รัฐสภาเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 55°40′34″N 12°34′47″E / 55.67611°N 12.57972°E / 55.67611; 12.57972

รัฐสภาเดนมาร์ก

Parliament of Denmark  (อังกฤษ)
Folketinget  (เดนมาร์ก)
2018 Seal of the Folketing of Denmark.svg
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธานรัฐสภา
เฮนดริก แดม คริสเตนเซน, พรรคประชาธิปไตยสังคม (เดนมาร์ก)
ตั้งแต่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2019
รองประธาน
คาเรน แอลล์แมนน์, พรรคเวนสเตร (เดนมาร์ก)
โครงสร้าง
สมาชิก179 ที่นั่ง
Folketing-27.04.21.svg
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (49)

ฝ่ายสนับสนุน (45)

  •      Socialist People's Party (15)
  •      Social Liberal Party (14)
  •      Red-Green Alliance (13)
  •      Inuit Ataqatigiit (1)[a]
  •      Social Democratic Party (1)[a]
  •      Siumut (1)[a]

ฝ่ายค้าน (85)

  •      Venstre (39)
  •      Danish People's Party (16)
  •      Conservative People's Party (13)
  •      New Right (4)
  •      Liberal Alliance (3)
  •      Independent Greens (3)[2]
  •      Alternative (1)[3]
  •      Christian Democrats (1)
  •      Union Party (1)[a]
  •      อิสระ (4)
การเลือกตั้ง
ระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อเปิด
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
5 มิถุนายน ค.ศ. 2019
ที่ประชุม
Folketingssalen 2018a.jpg
Folketingssalen พระราชวังคริสเตียนส์บอร์ก
เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน
เว็บไซต์
www.thedanishparliament.dk

ฟอลเกตติง (เดนมาร์ก: Folketinget, ออกเสียง: [ˈfʌlkəˌtsʰe̝ŋˀð̩]; แปลว่าสมัชชาของประชาชน) หรือ รัฐสภาเดนมาร์ก (อังกฤษ: Parliament of Denmark)[4]คือสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยวของราชอาณาจักรเดนมาร์ก ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก หมู่เกาะแฟโร และกรีนแลนด์ ตั้งแต่การสถาปนารัฐสภาเดนมาร์กในปีค.ศ. 1849 จนถึงปีค.ศ. 1953 รัฐสภาเดนมาร์กใช้ระบบสองสภาประกอบด้วยสภาล่าง เรียกว่า "Rigsdag" และสภาสูง เรียกว่า "Landstinget" รัฐสภาเดนมาร์กตั้งอยู่ที่พระราชวังคริสเตียนส์บอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน

รัฐสภาเดนมาร์กมีหน้าที่ผ่านกฎหมาย รับรองคณะรัฐมนตรี และกำกับการทำงานของรัฐบาล และยังมีหน้าที่ในการผ่านงบประมาณรายรับและรายจ่ายของรัฐด้วย ตามบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก รัฐสภาเดนมาร์กกับพระมหากษัตริย์มีอำนาจร่วมกัน โดยในทางปฏิบัติพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจจำกัดเพียงการลงปรมาภิไธยในร่างกฎหมายที่ผ่านการรับรองของสภาเพื่อการบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ภายในกรอบเวลาสามสิบวัน

รัฐสภาเดนมาร์กประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 179 คน ซึ่งรวมถึงผู้แทน 2 คนจากหมู่เกาะแฟโร และ 2 คนจากกรีนแลนด์ การเลือกตั้งทั่วไปนั้นมีขึ้นทุก 4 ปี โดยอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่จะกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อให้ทรงประกาศการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหมดวาระ ในกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐสภาสามารถบังคับให้รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล หรือทั้งคณะรัฐบาลให้ลาออกได้[5]

สมาชิกรัฐสภาเดนมาร์กมีที่มาจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน โดยประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 135 ที่นั่งในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งโดยใช้วิธีโดนต์ในการคำนวน และที่นั่งชดเชยอีก 40 ที่นั่ง ระบบการเมืองของเดนมาร์กนั้นโดยปกตินั้นนิยมการร่วมพรรคการเมืองระหว่างหลายพรรค โดยรัฐบาลตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมักจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยที่ใช้การสนับสนุนของพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่การร่วมรัฐบาล[6] การเปิดสมัยประชุมสภาในวันแรกจะมีสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเทอที่ 2[7] เสด็จเป็นองค์ประธาน


หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 พรรคการเมืองท้องถิ่นจากหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ที่มีส่วนร่วมในรัฐสภาเดนมาร์ก[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Her er rød bloks breve til dronningen". nyheder.tv2.dk. 6 June 2019.
  2. "Frafaldne Alternativet-medlemmer stifter nyt parti". nyheder.tv2.dk. 4 September 2020.
  3. "Uffe Elbæk melder sig ud af Alternativet". altinget.dk. 9 March 2020.
  4. "About the Danish Parliament". thedanishparliament.dk. The Danish Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2015. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015.
  5. "A Minister shall not remain in office after the Parliament has passed a vote of no confidence in him." The Constitution of Denmark – Section 15.
  6. "Radikale ved historisk skillevej". Berlingske Tidende. 17 June 2007. สืบค้นเมื่อ 17 August 2007.
  7. "The Danish Parliament opens on 6 October". thedanishparliament.dk. Folketinget (The Danish Parliament). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2016. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.