กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น
คินโตโมะ มูชาโนโกจิ ทูตญี่ปุ่นประจำไรช์เยอรมัน และโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ รัฐมนตรีต่างประเทศไรช์เยอรมัน กำลังเซ็นกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น | |
ประเภท | กติกาสัญญา |
---|---|
วันร่าง | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1936 |
วันลงนาม | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 |
ที่ลงนาม | เบอร์ลิน ไรช์เยอรมัน |
ผู้ลงนาม |
ผู้ลงนามดั้งเดิม
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง |
กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น[1] (อังกฤษ: Anti-Comintern Pact) คือ สนธิสัญญาเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลฟาสซิสต์แห่งนาซีเยอรมนีและรัฐบาลฟาสซิสต์แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 และมีเป้าหมายเพื่อที่จะต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล (อังกฤษ: Comintern) โดยทั่วไป แต่หมายถึง สหภาพโซเวียต เป็นพิเศษ
"เป็นที่รู้กันดีว่าเป้าหมายขององค์การคอมมิวนิสต์สากล หรือที่เป็นที่รู้จักกันในนามโคมินเทิร์น นั้นคือการทำให้รัฐต่างๆ แตกออกจากกันและหลังจากนั้นก็จะใช้กำลังเข้าปราบปรามเพื่อให้รัฐทั้งหลายบนโลกนี้ตกอยู่ใต้อำนาจบังคับของคอมมิวนิสต์ ด้วยความมั่นใจว่าการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐโดยองค์การคอมมิวนิสต์สากลนั้นมิได้เพียงแต่เข้าไปคุกคามต่อสันติภาพภายในประเทศและความสงบสุขของสังคมแล้ว แต่ยังเป็นภัยต่อสันติภาพของโลก จึงเป็นความปรารถนาที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกันป้องกันตัวจากกิจกรรมทั้งหลายของพวกคอมมิวนิสต์"
จุดกำเนิด
[แก้]จักรวรรดิ์ญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นรัฐบาลฟาสซิสต์ชาตินิยมที่หวาดกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยพยายามจับกุมและทำลายกลุ่มนักเคลื่อนไหวสายสังคมนิยมอย่างเหี้ยมโหด. รัฐบาลญี่ปุ่นเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะมาทำลายความเป็นชาตินิยมของจักรวรรดิ์และพระราชอำนาจของพระจักรพรรดิ์ จึงเริ่มแสวงหาพันธมิตรในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์. จุดกำเนิดของสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลได้เริ่มต้นเมื่อฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1935 เมื่อนายทหารหลายนายของเยอรมนีทั้งในและนอกกระทรวงการต่างประเทศพยายามที่จะรักษาสมดุลในความต้องการทางการแข่งขันโดยขึ้นอยู่กับนโยบายต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่ต้องการจะรักษาความเป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐจีน และความปรารถนาส่วนตัวของฮิตเลอร์ที่จะสร้างพันธมิตรใหม่กับจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] เมื่อถึงเดือนตุลาคม 1935 ข้อเสนอดังกล่าวได้มีการถกเถียงกันว่าพันธมิตรที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นจะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง นาซีเยอรมนี และจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ เอกอัครราชทูตพิเศษและหัวหน้าของ Dienststelle Ribbentrop และ นายพลโอชิมา ฮิโรชิ ผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งหวังว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีจะทำให้จีนยอมจำนนต่อญี่ปุ่นในที่สุด[2] แต่ว่าจีนมิได้สนใจในเรื่องดังกล่าวเลย แต่ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1935 ริบเบนทรอพและโอชิมาได้ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล[3] สนธิสัญญาเบื้องต้นได้ออกมาในตอนปลายเดือนพฤศจิกายน 1935 โดยเชิญให้อังกฤษ อิตาลี จีนและโปแลนด์เข้าร่วมด้วย[3] อย่างไรก็ตาม ด้วยความวิตกกังวลของรัฐมนตรีการต่างประเทศไรช์ คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม จอมพล แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก มีว่าสนธิสัญญาดังกล่าวอาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น รวมไปถึงความยุ่งยากในญี่ปุ่นหลังจากการก่อรัฐประหารในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 แต่ไม่สำเร็จ ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวถูกระงับไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี[4] เมื่อถึงฤดูร้อนแห่งปี 1936 อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของกำลังทหารในคณะรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นต่างก็เกรงพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศส-สหภาพโซเวียต และความปรารถนาของฮิตเลอร์ในด้านนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเชื่อมั่นว่าถ้าหากสามารถดึงอังกฤษเข้ามาเป็นพันธมิตรได้ สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลก็จะฟื้นขึ้นมาอีก[5] สนธิสัญญาดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในเบื้องต้นในวันที่ 23 ตุลาคม 1936 และลงนามเมื่อ 25 พฤศจิกายน 1936[6] แต่ว่าเยอรมนีก็ยังต้องการที่จะรักษาสัมพันธไมตรีกับสหภาพโซเวียตต่อไป ดังนั้นตัวสนธิสัญญาจึงได้กล่าวถึงเฉพาะองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่ทว่าในข้อตกลงลับที่ได้เขียนชึ้นมานั้นได้กล่าวว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างประเทศหนึ่งประเทศใดกับสหภาพโซเวียตขึ้น ประเทศผู้ลงนามที่เหลือจะวางตัวเป็นกลางจนกระทั่งสงครามยุติ.[6]
