สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
48°49′N 2°29′E / 48.817°N 2.483°E
สาธารณรัฐฝรั่งเศส République française | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1870–1940 | |||||||||||||||
สาธารณรัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1914
| |||||||||||||||
ดินแดนและอาณานิคมของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในช่วงปลาย ค.ศ. 1939
| |||||||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ปารีส | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ฝรั่งเศส (ทางการ), ภาษาอื่น ๆ | ||||||||||||||
ศาสนา | |||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา | ||||||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||||||
• ค.ศ. 1871–1873 (คนแรก) | อาดอลฟ์ ตีแยร์ | ||||||||||||||
• ค.ศ. 1932–1940 (คนสุดท้าย) | อาลแบร์ เลอเบริง | ||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||
• ค.ศ. 1870–1871 (คนแรก) | หลุยส์ ฌูล ทรอชูว์ | ||||||||||||||
• ค.ศ. 1940 (คนสุดท้าย) | ฟีลิป เปแต็ง | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา | ||||||||||||||
• สภาสูง | วุฒิสภา | ||||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฏร | ||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||
• ประกาศโดยเลอง ก็องแบ็ตตา | 4 กันยายน 1870 | ||||||||||||||
• ก่อตั้งฝรั่งเศสเขตวีชี | 10 กรกฎาคม 1940 | ||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||
• 1870 | 36,100,000[1] | ||||||||||||||
สกุลเงิน | ฟรังก์ฝรั่งเศส | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ฝรั่งเศส แอลจีเรีย |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส |
หัวเรื่อง |
เส้นเวลา |
สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส |
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สาม (ฝรั่งเศส: Troisième République บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสีย อาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 หลังจากการรุกรานฝรั่งเศสของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลฝรั่งเศสเขตวีชี
ช่วงเริ่มแรกของสาธารณรัฐที่สามต้องเผชิญกับความปั่นป่วนทางการเมือง เนื่องจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1870–1871 ซึ่งนำมาสู่การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 หลังจากการพ่ายแพ้สงคราม ฝรั่งเศสต้องสูญเสียพื้นที่อาลซัส (ยกเว้นแตรีตัวร์เดอแบลฟอร์) และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลอแรน (ปัจจุบันคือ จังหวัดมอแซล) ให้แก่ปรัสเซีย จากความไม่มั่นคงทางการเมือง และการก่อการกำเริบของฝ่ายคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คอมมูนปารีส จึงมีการพิจารณาที่จะนำระบอบกษัตริย์กลับมาปกครองฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในรัฐบาลไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐที่สามซึ่งเดิมเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล กลายเป็นรัฐบาลของประเทศฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์
รัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1875 ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างบริหารอำนาจของสาธารณรัฐที่สามอันประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีรัฐสภาซึ่งใช้ระบบสภาคู่เป็นผู้ใช้อำนาจ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ การเรียกร้องให้มีการสถาปนาสถาบันกษัตริย์ขึ้นใหม่มีความเด่นชัดที่สุดในช่วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีทั้งสองคนแรก คือ อาดอลฟ์ ตีแยร์ และปาทริส เดอ มัก-มาอง แต่การสนับสนุนระบอบสาธารณรัฐที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชาวฝรั่งเศสและการมีประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันในทศวรรษที่ 1880 ทำให้การเรียกร้องการฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ค่อย ๆ ลดลง
สาธารณรัฐที่สามได้ก่อตั้งอาณานิคมไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ อินโดจีนฝรั่งเศส, เฟรนช์มาดากัสการ์, เฟรนช์พอลินีเชีย และดินแดนขนาดใหญ่ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงการแข่งขันล่าอาณานิคมในทวีปแอฟริกา โดยกินเวลากว่าสองทศวรรษในปลายศตวรรษที่ 19 ทำให้จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากจักรวรรดิบริติช โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 13,500,000 ตารางกิโลเมตร (5,200,000 ตารางไมค์) ในแง่ของจำนวนประชากร ฝรั่งเศสและอาณานิคมในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมีประชากรทั้งหมด 150 ล้านคน เป็นรองเพียงบริติชอินเดียที่มีประชากรทั้งหมด 330 ล้านคน
อาดอลฟ์ ตีแยร์ ได้เรียกระบอบสาธารณรัฐในทศวรรษที่ 1870 ว่าเป็น “รูปแบบรัฐบาลที่แทบไม่มีการแบ่งฝ่าย” อย่างไรก็ตาม การเมืองภายในรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐกลับมีการแบ่งฝ่ายกันอย่างรุนแรง โดยมีฝ่ายซ้ายนำโดย “ฝ่ายปฏิรูปฝรั่งเศส” ซึ่งมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และฝ่ายขวานำโดยพวกอนุรักษนิยม ซึ่งมีรากฐานมาจากชาวนาที่นับถือนิกายคาทอลิก และทหาร[2] แม้ว่าฝรั่งเศสจะมีการแบ่งฝ่ายการเมืองอย่างรุนแรง และพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลกันอย่างไม่หยุดยั้ง แต่สาธารณรัฐที่สามก็สามารถดำรงอยู่เป็นเวลานานกว่าเจ็ดสิบปี ทำให้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา[3] และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 โดยเป็นสาธารณรัฐปัจจุบัน จะแซงหน้าเป็นสาธารณรัฐที่ยืนยาวที่สุด ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2028
ภูมิหลังและการก่อตั้ง
