การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่7 ธันวาคม ค.ศ. 1941
สถานที่
ผล
  • จักรวรรดิญี่ปุ่นชนะทางยุทธวิธีครั้งสำคัญ
  • สหรัฐประกาศสงครามต่อจักรวรรดิญี่ปุ่น
คู่สงคราม
 สหรัฐ    ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฮัสแบนด์ คิมเมิล
วัลเทอร์ ชอร์ต
ชูอิจิ นางูโมะ
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
ความสูญเสีย
เสียเรือรบ 2 ลำอย่างสิ้นเชิง
เรือรบจม 2 ลำและถูกกู้คืน
เรือรบเสียหาย 3 ลำ
เรือรบเกยตื้น 1 ลำ
เรืออื่นจม 2 ลำ[nb 1]
เรือลาดตระเวนเสียหาย 3 ลำ[nb 2]
เรือพิฆาตเสียหาย 3 ลำ
เรืออื่นเสียหาย 3 ลำ
อากาศยานถูกทำลาย 188 ลำ
อากาศยานเสียหาย 159[2] ลำ
เสียชีวิต 2,403 นาย
บาดเจ็บ 1,178 นาย[3][4]
เรือดำน้ำขนาดเล็กมากจม 4 ลำ
เรือดำน้ำขนาดเล็กมากเกยตื้น 1 ลำ
อากาศยานถูกทำลาย 29 ลำ
เสียชีวิต 64 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 1 นาย[5]
การสูญเสียพลเรือน
เสียชีวิต 68 คน[6][7]
บาดเจ็บ 35 คน[3]
ภาพของเรือ USS Arizona ที่กำลังจะจมจากการโจมตีของกองบินผสมของญี่ปุ่น

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการจู่โจมของกองกำลังพิเศษทางอากาศแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การโจมตีครั้งนี้ได้เป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการเพิร์ลฮาร์เบอร์[8] นำไปสู่การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ผู้นำทางทหารญี่ปุ่นได้เรียกการโจมตีครั้งนี้ว่า ปฏิบัติการฮาวายและปฏิบัติการเอไอ[9][10] และปฏิบัติการแซดในช่วงระหว่างการวางแผน[11]

การโจมตีครั้งนี้ได้เจตาเป็นการปฏิบัติป้องกันเพื่อไม่ให้กองเรือแปซิฟิกของสหรัฐเข้าแทรกแซงการปฏิบัติทางทหารซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นกำลังวางแผนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์และสหรัฐ มีการโจมตีของญี่ปุ่นพร้อมกันที่ฟิลิปปินส์ซึ่งสหรัฐถือครองอยู่ และต่อมาด้วยจักรวรรดิบริติชในมาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง[12]

จากในแง่ผู้ป้องกัน การโจมตีเริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย (18:18 GMT)[nb 3][13] ฐานทัพได้ถูกโจมตีโดยเครื่องบินญี่ปุ่น 353 ลำ[14](รวมทั้งเครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบระดับและดำดิ่ง และทิ้งระเบิดตอร์ปิโด) แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ[15] โดยกองบินผสมเริ่มโจมตีเครื่องบินที่นำมาจอดทิ้งไว้กลางรันเวย์ตามคำสั่งของนายพลชอร์ตก่อน จึงค่อยโจมตีเป้าหมายหลักนั่น เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้งแปดลำเสียหาย โดยสี่ลำจม ทั้งหมดถูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ (ยกเว้นUSS Arizona เนื่องจากโดนระบิดที่ทิ้งตกลงไปในคลังอาวุธ ทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง) เรือรบหกลำจากแปดลำได้กลับเข้าประจำการและออกสู้รบในสงคราม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวนสามลำ เรือพิฆาตสามลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยานหนึ่งลำ[nb 4] และเรือวางทุ่นระเบิดหนึ่งลำ เครื่องบินสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย[17] สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่ต่อเรือแห้งและน้ำ โรงซ่อมบำรุง เชื้อเพลิงและเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ เครื่องบิน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมากห้าลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย กะลาสีชาวญี่ปุ่นถูกจับได้หนึ่งคน คือ คะซุโอะ ซะกะมะกิ

