ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1940

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
เรียงตามลำดับเวลา
1939
1940
1941
1942
1943
1944
1945
เพิ่มเติม

แนวรบด้านตะวันออก
โครงการแมนฮัตตัน

ทหารสกีของฟินแลนด์ - 12 มกราคม 1940
ทหารโซเวียตเสียชีวิตหลังจากถูกโจมตีที่ถนนราเต
เส้นทางการรุกของกองทัพเยอรมันและกองทัพอังกฤษในการทัพนอร์เวย์
การรุกสายฟ้าแลบระหว่างยุทธการแห่งฝรั่งเศส - กลางเดือนพฤษภาคม 1940
ทหารอังกฤษอพยพจากดันเคิร์กระหว่างปฏิบัติการไดนาโม
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในกรุงปารีส - 23 มิถุนายน 1940
เครื่องบินรบเยอรมันเตรียมทำการรบในยุทธการแห่งบริเตน
เดอะบลิตซ์: กรุงลอนดอนถูกทิ้งระเบิดทางอากาศโดยกองทัพอากาศเยอรมัน

มกราคม[แก้]

  • 1: กองทัพญี่ปุ่นโจมตีมณฑลซานซีของจีน
  • 2: การรุกของโซเวียตในฟินแลนด์หยุดชะงัก ทหารฟินแลนด์ได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง รถถังโซเวียตถูกทำลายเป็นจำนวนมาก
  • 7: สหราชอาณาจักรเริ่มปันส่วนเครื่องบริโภค
  • 10: เครื่องบินเยอรมนีหลงเข้าไปในเบลเยียม และลงจอดที่ Mechelen นายทหารบก 2นายที่โดยสารมากับเครื่องบินถูกสัมพันธมิตรจับ เอกสารลับเกี่ยวกับแผนการบุกของนาซีถูกเปิดเผย ฮิตเลอร์เลื่อนแผนการบุกออกไปเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ
  • 14: นายพลเรือ มิตสุมาสะ โยไน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น
  • 16: เอกสารลับของเยอรมันในการบุกสแกนดิเนเวียและเลื่อนแผนบุกฝรั่งเสสถูกเปิดเผย
  • 17: ทหารโซเวียตถูกตีโต้ในฟินแลนด์ และตอบโต้โดยการส่งเครื่องบินโจมตีทางอากาศอย่างหนัก
  • 20: เรืออู-44ของเยอรมันจมเรือกลไฟกรีก
  • 21: เรือดำน้ำเยอรมันจมเรือ HMS Exmouth ลูกเรือเสียชีวิต 135 นาย
  • 24: Richard Heydrich ได้รับการแต่งตั้งจากเกอร์ริง ในการแก้ปัญหาชาวยิว
  • 27: เยอรมนีเตรียมแผนการบุกเดนมาร์กและนอร์เวย์ขั้นสุดท้าย

กุมภาพันธ์[แก้]

  • 1: เสบียงของกองทัพญี่ปุ้นสูงเป็นครึ่งหนึ่งของกองทัพ
  • 5: คณะมนตรีสงครามของสัมพันธมิตรตัดสินใจเข้าร่วมรบในนอร์เวย์และฟินแลนด์ เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงแร่เหล็กของสวีเดน อย่างไรก็ตาม แผนนี้พึ่งพาความช่วยเหลือของนอร์เวย์และสวีเดนที่เป็นกลาง
  • 9: เอริก ฟอน มันชสไตน์ได้เตรียมกองพลที่ 38 ได้การโจมตีฝรั่งเศส
  • 10: สหภาพโซเวียตตกลงที่จะส่งเสบียงและวัตถุดิบให้กับเยอรมนี ตามข้อตกลงทางการค้าฉบับใหม่
  • 14: รัฐบาลอังกฤษประกาศหาอาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือฟินแลนด์
  • 15: ฮิตเลอร์ประกาศจมเรือแบบไม่เลือกหน้า
  • 16: เรือพิฆาตอังกฤษ คอร์แซก ทำลายความเป็นกลางของนอร์เวย์ เพื่อช่วยเหลือลูกเรือพาณิชย์ชาวอังกฤษ 299 นาย บนเรือขนส่งสัญชาติเยอรมัน อัลมาร์ค
  • 16: เยอรมนีเร่งความพร้อมในการรุกราน ด้วยเชื่อว่าอังกฤษจะส่งกำลังเข้ามาในนอร์เวย์
  • 17: กองทัพฟินแลนด์ถูกบังคับให้ถอยร่นออกจากแนว Mannerheim เข้าสู่แนวป้องกันที่สอง หลังจากการโจมตีของทหารโซเวียต
  • 24: แผนการรุกแนวรบตะวันตกถูกวิเคราะห์อีกครั้ง พื้นที่เข้าตีหลักถูกเปลี่ยนเป็น อาร์เดน จะถูกกองพลหุ้มเกราะถูกนำออกมาใช้