[แก้]จากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียที่ดำเนินในระหว่าง ค.ศ. 1870–1871 นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสและการโค่นล้มจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และจักรวรรดิที่สอง ภายหลังการจับกุมนโปเลียนที่ 3 ของปรัสเซียในยุทธการที่เซอด็อง (1 กันยายน ค.ศ. 1870) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวปารีสเลอง ก็องแบตา ได้จัดตั้งรัฐบาลการปกป้องแห่งชาติ (Gouvernement de la Défense nationale) ขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 เพื่อทำหน้าที่เป็นรัฐบาลชั่วคราว จากนั้นบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เลือกนายพลหลุยส์-ฌูล ทรอชูว์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล โดยเป็นคณะรัฐบาลชุดแรกของสาธารณรัฐที่สามที่ปกครองในระหว่างการล้อมปารีส (19 กันยายน ค.ศ. 1870 – 28 มกราคม ค.ศ. 1871) เมื่อปารีสถูกตัดขาดจากพื้นที่ส่วนอื่นของฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม เลอง ก็องแบตา สามารถหลบหนีออกจากปารีสทางบัลลูนอากาศร้อนเป็นผลสำเร็จ และได้จัดตั้งทำเนียบของรัฐบาลสาธารณรัฐชั่วคราวที่เมืองตูร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำลัวร์
หลังจากการยอมจำนนของฝรั่งเศสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1871 รัฐบาลชั่วคราวเพื่อการปกป้องแห่งชาติจึงยุบตัวลง และมีการเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งระดับชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งรัฐบาลฝรั่งเศสชุดใหม่ แต่ดินแดนฝรั่งเศสที่ถูกปรัสเซียยึดครองในขณะนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย ผลที่เกิดขึ้นคือสมัชชาแห่งชาติอนุรักษนิยมได้เลือกอาดอลฟ์ ตีแยร์ เป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราวในนาม "หัวหน้าฝ่ายบริหารของสาธารณรัฐที่รอการตัดสินใจเกี่ยวกับสถาบันของฝรั่งเศส" เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองภายในปารีสเต็มไปด้วยนักปฏิวัติและฝ่ายซ้าย ทางรัฐบาลฝ่ายขวาจึงเลือกพระราชวังแวร์ซายเป็นทำเนียบรัฐบาล
รัฐบาลชุดใหม่เจรจาข้อตกลงสันติภาพกับจักรวรรดิเยอรมันที่พึ่งก่อตั้งขึ้น: มีการลงนามในสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 เพื่อบีบบังคับให้ปรัสเซียออกจากฝรั่งเศส อีกทั้งรัฐบาลยังได้ผ่านกฎหมายการคลังเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับกฎหมายกำหนดการ (Law of Maturities) ที่เป็นข้อถกเถียง เพื่อชดเชยค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ปรัสเซีย จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้ในปารีสเกิดความขุ่นเคืองต่อรัฐบาล และตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ค.ศ. 1871 คนงานปารีสและกองกำลังป้องกันชาติได้ทำการกบฏและก่อตั้งคอมมูนปารีสขึ้นมา ซึ่งสามารถรักษาระบอบของฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงไว้ได้เป็นเวลาสองเดือน กระทั่งการปราบปรามคอมมูนอย่างนองเลือดของรัฐบาลตีแยร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1871 โดยการปราบปรามครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างสาหัสต่อการขับเคลื่อนของขบวนการแรงงาน
ความพยายามฟื้นฟูราชาธิปไตย
[แก้]การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1871 ที่เกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของระบอบนโปเลียนที่ 3 เป็นผลให้นักการเมืองฝ่ายราชาธิปไตยได้รับคะแนนเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำความตกลงสันติภาพกับปรัสเซีย และมีการวางแผนที่จะฟื้นฟูราชาธิปไตยอีกครั้ง โดยกลุ่มเลชีตีมีสต์ (Légitimistes) ในสมัชชาแห่งชาติสนับสนุนเจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งช็องบอร์ (ในพระนาม "อ็องรีที่ 5") พระราชนัดดาในพระเจ้าชาร์ลที่ 10 (ผู้ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายจากสายบูร์บง) เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ส่วนกลุ่มออร์เลอ็องนีสต์ (Orléaniste) สนับสนุนเจ้าชายฟีลิป เคาน์แห่งปารีส พระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (ซึ่งสืบทอดราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากกษัตริย์ชาร์ลที่ 10 ที่เป็นพระญาติใน ค.ศ. 1830) แต่สำหรับกลุ่มโบนาปาร์ตแล้ว ได้สูญเสียความชอบธรรมไปอย่างมาก เนื่องจากความพ่ายแพ้ของนโปเลียนที่ 3 ทั้งยังไม่สามารถหาผู้สมัครจากสมาชิกในราชวงศ์โบนาปาร์ตได้ เลชีตีมีสต์และออร์เลอ็องนีสต์ได้หันมาประนีประนอมกัน และมีการตกลงให้เคานต์แห่งช็องบอร์ขึ้นสืบราชบังลังก์และให้เคานต์แห่งปารีสเป็นรัชทายาท เนื่องจากเคานต์แห่งช็องบอร์ไม่มีบุตร แนวคิดในการสืบราชสมบัติครั้งนี้ เป็นแนวคิดตามราชประเพณีดั้งเดิมว่าด้วยสิทธิของบุตรหัวปีตามฝั่งบิดาที่ใช้ตั้งแต่สมัยบูร์บงสเปนตามสนธิสัญญายูเทรกต์ ดังนั้นใน ค.ศ. 1871 ราชบังลังก์จึงถูกเสนอให้เป็นของเคานต์แห่งช็องบอร์[4]
สาธารณรัฐราชาธิปไตยและวิกฤตรัฐธรรมนูญ
[แก้]ช็องบอร์เชื่อว่าการฟื้นฟูราชาธิปไตยจะต้องขจัดร่อยรองของการปฏิวัติออกไปทั้งหมด (นั่นรวมถึงธงไตรรงค์ด้วย) เพื่อฟื้นฟูความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างราชาธิปไตยและชาติ ซึ่งการปฏิวัติได้ทำลายลง อีกทั้งเขายังมองว่าหากใช้การประนีประนอมจะไม่สามารถสร้างสถาบันชาติให้สมบูรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ในหมู่ประชากรทั่วไปกลับไม่เห็นด้วยที่จะละทิ้งธงไตรรงค์ จึงต้องชะลอการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยจนกระทั่งช็องบอร์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1883 โดยปราศจากบุตร จากนั้นจึงมีการเสนอราชบังลังก์ให้แก่เคานต์แห่งปารีส ซึ่งมีแนวคิดที่เป็นเสรีนิยมมากกว่า ถึงอย่างนั้นเคานต์แห่งปารีสก็ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นกษัตริย์แล้ว จึงมีการจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐ "ชั่วคราว" ขึ้น[5]
หลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในสงครามกับปรัสเซียเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1871 รัฐบาลการปกป้องแห่งชาติได้จัดตั้งฝ่ายบริหารของตนไว้ที่แวร์ซายในช่วงที่ปารีสถูกกองทัพปรัสเซียล้อม เหล่าผู้แทนราษฎรคนใหม่ได้รับการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้น แล้วจึงมีการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งจะพัฒนามาเป็นสาธารณรัฐที่สามในเวลาต่อมา ผู้แทนเหล่านี้ (ซึ่งส่วนมากเป็นฝ่ายสาธารณรัฐนิยมแบบอนุรักษนิยม) ได้ออกกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งก่อให้เกิดการต่อต้านและการคัดค้านจากพวกหัวรุนแรงและขบวนการสาธารณรัฐนิยมฝ่ายซ้าย ในปารีส การวิวาทกันในที่สาธารณะเกิดขึ้นอยู่หลายครั้งระหว่างรัฐบาลปารีสที่เป็นพันธมิตรกับแวร์ซายและนักสังคมนิยมหัวรุนแรงในเมืองหลวง ซึ่งท้ายที่สุดพวกหัวรุนแรงก็ปฏิเสธอำนาจของทางการแวร์ซาย และได้ก่อตั้งคอมมูนปารีสขึ้นมาในเดือนมีนาคม
หลักการที่คอมมูนสนับสนุนถูกฝ่ายอนุรักษนิยมฝรั่งเศสมองว่าเป็นความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ในขณะที่รัฐบาลแวร์ซายพยายามรักษาเสถียรภาพของตนที่เปราะบางไว้ภายหลังสงคราม ในเดือนพฤษภาคม กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การบัญชาการของปาทริส เดอ มัก มาอง และรัฐบาลแวร์ซาย เคลื่อนกำลังพลเข้าสู่ปารีสและประสบความสำเร็จในการปราบปรามคอมมูน ซึ่งในเวลานี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สัปดาห์เลือด" โดยคำว่า ordre moral ("ระเบียบทางศีลธรรม") ต่อมาถูกนำไปใช้กับสาธารณรัฐที่สามที่กำลังเติบโต เนื่องจากการรับรู้ถึงการฟื้นฟูนโยบายอนุรักษนิยมและค่านิยมภายหลังการปราบปรามคอมมูน[6]
ความนิยมของเดอ มัก มาอง เพิ่มสูงขึ้นจากชัยชนะที่มีต่อคอมมูน อีกทั้งต่อมาเขายังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1873 และดำรงตำแหน่งจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1879 มัก-มาองเป็นนักอนุรักษนิยมคาทอลิกที่เคร่งครัด เขามีแนวคิดเห็นพ้องกันกับฝ่ายเลชีตีมีสต์ แต่เขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพวกฆราวาส (กลุ่มคนที่เห็นว่าศาสนาไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับบ้านเมือง) มัก-มาองเริ่มมีความขัดแย้งกับรัฐสภามากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพรรครีพับลิกันฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายฆราวาสได้รับเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างการดำรงตำแหน่งของเขา
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1875 รัฐสภาได้ประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งสาธารณรัฐ และใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม และให้สภาทั้งสองอยู่ภายใต้ประธานสภา (นายกรัฐมนตรี) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยตลอดทศวรรษที่ 1870 มีการถกเถียงเรื่องการนำพระมหากษัตริย์กลับมาปกครองแทนสาธารณรัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในที่สาธารณะอยู่บ่อยครั้ง
การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1876 แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนของสาธารณชนต่อพรรครีพับลิกันและการต่อต้านระบอบราชาธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้น สมาชิกพรรครีพับลิกันได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฏรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝ่ายสนับสนุนราชาธิปไตยได้ที่นั่งในสภาสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประธานาธิบดีมัก-มาองจึงตอบโต้กลับในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1877 โดยพยายามระงับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของพรรครีพับลิกัน และจำกัดอิทธิพลทางการเมืองของพรรค หรือที่รู้จักกันในนาม le seize Mai
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1877 มัก-มาองบังคับให้นายกรัฐมนตรี ฌูลส์ ซิมง ซึ่งมาจากพรรครีพับลิกันลาออก และได้เลือก อัลแบร์ตแห่งบรอฌิลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน ซึ่งเขาคนนี้เป็นนักอนุรักษนิยมฝ่ายออร์เลอองนีสต์ สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นว่าการแต่งตั้งในครั้งนี้มิชอบด้วยกฎหมาย มิหนำซ้ำเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตอำนาจของประธานาธิบดี และปฏิเสธที่จะยอมรับการแต่งตั้งบรอฌิลีของมัก-มาอง ดังนั้นมัก-มาองจึงประกาศยุบสภา และเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในเดือนตุลาคมปีหน้า พรรครีพับลิกันจึงกล่าวหาเขาว่าพยายามทำรัฐประหารรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขาได้ปฏิเสธขอกล่าวหานี้
การเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พรรครีพับลิกันได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฏรเป็นส่วนใหญ่เช่นเคย ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของสาธารณชน พรรครีพับลิกันได้รับเสียงข้างมากในวุฒิสภาภายในเดือนมกราคม ค.ศ. 1879 ทำให้ยุติการฟื้นฟูราชวงศ์ทั้งสอง (บูร์บงและออร์เลอ็อง) และการสถาปนาระบอบราชาธิปไตย มัก-มาองประกาศลาออก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1879 จึงเป็นโอกาสของพรรครีพับลิกันที่จะปกครองประเทศ ซึ่งนำโดยฌูลส์ เกรวี[7]
พรรครีพับลิกันสายกลาง
[แก้]หลังจากวิกฤตการณ์ 16 พฤษภาคม ในปี ค.ศ. 1877 กลุ่มเลชีตีมีสต์ถูกกดันให้ลงจากอำนาจ ทำให้สาธารณรัฐถูกปกครองโดยสมาชิกพรรครีพับลิกันสายกลาง ซึ่งพวกเขาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในระดับปานกลาง เพื่อสร้างระบอบการปกครองใหม่อย่างมั่นคง กฎหมายของฌูลส์ แฟร์รี่ ทำให้ระบบการศึกษาภาครัฐไม่เสียค่าใช้จ่าย กฎหมายฉบับนี้ได้รับการโหวตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีอำนาจ และฆราวาส (laїque) ในปี ค.ศ. 1881 และ 1882 ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญญาแรกของการขยายอำนาจพลเมืองของสาธารณรัฐ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชคาทอลิกจึงสูญเสียการควบคุมการศึกษาของรัฐ[8]