การโจมตีครั้งนี้ได้สร้างความตกตะลึงอย่างมากแก่อเมริกันชนและนำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยตรงทั้งในเขตสงครามแปซิฟิกและยุโรป วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 8 ธันวาคม สหรัฐได้ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น[18][19] และหลายวันต่อมา, เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เยอรมนีและอิตาลีได้ประกาศสงครามต่อสหรัฐ สหรัฐได้ตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามต่อเยอรมนีและอิตาลี การสนับสนุนลัทธิไม่แทรกแซงภายในประเทศ ซึ่งเคยมีมากมายนับตั้งแต่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1940[20] จนหมดสิ้น[21]

มีบรรทัดฐานประวัติศาสตร์จำนวนมากของการปฏิบัติทางทหารของญี่ปุ่นซึ่งไม่ประกาศ ทว่าการขาดคำเตือนอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยเฉพาะระหว่างการเจรจายังดำเนินอยู่ ทำให้ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ประกาศว่าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็น "วันซึ่งจะอยู่ในความอดสู" เพราะการโจมตีนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีการประกาศสงครามและไม่มีคำเตือนชัดเจน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์จึงได้ถูกตัดสินในภายหลังที่การพิจารณาคดีโตเกียวด้วยข้อหาอาชญากรรมสงคราม[22][23]

สาเหตุของการโจมตี[แก้]

ผลสืบเนื่องมาจากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จุดเริ่มต้นของสงครามคือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองดินแดนแมนจูเรียหลังเกิดกรณีมุกเดน เพราะเนื่องจากญี่ปุ่นได้เล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ หลังจากยึดครองสำเร็จก็แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดให้อยู่ภายใต้การนำของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีจักรพรรดิปูยี (อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง) ให้มาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูเรียได้แต่เพียงในนามเท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจแก่สาธารณรัฐจีนเป็นอย่างมากจึงได้ไปร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ เวลาต่อมาสันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นสันนิบาตชาติก็ได้ลงความเห็นเห็นว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นฝ่ายผิดและเป็นผู้รุกราน จึงออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรียและออกคำสั่งให้ญี่ปุ่นถอนกองทัพออกจากดินแดนแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจพร้อมประกาศถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติไปโดยสิ้นเชิง

ด้วยการที่สันนิบาตชาติทำอะไรกับญี่ปุ่นไม่ได้ ทำให้จีนผิดหวังและญี่ปุ่นก็เริ่มฮึกเหิมที่คิดจะทำการยึดครองจีนต่อไปโดยไม่มีประเทศใดๆมาขัดขวาง และแล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ส่งกองทัพเข้าไปรุกรานจีนได้อย่างเต็มตัว แม้กองทัพจีนจะพยายามต้านทานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่อาจต้านทานกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำให้จีนต้องสูญเสียดินแดนให้กับญี่ปุ่น เช่น ปักกิ่ง เป่ยผิง เทียนจิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันเมืองนานกิงเองก็ได้ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองและทำการสังหารหมู่ชาวจีนไปเป็นจำนวนมาก สร้างความโกรธแค้นให้กับชาวจีนเป็นอย่างมาก

ในช่วงที่กองทัพจีนได้พ่ายแพ้กองทัพญี่ปุ่นมาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และแล้วความหวังก็ได้ปรากฏขึ้น เนื่องจากจีนได้เล็งเห็นประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งที่สามารถถ่วงดุลอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ ดังนั้นจีนจึงส่งขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐฯทันที แม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามทำตัวเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามก็ตามแต่ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือกับจีนอย่างเต็มที่

สหรัฐฯภายใต้การนำโดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ก็ได้ประกาศยุติการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น เช่น น้ำมัน เหล็ก เป็นต้น ทำให้ญี่ปุ่นขาดปัจจัยในการบำรุงกองทัพโดยเฉพาะน้ำมัน ทำให้การบุกเข้ายึดจีนต่อไปต้องหยุดชะงักลง จักรวรรดิญี่ปุ่นญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูตไปเจรจากับสหรัฐฯเพื่อขอให้ส่งน้ำมันต่อ แต่ว่าการเจรจาก็ล้มเหลวหมดเพราะสหรัฐฯได้ยื่นคำขาดว่าให้ญี่ปุ่นยุติการยึดครองจีน และถอนกำลังออกจากอินโดจีนไป ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ที่อยู่บริเวณของหมู่เกาะฮาวายที่เป็นฐานทัพเรือสหรัฐฯประจำภาคพื้นทะเลแปซิพิกด้วยการเป็นอย่างลับๆ เพื่อเปิดเส้นทางการขยายอำนาจในภาคพื้นทะเลแปซิพิกแก่จักรวรรดิญี่ปุ่น

และเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่กองทัพเรือญี่ปุ่นที่เป็นหน่วยข่าวกรองคอยถ่ายรูปเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของเรือ และ เครื่องบิน ส่งกลับไปให้ญี่ปุ่น นั่นก็คือ ทาเคโอะ โยชิกาวะ

ทำให้ญี่ปุ่นสามารถรู้ถึงสภาพของเกาะ จนไปถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

ในวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเริ่มลงมือด้วยการซ่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินแล้วเข้าใกล้อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ให้ได้มากที่สุดแล้วนำเครื่องบินบินต่ำหลบคลื่นเรดาร์ อเมริกาตรวจพบเครื่องบิน400ลำกำลังเข้าเกาะ ปรากฏว่าทหารอเมริกาคิดว่าเป็นเครื่องบินบี-17ของตนบินกลับมาจากจีน เครื่องบินของกองทัพญี่ปุ่นยิ่งเข้าใกล้เกาะขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ทหารเรือกำลังตกปลาอยู่ แผนการรบทั้งหมดคิดโดย นายพลเรืออิโซโรกุ ยามาโมโต และได้ดัดแปลงตอร์ปิโดคือใส่ไม้รูปทรงคล้ายๆกล่องเข้าไปที่ใบพัดจึงทำให้สามารถยิงในน้ำตื้นได้ การรบดังกล่าวทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักคือ ทหาร2408 นาย เรือรบ 18 ลำ เครื่องบิน 400 ลำ และทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในที่สุด

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Utah and Oglala
  2. Unless otherwise stated, all vessels listed were salvageable.[1]
  3. In 1941, Hawaii was a half-hour different from the majority of other time zones. See UTC−10:30.
  4. ยูเอสเอส Utah (AG-16, formerly BB-31); Utah was moored in the space intended to have been occupied by the aircraft carrier Enterprise which, returning with a task force, had been expected to enter the channel at 0730 on December 7; delayed by weather, the task force did not reach Pearl Harbor until dusk the following day.[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. CinCP report of damage to ships in Pearl Harbor from www.ibiblio.org/hyperwar.
  2. "Overview of The Pearl Harbor Attack, 7 December 1941". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
  3. 3.0 3.1 Conn 2000, p. 194
  4. GPO 1946, pp. 64–65
  5. Gilbert 2009, p. 272.
  6. Gailey 1995
  7. "Pearl Harbor Casualty List". USSWestVirginia.org. สืบค้นเมื่อ 2012-12-07.
  8. Morison 2001, pp. 101, 120, 250
  9. Prange, Gordon W., Goldstein, Donald, & Dillon, Katherine. The Pearl Harbor Papers (Brassey's, 2000), p. 17ff; Google Books entry on Prange et al.
  10. For the Japanese designator of Oahu. Wilford, Timothy. "Decoding Pearl Harbor", in The Northern Mariner, XII, #1 (January 2002), p. 32fn81.
  11. Fukudome, Shigeru, "Hawaii Operation". United States Naval Institute, Proceedings, 81 (December 1955), pp. 1315–1331
  12. Gill, G. Hermon (1957). Royal Australian Navy 1939–1942. Australia in the War of 1939–1945. Series 2 – Navy. Vol. 1. Canberra: Australian War Memorial. p. 485. LCCN 58037940. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2009. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
  13. Prange et al. December 7, 1941, p. 174.
  14. Parillo 2006, p. 288
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ parillo2882
  16. Thomas 2007, pp. 57–59.
  17. "Pearl Harbor Facts". About. สืบค้นเมื่อ October 5, 2014.
  18. "United States declares war". Abilene Reporter-News. December 8, 1941. p. 1. สืบค้นเมื่อ August 12, 2014 – โดยทาง Newspapers.com. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  19. Bromwich, Jonah Engel (2016-12-07). "How Pearl Harbor Shaped the Modern World". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-03-25.
  20. Braumoeller, Bear F. (2010) "The Myth of American Isolationism" Foreign Policy Analysis 6: 349–371.
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :02
  22. Yuma Totani (April 1, 2009). The Tokyo War Crimes Trial: The Pursuit of Justice in the Wake of World War II. Harvard University Asia Center. p. 57.
  23. Stephen C. McCaffrey (September 22, 2004). Understanding International Law. AuthorHouse. pp. 210–229.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]