กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
大日本帝國海軍
Stylized flag with a solid red circle offset to the left on a white background, with sixteen red rays extending to the flag's edges.
ธงของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น
ประจำการ1869–1947
ประเทศจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
ขึ้นต่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
รูปแบบกองทัพเรือ
ปฏิบัติการสำคัญการบุกครองไต้หวันของญี่ปุ่น ค.ศ. 1874
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ
โทโง เฮฮะชิโร
อิโต ซุเกะยุกิ
เจ้าชายฟุชิมิ ฮิโระยะซุ
เครื่องหมายสังกัด
สัญลักษณ์
Yellow seal in the shape of a flower with sixteen petals.
พระราชลัญจกรแผ่นดิน ถูกใช้แทนตราประจำเหล่าทัพ

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) (คีวจิไต: 大日本帝國海軍 ชินจิไต: 大日本帝国海軍 เกี่ยวกับเสียงนี้ ไดนิปปง เทโกะกุ ไคงุง หรือ 日本海軍 นิปปง ไคงุง) เป็นกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1869 จนถึง ค.ศ. 1947 เมื่อถูกยุบตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่นที่จะสละการใช้กองกำลังเป็นวิธีของการยุติข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น (JMSDF) จึงได้มีการจัดตั้งหลังจากการสลายของ IJN[1]

ในปี ค.ศ. 1920 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในโลก รองก็เพียงแต่กองทัพเรือสหราชอาณาจักรและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา[2] กองทัพเรือได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังพิเศษทางอากาศแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับอากาศยานและปฏิบัติการโจมตีทางอากาศจากกองเรือ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นคู่ต่อสู้หลักของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

ต้นกำเนิดของกองทัพเรือญี่ปุ่นสามารถสืบย้อนไปถึงตอนต้นของการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มต้นในตอนต้นของยุคกลางและไปถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16–17 ในช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับมหาอำนาจในทวีปยุโรปในระหว่างยุคแห่งการสำรวจ ผ่านไปสองศตวรรษแห่งความซบเซาระหว่างนโยบายสันโดษภายในใต้โชกุนแห่งยุคเอะโดะ กองทัพเรือญี่ปุ่นถูกเปรียบเทียบกับเมื่อในอดีตเมื่อประเทศถูกบังคับให้เปิดการค้าโดยการแทรกแซงของอเมริกาในปี ค.ศ. 1854 เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปฏิรูปสมัยเมจิ ประกอบกับการกลับมาสืบเชื้อสายจักรพรรดิ์ในยุคใหม่ที่เรืองรองและการปรับให้สู่อุตสาหกรรม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้น บางช่วงเวลาก็มีการสู้รบบ้างเช่นใน สงครามจีน-ญี่ปุ่นและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และท้ายสุดโดนทำลายล้างเกือบทั้งหมดโดยกองทัพเรือสหรัฐ (USN) ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[3]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Japan> National Security> Self-Defense Forces> Early Development". Library of Congress Country Studies.
  2. Evans & Peattie 1997.
  3. Farley, Robert (14 สิงหาคม 2015). "Imperial Japan's Last Floating Battleship". The Diplomat. ISSN 1446-697X. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017.

บรรณานุกรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]