เพื่อต้องการขัดขวางการฟื้นฟูของระบอบราชาธิปไตย มงกุฏเพชรแห่งฝรั่งเศสหลายชิ้นถูกแบ่งส่วน แล้วนำไปขายในปี ค.ศ. 1885 มีเพียงไม่กี่มงกุฎเท่านั้นที่ถูกเก็บไว้ และอัญมณีล้ำค่าของมงกุฏเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยแก้วเคลือบสี
วิกฤตการณ์บูลอนจีร์
[แก้]ในปี ค.ศ. 1889 สาธารณรัฐได้เผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างกะทันหัน เนื่องจากนายพลฌอร์ฌ บูลอนจีร์ ซึ่งเป็นนายพลที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามและชนะการเลือกตั้งหลายครั้ง ได้ลาออกจากตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎรและลงสมัครรับตำแหน่งอีกครั้งในเขตเลือกตั้งอื่น โดยในเดือนมกราคม ค.ศ. 1889 เขาได้รับความนิยมสูงที่สุด เขามีทีท่าว่าจะทำการรัฐประหาร และตั้งตนเป็นเผด็จการ โดยการสนับสนุนจากย่านกรรมกรของปารีสและเมืองอื่น ๆ รวมทั้งชาวคาทอลิกและนักอนุรักษนิยมในชนบท เขาส่งเสริมลัทธิชาตินิยมที่รุนแรงต่อเยอรมนี การเลือกตั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1889 ถือเป็นความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดสำหรับพวกบูลอนจิสต์ (Boulangists) เนื่องจากความพ่ายแพ้ต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งที่กีดกันไม่ให้บูลอนจีร์ลงสมัครหลายเขตเลือกตั้งได้อย่างต่อเนื่อง จากความพ่ายแพ้ของบูลอนจีร์ในครั้งนี้ได้ทำลายกลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มนิยมกษัตริย์ในฝรั่งเศสอย่างรุนแรง และไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1940[9]
นักวิชาการสมัยใหม่ได้ให้ความเห็นโต้แย้งว่าพวกบูลอนจิสต์น่าจะเป็นตัวแทนของกลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้ายมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายขวา เนื่องด้วยผลงานของพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของฉันทามติที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างฝ่ายหัวรุนแรงของฝรั่งเศสที่จะก่อตัวขึ้นในอนาคตข้างหน้าในช่วงแดรฟุส โดยชายคนนี้เคยเป็นพวกบูลอนจิสต์ของกลุ่มหัวรุนแรงมาก่อน[10]
เรื่องอื้อฉาวปานามา
[แก้]เรื่องอื้อฉาวปานามา ในปี ค.ศ. 1892 ถือเป็นการฉ้อโกงทางการเงินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความล้มเหลวในการสร้างคลองปานามา เนื่องด้วยปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ความไม่มีประสิทธิภาพ และการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงกว้าง แต่ปัญหาดังกล่าวถูกปกปิดโดยเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสที่ติดสินบน จึงทำให้บริษัทคลองปานามาล้มละลาย หุ้นของบริษัทไร้คุณค่า โดยนักลงทุนทั่วไปต้องสูญเสียเงินเกือบหนึ่งพันล้านฟรังก์[11]
รัฐสวัสดิการและสาธารณสุข
[แก้]ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐบาลฝรั่งเศสถือว่ามีบทบาทด้านรัฐสวัสดิการน้อยมาก เมื่อเทียบกับเยอรมนี แต่ชาวฝรั่งเศสกลับมีระดับรายได้ที่สูงกว่าชาวเยอรมันเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่น้อยกว่าก็ตาม ในขณะที่การจัดเก็บภาษีอากรและการใช้จ่ายของรัฐบาลฝรั่งเศสอยู่ในปริมาณที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับรัฐบาลของเยอรมนี
ฝรั่งเศสมีความล้าหลังกว่าเยอรมนีเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร ที่ยังตามหลังในเรื่องการพัฒนารัฐสวัสดิการที่มีการสาธารณสุข การประกันภัยคุ้มครองการว่างงาน และแผนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ มีการประกาศใช้กฎหมายประกันอุบัติเหตุสำหรับกรรมกร ในปี ค.ศ. 1898 และในปี ค.ศ. 1910 ฝรั่งเศสได้ก่อตั้งโครงการแผนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ต่างจากเยอรมนีหรือบริเตนที่ดำเนินโครงการนี้เล็กกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น แผนเงินบำนาญโดยความสมัครใจ เป็นต้น[12] นักประวัติศาสตร์ ทิโมธี สมิธ พบว่าความหวาดกลัวของชาวฝรั่งเศสที่มีต่อโครงการความช่วยเหลือสาธารณะแห่งชาตินั้น มีสาเหตุมาจากการดูหมิ่นเหยียดหยามคนจนตามกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ[13] การแพร่ระบาดของวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวอายุ 20 ปี ทำให้เยอรมนีกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยสาธารณะและสถานพยาบาลสาธารณะอย่างเข้มงวด ต่างจากฝรั่งเศสที่ปล่อยให้แพทย์เอกชนจัดการปัญหากันเอง[14] วิชาชีพแพทย์ของฝรั่งเศสจึงมีเพื่ออภิสิทธิ์ชนเท่านั้น และนักปฏิรูปสาธารณสุขไม่ได้รับการจัดระเบียบหรือมีอิทธิพลอย่างในเยอรมนี บริเตน หรือสหรัฐอเมริกา[15][16] ยกตัวอย่างเช่น เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1880 มีการต่อสู้กันอย่างยาวนาน เพื่อให้มีการออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องสาธารณสุข รณรงค์ให้มีการจัดระเบียบบริการสุขภาพของประเทศใหม่ กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนโรคติดเชื้อ กำหนดให้มีการกักกัน และปรับปรุงกฎหมายด้านสุขภาพและการเคหะของปี ค.ศ. 1850
อย่างไรก็ตาม นักปฏิรูปต้องเผชิญกับการต่อต้านจากเหล่าข้าราชการ นักการเมือง และแพทย์ เนื่องจากเป็นการคุกคามต่อผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างมากมาย ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการถกเถียงและล่าช้าเป็นเวลากว่า 20 ปี ก่อนที่จะมีการออกกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1902 เพราะรัฐบาลตระหนักว่าโรคติดต่อมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้กำลังทหารของประเทศอ่อนแอลงอย่างมาก และอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรชาวฝรั่งเศสต่ำกว่า เมื่อเทียบกับเยอรมนี[17] แต่อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ที่อัตราการเติบโตของประชากรฝรั่งเศสต่ำกว่าเยอรมนีนั้น มีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดของจำนวนประชากรฝรั่งเศสที่ต่ำ อันเป็นผลมาจากข้อกำหนดภายใต้กฎหมายปฏิวัติฝรั่งเศสว่าด้วยเรื่องที่ดินจะต้องแบ่งระหว่างบุตรชายทั้งหมด (หรือการแบ่งมรดกจำนวนมาก) จากข้อกำหนดนี้ ทำให้ชาวนาไม่ต้องการมีลูกชายมากกว่าหนึ่งคน และไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าชาวฝรั่งเศสมีอายุขัยมากกว่าชาวเยอรมัน[18][19]
