ข้ามไปเนื้อหา

ชัยชนะ เดชเดโช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยชนะ เดชเดโช
ชัยชนะ ใน พ.ศ. 2566
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 227 วัน)
หัวหน้าเฉลิมชัย ศรีอ่อน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 121 วัน)
ก่อนหน้าเทพไท เสนพงศ์
เขตเลือกตั้งเขต 6 (2562–2566)
เขต 5 (2566–ปัจจุบัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2529 (38 ปี)
อำเภอร่อนพิบูลย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2556–ปัจจุบัน)
คู่สมรสชฎาลักษณ์ วรพงศ์
ชื่อเล่นแทน

ชัยชนะ เดชเดโช (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2529) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคใต้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 สมัย อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

ประวัติ

[แก้]

ชัยชนะ เดชเดโช เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เป็นบุตรคนโตของนายวิฑูรย์ เดชเดโช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และ นางกนกพร เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีน้องชาย 3 คน คือ พิชิตชัย เดชเดโช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช พิทักษ์เดช เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช และพงษ์เดโช เดชเดโช

ชัยชนะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ และ ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเดียวกัน จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1] ปัจจุบันอยู่ระหว่างการอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 1[2]

ชัยชนะ อยู่กินกันฉันสามีภริยากับชฎาลักษณ์ วรพงศ์ มีบุตร 3 คน[3]

งานการเมือง

[แก้]

ชัยชนะ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น คือ สมาชิกสภาจังหวัด เมื่อปี 2556-2561 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อีกสองปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ชัยชนะ เดชเดโช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รู้จัก "เท่ห์-เบอร์ 1" เขต 3 "เมืองคอน" ให้มากขึ้น ก่อนตัดสินใจลงคะแนน". M TODAY. 2023-04-14.
  2. ""อุ๊งอิ๊ง" ติดโผเรียน มินิ วปอ.รุ่น 1 พร้อมทายาทนักการเมืองร่วมชั้นเพียบ". mgronline.com. 2024-02-28.
  3. ประชาธิปัตย์ องค์ประชุมล่ม 2 ขั้วงัดข้อ เลื่อนโหวตหัวหน้าพรรค
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