สงครามกลางเมืองอิตาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกลางเมืองอิตาลี
ส่วนหนึ่งของ การทัพอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่สอง
หมุนตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: พลพรรคอิตาลีในออสโซลา; กองกำลังทหารของกองทัพบกสาธารณรัฐแห่งชาติซึ่งได้รับการตรวจแถวโดยควร์ท เม็ลท์เซอร์; ทหารโดดร่มชาวอิตาลีที่เป็นฝ่ายจงรักภักดีต่อกษัตริย์กำลังเดินทางไปยังจุดโดดร่มในปฏิบัติการเฮร์ริง; ศพของเบนิโต มุสโสลินี, คลาล่า แปตะชิ และพวกฟาสซิสต์คนอื่น ๆ ซึ่งถูกประหารชีวิตและนำไปแขวนประจานที่เมืองมิลาน
วันที่8 กันยายน ค.ศ. 1943 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
(1 ปี 7 เดือน 3 สัปดาห์ และ 3 วัน)
สถานที่
ผล

ฝ่ายนิยมกษัตริย์อิตาลีและขบวนการต่อต้านอิตาลีได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
ขบวนการต่อต้านอิตาลี
 อิตาลี
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
สหรัฐ สหรัฐ
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี
นาซีเยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ราชอาณาจักรอิตาลี อีวาโนเอ โบนอมี
อัลชีเด เด กัสเปรี
ลุยจี ลองโก
แฟร์รุชโช ปาร์รี
อัลเฟรโด ปิซโซนี
รัฟฟาเอเล กาดอร์นา
วิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3
ราชอาณาจักรอิตาลี มกุฎราชกุมาร อุมแบร์โต
ราชอาณาจักรอิตาลี ปีเอโตร บาโดลโย
ราชอาณาจักรอิตาลี โจวันนี เมสเซ
เบนิโต มุสโสลินี โทษประหารชีวิต
โรดอลโฟ กราซีอานี
อาเลสซันโดร ปาโวลีนี โทษประหารชีวิต
เรนาโต ริชชี
จูนีโอ วาเลรีโอ บอร์เกเซ
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เค็สเซิลริง
นาซีเยอรมนี เอเบอร์ฮาร์ท ฟ็อน มัคเคินเซิน

สงครามกลางเมืองอิตาลี (อิตาลี: Guerra civile italiana) เป็นสงครามกลางเมืองในอิตาลีซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างขบวนการต่อต้านอิตาลีและกองทัพบกร่วมทำสงครามอิตาลี (Italian Co-belligerent Army) กับฟาสซิสต์อิตาลีและสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1943 (วันที่มีการลงนามของการสงบศึกที่แคสซิบีล) ถึง วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (วันที่กองทัพเยอรมันในอิตาลีได้ยอมจำนน) ขบวนการต่อต้านและกองทัพบกร่วมทำสงครามของอิตาลียังได้ร่วมมือกันต่อสู้กับกองทัพนาซีเยอรมัน ซึ่งเริ่มเข้ายึดครองอิตาลีโดยทันทีก่อนที่จะมีการลงนามของการสงบศึก จากนั้นจึงบุกเข้ายึดครองอิตาลีในพื้นที่ขนาดใหญ่มากขึ้นภายหลังจากการสงบศึก

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังจากมุสโสลินีได้ถูกปลดและจับกุม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 โดยพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 อิตาลีได้ลงนามการสงบศึกที่แคสซิบีล เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1943 เป็นการยุติการทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร อย่างไรก็ตาม กองทัพเยอรมันได้ประสบความสำเร็จในการเข้าควบคุมอิตาลีทางตอนเหนือและกลางไว้ได้ไม่นาน ได้สถาปนาก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี โดยมุสโสลินีได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำ ภายหลังจากเขาได้รับการช่วยเหลือจากพลทหารโดดร่มเยอรมัน เยอรมนีซึ่งบางครั้งได้รับความช่วยเหลือจากฟาสซิสต์ได้ก่อการกระทำความโหดร้ายทารุณหลายครั้งต่อพลเรือนและทหารชาวอิตาลี ด้วยเหตุนี้ กองทัพร่วมทำสงครามอิตาลีจึงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้รบกับสาธารณรัฐสังคมอิตาลีและเยอรมนีที่เป็นพันธมิตร ในขณะที่กองกำลังทหารอิตาลีอื่น ๆ ซึ่งยังจงรักภักดีต่อมุสโสลินี ยังคงต่อสู้รบเคียงข้างกับเยอรมนีในนามของกองทัพบกสาธารณรัฐแห่งชาติ นอกจากนี้ ขบวนการต่อต้านอิตาลีขนาดใหญ่ได้เริ่มทำสงครามแบบกองโจรซึ่งต่อกรกับกองกำลังฟาสซิสต์อิตาลีและเยอรมนี ด้วยชัยชนะของฝ่ายต่อต้านฟาสซิสต์ได้นำไปสู่การประหารชีวิตมุสโสลินี ปลดปล่อยประเทศจากเผด็จการ และการก่อกำเนิดของสาธารณรัฐอิตาลีภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในดินแดนที่ถูกยึดครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่จนกระทั่งสนธิสัญญาสันติภาพกับอิตาลี ค.ศ. 1947

อ้างอิง[แก้]