เหตุการณ์แดรฟุส
[แก้]เหตุการณ์แดรฟุสเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่สั่นสะเทือนไปทั่วฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1894 จนกระทั่งการตัดสินของศาลอุทธรณ์ในปี ค.ศ. 1906 ทำให้เหตุการณ์นี้เป็นที่พูดถึงกันอย่างยาวนานหลายทศวรรษ การดำเนินเหตุการณ์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความอยุติธรรมสมัยใหม่ โดยยังคงเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของกระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาดซับซ้อน ซึ่งแสดงถึงบทบาทสำคัญของแรงกดดันและความคิดเห็นของสาธารณชน และแสดงถึงการต่อต้านชาวยิวอย่างโจ่งแจ้งภายในกองทัพฝรั่งเศส ที่ได้รับการปกป้องโดยกลุ่มอนุรักษนิยมและนักอนุรักษนิยมคาทอลิกที่ต่อต้านฝ่ายฆราวาสกลาง-ซ้าย, ฝ่ายซ้าย และกองกำลังสาธารณรัฐ รวมทั้งชาวยิวส่วนใหญ่ด้วย ในท้ายที่สุด ฝ่ายสาธารณรัฐก็ได้รับชัยชนะในเหตุการณ์นี้[20][21]
โดยเหตุการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1894 เมื่อศาลทหารทำการพิพากษาลงโทษต่อข้อหาขายชาติของร้อยเอก อาลแฟรด แดรฟุส นายทหารประจำกรมเสนาธิการชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิวซึ่งอพยพมาจากแคว้นอาลซัส เขาถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตในข้อหาทรยศต่อชาติ เพราะขายความลับทางการทหารให้แก่ผู้ช่วยทูตทหารบกเยอรมันประจำกรุงปารีส และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเดวิลส์ในแคว้นเฟรนช์เกียนา (หรือที่รู้จักกันในนาม la guillotine sèche หรือเกาะกิโยตีนแห้ง) ซึ่งเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานกว่าห้าปี
สองปีต่อมา ได้มีการค้นพบหลักฐานชิ้นใหม่ที่ระบุว่าพันตรี แฟร์ดีน็อง วาลแซ็ง แอ็สแตราซี เป็นผู้ขายความรับที่แท้จริง แต่ภายหลังจากที่นายทหารระดับสูงของกองทัพพยายามระงับหลักฐานชิ้นใหม่นี้ ศาลทหารจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าแอ็สแตราซีไม่มีความผิด ในการไต่สวน ทางกองทัพได้เพิ่มข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อแดรฟุส โดยอิงจากเอกสารเท็จที่พวกเขาได้สร้างขึ้น คำวินิจฉัยของศาลทหารที่พยายามใส่ร้ายแดรฟุสเริ่มแพร่กระจายไปทั่ว โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการโต้เถียง J'accuse ซึ่งเป็นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีด้วยความแค้นเคืองที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ลอรอร์ของกรุงปารีสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1898 โดยนักเขียนนวนิยายชื่อดัง เอมีล ซอลา ซึ่งได้เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้มีการพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง
ในปี ค.ศ. 1899 แดรฟุสถูกส่งตัวกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง เหตุการณ์ทางการเมืองและตุลาการเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งฝ่ายกันภายในสังคมฝรั่งเศส ระหว่างบรรดาผู้สนับสนุนแดรฟุส (Dreyfusards) อาทิ อานาตอล ฟร็องส์, อ็องรี ปวงกาเร และฌอร์ฌ เกลม็องโซ และบรรดาผู้ที่ต่อต้านเขา (anti-Dreyfusards) อาทิ เอดัวร์ ดรูมงท์ ผู้อำนวยการและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อต้านชาวยิว La Libre Parole การพิจารณาคดีครั้งใหม่นี้ส่งผลให้เกิดการพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง และถูกตัดสินให้จำคุก 10 ปี แต่แดรฟุสได้รับการอภัยโทษและปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ในท้ายที่สุด ข้อกล่าวหาทั้งหมดของเขาได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย และในปี ค.ศ. 1906 แดรฟุสได้กลับเข้ารับตำแหน่งในกองทัพฝรั่งเศสและได้เลื่อนยศเป็นนายพันเอก
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1894 จนถึง ค.ศ. 1906 วิกฤตการณ์ได้แบ่งฝ่ายสังคมภายในฝรั่งเศสเป็นสองฝ่าย: ฝ่ายสนับสนุนกองทัพ (anti-Dreyfusards) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอนุรักษนิยม, นักอนุรักษนิยมคาทอลิก และฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ ซึ่งพ่ายแพ้ต่อฝ่ายต่อต้านนักบวช, ฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ (Dreyfusards) ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมั่นคงจากเหล่าปัญญาชนและครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ยังทำให้การเมืองภายในฝรั่งเศสขมขื่นและยังช่วยเสริมอิทธิพลของกลุ่มนักการเมืองหัวรุนแรงอย่างทวีคูณ
ประวัติศาสตร์สังคม
[แก้]หนังสือพิมพ์
[แก้]โครงสร้างทางการเมืองที่เป็นระบอบประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนจากการแพร่ขยายของหนังสือพิมพ์การเมือง โดยมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันในกรุงปารีสจาก 1 ล้านฉบับในปี ค.ศ. 1870 เป็น 5 ล้านฉบับในปี ค.ศ. 1910 ต่อมาได้มีการตีพิมพ์ไปถึง 6 ล้านฉบับในปี ค.ศ. 1939 การเติบโตอย่างรวดเร็วของกิจการโฆษณาทำให้พื้นฐานทางการเงินของกิจการการพิมพ์มีความมั่นคงเป็นอย่างมาก แต่รายได้ที่ได้จากกิจการโฆษณาไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ ดังนั้นทางสำนักพิมพ์จึงต้องเสริมเงินอุดหนุนลับที่ได้รับจากผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อต้องการความนิยมจากการรายงานข่าว กฎหมายเสรีภาพสื่อฉบับใหม่ ค.