บุษบา ยอดบางเตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุษบา ยอดบางเตย
ไฟล์:บุษบา ยอดบางเตย.jpg
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2538 – 2541
ก่อนหน้าวรกร ตันตรานนท์
ถัดไปปกรณ์ บูรณุปกรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย (2550–2551)
คู่สมรสพลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย

นางบุษบา ยอดบางเตย รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย อดีตนายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และอดีตกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย

ประวัติ[แก้]

นางบุษบา ยอดบางเตย เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 สมรสกับพลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่[1]

นางบุษบา ยอดบางเตย สำเร็จการศึกษาระดับตรีทางด้านรัฐศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมือง) จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2550

การทำงาน[แก้]

งานการเมือง[แก้]

นางบุษบา ยอดบางเตย เคยเป็นเทศมนตรีฝ่ายการศึกษา ฝ่ายบริหาร และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเมืองเชียงใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึงปี พ.ศ. 2541 ในปี 2547 นางบุษบาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเป็นลำดับ 3 ได้คะแนน 109,705 คะแนน ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 นางบุษบา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่[2]

ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย[3]

งานกีฬา[แก้]

นางบุษบา ยอดบางเตย ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย[4] ต่อจากพลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ในปี พ.ศ. 2548 นถึงปี พ.ศ. 2555 และวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2557 จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งในปี พ.ศ. 2563 เพื่อแสดงความรับผิดชอบจากเหตุการณ์การใช้สารต้องห้ามของอดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทยเจ้าของเหรียญทองแดงโอลิมปิก[5] และยังเคยได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย ในปี พ.ศ. 2560[6]

นางบุษบา ได้รับเลือกเป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย วาระปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2556[7] และเป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[8] ในปี พ.ศ. 2560

ในปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้ประกาศมอบอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ด้านสตรีและกีฬา ให้แก่นางบุษบา ยอดบางเตย[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติ เสธ.ยอด
  2. "ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
  4. สมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
  5. "มาดามบุษ" แถลงลาประมุขยกน้ำหนักฯ มีผลวันนี้ทันที
  6. "บุษบา ยอดบางเตย" นั่งเลขาธิการสหพันธ์ยกน้ำหนักเอเชีย
  7. "คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2552 - 2556". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-26. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
  8. [1][ลิงก์เสีย]
  9. บุษบาสุดปลื้มรับอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดจากไอโอซี
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