ข้อตกลง
[แก้]ในกรณีที่เกิดสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับเยอรมนีหรือญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศจะตกลงใจกันปรึกษาหารือถึงแนวทาง "การรักษาแนวคิดดั้งเดิมของตน" ทั้งสองฝ่ายยังตกลงอีกด้วยว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่ตกลงใจทำสนธิสัญญาทางการเมืองกับสหภาพโซเวียต และเยอรมนีจะต้องให้การรับรองแก่แมนจูกัว
การก่อตั้ง "ฝ่ายอักษะ"
[แก้]ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 อิตาลีก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสนธิสัญญาดังกล่าวในปีต่อมา[7] ภายหลัง ทั้งสามประเทศได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็นฝ่ายอักษะ การตัดสินใจของอิตาลีนั้นแสดงถึงความล้มเหลวของแนวสเตรซา การทาบทามของอังกฤษและฝรั่งเศสในปี 1935 ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้นาซีเยอรมนีขยายอาณาเขตออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในทางปฏิบัติแล้ว ทั้งสองประเทศมีความต้องการที่จะขัดขวาง "ลัทธิจักรวรรดินิยมเยอรมนี" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผนวกออสเตรีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีด้วย แต่ว่าความไม่ไว้วางใจและการขยายดินแดนของอิตาลีทำให้สัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษและอิตาลีเริ่มห่างเหิน เช่นเดียวกันกับฝรั่งเศส อิตาลีได้รุกรานเอธิโอเปีย ในเดือนตุลาคม 1935 ซึ่งเป็นการขัดต่อนโยบายของสันนิบาติชาติ ถึงกระนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสเองกลับยินยอมให้อิตาลีสามารถยึดครองเอธิโอเปียได้ถึงสองในสามของดินแดนทั้งหมด เป็นที่รู้จักกันว่า สนธิสัญญาฮวาเร-ลาวาล และต่อมาเมื่อข่าวได้แพร่ออกไปถึงมหาชนชาวอังกฤษและฝรั่งเศส รัฐบาลของทั้งสองประเทศก็ได้รับความอับอายเป็นอย่างมาก เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ซามูเอล ฮวาเร ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง และสนธิสัญญาฮาวเร-ลาวาลก็ถูกยกเลิกไป
ความพยายามที่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี
[แก้]ก่อนหน้านั้น ในเดือนมิถุนายน 1935 ข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนีได้ถูกลงนามโดยสหราชอาณาจักรและนาซีเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามของฮิตเลอร์ทื่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษและเยอรมนี รวมไปถึงแยกสหภาพโซเวียตให้อยู่โดดเดี่ยว ขณะที่อังกฤษและสหภาพโซเวียตต่างก็พยายามแยกเยอรมนีให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเช่นกัน ฮิตเลอร์ยังได้แผ่อิทธิพลไปยังโปแลนด์เพื่อให้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล และกล่าวถึงความตั้งใจของเขาที่จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์[8] อย่างไรก็ตาม โปแลนด์ได้ปฏิเสธข้อตกลงของฮิตเลอร์ ด้วยกลัวว่าถ้าหากยอมทำเช่นนั้น ตนก็อาจจะต้องตกอยู่ใต้อำนาจของนาซี ในเวลาเดียวกันนั้น นักการเมืองญี่ปุ่นหลายคน รวมทั้งพลเรือเอกอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ ต่างก็ตื่นตระหนกต่อสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ว่าผู้บัญชาการทหารระดับสูงของญี่ปุ่นได้เข้ายึดกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เยอรมนีเพื่อที่จะทำสัญญากับอังกฤษต่อไป เยอรมนียังคงวางแผนการที่จะทำสงครามกับสหภาพโซเวียตและพันธมิตรตะวันตกต่อไป
ความพยายามของฮิตเลอร์ที่จะพัฒนาสัมพันธไมตรีกับอังกฤษประสบความล้มเหลว ในเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีเองกลับทำลายสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลของตัวเองเมื่อสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพถูกลงนาม ซึ่งเป็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนีอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 1940 ฮิตเลอร์ได้เริ่มวางแผนการรุกรานสหภาพโซเวียต (ซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้เมื่อปี 1943) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ ได้รีบเจรจาสนธิสัญญาฉบับใหม่กับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1940 ริบเบนทรอพได้ส่งโทรเลขไปยังนายวีเชสลาฟ โมโลตอฟ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต แจ้งให้ทราบว่าเยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลีมีความพยายามที่จะรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางการทหาร ริบเบนทรอพได้บอกกับโมโลตอฟว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะพุ่งเป้าไปยังสหรัฐอเมริกา มิใช่สหภาพโซเวียต:
