กองเรือทะเลดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองเรือทะเลดำ
Great emblem of the Black Sea fleet.svg
ตราของกองเรือทะเลดำ
ประจำการ13 พฤษภาคม 1783– ปัจจุปัน
ขึ้นต่อ รัสเซีย
(1783–1918)
 สหภาพโซเวียต
(1918–1991)
 รัสเซีย
(1991–ปัจจุปัน)
บทบาทการรบทางน้ำ
การรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก
กำลังรบ25,000 (รวมถึงนาวิกโยธิน)[1]
เรือรบ 45 ลำ
เรือดำน้ำ 6 ลำ (2014)[2]
กองบัญชาการเซวัสโตปอล (กองบัญชาการ), ฟีโอโดซียา (ไครเมีย)
โนโวรอสซีสค์, Tuapse, Temryuk (ดินแดนครัสโนดาร์)
Taganrog (แคว้นรอสตอฟ)
วันสถาปนา13 พฤษภาคม
ปฏิบัติการสำคัญBattle of Kerch Strait
สงครามไครเมีย
สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามโลกครั้งที่สอง
Yom Kippur War
สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย
การแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในยูเครน
การผนวกไครเมียของรัสเซีย
การแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในสงครามกลางเมืองซีเรีย
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลเรือเอก Aleksandr Vitko
ผบ. สำคัญพลเรือเอก ฟิโอดอร์ อูชาคอฟ
พลเรือเอก Alexander Menshikov
พลเรือเอก Yevgeni Alekseyev
พลเรือเอก Alexander Kolchak
พลเรือเอก Ivan Yumashev
จอมพลเรือ Sergey Gorshkov
จอมพลเรือ Vladimir Kasatonov
พลเรือเอก Vladimir Masorin

กองเรือทะเลดำ (รัสเซีย: Черноморский флот, Chernomorsky flot) เป็นกองเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในทะเลดำ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ ทะเลอะซอฟ

เจ้าชายโปติออมกินทรงสถาปนากองเรือทะเลดำขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม 1783 กองเรือได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ต่อมาคือ สหภาพโซเวียต ในปี 1922 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือโซเวียต หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือน ธันวาคม 1991 กองเรือทะเลดำและเรือส่วนใหญ่ได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธรัฐรัสเซีย

กองบัญชาการและที่ตั้งหลักอย่างเป็นทางการของกองเรือทะเลดำตั้งอยู่ในเมืองเซวัสโตปอล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครน โดยนิตินัย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยพฤตินัย ส่วนที่เหลือของกองเรือและยานพาหนะจะอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ บนทะเลดำ และ ทะเลอะซอฟ เช่น ดินแดนครัสโนดาร์, แคว้นรอสตอฟ และ ไครเมีย ผู้บัญชาการกองเรือทะเลดำคนปัจจุปันคือ พลเรือเอก Aleksandr Vitko โดยเขาดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2013

อ้างอิง[แก้]

  1. "Шойгу: действия Минобороны РФ в Крыму были вызваны угрозой жизни мирного населения". itar-tass.com. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018.
  2. Altman, Jonathan (Winter 2016). "Russian A2/AD in the Eastern Mediterranean: A Growing Risk". Naval War College Review. Newport, Rhode Island: U.S. Naval War College. 69 (1): 72. ISSN 0028-1484.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]