มีนาคม[แก้]

  • 1: ฮิตเลอร์ได้เตรียมวางแผนบุกเดนมาร์กและนอร์เวย์
  • 3: โซเวียตเข้าโจมตีเมือง Viipuri เมืองใหญ่อันดับสองของฟินแลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเฮลซิงกิ
  • 5: ฟินแลนด์ส่งผู้แทนมาเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงมอสโก
  • 11: สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างโซเวียตกับฟินแลนด์ได้รับการรับรองจากทั้งสองฝ่าย หลังจากโซเวียตเอาชนะได้แบบหืดขึ้นคอ ฟินแลนด์ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้ แต่ต้องเสีย คาเรเลียและ ฮังโก ให้โซเวียต ซึ่งคิดเป็น 10% ของดินแดน
  • 12: ฟินแลนด์ได้สงบศึกกับสหภาพโซเวียตหลังจาก 105 วันหลังจากความขัดแย้งระหว่างโซเวียต-ฟินแลนด์
  • 16: เยอรมันได้โจมตีพลเรือนในเกาะอังกฤษครั้งแรก
  • 18: ฮิตเลอร์กับมุสโสลินี ได้พบกันที่ชายแดนออสเตรียและมุสโสลินีเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าสู่สงคราม
  • 20: นายกรัฐมนตรี Édouard Daladier ของฝรั่งเศสลาออกจากตำแหน่ง หลังถูกโจมตีเรื่องความล้มเหลวในการช่วยเหลือฟินแลนด์แต่เนิ่นๆ อันอาจจะเป็นผลให้ภัยคุกคามไม่คืบคลานเข้ามาสู่ฝรั่งเศส Paul Reynaud ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ
  • 28: อังกฤษและฝรั่งเศสเห็นต้องกันที่จะไม่แบ่งแยกสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอรมนี
  • 28: ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของจีนที่เมืองนานกิง
  • 30: สหราชอาณาจักรได้เริ่มสอดแนมสหภาพโซเวียต

เมษายน[แก้]

