเอ็ส "ฟรุนทซ์แบร์ค" ซึ่งอยู่ในพื้นที่อาร์เนม ในช่วงเริ่มต้นของการโดดร่ม) เพื่อจัดระเบียบในการโจมตีตอบโต้กลับของพวกเขา[18] กองกำลังขนาดเล็กของบริติชสามารถเข้ายึดทางเหนือสุดของสะพานถนนอาร์เนม การไม่ยอมใช้สะพานที่ไม่เสียหายต่อกองทัพเยอรมัน ภายหลังจากกองกำลังทางภาคพื้นดินล้มเหลวในช่วยเหลือทหารโดดร่มตามเวลา พวกเขาถูกบุกในวันที่ 21 กันยายน ในเวลาเดียวกัน เมื่อรถถังของกองทัพน้อยที่ 30 ได้เคลื่อนที่ผ่านสะพานไนเมเคิน ซึ่งช้าไป 36 ชม. ภายหลังจากยึดครองได้จากเยอรมัน ทหารโดดร่มของบริติชที่สะพานอาร์เนมก็ได้ยอมจำนน ซึ่งไม่สามารถยึดครองได้อีกต่อไป[19] ส่วนที่เหลือของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 ของบริติชที่ติดอยู่ในวงล้อมขนาดเล็ก ๆ ทางตะวันตกของสะพานอาร์เนม ซึ่งได้ถูกอพยพ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ภายหลังจากประสบความสูญเสียอย่างหนัก

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล้มเหลวในการข้ามแม่น้ำไรน์ แม่น้ำยังคงเป็นอุปสรรคต่อการรุกเข้าสู่เยอรมนี จนกระทั่งการรุกที่ Remagen, Oppenheim, และ Rees และ Wesel ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ความล้มเหลวของมาร์เก็ตการ์เดน ในการตั้งหลักบนแม่น้ำไรน์ เป็นการดับความหวังของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะยุติสงครามภายในช่วงวันคริสต์มาส ค.ศ. 1944[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Dutch forces most involved in Market Garden were the Royal Netherlands Motorized Infantry Brigade (attached to British XXX Corps) and the Dutch resistance.
  2. Warren 1956, p. 146.
  3. Westwall 1945.
  4. 4.0 4.1 Wilmot 1997, p. 525.
  5. Wilmot 1997, p. 523.
  6. Reynolds 2001, p. 173.
  7. Antony Beevor, 2020, Order of Battle: Operation Market Garden. (Access: 15 March 2020.)
  8. Reynolds 2001, pp. 100–01.
  9. MacDonald 1963, p. 199, and endnotes.
  10. MacDonald 1963, p. 199.
  11. "Operation Market Garden Netherlands 17–25 September 1944" (PDF). gov.uk/.
  12. Reynolds 2001, pp. 173–74; Badsey 1993, p. 85; Kershaw 2004, pp. 339–40.
  13. Staff 1945, p. 32.
  14. MacDonald 1963, p. 132.
  15. Memoirs of Field-Marshal Montgomery by Bernard Montgomery, Chapter 16 Battle for Arnhem
  16. The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 4 The Road to Arnhem
  17. The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 5 Nijmegen
  18. Middlebrook 1995, pp. 64–65
  19. The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 5 Nijmegen
  20. Chant, Chris (1979). Airborne Operations. An Illustrated Encyclopedia of the Great Battles of Airborne Forces. Salamander books, p. 108 and 125. ISBN 978-0-86101-014-1


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน