ผู่อี๋
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ เพราะใช้โปรแกรมแปลมา คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ผู่อี๋ 溥儀 | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์จักรพรรดิผู่อี๋ ป. ทศวรรษ 1930–1940 | |||||||||||||||||||||
จักรพรรดิต้าชิง | |||||||||||||||||||||
รัชสมัยที่หนึ่ง | 2 ธันวาคม ค.ศ. 1908 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 | ||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิกวังซฺวี่ | ||||||||||||||||||||
ถัดไป | ล้มเลิกราชาธิปไตย | ||||||||||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการ |
| ||||||||||||||||||||
อัครมหาเสนาบดี | |||||||||||||||||||||
รัชสมัยที่สอง | 1 – 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1917[a] | ||||||||||||||||||||
อัครมหาเสนาบดี | จาง ซวิน | ||||||||||||||||||||
จักรพรรดิแมนจู | |||||||||||||||||||||
ครองราชย์ | 1 มีนาคม ค.ศ. 1934 – 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 | ||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ตัวเอง ในฐานะผู้บริหารสูงสุด | ||||||||||||||||||||
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง | ||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||||||||
ผู้บริหารสูงสุดแห่งแมนจู | |||||||||||||||||||||
ในตำแหน่ง | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 – 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 | ||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง | ||||||||||||||||||||
ถัดไป | ตัวเอง ในฐานะจักรพรรดิ | ||||||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | เจิ้ง เสี้ยวซฺวี | ||||||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 07 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 ตำหนักฉุนชินหวัง กรุงปักกิ่ง จักรวรรดิชิง | ||||||||||||||||||||
สวรรคต | 17 ตุลาคม ค.ศ. 1967 โรงพยาบาลวิทยาลัยสหการแพทย์ปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน | (61 ปี)||||||||||||||||||||
ฝังพระศพ | สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน ต่อมานำอัฐิไปฝัง ณ สุสานราชวงศ์ฮว่าหลง มณฑลเหอเป่ย์ | ||||||||||||||||||||
มเหสี |
| ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | อ้ายซินเจว๋หลัว | ||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | |||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | ฉุนชินหวังไจ้เฟิง | ||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | กัวเอ่อเจีย โย่วหลัน (สืบสายโลหิต) จักรพรรดินีเสี้ยวติ้งจิ่ง (มารดาบุญธรรม) Wang Lianshou (มารดาบุญธรรม) | ||||||||||||||||||||
ตราประทับ[b] | |||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 溥儀 | ||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 溥仪 | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
จักรพรรดิเซฺวียนถ่ง | |||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 宣統帝 | ||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 宣统帝 | ||||||||||||||||||||
|
ผู่อี๋[c] (7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 – 17 ตุลาคม ค.ศ. 1967) เป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจีน ครองราชย์เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 11 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง พระองค์ครองราชย์เมื่อมีพระชนมพรรษาเพียง 2 พรรษาใน ค.ศ. 1908 จนกระทั่งถูกบังคับให้สละราชสมบัติเมื่อพระชนมพรรษา 6 พรรษาใน ค.ศ. 1912 เนื่องจากการปฏิวัติซินไฮ่ ภายใต้การครองราชย์ในรัชสมัยแรกทรงมีพระปรมาภิไธยว่า จักรพรรดิเซฺวียนถ่ง (จีน: 宣統帝) อันเป็นชื่อรัชศกที่หมายถึง "การประกาศความเป็นหนึ่งเดียว"
ผู่อี๋กลับขึ้นสู่ราชสมบัติต้าชิงอีกครั้งจากความช่วยเหลือของนายพลจาง ซวิน ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 พระองค์อภิเษกสมรสแบบคลุมถุงชนกับจักรพรรดินีวั่นหรงใน ค.ศ. 1922 ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1924 พระองค์ทรงถูกเนรเทศออกจากพระราชวังต้องห้ามและหนีหลบภัยไปที่เทียนจิน ณ ช่วงเวลานี้ อดีตจักรพรรดิเริ่มเข้าประจบทั้งขุนศึกที่กำลังต่อสู้กันเพื่อควบคุมสาธารณรัฐจีน กับญี่ปุ่นซึ่งปรารถนาทีทจะครอบครองจีนมาอย่างช้านาน เมื่อญี่ปุ่นเข้าบุกครองแมนจูเรียใน ค.ศ. 1932 ผู่อี๋จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวที่ก่อตั้งโดยญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อรัชศกว่า "ต้าถง"
ต่อมาผู่อี๋ได้ประกาศตนเป็นจักรพรรดิแมนจูใน ค.ศ. 1934 โดยนักเขียน เวิน ยฺเหวียนหนิง ได้กล่าวเสียดสีผู่อี๋ว่า "เป็นผู้ถือสถิติโลกสำหรับจำนวนครั้งที่มนุษย์คนหนึ่งจะสามารถขึ้นครองราชย์และสละราชสมบัติได้"[1] ผู่อี๋มีอำนาจปกครองแต่ในนามภายใต้ชื่อรัชศก "คังเต๋อ" จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองใน ค.ศ. 1945 โดยในรัชสมัยที่สามนี้ พระองค์ทรงถือว่าเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดของญี่ปุ่น เนื่องจากพระองค์มีบทบาทเพียงลงนามในกฤษฎีกาที่ญี่ปุ่นมอบให้เท่านั้น ผู่อี๋ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประทับอยู่ ณ พระราชวังภาษีเกลือ ที่ซึ่งพระองค์ทรงสั่งข่มเหงข้าราชบริพารอยู่เป็นประจำ พระองค์เริ่มเหินห่างจากจักรพรรดินีวั่นหรงมากขึ้น เนื่องจากการเสพติดฝิ่นของพระมเหสีในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้มีการรับนางสนมเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับคู่รักชาย ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสงครามใน ค.ศ. 1945 ผู่อี๋จึงลี้ภัยออกจากเมืองหลวง แต่สุดท้ายก็ถูกกองทัพโซเวียตที่เข้ายึดครองประเทศจับกุมตัวไว้ ผู่อี๋ได้รับการส่งตัวผู้ให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1950 ซึ่งหลังจากการจับกุม ผู่อี๋ก็มิได้พบเห็นจักรพรรดินีวั่นหรงอีกเลย เนื่องจากพระองค์ถึงแก่กรรมด้วยความอดอยากในเรือนจําจีนเมื่อ ค.ศ. 1946
ผู่อี๋เป็นจำเลยในการพิจารณาคดีโตเกียว และต่อมาถูกคุมขังและได้รับการศึกษาใหม่ในฐานะอาชญากรสงครามเป็นเวลา 10 ปี โดยหลังจากการปล่อยตัวใน ค.ศ. 1959 ผู่อี๋ได้ประพันธ์บันทึกความทรงจำ (จากความช่วยเหลือของนักเขียนผี) และเข้าเป็นสมาชิกกิตติมาศักดิ์ประจำสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนและสภาประชาชนแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงเวลาที่อยู่ในเรือนจำได้เปลี่ยนแปลงความคิดของผู่อี๋เป็นอย่างมาก ซึ่งพระองค์ทรงแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งสําหรับการกระทําขณะเป็นจักรพรรดิ ผู่อี๋เสด็จสวรรคตเยี่ยงสามัญชนใน ค.ศ. 1967 และอัฐิของพระองค์ได้รับการฝังไว้ในสุสานเชิงพาณิชย์ใกล้กับสุสานหลวงตะวันตกแห่งราชวงศ์ชิง
บรรพชน
[แก้]สายบิดา
[แก้]ปู่ทวดของผู่อี๋คือจักรพรรดิเต้ากวัง หลังจากนั้นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง คือจักรพรรดิเสียนเฟิง ก็ขึ้นสืบราชสมบัติต่อ [2][3]
ปู่ของผู่อี๋ ฉุนชินหวังอี้เซฺวียน เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 7 ของจักรพรรดิเต้ากวัง และเป็นพระโสทรานุชากับจักรพรรดิเสียนเฟิง ภายหลังจากพระจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตแล้ว จักรพรรดิถงจื้อ พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระจักรพรรดิเสียนเฟิงได้ขึ้นสืบราชสมบัติ[4]
จักรพรรดิถงจื้อสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 18 พรรษา โดยไม่มีพระราชโอรส และผู้ที่มาสืบราชสมบัติต่อคือ จักรพรรดิกวังซวี่ โอรสในฉุนชินหวังอี้เซฺวียน และท่านผู้หญิงเย่เหอนาลา วานเจิน (ขนิษฐาในพระนางซูสีไทเฮา) สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่สวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส[5]
ผู่อี๋ จึงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี โดยผู่อี๋เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ของฉุนชินหวังไจ้เฟิง ซึ่งเป็นโอรสของอี้เซฺวียน และท่านผู้หญิงหลิงกิยา พระสนมของพระองค์ เดิมท่านผู้หญิงหลิงกิยาเคยเป็นคนรับใช้ที่ตำหนักของเจ้าชายฉุนอี้เซฺวียน พื้นเพเป็นชาวฮั่นแซ่หลิว (劉) และเมื่อเป็นสนมของฉุนชินหวังจึงเปลี่ยนเป็นชื่อแมนจูว่า หลิงกิยา เพราะฉะนั้นฉุนชินหวังไจ้เฟิง จึงเป็นพี่น้องร่วมชนกเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นทายาทสืบราชบัลลังก์ที่อยู่ในลำดับแรก[6]
ผู่อี๋เป็นสมาชิกราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัวในสายที่ผูกพันกันแน่นกับเผ่าเย่เหอนาลาของพระนางซูสีไทเฮา พระนัดดาของพระนางซูสีไทเฮา คือจักรพรรดินีหลงยฺวี่ พระพันปีหลวง ก็เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิกวังซวี่
พระอนุชาของผู่อี๋คือ เจ้าชายผู่เจี๋ย ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระญาติของจักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่น คือ ฮิโระ ซางะ ซึ่งกฎมณเฑียรบาลในเรื่องการสืบราชสมบัตินั้นให้ผู่เจี๋ยสืบราชบัลลังก์จากผู่อี๋ซึ่งไม่มีบุตรได้[7][8]
เจ้าชายผู่เริ่น พระอนุชาของพระองค์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นจีน คือ จิน โหย่วจือ อาศัยอยู่ที่ประเทศจีน โดยในปี 2006 จิน โหยว่จือได้ยื่นฟ้องดำเนินคดีต่อศาลเกี่ยวกับสิทธิในรูปของผู่อี๋และความเป็นส่วนตัว โดยได้กล่าวอ้าวว่าสิทธิของเขาได้ถูกละเมิดจากงานจัดแสดง "จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายและราชวงศ์"[9]
ส่วนญาติห่าง ๆ ของผู่อี๋ คือ ผู่ เซี่ยจ้าย[10] เป็นนักดนตรีซึ่งเล่นกู่เจิ้งและเป็นศิลปินภาพเขียนจีน[11]
สายมารดา
[แก้]พระราชมารดาของผู่อี๋คือ โย่วหลัน เป็นลูกสาวของ หรงลู่ รัฐบุรุษและนายพลจากเผ่ากวาเอ่อร์เจีย โดยยงลู่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำของสายอนุรักษนิยมในราชวงศ์ชิง และเป็นผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์ของพระนางซูสีไทเฮา โดยพระนางได้ตอบแทนความซื่อสัตย์ของหรงลู่ จึงได้ให้บุตรสาวของเขา (พระมารดาของผู่อี๋) เสกสมรสเพื่อเข้ามาในกลุ่มราชวงศ์
เผ่ากวาเอ่อร์เจีย เป็นหนึ่งในเผ่าที่ทรงอำนาจมากที่สุดของชาวแมนจูในสมัยราชวงศ์ชิง แม่ทัพเอ๋าไป้ ผู้บัญชาการทางทหารผู้ทรงอิทธิพลและรัฐบุรุษซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการระหว่างต้นรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี ก็มาจากเผ่ากวาเอ่อร์เจีย[12]
พระนามและพระเกียรติยศ
[แก้]พระนาม
[แก้]ชื่อของผู่อี๋สะกดเป็นอักษรโรมันได้เป็น "Puyi" หรือ "Pu-yi" ส่วนในภาษาไทยนั้นนิยมเขียนว่า "ปูยี" แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการออกเสียงให้ใกล้เคียงกับภาษาจีนว่า "ผู่อี๋" พระนามหรือชื่อตามธรรมเนียมของแมนจูหลีกเลี่ยงที่จะใช้ชื่อเผ่าหรือชื่อสกุลกับชื่อตัวพร้อมกัน ซึ่งขัดแย้งกับประเพณีของจีน โดยประเพณีแล้วชื่อของผู้ปกครองมักเป็นคำต้องห้าม การกล่าวชื่อตัวของอดีตจักรพรรดิหรือแม้กระทั่งการใช้อักษรจีนจากพระนาม ก็อาจจะถูกลงโทษได้ภายใต้กฎหมายประเพณีโบราณของจีน ภายหลังจากผู่อี๋ถูกถอดอิสริยศเนื่องจากถูกขับไล่ออกจากพระราชวังต้องห้ามในปีค.ศ. 1924 ผู่อี๋ ก็ใช้ชื่อว่า นายผู่อี๋ หรือ มิสเตอร์ผู่อี๋ (Mr. Pu-yi; จีนตัวย่อ: 溥仪先生; จีนตัวเต็ม: 溥儀先生; พินอิน: Pǔyí Xiānsheng) ส่วนชื่อสกุล อ้ายซินเจว๋หลัว ไม่ใคร่มีผู้ใดใช้เรียก
ผู่อี๋มีนามภาษาอังกฤษว่า เฮนรี (Henry) ซึ่งพระอาจารย์ชาวสกอตแลนด์ เรจินัล จอห์นสตัน เป็นผู้คัดเลือกจากพระนามของกษัตริย์อังกฤษตั้งถวายให้ หลังจากที่พระองค์ทรงร้องขอ[13][14]
คำนำหน้านามและพระอิสริยยศ
[แก้]เมื่อดำรงตำแหน่งจักรพรรดิจีนเมื่อระหว่างปีค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1912 และระหว่างการฟื้นฟูราชวงศ์ชิงระยะสั้นในปีค.ศ. 1917 ศักราชในรัชสมัยพระองค์ใช้ชื่อว่า "เซฺวียนถ่ง" และพระนามของพระองค์ก็ถูกเรียกว่า "จักรพรรดิเซฺวียนถ่ง" (จีนตัวย่อ: 宣统皇帝; จีนตัวเต็ม: 宣統皇帝; พินอิน: Xuāntǒng Huángdì; เวด-ไจลส์: Hsüan1-t'ung3 Huang2-ti4) ในระหว่างการขึ้นครองราชสมบัติในสองช่วงเวลาดังกล่าว
ในฐานะที่ผู่อี๋เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ครองอำนาจของจีน ผู้อี๋ยังเป็นที่รู้จักในฐานะ "จักรพรรดิพระองค์สุดท้าย" (จีน: 末代皇帝; พินอิน: Mòdài Huángdì; เวด-ไจลส์: Mo4-tai4 Huang2-ti4) ในประเทศจีนและทั้งโลก บางส่วนก็เรียนขานผู่อี๋ว่า "จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง" (จีน: 清末帝; พินอิน: Qīng Mò Dì; เวด-ไจลส์: Ch'ing1 Mo4-ti4)
เนื่องจากการสละราชสมบัติ ผู่อี๋ยังถูกเรียกว่า "ซุนตี้" (จีน: 遜帝; พินอิน: Xùn Dì; แปลตรงตัว: "จักรพรรดิสละราชย์") หรือ "เฟ่ยตี้" (จีนตัวย่อ: 废帝; จีนตัวเต็ม: 廢帝; พินอิน: Fèi Dì; แปลตรงตัว: "จักรพรรดิที่ถูกถอด") หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "ชิง" (จีน: 清; พินอิน: Qīng) ซึ่งเติมด้านหน้าคำทั้งสองดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู่อี๋เป็นสมาชิกราชวงศ์ชิง
เมื่อผู่อี๋ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองของประเทศแมนจู ในขณะดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารสูงสุดนั้น ได้มีการใช้ชื่อศักราชว่า "ต้าถ่ง" (大同) และเมื่อผู่อี๋ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิของแมนจูตั้งแต่ปีค.ศ. 1934 ถึง 1945 ใช้ชื่อศักราชว่า "คังเต๋อ" (康德) และพระองค์ก็เป็นที่รู้จักในพระนาม "จักรพรรดิคังเต๋อ" (康德皇帝) ในช่วงเวลาที่ขึ้นครองราชสมบัติ
ประวัติ
[แก้]จักรพรรดิจีน (1908–1912)
[แก้]ผู่อี๋ ถูกซูสีไทเฮาเลือกให้เป็นจักรพรรดิในขณะที่พระนางประชวรหนักอยู่บนพระแท่นบรรทม[5] ผู่อี๋ขึ้นเป็นจักรพรรดิในขณะที่มีพระชนมายุ 2 พรรษากับอีก 10 เดือน ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1908 มีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซฺวียนถ่ง ชีวิตในการเป็นจักรพรรดิของพระองค์เริ่มต้นขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของสำนักราชวังมายังตำหนักเจ้าชายฉุนเพราะนำตัวพระองค์ไปเป็นจักรพรรดิ โดยผู่อี๋ได้ทำการขัดขืนหรือกรีดร้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ของพระราชวังสั่งให้ขันทีอุ้มพระองค์[15] ฉุนชินหวังพระบิดาของพระองค์ ได้ขึ้นเป็นองค์ชายผู้สำเร็จราชการ (攝政王) ในระหว่างพิธีราชาภิเษกที่พระที่นั่งไท่เหอ พระบิดาได้อุ้มจักรพรรดิที่ยังทรงเยาว์ขึ้นไปยังบนบัลลังก์ ผู่อี๋ได้ตกใจฉากที่อยู่ต่อหน้าและเสียงอึกทึกของกลองและเสียงเพลงในพิธีราชาภิเษก และหลังจากนั้นผู่อี๋ก็เริ่มร้องไห้ พระบิดาของพระองค์ไม่สามารถที่จะทำสิ่งใดได้นอกจากพูดปลอบพระองค์ด้วยวลีอมตะว่า "อย่าร้องไห้ เดี๋ยวมันก็จบในอีกไม่ช้านี้"
แม่นมของผู่อี๋ เหวิน เฉาหว่าง เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ เพราะฉะนั้นเธอจึงได้ตามพระองค์เข้าพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ไม่ได้เจอแม่ผู้ให้กำเนิดพระองค์ เป็นระยะเวลาถึง 7 ปี โดยเขาได้ผูกพันกับ เหวิน เฉาหว่าง และยอมรับว่าเธอเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ แต่เธอก็ได้ออกจากพระราชวังต้องห้ามเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ภายหลังจากที่ผู่อี๋อภิเษกสมรส ในบางโอกาสพระองค์ก็พาแม่นมของเธอมาที่พระราชวังต้องห้าม รวมทั้งที่แมนจูกัว เพื่อมาเยี่ยมพระองค์ ภายหลังผู่อี๋ได้รับอภัยโทษจากรัฐบาลในปีค.ศ. 1959 พระองค์ได้ไปเยี่ยมบุตรบุญธรรมของเธอและได้เรียนรู้ว่าเธอนั้นได้อุทิศตนเพื่อเป็นแม่นมของเขาแต่เพียงเท่านั้น[16]
การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนผู่อี๋เป็นไปได้โดยยาก ในการเลี้ยงดูให้พระองค์เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีดังเช่นเด็กปกติ ตลอดทั้งคืน พระองค์ถูกเลี้ยงดูดังเช่นเทพเจ้าและไม่สามารถที่จะประพฤติตัวได้อย่างเด็กคนอื่นทั่วไป ในชีวิตวัยผู้ใหญ่ของพระองค์ ยกเว้นแม่นมของพระองค์ ล้วนเป็นคนแปลกหน้าทั้งหมด,เป็นเหมือนญาติห่าง ๆ,ไม่คุ้นเคยและไม่สามารถที่จะอบรมพระองค์ได้ ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ไหน จะมีคนคุกเข่าคำนับให้กับพระองค์จนกระทั่งเห็นพระองค์เดินไปจนลับสายตา ในไม่นานพระองค์ในวัยเยาว์ก็ทรงค้นพบว่าพระองค์ทรงมีอำนาจอย่างล้นพ้น พระองค์ทรงใช้อาวุธกับขันทีและทุบตีด้วยความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ
สละราชสมบัติ
[แก้]ฉุนชินหวัง พระบิดาของผู่อี๋ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการถึงวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1911 เมื่อพระนางหลงยู่เข้าควบคุมอำนาจเพื่อที่จะเผชิญหน้ากับเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่[2]
พระนางหลงยู่เป็นผู้ลงพระนามาภิไธยใน "พระบรมราชโองการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง" (清帝退位詔書) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ภายหลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ ภายใต้การต่อรองโดยขุนศึกหยวน ซื่อไข่ (นายพลแห่งกองทัพเป่ยหยาง) กับสมาชิกราชวงศ์ในปักกิ่ง และกลุ่มสาธารณรัฐในทางใต้[17] โดยมีการลงนามเพื่อก่อตั้ง สาธารณรัฐจีน
ผู่อี๋เหลือเพียงตำแหน่งในราชวงศ์และได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลของสาธารณรัฐจากพิธีสารซึ่งจะถือว่าจะปฏิบัติพระองค์ให้เท่าเทียบกับกษัตริย์ของต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับตราสารรับประกัน ข้อตกลงที่ให้พระสันตะปาปายังคงเกียรติยศและเอกสิทธิ์เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์อิตาลี[18] ผู่อี๋และสมาชิกราชวงศ์ยังได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้ในส่วนเหนือของพระราชวังต้องห้าม (พระตำหนักส่วนพระองค์) และในพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน เงินช่วยเหลือสนับสนุนราชวงศ์มีจำนวนสูงถึง 4 ล้านเหรียญและจ่ายโดยรัฐบาลสาธารณรัฐให้แก่สมาชิกราชวงศ์ แต่ว่าเงินจำนวนนี้ทางวังไม่เคยได้รับเต็มจำนวนและถูกยกเลิกในเวลาต่อมาไม่กี่ปีหลังจากนั้น
การฟื้นฟูราชวงศ์ชิง (1917)
[แก้]ในปีค.ศ. 1917 จาง ซวินได้นำผู่อี๋กลับขึ้นมาเป็นจักรพรรดิที่มีอำนาจอีกครั้งระหว่างวันที่ 1 ถึง 12 กรกฎาคม[19] จางได้มีคำสั่งให้ทหารในกองทัพของเขาไว้หางเปียเพื่อแสดงความจงรักภักดีแด่องค์พระจักรพรรดิ ระหว่างช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟู ได้มีระเบิดขนาดเล็กหล่นลงมายังพระราชวังต้องห้ามโดยเครื่องบินของสาธารณรัฐ ก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย[20] อาจนับได้ว่าเป็นปฏิบัติการทางอากาศครั้งแรกที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก การฟื้นฟูนอกจากจะล้มเหลวแล้วยังได้ก่อให้เกิดการต่อต้านไปทั่วประเทศ และมีการแทรกแซงจากขุนศึกต้วน ฉี่รุ่ย[21]
ผู่อี๋ถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้ามโดยขุนศึก เฟิง ยู่เสียง ในปีค.ศ. 1924
พำนักในนครเทียนสิน (1924-1932)
[แก้]หลังจากที่ถูกขับไล่ออกจากพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ใช้เวลาสองถึงสามวันอยู่ที่ตำหนักของพระบิดา หลังจากนั้นก็ไปอาศัยอยู่ที่สถานทูตญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราวประมาณ 1 ปีครึ่ง[14] ในปี 1925 ผู่อี๋ได้ย้ายไปยัง Quiet Garden Villa ในเขตปกครองของญี่ปุ่นในเทียนจิน[22]ระหว่างช่วงเวลานั้น ผู่อี๋และบรรดาที่ปรึกษาของเขา เฉิน เป่าเซิน, เจิง เสี่ยวซู และ โหล เซินยู่ ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการฟื้นฟูเขาเป็นจักรพรรดิ โดยเจิงและโหลได้เสนอให้ขอความช่วยเหลือจากภายนอก แต่เฉินไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ในเดือนสิงหาคม 1931 ผู่อี๋ส่งจดหมายถึง จิโร มินามิ รัฐมนตรีว่าการสงครามของญี่ปุ่น บ่งบอกความภายในว่าเขาต้องการที่จะกลับมาเป็นจักรพรรดิ[23] เขายังไปเยี่ยม เคนจิ โดอิฮาระ หัวหน้าหน่วยจารกรรมของกองทัพคันโต ผู้ซึ่งมีความปรารถนาจะให้ผู่อี๋เป็นผู้นำแห่งแมนจูกัว ในเดือนพฤศจิกายน 1931 ผู่อี๋และ เจิง เสี่ยวซู เดินทางไปยังแมนจูเรียเพื่อตกลงเกี่ยวกับแผนการตั้งรัฐแมนจูกัวให้สำเร็จ รัฐบาลจีนออกคำสั่งจับผู่อี๋ข้อหาเป็นกบฏแต่ไม่สามารถที่จะทำได้เพราะไม่สามารถฝ่าการคุ้มครองของญี่ปุ่นได้[14] เฉิน เป่าเซิน เดินทางกลับสู่ปักกิ่งที่ซึ่งเขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1933
หัวหน้าฝ่ายบริหารและจักรพรรดิแห่งแมนจู (1932–1945)
[แก้]ในวันที่ 1 มีนาคม 1932 ผู่อี๋ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของประเทศแมนจูซึ่งจัดตั้งโดยญี่ปุ่น เมื่อพิจารณาจากนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นรัฐที่เป็นหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยผู่อี๋ได้ดำรงตำแหน่งเป็น ต้าถ่ง (大同) ในปี 1934 ผู่อี๋ก็ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัวโดยมีพระปรมาภิไธยว่า คังเต๋อ (康德) เขาไม่ค่อยพอใจที่ได้เป็นแค่ตำแหน่ง "ผู้บริหารสูงสุดของรัฐ" และต่อมาได้เป็น "จักรพรรดิแห่งแมนจู" เพราะผู่อี๋ต้องการที่จะฟื้นฟูราชวงศ์ชิง โดยผู่อี๋ประทับอยู่ที่พระราชวัง (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งแมนจูกัว) ในช่วงเวลาที่เขาเป็นจักรพรรดิ ในการขึ้นครองบัลลังก์ของเขา เขาได้โต้เถียงกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับเรื่องเครื่องแต่งกาย โดยทางญี่ปุ่นต้องการให้เขาใส่ชุดเครื่องแบบแมนจูกัว เพราะว่าผู่อี๋ถือว่าเป็นการหยามเกียรติอย่างมากที่ให้ใส่ชุดใด ๆ นอกจากเสื้อคลุมยาวโบราณของแมนจู เพื่อความประนีประนอมเขายอมสวมเครื่องแบบทหารแบบตะวันตกในการขึ้นครองบัลลังก์[24] (เป็นจักรพรรดิจีนเพียงพระองค์เดียวที่ได้สวมเครื่องแบบตะวันตกในวันขึ้นครองราชย์) และสวมเสื้อคลุมมังกรสำหรับการประกาศการขึ้นครองราชที่หอสักการะฟ้าเทียนถัน[25]
ผู่เจี๋ยพระอนุชาของผู่อี๋ผู้ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าหญิงฮิโระ ซางะ พระญาติห่าง ๆ ของจักรพรรดิโชวะ ประกาศว่าเป็นรัชทายาทของผู่อี๋ การเสกสมรสนี้นี้เป็นอุบายทางการเมืองที่จัดการโดย ชิเงรุ ฮนโจ แม่ทัพกองทัพคันโต หลังจากนั้นผู่อี๋ไม่สามารถพูดคุยอย่างเปิดเผยกับพระอนุชาและปฏิเสธที่จะเสวยพระกระยาหารที่จัดเตรียมโดย ฮิโระ ซางะ ผู่อี๋ถูกบังคับให้เซ็นข้อตกลงว่าถ้าเขามีโอรส จะต้องถูกส่งตัวไปญี่ปุ่นเพื่อเลี้ยงดูตามแบบที่นั่น[26]
จากปี 1935 ถึงปี 1945 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพคันโต โยะชิโอะกะ ยะซุโนริ (吉岡安則)[27]ได้ถูกมอบหมายให้ไปเป็นนักการทูต เขาเป็นสายลับให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่น ควบคุมผู่อี๋ผ่านความกลัว, การขู่และคำสั่งโดยตรง[28] เขาพยายามที่จะสังหารผู่อี๋หลายครั้งตลอดช่วงเวลานั้น รวมทั้งการแทงผู่อี๋โดยคนใช้ของวังในปี 1937[14] ระหว่างที่ผู่อี๋เป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว ชีวิตครอบครัวของเขาถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากญี่ปุ่น ซึ่งในตอนนั้นกำลังเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในแมนจูเรีย เพื่อที่จะขัดขวางผู่อี๋ในการประกาศตัวแยกเป็นเอกราช เขาได้ไปเลี้ยงฉลองเป็นเกียรติแก่ตัวเขาเองซึ่งจัดขึ้นโดยประชาชนชาวญี่ปุ่นระหว่างที่เขาได้ไปเยือนที่นั่น แต่เขาก็ยังคงต้องอ่อนน้อมต่อพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ[29] สิ่งนี้ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า การยอมรับวัฒนธรรมหรือพิธีกรรมจีนโบราณ เช่น การเรียกว่า "ฝ่าบาท" แทนการใช้ชื่อตัว มาจากความสนใจของผู้อี๋เองหรือมาจากการวางข้อกำหนดของญี่ปุ่นซึ่งใช้ในราชวงศ์ญี่ปุ่นอยู่แล้ว
ระหว่างช่วงเวลาเหล่านั้นผู้อี๋มีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับกฎหมายจีนโบราณและศาสนา[30](เช่นลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธ) แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้รับอนุญาตโดยญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนเก่าแก่ของผู่อี๋ถูกกำจัดไปทีละน้อยและเอารัฐมนตรีพวกที่สนับสนุนญี่ปุ่นเข้ามาแทนที่[31] ระหว่างช่วงเวลานี้ชีวิตของผู่อี๋ประกอบไปด้วยการลงนามในกฎหมายที่จัดเตรียมโดยญี่ปุ่นเสียเป็นส่วนใหญ่, การสวดมนต์, ปรึกษาโหรและมีกำหนดการเยือนอย่างเป็นทางการไปทั่วประเทศ[14]
ชีวิตช่วงบั้นปลาย (1945–1967)
[แก้]เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผู่อี๋ถูกจับโดยกองทัพแดงของโซเวียตในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ขณะที่จะพยายามจะหลบหนีทางเครื่องบินไปญี่ปุ่น[32] โซเวียตพาเขาไปยังเมืองแถบไซบีเรีย ชิต้า โดยเขาอาศัยอยู่ในสถานพยาบาล ต่อมาเขาถูกย้ายไปยังเมือง ฮาบารอฟสค์ ใกล้กับชายแดนจีน
ในปี 1946 เขาได้ไปให้การเป็นพยานที่ศาลทหารระหว่างประเทศแห่งตะวันออกไกลที่โตเกียว[33] ในรายละเอียดเกี่ยวกับความไม่พอใจของเขาที่ได้รับการปฏิบัติจากญี่ปุ่น
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้เหมา เจ๋อตง เข้ามามีอำนาจในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1949 ผู่อี๋ถูกส่งตัวกลับจีนหลังจากการต่อรองกันระหว่างจีนและสหภาพโซเวียต[34][35] ยกเว้นในช่วงสงครามเกาหลี เมื่อถูกย้ายไปฮาร์บินเขาใช้ชีวิตถึงสิบปีในศูนย์จัดการอาชญากรสงครามในฟู่ฉวนในมณฑลเหลียวหนิงจนกระทั่งเขาประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ ผู่อี๋กลับปักกิ่งในปี 1959 โดยได้รับอภัยโทษเป็นพิเศษจากประธานเหมา เจ๋อตง และใช้ชีวิตเฉกเช่นสามัญชนในปักกิ่งกับน้องสาวเป็นเวลาหกเดือนก่อนที่จะย้ายไปยังโรงแรมที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล ผู่อี๋บอกว่าจะสนับสนุนและทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์โดยการเป็นคนสวนในสถาบันพฤษศาสตร์ เมื่ออายุ 56 ปี ผู่อี๋ได้แต่งงานกับหลี่ ชูเสียน ซึ่งเป็นพยาบาล เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1962 ต่อมาเขาได้ทำงานเป็นบรรณาธิการแผนกวรรณกรรมที่สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ โดยมีรายได้ 100 หยวน ต่อเดือน[36] และเป็นที่ทำงานที่ผู่อี๋ทำจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ด้วยการได้รับกำลังใจจากประธาน เหมา เจ๋อตงและนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีน ผู่อี๋ได้เขียนอัตชีวประวัติของตนเอง ว๋อ เต๋อ เฉียน ปาน เชิง (จีน: 我的前半生; พินอิน: Wǒ Dè Qián Bàn Shēng; แปลตรงตัว: "ครึ่งหนึ่งของชีวิตข้าพเจ้า"; แปลออกมาเป็นภาษาไทย จากจักรพรรดิสู่สามัญชน) ในทศวรรษที่ 60 พร้อมกับ หลี่ เหวินด้า ซึ่งเป็นบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ประชาชนปักกิ่ง ในเวอร์ชันหนังสือของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในบท ข้าพเจ้าปฏิเสธที่จะยอมรับความผิดของข้าพเจ้า เขาทำแถลงการณ์พิจารณาคำให้การของเขาที่การไต่สวนอาชญากรสงครามโตเกียว ความว่า:[37]
ตอนนี้เรารู้สึกละอายใจที่จะให้การว่า เราเก็บเรื่องบางเรื่องที่รู้ไว้เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องรับโทษจากประเทศของตน เราไม่ได้หมายถึงที่กล่าวหาว่าเราร่วมมือกับพวกจักรวรรดิญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ทั้งที่ว่าเรายอมทำตามแต่โดยดีหลังวันที่ 18 กันยายน 1931 แต่กำลังหมายถึงเรื่องที่เรายอมพูดในสิ่งที่พวกญี่ปุ่นกดดันและบังคับเราให้ทำตามที่เขาต้องการต่างหาก
เรายืนยันคำเดิมว่าเราไม่ได้ทรยศชาติเพียงแต่ถูกบังคับตัวไว้ เราไม่ได้ร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นกับญี่ปุ่น แล้วจดหมายที่เอามาอ้างว่าเราเขียนถึงจิโร มินามิ นั่นก็เป็นของปลอม เราปกปิดความผิดก็เพราะต้องปกป้องตัวเอง[23]— คำให้การของผู่อี๋
ถึงแก่กรรม
[แก้]เหมา เจ๋อตง เริ่มต้นทำการการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ. 1966 โดยกองกำลังเยาวชนกึ่งทหารซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ยุวชนแดง (Red Guard) มองผู่อี๋ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจักวรรดิจีน ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ง่ายในการโจมตี ผู่อี๋อยู่ในสถานที่ภายใต้การคุ้มกันของสำนักรักษาความปลอดภัยท้องถิ่น ถึงแม้ว่าส่วนแบ่งอาหาร, ค่าตอบแทนและสิ่งของหรูหราอื่น รวมถึงโซฟาและโต๊ะของเขาจะถูกถอดออกไป ทำให้เขาไม่ถูกประจานในที่สาธารณะแบบที่หลายคนถูกกระทำอย่างเป็นธรรมดาสามัญในช่วงเวลานั้น แต่อย่างไรก็ตามผู่อี๋ก็เข้าสู่ช่วงวัยชราและมีสุขภาพย่ำแย่ลง ผู่อี๋ถึงได้ถึงแก่กรรมอย่างสามัญชนในกรุงปักกิ่งด้วยโรคมะเร็งในไตและโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ขณะมีอายุได้ 61 ปี[38]
ตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนในเวลานั้น ร่างของผู่อี๋ต้องทำพิธีเผา ในตอนแรกอัฐิของผู่อี๋บรรจุไว้ที่สุสานปฏิวัติปาเป่าซานเคียงข้างกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูงของประเทศ (สถานที่แห่งนี้เคยเป็นสุสานของเหล่าสนมและขันทีก่อนมีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน)
ในปี ค.ศ. 1995 เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเชิงพาณิชย์ ภรรยาม่ายของผู่อี๋ได้ย้ายอัฐิของเขาไปยังสุสานที่ตั้งขึ้นในเชิงพาณิชย์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางด้านการเงิน สุสานตั้งอยู่ใกล้กับสุสานราชวงศ์ชิงตะวันออก ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ 120 กิโลเมตร ซึ่งมีจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงฝังอยู่ 4 พระองค์ และจักรพรรดินี 3 พระองค์ เจ้าชายและเจ้าหญิงรวมถึงสนมอีก 69 พระองค์[39]
ครอบครัวและภรรยา
[แก้]- ผู่อี๋มีพี่น้องทั้งร่วมบิดามารดาและร่วมบิดาเดียวกัน 10 คน มีอยู่ 2 คนที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์จีนและราชวงศ์ชิง
- ผู่เจี๋ย มีบทบาทเพียงเล็กน้อยในรัฐบาลประเทศแมนจู
- ผู่เริ่น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นจิน โหย่วจือ เกิดในสมัยที่ราชวงศ์ชิงล่มสลายแล้วและเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แมนจูกัวถัดจากผู่เจี๋ย
- พระจักรพรรดินี (皇后 ฮองเฮา)
- สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเค่อหมิ่น (孝恪愍皇后) อภิเษกสมรสในปี 1922 สวรรคตในปี ค.ศ. 1946 มีชื่อลำลองว่า หว่านหรง
- พระราชเทวี (貴妃 กุ้ยเฟย)
- หมิงเสียนกุ้ยเฟย (明賢貴妃) หรือ ถาน อวี้หลิง (譚玉齡) อภิเษกสมรสในปี 1937 สวรรคตในปี 1942
- พระราชเทวี (妃 เฟย)
- ซูเฟย (淑妃) หรือ เหวิน ซิ่ว (文繡) อภิเษกสมรสในปี 1922 และหย่าในปี 1931
- สนมขั้นกุ้ยเหริน (貴人)
- สนมฝูกุ้ยเหริน (福貴人) หรือ หลี่ อวี้ฉิน (李玉琴) อภิเษกสมรสในปี 1943 และหย่าในปี 1958
- หลี่ ชูเสียน (李淑賢) สมรสในปี 1962 สถาปนาเป็น“เซี่ยวรุ่ยหมิ่นฮองเฮา”
(ผู้อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งจักรพรรดินีจีน)
ฐานันดรศักดิ์และพระบรมราชอิสริยยศ
[แก้]- ค.ศ. 1906 – 1908: เจ้าชายผู่อี๋
- ค.ศ. 1908 – 1912: สมเด็จพระจักรพรรดิเซฺวียนถ่งแห่งต้าชิง
- ค.ศ. 1912 – 1934: จักรพรรดิผู่อี๋ (พระยศแต่ในนาม)
- ค.ศ. 1934 – 1945: สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อแห่งแมนจู
- ค.ศ. 1945 – 1967: นายผู่อี๋ อ้ายซินเจว๋หลัว
ราชตระกูล
[แก้]พงศาวลีของผู่อี๋ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การนำเสนอในสื่อ
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- The Last Emperor (Chinese title 火龍, literally means Fire Dragon), ภาพยนตร์ฮ่องกงในปี 1985 กำกับโดย Li Han-hsiang ผู้รับบทจักรพรรดิผู่อี๋คือ Tony Leung Ka-fai
- จักรพรรดิโลกไม่ลืม, ภาพยนตร์ชีวประวัติของจักรพรรดิผู่อี๋ในปี 1987 กำกับโดย แบร์นาโด แบร์โตลุชชี ซุน หลง รับบทเป็นจักรพรรดิผู่อี๋ในวัยผู้ใหญ่
- Aisin-Gioro Puyi (愛新覺羅·溥儀), ภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของจักรพรรดิผู่อี๋ในปี 2005 ผลิตโดยสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี โดยเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ 10 บุคคลในประวัติศาสตร์
- The Founding of a Party, a 2011 Chinese film directed by Huang Jianxin and Han Sanping. Child actor Yan Ruihan played Puyi.
- 1911 ใหญ่ผ่าใหญ่, ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ในปี 2011 กำกับโดยเฉินหลงและจาง ลี่ ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องการก่อตั้งสาธารณรัฐจีนในช่วงที่ซุน ยัดเซ็น ได้ก่อการปฏิวัติซินไฮ่เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิง จักรพรรดิผู่อี๋ในวัย 5 พรรษารับบทโดยนักแสดงเด็ก Su Hanye แม้จักรพรรดิผู่อี๋จะปรากฏตัวในภาพยนตร์เพียงช่วงสั้น ๆ แต่ก็เป็นฉากสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิทรงได้รับการปฏิบัติจากราชสำนักอย่างไรก่อนที่จะทรงสละราชสมบัติเมื่อทรงมีพระชนม์ได้ 6 พรรษา[40]
ละครโทรทัศน์
[แก้]- The Misadventure of Zoo, a 1981 Hong Kong television series produced by TVB. Adam Cheng played an adult Puyi.
- Modai Huangdi (末代皇帝; literally means The Last Emperor), a 1988 Chinese television series based on Puyi's autobiography From Emperor to Citizen, with Puyi's brother Pujie as a consultant for the series. Chen Daoming starred as Puyi.
- Feichang Gongmin (非常公民; literally means Extraordinary Citizen), a 2002 Chinese television series directed by Cheng Hao. Dayo Wong starred as Puyi.
- Ruten no Ōhi — Saigo no Kōtei (流転の王妃·最後の皇弟; Chinese title 流轉的王妃), a 2003 Japanese television series about Pujie and Hiro Saga. Wang Bozhao played Puyi.
- Modai Huangfei (末代皇妃; literally means The Last Imperial Consort), a 2003 Chinese television series. Li Yapeng played Puyi.
- จักรพรรดิโลกไม่ลืม (末代皇帝传奇; ความหมายตามตัว ตำนานปัจฉิมจักรพรรดิ), ละครโทรทัศน์ร่วมทุนสร้างของฮ่องกงและประเทศจีนในปีค.ศ. 2014 ความยาว 59 ตอนตอนละ 45 นาที นำแสดงโดย จ้าว เหว่ยเซียน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฏาคม ค.ศ. 1917 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ในช่วงการฟื้นฟูราชวงศ์แมนจู ผู่อี๋กลับขึ้นสู่ราชสมบัติอีกครั้งและประกาศพระองค์เป็นจักรพรรดิราชวงศ์ชิง ด้วยการสนับสนุนจากจาง ซวิน ผู้ประกาศตนเป็นอัครมหาเสนาบดี อย่างไรก็ตาม การประกาศตนเองของผู่อี๋และจางไม่เคยได้รับการยอมรับทั้งจากสาธารณรัฐจีน (ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐบาลจีนที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียว), ประชาชนจีนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่นานาประเทศ
- ↑ พระราชลัญจกรประจำจักรพรรดิคังเต๋อ
- ↑ จีน: 溥儀ชื่อรอง: เย่าจี (曜之)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wen, Yuan-ning (2018). "Emperor Malgre Lui" (Feb. 8, 1934), in Imperfect Understanding: Intimate Portraits of Modern Chinese Celebrities. Cambria Press. p. 117.
- ↑ 2.0 2.1 Rawski, Evelyn S (2001). The Last Emperors: A Social History of Qing Imperial Institutions. University of California Press. p. 287,136. ISBN 978-0-520-22837-5.
- ↑ "Xianfeng Emperor". Cultural China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-01. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ "Tongzhi Emperor". Cultural China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-07. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ 5.0 5.1 Joseph, William A (2010). Politics in China: An Introduction. Oxford University Press, USA. p. 45. ISBN 978-0-19-533531-6.
- ↑ "The Vicissitudes of Prince Chun's Mansion". The Australian National University China Heritage Project. 12 December 2007. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ Vandergrift, Kate. "Meeting the Last Emperor's Brother". Society for Anglo-Chinese Understanding. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ "Pu Jie, 87, Dies, Ending Dynasty Of the Manchus". New York Times. 2 March 1994. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
Pu Jie, the younger brother of the last Emperor of China, died on Monday in Beijing. He was 87.
- ↑ Xiao Guo (18 July 2006). "Socialist Laws Protect Feudal Emperor's Rights". China Daily.
- ↑ Pu Yi 1988, p 425
- ↑ "溥雪斋(1893~1966 ):古琴演奏家。出生在清代皇族家庭。". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-04-24.
- ↑ Crossley, Pamela Kyle (1991). Orphan Warriors. Princeton University Press. pp. 31–46. ISBN 978-0-691-00877-6.
- ↑ Pu Yi. 1988, p. 113
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 Blakeney, Ben Bruce (19 July 1945). "Henry Pu Yi". Life Magazine: 78–86.
- ↑ Behr, Edward (1998). The Last Emperor. Futura. pp. 63, 80. ISBN 978-0-7088-3439-8.
- ↑ Pu Yi 1988, pp 70-76
- ↑ Rhoads, Edward J M (2001). Manchus & Han: Ethnic Relations and Political Power in Late Qing and Early Republican China, 1861-1928. University of Washington Press. pp. 226, 227. ISBN 978-0-295-98040-9.
- ↑ Luzzatti, Luigi (2010). God in Freedom: Studies in the Relations Between Church and State. Kessinger Publishing, LLC. pp. 423, 424. ISBN 978-1-161-41509-4.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Hutchings, Graham (2003). Modern China: A Guide to a Century of Change. Harvard University Press. p. 346. ISBN 978-0-674-01240-0.
- ↑ Stone of Heaven, Levy, Scott-Clark p 184
- ↑ Bangsbo, Jens; Reilly, Thomas; Williams, A. Mark (1996). Science and Football III. Taylor & Francis. p. 272. ISBN 978-0-419-22160-9.
- ↑ Rogaski, Ruth (2004). Hygienic Modernity: Meanings of Health and Disease in Treaty-Port China. University of California Press. p. 262. ISBN 978-0-520-24001-8.
- ↑ 23.0 23.1 Yamasaki, Tokoyo (2007). Two Homelands. University of Hawaii Press. pp. 487–495. ISBN 978-0-8248-2944-5.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Pu Yi 1988, p 275
- ↑ Pu Yi 1988, p 276
- ↑ Pu Yi 1988, p 288-290
- ↑ "Yasunori Yoshioka, Lieutenant-General (1890–1947)". The Generals of WWII — Generals from Japan. Steen Ammentorp, Librarian DB., M.L.I.Sc. สืบค้นเมื่อ 17 August 2010.
- ↑ Pu Yi 1988, p 284-320
- ↑ Pu Yi 1988, p 281
- ↑ Pu Yi 1988, p 307
- ↑ Pu Yi 1988, p 298
- ↑ Mydans, Seth (11 June 1997). "Li Shuxian, 73, Widow of Last China Emperor". The New York Times.
- ↑ "Former Manchurian Puppet". The Miami News. 16 August 1946.
- ↑ "Russia Giving Puyi to China". The Milwaukee Journal. 27 March 1946.
- ↑ Lancashire, David (30 December 1956). "Last Manchu Ruler Grateful to Jailers". Eugene Register-Guard.
- ↑ Schram, Stuart (1989). The Thought of Mao Tse-Tung. Cambridge University Press. p. 170. ISBN 978-0-521-31062-8.
- ↑ Pu Yi (1988). "I Refuse To Admit My Guilt". From Emperor to Citizen: The Autobiography of Aisin-Gioro Pu Yi. Oxford University Press, USA. pp. 329, 330. ISBN 978-0-19-282099-0.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Pu Yi, Last Emperor of China And a Puppet for Japan, Dies. Enthroned at 2, Turned Out at 6, He Was Later a Captive of Russians and Peking Reds". Associated Press in New York Times. 19 October 1967. สืบค้นเมื่อ 2007-07-21.
Henry Pu Yi, last Manchu emperor of China and Japan's puppet emperor of Manchukuo, died yesterday in Peking of complications resulting from cancer, a Japanese newspaper reported today. He was 61 years old.
- ↑ Courtauld, Caroline; Holdsworth, May; Spence, Jonathan (2008). Forbidden City: The Great Within. Odyssey. p. 132. ISBN 978-962-217-792-5.
- ↑ "1911 Movie at IMDB".
ก่อนหน้า | ผู่อี๋ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิกวังซวี่ | จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 1908 - 1912) |
ไม่มี; สิ้นสุดระบอบจักรพรรดิ | ||
ไม่มี; ทรงเป็นองค์แรก | จักรพรรดิแห่งแมนจู (ค.ศ. 1932 - 1945) |
ไม่มี; ประเทศแมนจูล่มสลาย | ||
— | ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์จีน (ค.ศ. 1912 - 1967) |
องค์ชายผู่เจี๋ย |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2448
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510
- ผู่อี๋
- ชาวจีนเชื้อสายแมนจู
- จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
- พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์
- จักรพรรดิจีนผู้ทรงสละราชสมบัติ
- อาชญากรสงคราม
- เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองที่ถูกจับโดยสหภาพโซเวียต
- ประมุขแห่งรัฐสิ้นสภาพ
- นักลัทธิฟาสซิสต์
- ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์
- บุคคลในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เจ้าแผ่นดินที่ถูกปลดจากราชบัลลังก์