ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
คติพจน์ให้การศึกษาทางรัฐศาสตร์อย่างเสมอภาค เป็นธรรม ทั่วถึง และมุ่งสู่สากล
สถาปนาพ.ศ.2516
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณบดีรศ.ดร.ศุภชัย ศุภผล
ที่อยู่
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
วารสารวารสารรามคำแหง ฉบับรัฐศาสตร์
วารสารรัฐศาสตร์พิจารณ์
เพลงมาร์ชรัฐศาสตร์รามคำแหง
สี  สีแดงเข้ม
มาสคอต
สิงห์ทอง
เว็บไซต์http://www.pol.ru.ac.th

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยในระยะแรกได้เปิดสอนเป็นสาขารัฐศาสตร์ สังกัดคณะนิติศาสตร์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนการวิจัยในด้านการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ ทั้งแบบตลาดวิชาในระดับปริญญาตรี และแบบบัณฑิตศึกษา ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ผลิตบัณฑิตที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้งในแวดวงการเมืองการปกครองไทย และในหน่วยงานภาครัฐ

ประวัติ

[แก้]

เมื่อ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินการในปี พ.ศ. 2514 คณะรัฐศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะนิติศาสตร์ และจัดตั้งเป็นคณะรัฐศาสตร์ในปี พ.ศ. 2516 โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรโชค วีระสย (บรรพต วีระสัย) มาเป็นผู้ก่อตั้ง และดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คนแรก หลังจากจบการศึกษาสูงสุดทางรัฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการเชิดชูเกียรติให้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมไพ ซิกมา แอลฟา (PI SIGMA ALFA) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาการด้านรัฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

ต่อมาคณะฯ ได้ย้ายที่ทำการแยกจากคณะนิติศาสตร์มาเป็นอาคารไม้สองชั้น ติดกับสนามกีฬาหัวหมาก ซึ่งเป็นที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2517 และอยู่ในที่ทำการนี้ประมาณ 6 ปี ต่อมาอาคารดังกล่าวเป็นที่ทำการของงานสวัสดิการและรักษาความปลอดภัย กองอาคารสถานที่

ในสมัยที่อาจารย์ สุขุม นวลสกุล เป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่อาคาร 5 ชั้น ซึ่งเป็นที่ทำการถาวรจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2522 โดยลักษณะตัวอาคารเป็นรูปตัวยูแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งเป็นห้องอาจารย์และสำนักงาน อีกส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานบัณฑิตศึกษา ห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์เอกสารทางวิชาการ ศูนย์นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและเอกชน ศูนย์ศึกษาเอเชีย ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก รวมถึงห้องประชุมทางวิชาการต่างๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550-2552 ได้มีการก่อสร้างอาคารคณะรัฐศาสตร์หลังใหม่ 12 ชั้น 1 หลัง โดยใช้พื้นที่ของอาคาร NB 3 A,B และ NB 10 เดิม ได้ส่งมอบและตรวจรับเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการเรียนการสอน ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และสำนักงานในการให้บริการ และการบริหารงานของคณะรัฐศาสตร์

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คณะฯ มุ่งหมายที่จะสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมพัฒนาการสู่ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนและบริการวิชาการ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั้งในด้าน การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

คณะรัฐศาสตร์จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 3 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 3 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 2 สาขาวิชา รวมทั้งหมด 8 สาขาวิชาใน 3 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภาควิชา ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ภาควิชาการปกครอง

ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ภาควิชาบริหารรัฐกิจ

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) (ภาคปกติ)
  • สาขาวิชาการปกครอง
  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) (ภาคพิเศษ)

  • สาขาวิชาการปกครอง
  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) (ภาคปกติ)
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการงานสาธารณะ
  • สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) (โครงการพิเศษ)

  • โครงการสำหรับนักบริหาร
  • โครงการผู้นำภาครัฐและภาคเอกชน
  • โครงการการจัดการงานสาธารณะ
  • โครงการสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชาการเมือง
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ทำเนียบคณบดี

[แก้]

รายนามคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

ทำเนียบคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศ.(พิเศษ) ดร.จิรโชค วีระสย[1] 25 มกราคม พ.ศ. 2518 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2520
2. รศ.สุขุม นวลสกุล[2] 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523
3. รศ.ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ[3] 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2526
4. รศ.ดร.สุรพล ราชภัณฑารักษ์[4] 11 มีนาคม พ.ศ. 2526 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
5. รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร[5] 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2530
6. รศ.วิทยา นภาศิริกุลกิจ[6] 8 มิถุนายน พ.ศ. 2530 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
7. รศ.เชษฐ เทพเฉลิม[7] 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
8. รศ.สนธิ์ บางยี่ขัน[8] 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536
9. รศ.เสถียร หอมขจร[9] 16 ธันวาคม พ.ศ. 2536 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538
10. รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต[10] 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
11. รศ.พรชัย เทพปัญญา[11] 8 มิถุนายน พ.ศ. 2541 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
12. รศ.พรชัย เทพปัญญา (วาระที่ 2) 17 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 16 ตุลาคม พ.ศ.2547
13. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์[12] 16 มกราคม พ.ศ. 2548 - 15 มกราคม พ.ศ. 2552
14. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (วาระที่ 2) 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
15. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 30 เมษายน พ.ศ. 2555
16. อ.ดร.มนตรี กวีนัฏธยานนท์ (รักษาการแทนฯ)[13] 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
17. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
18. รศ.ดร.ทิพรัตน์ บุบผะศิริ (รักษาการแทนฯ)[14] 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556
19. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 27 เมษายน พ.ศ. 2557
20. รศ.ดร.ทิพรัตน์ บุบผะศิริ (รักษาการแทนฯ) 28 เมษายน พ.ศ. 2557 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
21. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) 1 กันยายน พ.ศ. 2557 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
22. รศ.อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี[15] 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
23. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562
24. ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์[16] 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 30 มิถุนายน พ.ศ.2566
25. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) 1 กรกฎาคม พ.ศ.2566 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566
26. รศ.ดร.ศุภชัย ศุภผล[17] 2 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

บุคลากรและศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อาลัย ศ.ดร.จิรโชค วีระสย (บรรพต วีระสัย)". www.thairath.co.th. 2019-06-10.
  2. "รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัย กล่าวรายงานวันรามคำแหง 28 · RU Archives". archives.lib.ru.ac.th.
  3. "คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง - ประวัติคณะรัฐศาสตร์". www.pol.ru.ac.th.
  4. "สำนักงานราชบัณฑิตยสภา". www.orst.go.th.
  5. "สิ้นแล้ว "อ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร" อดีตแข้งทีมชาติ-นักวิชาการรัฐศาสตร์". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2020-05-07.
  6. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:120553
  7. "คณะผู้บริหารในงานเลี้ยงแสดงความยินดี การลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและเทคนิค ระหว่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง กับ Pittsburg State University · RU Archives". archives.lib.ru.ac.th.
  8. "จินตนา ยศสุนทร และสนธิ์ บางยี่ขัน แสดงลิเก · RU Archives". archives.lib.ru.ac.th.
  9. "คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง - ประวัติคณะรัฐศาสตร์". www.pol.ru.ac.th.
  10. "เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ เข้าพบเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ร่วมเจรจาหาแนวทางงานวิชาการร่วมกัน". www.kpi.ac.th.
  11. "Facebook". www.facebook.com.
  12. "อดีตอธิการบดี ม.รามฯ ฟ้องกลับ "วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์" รักษาการอธิการบดี ฐานฟ้องเท็จ นัดไต่สวนมูลฟ้อง 1 ก.ค.นี้". mgronline.com. 2024-02-28.
  13. pusitkttrnr@gmail.com (2018-11-15). "การบริหารจัดการองค์กรความรู้สู่ความสุขแลกเปลี่ยนทัศนการสร้างสุของค์กร". สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
  14. "พินิจวิกฤตยูเครน". ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ. 2020-01-29.
  15. "หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการงานสาธารณะ สำหรับนักบริหารรุ่นใหม่ - คณะกรรมการอำนวยการ". www.mpm.ru.ac.th.
  16. Polsci Ramkhamhaeng (2021-08-08), ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์, สืบค้นเมื่อ 2024-08-21
  17. "Facebook". www.facebook.com.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]