"เป็นความปรารถนาของผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกซึ่งได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อบีบคั้นมิให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามในครั้งนี้ โดยทำให้พวกเขาได้รู้สึกว่าการเข้าสู่สงครามของพวกเขา จะต้องพบกับศึกหนึกอันประกอบไปด้วยสามชาติมหาอำนาจซึ่งได้ร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น"
กลุ่มประเทศผู้ลงนาม เมื่อปี ค.ศ. 1941
[แก้]สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลได้รับการทบทวนใหม่ในปี ค.ศ. 1941 หลังจากที่นาซีเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งได้รับประเทศสมาชิกใหม่เข้ามาอีก 5 ประเทศ กลุ่มประเทศผู้ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลในตอนนั้นได้แก่[9]
- นาซีเยอรมนี
- จักรวรรดิญี่ปุ่น
- รัฐบาลหวาง จิงเวย์ (ถูกยึดครอง)
- แมนจูกัว (ถูกยึดครอง)
- ราชอาณาจักรอิตาลี
- โครเอเชีย (รัฐในอารักขา)
- บัลแกเรีย
- ฟินแลนด์
- ฮังการี
- โรมาเนีย
- สเปน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Anglo-French Entente; Entente Cordiale (1904) ถึง Ausgleich
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, page 342.
- ↑ 3.0 3.1 Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, page 343.
- ↑ Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, pages 343-344.
- ↑ Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970 pages 344-345.
- ↑ 6.0 6.1 Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, pages 346.
- ↑ Robert Melvin Spector. World Without Civilization: Mass Murder and the Holocaust, History, and Analysis, pg. 257
- ↑ Sean Greenwood: “The Phantom Crisis: Danzig, 1939” pages 225-246 from The Origins of the Second World War Reconsidered edited by Gordon Martel, Routledge: London, United Kingdom, 1999 page 232; Anna Cienciala: “Poland in British and French Policy in 1939: Determination To Fight-or Avoid War?” pages 413-433 from The Origins of The Second World War edited by Patrick Finney, Edward Arnold: London, United Kingdom, 1997 page 414; Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Starting World War II 1937-1939, University of Chicago Press: Chicago, Illinois, United States of America, 1980 pages 558-562
- ↑ Edmund Osmańczyk: Encyclopedia of the United Nations and International Agreements, Taylor and Francis (2002), ISBN 0415939216, page 104
- Gerhard Weinberg. The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแถลงการณ์ของริบเบนทรอพต่อการประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต 22 มิถุนายน 1941 (อังกฤษ)
- ข้อความทั้งหมดของสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล เก็บถาวร 2007-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ข้อความในภาคผนวกของสนธิสัญญา เก็บถาวร 2006-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ข้อความแสดงถึงการมีส่วนร่วมของอิตาลีในสนธิสัญญา เก็บถาวร 2012-12-12 ที่ archive.today (อังกฤษ)
- กติกาสัญญา
- สนธิสัญญาสงครามโลกครั้งที่สอง
- สนธิสัญญาด้านพันธมิตรทางการทหาร
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับนาซีเยอรมนี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรอิตาลี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฮังการี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับโรมาเนีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสเปน
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฟินแลนด์
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเดนมาร์ก
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับโครเอเชีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสโลวาเกีย
- พันธมิตรทางการทหาร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับเยอรมนี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับอิตาลี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับฮังการี
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับโรมาเนีย
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับฟินแลนด์
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสเปน
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับจีน
- ความสัมพันธ์ทางการทหารเยอรมนี–อิตาลี
- ความสัมพันธ์ทางการทหารญี่ปุ่น–เยอรมนี
- ความสัมพันธ์ทางการทหารจีน–ญี่ปุ่น
- ฝ่ายอักษะ
- กติกาสัญญาไตรภาคี