อูสตาเช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูสตาซา – ขบวนการปฏิวัติโครเอเชีย
Ustaša – Hrvatski revolucionarni pokret
ผู้ก่อตั้งอานเต ปาเวลิช
Poglavnikอานเต ปาเวลิช
คำขวัญ"Za dom spremni"
("For the home - Ready!")
ก่อตั้ง7 มกราคม ค.ศ. 1929 (1929-01-07) (โดยนิตินัย)
1930 (โดยพฤตินัย)
ถูกแบน8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (1945-05-08)
ก่อนหน้าParty of Rights
ถัดไป • ครูเซเดอส์
 • ขบวนการปลอปล่อยโครเอเชีย
 • กลุ่มอื่น ๆ[a]
ที่ทำการ
หนังสือพิมพ์Hrvatski Domobran
ฝ่ายเยาวชนยุวชนอูสตาเช (UM)
กำลังกึ่งทหารหน่วยทหารอาสาสมัครอูสตาเช
จำนวนสมาชิก100,000 คน[1] (ป. 1941)
อุดมการณ์
จุดยืนขวาจัด
ศาสนาโรมันคาทอลิก (ทางการ)
อิสลาม (ชนกลุ่มน้อย)
สี  ขาว   น้ำเงิน   แดง   ดำ
ธงประจำพรรค
การเมืองรัฐเอกราชโครเอเชีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

อูสตาเช (ออกเสียง: [ûstaʃe]), หรือเป็นที่รู้จักกันคือ อูสตาชา – ขบวนการปฏิวัติโครเอเชีย (โครเอเชีย: Ustaša – Hrvatski revolucionarni pokret) เป็นขบวนการชาวโครเอเชียผู้นิยมฟาสซิสต์, เหยียดผิว (racist) และคลั่งชาตินิยม (ultranationalist)[2] ขบวนการได้เคลื่อนไหว ในรูปแบบดั้งเดิมระหว่าง ค.ศ. 1929 ถึง 1945 สมาชิกได้ทำการสังหารนับร้อยนับพันต่อชาวเซิร์บ ชาวยิว[3] โรมานี (ยิปซี) เช่นเดียวกับผู้คัดค้านทางการเมืองในยูโกสลาเวียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[4][5][6]

ด้วยอุดมการณ์ของกลุ่มเคลื่อนไหวนั้นเป็นการรวมตัวของผู้นิยมฟาสซิสต์ นิกายโรมันคาทอลิก และชาวโครเอเชียชาตินิยม[4] อูสตาเชได้สนับสนุนแนวคิดเกรตเทอร์โครเอเชีย (Greater Croatia) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่แม่น้ำดรินาไปยังชายแดนของกรุงเบลเกรด[7] กลุ่มเคลื่อนไหวได้เน้นย้ำต่อความจำเป็นที่จะต้องมีเชื้อชาติ"บริสุทธิ์"โครเอเชียและให้ความสำคัญกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวเซิร์บ ชาวยิว และชาวโรมานี และการประหัตประหารต่อพวกต่อต้านฟาสซิสต์หรือไม่ลงรอยกับชาวโครแอตและชาวบอสเนีย อุศตาเชมองชาวบอสเนียเป็น "ชาวโครแอดที่เป็นมุสลิม" ทำให้ชาวบอสเนียไม่ถูกเบียดเบียนตามชาติพันธุ์[8]

เนื่องจากมีอุดมคติแบบโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรง อูชตาเรได้สนับสนุนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและอิสลามเป็นศาสนาของชาวโครเอเชียและบอสเนีย และประณามศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ตะวันออก ซึ่งเป็นศาสนาของชาวเซิร์บ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกถูกระบุเป็นอัตลักษณ์ของชาตินิยมโครเอเชีย[9] ในขณะที่ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีผู้นับถือจำนวนมากในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ได้รับการย่ย่องจากอูชตาเชว่าเป็นศาสนาที่จะ "รักษาสายเลือดแห่งโครแอตที่แท้จริง" ("keeps true the blood of Croats")[10]