  • 8: อังกฤษและฝรั่งเศสวางทุ่นระเบิดในน่านน้ำนอร์เวยเจียน เพื่อป้องกันมิให้เยอรมนีขนแร่เหล็กออกจากสวีเดนสู่ทะเลหลวง ซึ่งล่าช้าไปจากแผนเดิม 3วัน และช้าเกินไปในการยับยั้งแผนการรุกรานของนาซี
  • 8: เรือพิฆาตอังกฤษ โกล์ววอร์มเข้าหยุดยั้งกองเรือรุกรานของเยอรมนีบริเวณนอร์เวย์ แต่ถูกยิงจม เรือดำน้ำอังกฤษสามารถจมเรือขนส่ง Rio de Janiero กองเรืออังกฤษที่ถูกส่งขึ้นไปยั้บยั้งกองเรือรุกรานของเยอรมันได้รับข้อมูลไม่เพียงพอและล้มเหลวในภารกิจ
  • 9: ปฏิบัติการแวเซอรีบุง การทัพนอร์เวย์: เยอรมนีส่งกำลังเข้ารุกรานเดนมาร์กและนอร์เวย์ ทั้งทางบก, เรือ และอากาศ เดนมาร์กถูกยึดครองอย่างรวดเร็ว ฐานทัพอากาศของนอร์เวย์สองแห่งถูกโจมตี เยอรมนียกพลขึ้นบกได้สำเร็จหกจุด แต่เรือลาดตระเวน Blücher ของเยอรมนีถูกยิงจมด้วยปืนรักษาฝั่ง กะลาสีเสียชีวิต 1,600 นาย กษัตริย์ Haakon เสด็จหนีไปทางเหนือพร้อมกับรัฐบาลของพระองค์ เรือลาดตระเวนประจันบาน รอดนีย์ของอังกฤษได้รับความเสียหายจากการเข้าปะทะกับเรือลาดตระเวนประจันบานของเยอรมนี Scharnborstและ Gneisenau เรือลาดตระเวน Karisrube ถูกเรือดำน้ำอังกฤษยิงจมนอกฝั่ง Kristainsand
  • 10-13: เรือพิฆาตอังกฤษ 5 ลำเข้าโจมตีเรือพิฆาต 10 ของเยอรมัน พร้อมป้อมปืนรักษาชายฝั่งอย่างฉับพลัน บริเวณตะวันตกของ Narvik เรือลาดตระเวน Königsberg ของเยอรมนีกลายเป็นเรือลำแรกที่ถูกจมด้วยเทคนิก"ดำทิ้งระเบิด" (Dive Bombing)
  • 10-30: เยอรมันรุกคืบขึ้นทางเหนือของนอร์เวย์
  • 14-19: กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร 10,000 นาย ถูกเตรียมพร้อมสำหรับเข้ารบในคาบสมุทรนอร์เวย์
  • 20-30: กองทหารเยอรมนีป้องกันทรอดไฮม์ ฝ่ายสัมพันธมิตรล้มเหลวในปฏิบัติการเนื่องจากเตรียมตัวที่ไม่ประสบผล
  • 24: กองกำลังสัมพันธมิตรเข้าระดมยิงเมืองท่านาร์วิก จากทางทะเล
  • 27: ทหารอังกฤษเริ่มถอนตัวออกจากนอร์เวย์

พฤษภาคม[แก้]

  • 1: ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มต้นการถอนกำลังออกจากนอร์เวย์ตามเมืองท่าต่าง ๆ ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน
  • 5: รัฐบาลพลัดถิ่นของนอร์เวย์ถูกจัดตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน
  • 8: นายกรัฐมนตรี เนวิลล์ เชมเบอร์แลนด์ สามารถรอดตัวได้อย่างหวุดหวิดจากการโต้วาทีกรณีนอร์เวย์ ในสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ
  • 9: การเกณฑ์ทหารในอังกฤษขยายอายุไปจนถึง 36 ปี
  • 10: เยอรมนีรุกรานเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์กและเนเธอร์แลนด์;ทหารเยอรมันจำนวนมากถูกระดมมาทางแนวรบด้านตะวันตก; เบลเยี่ยมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 10: วินสตัน เชอร์ชิลล์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และประกาศจัดตั้งรัฐบาลผสมในยามสงคราม
  • 11: ลักเซมเบิร์กถูกยึดครอง
  • 13: รัฐบาลพลัดถิ่นของเนเธอร์แลนด์ถูกตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน
  • 14: เนเธอร์แลนด์ยอมจำนน ยกเว้นซีแลนด์
  • 14: รัฐบาลผสมในยามสงครามของอังกฤษถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
  • 15: กองทัพเนเธอร์แลนด์ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนน
  • 24: อังกฤษตัดสินใจหยุดปฏิบัติการในนอร์เวย์
  • 25: กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสล่าถอยไปยังดันเคิร์ก ฮิตเลอร์สั่งหยุดกองทัพเยอรมันและให้กองทัพอากาศของเกอริงเข้าโจมตี กองทัพอากาศอังกฤษสามารถป้องกันเมืองไว้ได้
  • 25: สหภาพโซเวียตเตรียมพร้อมยึดรัฐเขตบอลติก
  • 26: ปฏิบัติการไดนาโม ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกว่า 340,000 นาย ในดันเคิร์ก อพยพไปยังอังกฤษ ซึ่งกินเวลาไปจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน
  • 28: เบลเยี่ยมยอมจำนน
  • 30: เชอร์ชิลล์สนับสนุนให้อังกฤษทำสงครามต่อไป แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากลอร์ดเฮลิแฟกซ์และเชมเบอร์แลนด์
  • 31: กองทัพญี่ปุ่นทิ้งระเบิดกรุงฉงชิ่งอย่างหนัก ทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี

มิถุนายน[แก้]

  • 1: ทหารอังกฤษกองสุดท้ายอพยพออกจากนอร์เวย์
  • 3: สิ้นสุดปฏิบัติการไดนาโม ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการอพยพไปยังอังกฤษ
  • 10: อิตาลีประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส
  • 10: นอร์เวย์ยอมจำนน
  • 13: กรุงปารีสถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน
  • 15: สหภาพโซเวียตยื่นคำขาดให้ลิทัวเนียยอมจำนนในแปดชั่วโมง; กองทัพโซเวียตรุกเข้าลิทัวเนียและโจมตีแนวชายแดนลัตเวีย
  • 16: ฟิลิป เปแตงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งฝรั่งเศส
  • 16: สหภาพโซเวียตยื่นคำขาดให้ลัตเวียและเอสโตเนียยอมจำนนภายในแปดชั่วโมง
  • 18: ชาร์ลส์ เดอ โกลล์จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
  • 18: ลิทัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนียถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต
  • 21: การเจรจาหยุดยิงระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมนีเริ่มต้นขึ้น; กองทัพอิตาลีข้ามพรมแดนฝรั่งเศส
  • 22: ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมนีได้รับการลงนาม
  • 24: ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างฝรั่งเศส-อิตาลีได้รับการลงนาม
  • 25: ฝรั่งเศสยอมจำนนอย่างเป็นทางการต่อเยอรมนี เมื่อเวลา 0.35 น.
  • 26: สหภาพโซเวียตยื่นคำขาดต่อโรมาเนีย โดยต้องการแคว้นเบสเซอราเบียและนอร์เทิร์นบูโควินา
  • 28: ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ได้รับการยอมรับจากอังกฤษว่าเป็นผู้นำของฝรั่งเศสเสรี
  • 28: กองทัพแดงยึดครองแคว้นเบสเซอราเบียและบางส่วนของนอร์เทิร์นบูโควินา หลังจากยื่นคำขาดต่อโรมาเนียไปเมื่อวานนี้
  • 30: เยอรมนีรุกรานหมู่เกาะแชแนล

กรกฎาคม[แก้]

  • 1: รัฐบาลฝรั่งเศสย้ายไปยังวิชี
  • 10: ยุทธการแห่งบริเตนเริ่มต้นขึ้น กองทัพอากาศเยอรมันโจมตีเรือในช่องแคบอังกฤษ
  • 14: สหภาพโซเวียตจัดการเลือกตั้งในรัฐบอลติกที่ถูกยึดครอง สมาชิกรัฐสภาอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต
  • 21: รัฐบาลพลัดถิ่นของเชโกสโลวาเกียมาถึงกรุงลอนดอน
  • 21: รัฐบอลติกภายใต้การยึดครองของทหารโซเวียตร้องขอที่จะเข้าผนวกกับสหภาพโซเวียต
  • 22: เจ้าชายฟุมิมะโระ โคะโนะเอะเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่น
  • 23: หน่วยโฮมการ์ดของอังกฤษถูกก่อตั้งขึ้น ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทหารชราและทหารที่พิจารณาว่าไม่เหมาะสมต่อกองกำลังปกติ
  • 25: สตรีและเด็กทั้งหมดในยิบรอลตาร์ถูกอพยพ