ศ. 1881 ได้ยกเลิกข้อจำกัดที่เข้มงวดของสื่อที่มีมานานกว่าหลายทศวรรษ แท่นพิมพ์ความเร็วสูงเริ่มเป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1860 ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาและลดต้นทุนในการตีพิมพ์ได้อย่างดีเยี่ยม หนังสือพิมพ์รูปแบบใหม่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์รายวัน เลอ เปอติต ฌูร์นาล ที่สามารถดึงดูดผู้ที่สนใจในด้านความบันเทิงและคอลัมน์ซุบซิบมากกว่าข่าวสถานการณ์บ้านเมือง โดยยึดครองตลาดที่ปารีสได้ถึงหนึ่งในสี่และสามารถบังคับให้หนังสือพิมพ์รายอื่น ๆ ลดราคาลงได้ด้วย หนังสือพิมพ์รายใหญ่ได้จ้างนักข่าวของตนเองเพื่อชิงความได้เปรียบในการนำเสนอข่าว หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องอาศัย “Agence Havas” (ปัจจุบันคือ สำนักงานสื่อมวลชนแห่งฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการข่าวทางโทรเลขที่มีเครือข่ายนักข่าวและได้มีการทำสัญญากับรอยเตอร์สเพื่อให้บริการไปทั่วโลก กิจการหนังสือพิมพ์รายเก่ายังคงสามารถรักษาลูกค้าของตนได้อยู่ โดยการมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นทางการเมืองอย่างจริงจัง[22] ตามเอกสารต่าง ๆ จะมีการให้ข้อมูลจำนวนการตีพิมพ์ที่ผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ในปี ค.ศ. 1913 หนังสือพิมพ์รายวัน เลอ ปาติต โพรว็องซาน มีการตีพิมพ์ถึงประมาณ 100,000 ฉบับ และหนังสือพิมพ์รายวัน เลอ ปาติต เมริดียงนาล มีการตีพิมพ์จำนวน 70,000 ฉบับ โดยมีโฆษณาอยู่ในสัดส่วนเพียง 20% ของหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเท่านั้น[23]
กลุ่มโรมันคาทอลิกลัทธิอัสสัมชัญพยายามกดดันให้สื่อมวลชนของตนปฏิรูป โดยผ่านหนังสือพิมพ์ระดับชาติอย่าง ลา ครัว ซึ่งเป็นสื่อหลักของนิกายโรมันคาทอลิก ในขณะเดียวกันปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในช่วงนั้น และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรสนิยมของแต่ละภูมิภาคด้วย กลุ่มนักฆราวาสและนักสาธารณรัฐนิยมมองว่าหนังสือพิมพ์เป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อหนังสือพิมพ์ได้เป็นสื่อกลางที่สำคัญในการโจมตีแดรฟุสผู้ทรยศและยุยงให้เกิดการต่อต้านชาวยิว ภายหลังจากที่แดรฟุสได้รับการอภัยโทษ รัฐบาลหัวรุนแรงได้สั่งระงับกลุ่มลัทธิอัสสัมชัญและหนังสือพิมพ์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1900[24]
ธนาคารหลายแห่งได้มีการจ่ายเงินอย่างลับ ๆ กับหนังสือพิมพ์บางฉบับ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางการเงินโดยเฉพาะและเพื่อปกปิดการประพฤติโดยมิชอบ พวกเขายังได้รับค่าตอบแทนจากโฆษณาที่โดดเด่นของบทความข่าวหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการค้า หนังสือพิมพ์บางแห่งมีการขู่ว่าจะเปิดโปงความลับทางธุรกิจโดยการบังคับให้บริษัทโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลอันไม่พึงประสงค์ลงในหนังสือพิมพ์ของพวกเขา รัฐบาลต่างประเทศหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและตุรกี ได้จ่ายเงินอย่างลับ ๆ ต่อสื่อมวลชนของฝรั่งเศสหลายแสนฟรังก์ต่อปี เพื่อรับประกันในการรายงานข่าวที่ดีเกี่ยวกับการขายพันธบัตรในกรุงปารีส เมื่อรัสเซียประสบกับสถานการณ์เลวร้าย อาทิ การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 หรือระหว่างการทำสงครามกับญี่ปุ่น รัฐบาลรัสเซียได้จ่ายเงินให้สื่อมวลชนและหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสมากถึงหนึ่งล้านฟรังก์ เพื่อชำระล้างข่าวร้ายต่าง ๆ ในรัสเซีย ในช่วงระหว่างสงครามโลก หนังสือพิมพ์กลายเป็นตัวแทนโฆษณาชวนเชื่อในนามของการส่งเสริมคุณธรรมของกองทัพฝรั่งเศสและการหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ พวกเขาไม่ค่อยรายงานข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่มักจะเป็นข่าวที่ดีเกี่ยวกับกองทัพเสียมากกว่า โดยสรุปแล้ว หนังสือพิมพ์ไม่ได้เป็นตัวแทนของความเป็นจริง แต่เป็นการโฆษณาที่ได้รับการจ่ายเงินโดยกิจการธนาคาร[25]
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ยุติยุคทองของสื่อมวลชนลง พนักงานหนุ่มสาวต่าง ๆ ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร และแทบไม่มีผู้ชายมารับช่วงงานแทนเลย (นักข่าวผู้หญิงมักถูกมองว่าไม่เหมาะสมในช่วงเวลานั้น) การขนส่งกระดาษและหมึกลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากทางรัฐบาลได้แบ่งส่วนระบบการคมนาคมทางรางให้กับทางการทหาร ทำให้การส่งออกสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง อัตราเงินเฟ้อทำให้ราคาหนังสือพิมพ์ ราคาหน้าปกเพิ่มขึ้น ยอดจำหน่ายลดลง และหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 242 ฉบับที่ตีพิมพ์นอกกรุงปารีสได้ปิดตัวลง รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการสื่อมวลชนกลางเดื่อกำกับดูแลสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด หน่วยงานอิสระต่าง ๆ ได้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ส่งผลให้การรายงานข่าวหรือบทบรรณาธิการถูกห้ามเว้นว่างไว้ หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับถูกจำกัดให้เหลือเพียงสองหน้าแทนที่จะเป็นสี่หน้าตามปกติ[23]
หนังสือพิมพ์ระดับภูมิภาคเฟื่องฟูมากภายหลังยุค 1900 อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ในปารีสส่วนใหญ่กลับไม่เฟื่องฟูเลยภายหลังสงคราม หนังสือพิมพ์ในยุคภายหลังสงครามที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ ปารีส ซัวร์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ปราศจากความเกี่ยวข้องทางการเมืองและมุ่งมั่นรายงานข่าวที่น่าตื่นเต้นเพื่อช่วยให้เกิดการแพร่หลายของสื่อมากขึ้น และยังรวมถึงการสร้างบทความอย่างจริงจรังเพื่อสร้างเกียรติภูมิ โดยในปี ค.ศ. 1939 หนังสือพิมพ์ ปารีส ซัวร์ มียอดจำหน่ายมากกว่า 1.7 ล้านฉบับ โดยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของหนังสือพิมพ์คู่แข่งอย่าง เลอ เปอติต ปาริเซียง นอกจากหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ปารีส ซัวร์ ยังสนับสนุนนิตยสารสำหรับผู้หญิงอย่าง มารี-แคลร์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง รวมทั้งนิตยสาร มัตช์ ซึ่งเป็นต้นแบบในการถ่ายภาพวารสารศาสตร์ของนิตยสาร ไลฟ์ ของอเมริกา[26]