เมื่อได้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1930 ในชื่ออูสตาชา – องค์กรปฏิวัติโครเอเชีย (โครเอเชีย: Ustaša – Hrvatska revolucionarna organizacija) มันเป็นองค์กรที่ได้พยายามจะสร้างรัฐเอกราชโครเอเชีย เมื่ออูสตาเชได้เข้ามามีอำนาจในรัฐเอกราชโครเอเชีย (NDH) เป็นกึ่งรัฐอารักขา (quasi-protectorate) ได้ถูกก่อตั้งโดยอิตาลีฟาสซิสต์ และ นาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปีกทหารได้กลายเป็นกองทัพรัฐเอกราชโครเอเชีย และ หน่วยทหารอาสาสมัครอูสตาเช (โครเอเชีย: Ustaška vojnica)

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กลุ่มขบวนการได้ดำเนินการในฐานะองค์กรการก่อการร้าย[4] แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 พวกเขาได้รับการแต่งตั้งเพื่อบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียภายใต้การยึดครองฝ่ายอักษะในฐานะรัฐเอกราชโครเอเชีย (NDH) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นรัฐอารักขากึ่งหนึ่งที่ปกครองร่วมกันโดยทั้งอิตาลีและเยอรมนี[11] และรัฐหุ่นเชิด[12][13][14]ของนาซีเยอรมนี[13][15][16]

รัฐเอกราชโครเอเชียได้ให้ความร่วมมือกับกองกำลังยึดครองของอิตาลีและเยอรมันในยูโกสลาเวียในการสู้รบกับกองกำลังฝ่ายต่อต้านยูโกสลาเวีย พลพรรคยูโกสลาเวียซึ่งได้เป็นที่ยอมรับในปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ในฐานะกองทหารแห่งรัฐยูโกสลาเวียในฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังเยอรมันได้ถอนกำลังออกจากยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1944-1945 องค์กรอูสตาเชได้ลี้ภัยออกนอกประเทศซึ่งได้นำไปสู่การส่งคืน Bleiburg

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. อูสตาเชและผู้สนับสนุนที่อบยพออกหลังสงครามไปก่อตั้งองค์กรที่สนับสนุนอูสตาเช

อ้างอิง[แก้]

  1. Goldstein, Ivo (2001). Croatia: A History. Hurst & Co. p. 133. ISBN 978-0-7735-2017-2.
  2. Tomasevich 2001, p. 32.
  3. Tomasevich 2001, pp. 351–352.
  4. 4.0 4.1 4.2 Ladislaus Hory und Martin Broszat. Der kroatische Ustascha-Staat, Deutsche Verlag-Anstalt, Stuttgart, 2. Auflage 1965, pp. 13–38, 75–80. (ในภาษาเยอรมัน)
  5. "Croatian holocaust still stirs controversy". BBC News. 29 November 2001. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
  6. "Balkan 'Auschwitz' haunts Croatia". BBC News. 25 April 2005. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010. No one really knows how many died here. Serbs talk of 700,000. Most estimates put the figure nearer 100,000.
  7. Meier, Viktor. Yugoslavia: a history of its demise (English), London, UK: Routledge, 1999, p. 125. ISBN 9780415185950
  8. Fischer 2007, pp. 207–208, 210, 226
  9. Kent, Peter C. The lonely Cold War of Pope Pius XII: the Roman Catholic Church and the division of Europe, 1943–1950, McGill-Queen's Press (MQUP), 2002 p. 46; ISBN 978-0-7735-2326-5
    "Fiercely nationalistic, the Ustaše were also fervently Catholic, identifying, in the Yugoslav political context, Catholicism with Croatian nationalism..."
  10. Butić-Jelić, Fikreta. Ustaše i Nezavisna Država Hrvatska 1941–1945. Liber, 1977
  11. Tomasevich 2001, pp. 233–241.
  12. "Independent State of Croatia". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
  13. 13.0 13.1 Yugoslavia, Holocaust Encyclopedia, United States Holocaust Memorial Museum website; accessed 25 April 2014.
  14. History of Croatia:World War II เก็บถาวร 22 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. Watch, Helsinki (1993). War Crimes in Bosnia-Hercegovina. Human Rights Watch. ISBN 978-1-56432-083-4. สืบค้นเมื่อ 23 April 2008.
  16. Raič, David (2002). Statehood and the law of self-determination. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 978-90-411-1890-5. สืบค้นเมื่อ 23 April 2008.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]