สิงหาคม[แก้]

  • 2: สหภาพโซเวียตผนวกเอาแคว้นเบสเซอราเบียและนอร์เทิร์นบูโควินา
  • 3: สหภาพโซเวียตผนวกลิทัวเนียอย่างเป็นทางการ
  • 4: กองทัพอิตาลีรุกรานโซมาลิแลนด์ของอังกฤษ ระหว่างการทัพแอฟริกาตะวันออก
  • 5: เนื่องจากสภาพอากาศอันเลวร้ายเหนือช่องแคบอังกฤษ การโจมตีทางอากาศหยุดชะงัก
  • 5: สหภาพโซเวียตผนวกลัตเวีย
  • 6: สหภาพโซเวียตผนวกเอสโตเนีย
  • 13: เฮอร์มันน์ เกอริงเริ่มการโจมตีสนามบินอังกฤษเป็นเวลาสองสัปดาห์ เป็นการเตรียมการสำหรับแผนการบุกเกาะอังกฤษในเวลาถัดมา
  • 14: นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เซอร์ เฮนรี่ ทิซาร์ด เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาในภารกิจทิซาร์ด เป็นผู้มอบเทคโนโลยีขั้นลับสุดยอดของอังกฤษ รวมไปถึงเมคเนตรอน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญต่อเรดาร์; การแลกเปลี่ยนเรือดำน้ำกับฐานทัพระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรดำเนินไปด้วยดี
  • 15: กองทัพอากาศอังกฤษได้รับชัยชนะหลายครั้ง การผลิตเครื่องบินอังกฤษได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 16: แผนการแลกเปลี่ยนเรือรบกับฐานทัพระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
  • 17: ฮิตเลอร์ประกาศปิดเมืองท่าทั่วเกาะอังกฤษ
  • 19: กองทัพอิตาลีเข้ายึดเมืองเบอร์บีรา เมืองหลวงของโซมาลิแลนด์ รวมไปถึงเมืองและค่ายทหารหลายแห่งที่ติดกับแนวชายแดนซูดานและเคนยา
  • 20: อิตาลีประกาศปิดเมืองท่าอังกฤษในดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด
  • 26: เบอร์ลินถูกทิ้งระเบิดทางอากาศ

กันยายน[แก้]

  • 7: กองทัพอากาศเยอรมันเปลี่ยนเป้าหมายไปโจมตีลอนดอน ทำให้กองทัพอากาศอังกฤษฟื้นตัว นับเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของเยอรมนี
  • 15: กองทัพอากาศเยอรมันส่วนใหญ่ถูกขับไล่โดยกองทัพอากาศอังกฤษ
  • 16: รัฐบัญญัติเลือกเฟ้นและรับราชการทหารแห่งปี 1940 เป็นคำส่งเกณฑ์ทหารในยามสงบฉบับแรกของสหรัฐอเมริกา ชายอเมริกันอายุ 21-35 ปีจะต้องเกณฑ์ทหาร
  • 22: ญี่ปุ่นยึดครองเวียดนาม และสร้างฐานทัพหลายแห่งในอินโดจีนของฝรั่งเศส
  • 27: สนธิสัญญาไตรภาคีได้รับการลงนามในกรุงเบอร์ลิน ประกอบด้วยผู้แทนจากเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น นับเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า "ฝ่ายอักษะ"

ตุลาคม[แก้]