ความทันสมัยของชนบท
[แก้]ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม และเกษตรกรเป็นเอกลักษณ์แห่งพลเมืองฝรั่งเศส ตามหนังสือ Peasants into Frenchmen (1976) นักประวัติศาสตร์ ยูจีน เวเบอร์ ได้กล่าวถึงความทันสมัยของชนบทในฝรั่งเศสและได้ใหเหตุผลไว้ว่า พื้นที่ชนบทของฝรั่งเศสได้เปลี่ยนจากความล้าหลังและโดดเดี่ยวไปสู่ความทันสมัยด้วยความรู้สึกถึงเอกลักษณ์ประจำชาติในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20[27] เขาเน้นย้ำถึงบทบาทของระบบทางรถไฟ, โรงเรียนของรัฐบาลสาธารณรัฐ, และระบบการเกณฑ์ทหารสากล ตามการค้นพบของเขาที่มาจากบันทึกของโรงเรียน, รูปแบบการย้ายถิ่นฐาน, เอกสารการรับราชการทหารและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ เวเบอร์แย้งว่าจนถึงราวปี ค.ศ. 1900 ความตระหนังถึงความเป็นชาติฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอลงในต่างจังหวัด จากนั้นเวเบอร์ได้ศึกษาต่อไปว่านโยบายของสาธารณรัฐที่สามสามารถสร้างความตระหนักถึงความเป็นชาติฝรั่งเศสในพื้นที่ชนบทได้อย่างไร การศึกษาของเวเบอร์ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบางคนที่โต้แย้งว่า ความตระหนักถึงความเป็นชาติฝรั่งเศสยังคงมีอยู่ในต่างจังหวัดก่อนถึงปี ค.ศ. 1870[28]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Population of the Major European Countries in the 19th Century". wesleyan.edu. สืบค้นเมื่อ 30 July 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Larkin, Maurice (2002). Religion, Politics and Preferment in France since 1890: La Belle Epoque and its Legacy. Cambridge University Press. p. 3. ISBN 978-0-521-52270-0.
- ↑ "The Night the Old Regime Ended: August 4, 1789 and the French Revolution By Michael P. Fitzsimmons". www.psupress.org. สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
- ↑ D.W. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 77–105.
- ↑ Steven D. Kale, "The Monarchy According to the King: The Ideological Content of the 'Drapeau Blanc,' 1871–1873." French History (1988) 2#4 pp 399–426.
- ↑ D.W. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 106–13.
- ↑ Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 127–43.
- ↑ D.W. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 144–79.
- ↑ Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 183–213.
- ↑ Mazgaj, Paul (1987). "The Origins of the French Radical Right: A Historiographical Essay". French Historical Studies. 15 (2): 287–315. doi:10.2307/286267. JSTOR 286267.
- ↑ David McCullough, The path between the seas: the creation of the Panama Canal, 1870–1914 (2001) pp 45–242.
- ↑ Nord, Philip (1994). "The Welfare State in France, 1870–1914". French Historical Studies. 18 (3): 821–838. doi:10.2307/286694. JSTOR 286694.
- ↑ Timothy B. Smith, "The ideology of charity, the image of the English poor law, and debates over the right to assistance in France, 1830–1905." Historical Journal 40.04 (1997): 997–1032.
- ↑ Allan Mitchell, The Divided Path: The German Influence on Social Reform in France After 1870 (1991) pp 252–75 excerpt
- ↑ Martha L. Hildreth, Doctors, Bureaucrats & Public Health in France, 1888–1902 (1987)
- ↑ Alisa Klaus, Every Child a Lion: The Origins of Maternal & Infant Health Policy in the United States & France, 1890–1920 (1993).
- ↑ Ann-Louise Shapiro, "Private Rights, Public Interest, and Professional Jurisdiction: The French Public Health Law of 1902." Bulletin of the History of Medicine 54.1 (1980): 4+
- ↑ Life expectancy in France 1765-2020
- ↑ Life expectancy (from birth) in Germany, from 1875 to 2020
- ↑ Read, Piers Paul (2012). The Dreyfus Affair. New York: Bloomsbury Press. ISBN 978-1-60819-432-2.
- ↑ Wilson, Stephen (1976). "Antisemitism and Jewish Response in France during the Dreyfus Affair". European Studies Review. 6 (2): 225–248. doi:10.1177/026569147600600203. S2CID 144943082.
- ↑ Hutton, Patrick H., บ.ก. (1986). Historical Dictionary of the Third French Republic, 1870–1940. Vol. 2. London: Aldwych Press. pp. 690–694. ISBN 978-0-86172-046-0.
- ↑ 23.0 23.1 Collins, Ross F. (2001). "The Business of Journalism in Provincial France during World War I". Journalism History. 27 (3): 112–121. doi:10.1080/00947679.2001.12062578. ISSN 0094-7679. S2CID 141242021.
- ↑ Mather, Judson (1972). "The Assumptionist Response to Secularisation, 1870–1900". ใน Bezucha, Robert J. (บ.ก.). Modern European Social History. Lexington: D.C. Heath. pp. 59–89. ISBN 978-0-669-61143-4.
- ↑ See Zeldin, Theodore (1977). "Newspapers and corruption". France: 1848–1945. Oxford: Clarendon Press. pp. 492–573. ISBN 978-0-19-822125-8. Also, pp 522–24 on foreign subsidies.
- ↑ Hutton, Patrick H., บ.ก. (1986). Historical Dictionary of the Third French Republic, 1870–1940. Vol. 2. London: Aldwych Press. pp. 692–694. ISBN 978-0-86172-046-0.
- ↑ Amato, Joseph (1992). "Eugen Weber's France". Journal of Social History. 25 (4): 879–882. doi:10.1353/jsh/25.4.879. JSTOR 3788392.
- ↑ Margadant, Ted W. (1979). "French Rural Society in the Nineteenth Century: A Review Essay". Agricultural History. 53 (3): 644–651. JSTOR 3742761.
