คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม
ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของฟินแลนด์
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม 1944 – 11 มีนาคม 1946
นายกรัฐมนตรี Antti Hackzell
Urho Castrén
J. K. Paasikivi
ก่อนหน้า ริสโต รุติ
ถัดไป ยุโฮ กุสติ ปาสิกิวิ
ผู้บัญชาการกองทัพฟินแลนด์
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม 1939 – 12 มกราคม 1945
ก่อนหน้า Hugo Österman (ในฐานะผู้บัญชาการของเจ้าภาพ)
ถัดไป Axel Heinrichs (ในฐานะหัวหน้ากลาโหม)
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม 1918 – 30 พฤษภาคม 1918
ก่อนหน้า สถาปนาตำแหน่ง
ถัดไป Karl Fredrik Wilkama
ผู้สำเร็จราชการแห่งฟินแลนด์
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม 1918 – 26 กรกฎาคม 1919
ก่อนหน้า เปห์ เอวินด์ สวินฮุฟวุด
ถัดไป คาร์โล ยุโฮ สโตห์ลเบิร์ก ในฐานะ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 04 มิถุนายน ค.ศ. 1867(1867-06-04)
Askainen, ราชรัฐฟินแลนด์, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต 27 มกราคม ค.ศ. 1951(1951-01-27) (83 ปี)
โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์
ที่ไว้ศพ Hietaniemi cemetery, เฮลซิงกิ
เชื้อชาติ ฟินแลนด์
คู่สมรส Anastasie Mannerheim, born Arapova (divorced 1919)
บุตร Anastasie (1893–1977)
Sophie (1895–1963)
วิชาชีพ เจ้าหน้าที่ทหาร และ รัฐบุรุษ
ศาสนา ลูเทอแรน
ลายมือชื่อ CGE Mannerheim autograph.svg
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  รัสเซีย
 ฟินแลนด์
สังกัด กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย
White Guard
กองทัพฟินแลนด์
ประจำการ 1887–1917 (รัสเซีย)
1918–1946 (ฟินแลนด์)
ยศ พลโท (รัสเซีย)
จอมพล (ฟินแลนด์)
การยุทธ์ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามกลางเมืองฟินแลนด์
สงครามโลกครั้งที่สอง

บารอน คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม (สวีเดน: Carl Gustaf Emil Mannerheim) เป็นผู้นำกองทัพและรัฐบุรุษชาวฟินแลนด์[1] มันเนอร์เฮมทำหน้าที่เป็นผู้นำกองทัพฝ่ายขาวในสงครามกลางเมืองฟินแลนด์ ผู้สำเร็จราชการแห่งฟินแลนด์ ( ค.ศ. 1918–1919) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังป้องกันฟินแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพลแห่งฟินแลนด์ และประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์คนที่ 6 (ค.ศ. 1944–1946)

มันเนอร์เฮมได้เป็นทหารในกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย ได้รับตำแหน่งยศพลโท  เขายังมีส่วนในพิธีราชาภิเษกของซาร์นิโคลัสที่ 2 และต่อมาก็มีการพบปะเป็นการส่วนตัวหลายครั้งกับพระเจ้าซาร์ ภายหลังบอลเชวิคก่อการปฏิวัติ ฟินแลนด์ได้ประกาศอิสรภาพแต่ไม่นานก็ได้เข้าพัวพันกับสงครามกลางเมืองระหว่าง"ฝ่ายแดง" ที่สนับสนุนต่อบอลเชวิค และ "ฝ่ายขาว" ซึ่งเป็นกองกำลังทหารของวุฒิสภาแห่งฟินแลนด์ ได้รับการสนับสนุนจากทหารจักรวรรดิเยอรมัน

มันเนอร์เฮมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำกองทัพฝ่ายขาว สิบสองปีต่อมา เมื่อฟินแลนด์ทำสงครามกับสหภาพโซเวียตถึงสองครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1944 มันเนอร์เฮมได้ประสบความสำเร็จในการนำกองทัพทำการป้องกันประเทศฟินแลนด์ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของประเทศ ในปี ค.ศ. 1944 เมื่อเห็นโอกาสที่เยอรมันจะพ่ายแพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดแจ้ง มันเนอร์เฮมได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์และควบคุมการเจรจาสันติภาพกับสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร เขาได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1946 และได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1951

ในการสำรวจประเทศฟินแลนด์ใน 53 ปีภายหลังจากที่เขาเสียชีวิต มันเนอร์เฮมได้รับการโหวตว่าเป็นชาวฟินแลนด์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[2] เมื่อได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฟินแลนด์และประเทศอื่นๆในบทบาทที่ไม่มีใครเทียบได้ในการก่อตั้งและต่อมาได้รักษาเอกราชของประเทศฟินแลนด์จากรัสเซีย มันเนอร์เฮมได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งฟินแลนด์ในยุคปัจจุบัน[3][4][5][6][7] และเฮลซิงกิ เมืองหลวงฟินแลนด์ได้มีพิพิธภัณฑ์มันเนอร์เฮมที่เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงเขาและช่วงเวลานั้นเรียกว่า "สิ่งที่ใกล้ที่สุดคือ อนุสรณ์แห่งชาติ[ฟินแลนด์]"[8] นอกจากนี้เขายังเป็นชาวฟินแลนด์เพียงคนเดียวที่ได้รับตำแหน่งจอมพล ซึ่งเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ที่มอบให้แก่นายพลทหารที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะ

อ้างอิง[แก้]

  1. Klinge, Matti. "Mannerheim, Gustaf (1867 – 1951)". National Biography of Finland. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  2. (ในภาษาฟินแลนด์) Suuret suomalaiset at YLE.fi
  3. Robert Edwards, White Death: Russia's War on Finland, 1939–40 , Phoenix, an Imprint of The Orion Publishing Group Ltd, (2007), p. 21
  4. Oliver Warner, Marshal Mannerheim and the Finns , Weidenfeld & Nicolson, (1967), pp.154 et seq.
  5. Binder, David (16 October 1983). "Finland's Heritage on parade". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  6. "Field Marshal Mannerheim, THE FATHER OF FINLAND". 15 November 1945. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  7. "Finland Country Profile – Timeline". BBC News. 25 September 2012. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ The New York Times Travel – David Binder4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]