ข้ามไปเนื้อหา

เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก

พิกัด: 59°56′15″N 30°18′31″E / 59.93750°N 30.30861°E / 59.93750; 30.30861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เลนินกราด)
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
Санкт-Петербург
The Winter Palace
Palace Bridge
Peter and Paul Cathedral
Saint Isaac's Cathedral
The General Staff Building
The embankment along the Moyka river
ธงของเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
ธง
ตราราชการของเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
ตราอาร์ม
เพลง: เพลงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
พิกัด: 59°56′15″N 30°18′31″E / 59.93750°N 30.30861°E / 59.93750; 30.30861
ประเทศรัสเซีย
เขตสหพันธ์ตะวันตกเฉียงเหนือ[1]
เขตเศรษฐกิจตะวันตกเฉียงเหนือ[2]
สถาปนา27 พฤษภาคม ค.ศ. 1703 (1703-05-27)[3]
การปกครอง
 • องค์กรสภานิติบัญญัติ
 • ผู้ว่าราชการอะเลคซันดร์ เบกลอฟ (UR)[4]
พื้นที่[5]
 • ทั้งหมด1,439 ตร.กม. (556 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 82
ประชากร
 • ประมาณ 
(2018)[6]
5,351,935 คน
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก แก้ไขบนวิกิสนเทศ[7])
รหัส ISO 3166RU-SPE
ทะเบียนรถ78, 98, 178, 198
รหัส OKTMO40000000
ภาษาราชการรัสเซีย[8]
เว็บไซต์www.gov.spb.ru

เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (อังกฤษ: Saint Petersburg) หรือ ซันคต์-เปเตียร์บูร์ก (รัสเซีย: Санкт-Петербург, อักษรโรมัน: Sankt-Peterburg, สัทอักษรสากล: [ˈsankt pʲɪtʲɪrˈburk] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อเดิมคือ เปโตรกราด (Петроград; ค.ศ. 1914–1924) ในเวลาต่อมาจึงเป็น เลนินกราด (Ленинград; ค.ศ. 1924–1991) เป็นนครที่ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเนวาริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของประเทศรัสเซียรองจากมอสโก โดยมีประชากรมากกว่า 5.3 ล้านคน[9] เซนต์ปีเตอส์เบิร์กเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของทวีปยุโรป เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในแถบทะเลบอลติก และเป็นมหานครที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีปยุโรปและโลก[10] ในฐานะที่เป็นเมืองท่าสำคัญริมทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอส์เบิร์กจึงมีฐานะเป็นนครสหพันธ์

นครก่อตั้งขึ้นโดยซาร์ปีเตอร์มหาราชเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 16 พฤษภาคม] ค.ศ. 1703 บนที่ตั้งของประภาคารของสวีเดนเดิม นครทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1713–1918 (ย้ายไปมอสโกในช่วง ค.ศ. 1728–1730) หลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคม บอลเชวิคได้ย้ายรัฐบาลของพวกเขาไปที่มอสโก[11]

ในยุคร่วมสมัย เซนต์ปีเตอส์เบิร์กถือเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหพันธ์บางแห่ง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียและสภาโฆษกประจำประธานาธิบดีรัสเซีย นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาติรัสเซีย และมีแผนจัดตั้งศาลฎีกาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เซนต์ปีเตอส์เบิร์กและกลุ่มโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ในฐานะที่สื่อถึงการเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของประเทศ[12] เซนต์ปีเตอส์เบิร์กยังเป็นที่ตั้งของแอร์มิทาช หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[13] และศูนย์ลัคตา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป[14][15] สถานกงศุลระหว่างประเทศ บริษัทนานาชาติ ธนาคาร และสถานประกอบธุรกิจหลายแห่ง ก็มีที่ตั้งในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กด้วยเช่นกัน

ภูมิอากาศ

[แก้]

จากการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เซนต์ปีเตอส์เบิร์กมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีปหรือ Dfb อิทธิพลของพายุหมุนจากทะเลบอลติก ส่งผลให้นครมีฤดูร้อนที่อบอุ่น ชื้น และสั้น และมีฤดูหนาวที่ยาวนาน ภูมิอากาศของเซนต์ปีเตอส์เบิร์กคล้ายคลึงกับของเฮลซิงกิ แม้ว่าฤดูหนาวจะหนาวกว่าและฤดูร้อนจะอุ่นกว่าอันเนื่องจากที่ตั้งของนครที่อยู่ทางตะวันออกกว่า

อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 23 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) และอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ -8.5 °C (16.7 °F) อุณหภูมิสูงสุดคือ 37.1 องศาเซลเซียส (98.8 องศาฟาเรนไฮต์) เกิดขึ้นในช่วงที่มีคลื่นความร้อนในซีกโลกเหนือปี 2010 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดคือ -35.9 °C (−32.6 °F) บันทึกได้ใน ค.ศ. 1883 อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีคือ 5.8 องศาเซลเซียส (42.4 องศาฟาเรนไฮต์) แม่น้ำเนวาที่ไหลผ่านนครเริ่มแข็งตัวในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และละลายในเดือนเมษายน ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม มีวันที่มีหิมะตก 118 วัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ หิมะอาจสูงถึง 19 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย[16] ช่วงที่ปราศจากน้ำค้างแข็งโดยเฉลี่ยมีเพียง 135 วัน แม้ว่าที่ตั้งของนครจะอยู่ทางภาคเหนือ แต่ในฤดูหนาว นครกลับหนาวน้อยกว่ามอสโก เนื่องจากที่ตั้งริมอ่าวฟินแลนด์และอิทธิพลกัลฟ์สตรีมจากลมสแกนดิเนเวียที่ทำให้อุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย นครยังมีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าชานเมือง สภาพอากาศในแต่ละช่วงของปีค่อนข้างแตกต่างกัน[17][18]

ปริมาณหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 660 มิลลิเมตร และจะขึ้นสูงสุดในปลายฤดูร้อน ความชื้นในดินมากจะสูงเนื่องจากการระเหยของน้ำในระดับความสูงต่ำที่เกิดจากอากาศเย็น ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 78 โดยเฉลี่ย และวันที่ไม่พบแสงแดดมีอยู่ 165 วันโดยเฉลี่ยต่อปี

ข้อมูลภูมิอากาศของเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (ค.ศ. 1881–ปัจจุบัน; อุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่ ค.ศ. 1743)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 8.7
(47.7)
10.2
(50.4)
14.9
(58.8)
25.3
(77.5)
32.0
(89.6)
34.6
(94.3)
35.3
(95.5)
37.1
(98.8)
30.4
(86.7)
21.0
(69.8)
12.3
(54.1)
10.9
(51.6)
37.1
(98.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.0
(26.6)
-3.0
(26.6)
2.0
(35.6)
9.3
(48.7)
16.0
(60.8)
20.0
(68)
23.0
(73.4)
20.8
(69.4)
15.0
(59)
8.6
(47.5)
2.0
(35.6)
-1.5
(29.3)
9.1
(48.4)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -5.5
(22.1)
-5.8
(21.6)
-1.3
(29.7)
5.1
(41.2)
11.3
(52.3)
15.7
(60.3)
18.8
(65.8)
16.9
(62.4)
11.6
(52.9)
6.2
(43.2)
0.1
(32.2)
-3.7
(25.3)
5.8
(42.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -8.0
(17.6)
-8.5
(16.7)
-4.2
(24.4)
1.5
(34.7)
7.0
(44.6)
11.7
(53.1)
15.0
(59)
13.4
(56.1)
8.8
(47.8)
4.0
(39.2)
-1.8
(28.8)
-6.1
(21)
2.7
(36.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -35.9
(-32.6)
-35.2
(-31.4)
-29.9
(-21.8)
-21.8
(-7.2)
-6.6
(20.1)
0.1
(32.2)
4.9
(40.8)
1.3
(34.3)
-3.1
(26.4)
-12.9
(8.8)
-22.2
(-8)
-34.4
(-29.9)
−35.9
(−32.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 44
(1.73)
33
(1.3)
37
(1.46)
31
(1.22)
46
(1.81)
71
(2.8)
79
(3.11)
83
(3.27)
64
(2.52)
68
(2.68)
55
(2.17)
51
(2.01)
661
(26.02)
ความชื้นร้อยละ 86 84 79 69 65 69 71 76 80 83 86 87 78
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 9 7 10 13 16 18 17 17 20 20 16 10 173
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 17 17 10 3 0 0 0 0 0 2 9 17 75
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 22 54 125 180 260 276 267 213 129 70 27 13 1,636
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[16]
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun 1961–1990)[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
  2. Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
  3. Official website of St. Petersburg. St. Petersburg in Figures เก็บถาวร 19 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ beglov
  5. Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  6. ผิดพลาด: ไม่สามารถแสดงข้อมูลอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง ดูคู่มือการใช้งานสำหรับรายละเอียด
  7. "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  8. ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
  9. "Оценка численности постоянного населения по субъектам Российской Федерации". Главная::Федеральная служба государственной статистики. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-24. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
  10. "Saint Petersburg, Russia - Image of the Week - Earth Watching". earth.esa.int. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
  11. McColl, R.W., บ.ก. (2005). Encyclopedia of world geography. Vol. 1. New York: Infobase Publishing. pp. 633–634. ISBN 978-0-8160-5786-3. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
  12. V. Morozov. The Discourses of Saint Petersburg and the Shaping of a Wider Europe, Copenhagen Peace Research Institute, 2002. ISSN 1397-0895
  13. "Exploring St. Petersburg / The Hermitage". Geographia.com. 6 January 1990. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
  14. Jacopo Prisco (3 August 2018). "Europe's tallest skyscraper nears completion". CNN. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  15. Aria Bendix (14 December 2019). "5 new skyscrapers broke records as the tallest buildings in their countries this year — take a look". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  16. 16.0 16.1 "Pogoda.ru.net" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate (Погода и климат). สืบค้นเมื่อ 29 March 2013.
  17. "Climate St. Peterburg – Historical weather records". Tutiempo.net. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
  18. "Архив погоды в Санкт-Петербурге, Санкт-Петербург". Rp5.ru. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
  19. "Leningrad/Pulkovo Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]