บรรณานุกรม
- การสำรวจ
- Bell, David, et al. A Biographical Dictionary of French Political Leaders since 1870 (1990), 400 short articles by experts
- Bernard, Philippe, and Henri Dubief. The Decline of the Third Republic, 1914–1938 (The Cambridge History of Modern France) (1988) excerpt and text search
- Beaupré, Nicolas. Les Grandes Guerres 1914–1945 (Paris: Éditions Belin, 2012) 1152 pp. ISBN 978-2-7011-3387-4; in French; online review in English by James E. Connolly, Nov. 2013)
- Brogan, D. W The development of modern France (1870–1939) (1953) online
- Bury, J. P. T. France, 1814–1940 (2003) ch 9–16
- Encyclopædia Britannica (12th ed. 1922) comprises the 11th edition plus three new volumes 30-31-32 that cover events since 1911 with very thorough coverage of the war as well as every country and colony. Included also in 13th edition (1926) partly online
- Fortescue, William. The Third Republic in France, 1870–1940: Conflicts and Continuities (2000) excerpt and text search
- Furet, François. Revolutionary France 1770–1880 (1995), pp 492–537. survey of political history by leading scholar
- Lucien Edward Henry, "Current History of France", The Royal Family of France, Wikidata Q107258923
- Hutton, Patrick H., ed. Historical Dictionary of the Third French Republic, 1870–1940 (Greenwood, 1986)[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Larkin, Maurice. France since the Popular Front: Government and People, 1936–1986 (Oxford UP, 1988)
- Mayeur, Jean-Marie, and Madeleine Rebirioux. The Third Republic from its Origins to the Great War, 1871–1914 (The Cambridge History of Modern France) (1988) excerpt and text search
- Shirer, William L. The Collapse of the Third Republic: An Inquiry into the Fall of France, New York: Simon and Schuster, 1969 online free to borrow
- Thomson, David. Democracy in France: The third republic (1952) online
- Wolf, John B. France: 1815 to the Present (1940) online free pp 349–501.
- Wright, Gordon. France in Modern Times (5th erd. 1995) pp 205–382
- นโยบายต่างประเทศและอาณานิคม
- Adamthwaite, Anthony. Grandeur and Misery: France's Bid for Power in Europe 1914–1940 (1995) excerpt and text search
- Conklin, Alice L. A Mission to Civilize: The Republican Idea of Empire in France and West Africa, 1895–1930 (2000) excerpt and text search
- Duroselle, Jean-Baptiste. France and the Nazi Threat: The Collapse of French Diplomacy 1932–1939 (2004); Translation of his highly influential La décadence, 1932–1939 (1979)
- Gooch, G.P. Franco-German Relations 1871–1914 (1923)
- MacMillan, Margaret. The War that Ended Peace: The Road to 1914 (2013).
- MacMillan, Margaret. Paris 1919: six months that changed the world (2007).
- Nere, J. Foreign Policy of France 1914–45 (2010)
- Quinn, Frederick. The French Overseas Empire (2001)
- Taylor, A.J.P. (1954). The Struggle for Mastery in Europe 1848–1918.
- อุดมการณ์การเมืองและการปฏิบัติ
- Hanson, Stephen E (2010). "The Founding of the French Third Republic". Comparative Political Studies. 43 (8–9): 1023–1058. doi:10.1177/0010414010370435. S2CID 145438655.
- Jackson, Julian. The Politics of Depression in France 1932–1936 (2002) excerpt and text search
- Kennedy, Sean. Reconciling France Against Democracy: the Croix de feu and the Parti social français, 1927–1945 (McGill-Queen's Press-MQUP, 2007)
- Kreuzer, Marcus. Institutions and Innovation: Voters, Parties, and Interest Groups in the Consolidation of Democracy—France and Germany, 1870–1939 (U. of Michigan Press, 2001)
- Lehning, James R.; To Be a Citizen: The Political Culture of the Early French Third Republic (2001) [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Passmore, Kevin (1993). "The French Third Republic: Stalemate Society or Cradle of Fascism?". French History. 7 (4): 417–449. doi:10.1093/fh/7.4.417.
- Roberts, John. "General Boulanger" History Today (Oct 1955) 5#10 pp 657-669, online
- วัฒนธรรมและสังคม
- La Belle Époque. New York: The Metropolitan Museum of Art. 1982. ISBN 978-0870993299.
- Price, Roger. A Social History of Nineteenth-Century France (1987)[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Robb, Graham. The Discovery of France: A Historical Geography, from the Revolution to the First World War (2007)
- Weber, Eugen. The Hollow Years: France in the 1930s (1996)
- Weber, Eugen. Peasants into Frenchmen: The Modernization of Rural France, 1870–1914 (1976) excerpt and text search
- Weber, Eugen. France, Fin de Siècle (1988)
- Zeldin, Theodore. France: 1848–1945: Politics and Anger; Anxiety and Hypocrisy; Taste and Corruption; Intellect and Pride; Ambition and Love (2 vol 1979), topical history
- ผู้หญิง, เพศสภาพ, เพศ
- Campbell, Caroline. "Gender and Politics in Interwar and Vichy France." Contemporary European History 27.3 (2018): 482–499. online
- Copley, A. R. H. Sexual Moralities in France, 1780–1980: New Ideas on the Family, Divorce and Homosexuality (1992)
- Diamond, Hanna. Women and the Second World War in France, 1939–1948: choices and constraints (Harlow: Longman, 1999)
- Moses, Claire. French Feminism in the 19th Century (1985) excerpt and text search
- Pedersen, Jean. Legislating the French Family: Feminism, Theater, and Republican Politics: 1870–1920 (2003) excerpt and text search
- สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- Audoin-Rouzeau, Stephane, and Annette Becker. 14–18: Understanding the Great War (2003) ISBN 0-8090-4643-1
- Becker, Jean Jacques. The Great War and the French People (1986)
- Darrow, Margaret H. French Women and the First World War: War Stories of the Home Front (2000)
- Doughty, Robert A. Pyrrhic Victory: French Strategy and Operations in the Great War (2008), 592pp; excerpt and text search, military history
- Fridenson, Patrick, ed. The French Home Front, 1914–1918 (1993).
- Gooch, G. P. Recent Revelations of European Diplomacy (1940), pp 269–30 summarizes published memoirs by main participants
- Smith, Leonard V. et al. France and the Great War (2003)
- Tucker, Spencer, ed. European Powers in the First World War: An Encyclopedia (1999)
- Winter, Jay, and Jean-Louis Robert, eds. Capital Cities at War: Paris, London, Berlin 1914–1919 (2 vol. 1999, 2007), 30 chapters 1200pp; comprehensive coverage by scholars vol 1 excerpt; vol 2 excerpt and text search
- ข้อมูลปฐมภูมิ
- Anderson, F.M. (1904). The constitutions and other select documents illustrative of the history of France, 1789–1901. The H. W. Wilson company 1904., complete text online