ปริญญา ฤกษ์หร่าย
ปริญญา ฤกษ์หร่าย | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกำแพงเพชร เขต 4 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 174 วัน) | |
คะแนนเสียง | 36,132 (39.98%) |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ตนเอง อนันต์ ผลอำนวย |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกำแพงเพชร เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อนันต์ ผลอำนวย | |
ก่อนหน้า | สนั่น สบายเมือง ถวิล ฤกษ์หร่าย |
ถัดไป | ตนเอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | นางณิชเบญญา ฤกษ์หร่าย |
ชื่อเล่น | บอย |
นายปริญญา ฤกษ์หร่าย (เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2518) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ
[แก้]ปริญญา ฤกษ์หร่าย เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร กำแพงเพชร เป็นบุตรของนายถวิล ฤกษ์หร่าย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 สมัย กับนางอารีย์ ฤกษ์หร่าย มีพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับ ผศ.ดร. ณิชเบญญา จันทนจุลกะ ฤกษ์หร่าย ซึ่งเป็นบุตรี อภัย จันทนจุลกะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีบุตร-ธิดา 2 คน
งานการเมือง
[แก้]เริ่มงานการเมืองในฐานะผู้ช่วย ส.ส. (ถวิล ฤกษ์หร่าย) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 หลังจากบิดาวางมือทางการเมือง จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยแรก[1]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ปริญญา ฤกษ์หร่าย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แนวหน้า, เปิดใจ "ปริญญา ฤกษ์หร่าย" พร้อมรับใช้ชาวกำแพงเพชร [ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายปริญญา ฤกษ์หร่าย เก็บถาวร 2012-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายปริญญา ฤกษ์หร่าย[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายปริญญา ฤกษ์หร่าย), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2518
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากอำเภอเมืองกำแพงเพชร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.