  • 1: ทหารจีนชาตินิยมและจีนคอมมิวนิสต์รบกันเองทางภาคใต้ของประเทศ ขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่นพ้ายแพ้ที่เมืองฉางชา
  • 2: การทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนดำเนินต่อไปตลอดทั้งเดือน
  • 7: เยอรมนีโจมตีโรมาเนียเพื่อขัดขวางเจตนาของสหภาพโซเวียต เพื่อยึดครองบ่อน้ำมันอันมีค่า
  • 9: เนวิลล์ เชมเบอร์แลนด์ลาออกจากสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนวินสตัน เชอร์ชิลล์ได้รับการเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
  • 23: ฮิตเลอร์พบกับนายพลฟรานซิสโก ฟรังโกในสเปน ในความพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมให้เขาเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ
  • 28: อิตาลีโจมตีกรีซจากดินแดนยึดครองอัลเบเนีย ฮิตเลอร์โกรธมากในการเริ่มต้นสงครามครั้งนี้

พฤศจิกายน[แก้]

  • 4: แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นสมัยที่สาม อังกฤษรอคอยท่าทีความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
  • 4: กองทัพกรีซโจมตีโต้ครั้งใหญ่ตามแนวชายแดนอัลเบเนีย
  • 7: ไอร์แลนด์ปฏิเสธไม่ยอมให้อังกฤษใช้เมืองท่าของตนเป็นฐานทัพเรือ
  • 12: โมโลตอฟพบกับฮิตเลอร์และริบเบนทรอพในกรุงเบอร์ลิน เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับระเบียบโลกใหม่ โมโลตอฟแจ้งความต้องการของโซเวียตเหนือดินแดนฟินแลนด์ บัลแกเรีย ดาร์เดแนลส์และบอสบอร์ แต่ฮิตเลอร์กล่าวถึงการปักปันดินแดนระหว่างเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียต
  • 13: โมโลตอฟพบกับฮิตเลอร์อีกครั้งหนึ่งเพื่อขอให้ยอมรับในการโจมตีฟินแลนด์ แต่ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ฮิตเลอร์มีเจตนาขัดขวางการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในทวีปยุโรป เขามองว่าสหราชอาณาจักรว่าเป็นผู้แพ้สงครามแล้ว และเสนอยกอินเดียให้แก่สหภาพโซเวียต
  • 15: สหภาพโซเวียตได้รับเชิญให้เข้าร่วมในสนธิสัญญาไตรภาคี และแบ่งปันดินแดนอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษระหว่างกัน
  • 16: เชอร์ชิลล์ออกคำสั่งให้ส่งกองกำลังอังกฤษบางส่วนจากแอฟริกาเหนือไปสนับสนุนการรบในกรีซ
รถถังมาทิลดาของอังกฤษในการทัพทะเลทราย
  • 20: ฮังการีลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี
  • 21: รัฐบาลพลัดถิ่นเบลเยี่ยมประกาศสงครามกับอิตาลี
  • 23: โรมาเนียลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี
  • 24: สาธารณรัฐสโลวัคลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี
  • 26: สหภาพโซเวียตยื่นข้อเสนอในการเข้าร่วมในสนธิสัญญาไตรภาคี รวมไปถึงมอบดินแดนเพิ่มเติมให้กับสหภาพโซเวียต

ธันวาคม[แก้]

  • 6: ปฏิบัติการเข็มทิศ: ทหารอังกฤษและอินเดียเริ่มการโจมตีกองทัพอิตาลีในอียิปต์ กองทัพอิตาลีถูกบังคับให้ล่าถอยไปยังลิเบีย
  • 11: กองทัพอิตาลีล่าถอยจากกรีซไปยังอัลเบเนีย ทหารกรีซเริ่มการโจมตีอัลเบเนีย
  • 12: กองทัพอังกฤษเริ่มทำการรบในลิเบีย
  • 28: ระหว่างสงครามอิตาลี-กรีซ ทหารกรีซยึดครองอัลเบเนียได้หนึ่งในสี่ของดินแดนทั้งหมด อิตาลีเรียกร้องกำลังสนับสนุนจากเยอรมนี