ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม
อดีตอัยการประจำกอง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 ธันวาคม พ.ศ. 2519 (47 ปี)
ระยอง ประเทศไทย

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม ( 2 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ที่ระยอง) เป็นนักกฎหมายชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง สำนักงานอัยการสูงสุด [1] อดีตประธานผู้บริหารสำนักงานกฎหมายทนายความ(อินเตอร์)[2] อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทน ราษฏร(ส.ส.)ระยอง เขต 2 พรรคประชาราชและอดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตรักษาการประธานทนายความจังหวัดระยองและอดีตกรรมการสภาทนายความ ภาค 2 มีชื่อเสียงในช่วงทำคดีพ่อค้าเนื้อระยองโดนยัดข้อหาฆ่าคนตาย[3] และคดีตรวจสอบน้ำมันภายในถังหลังถูกเจ้าหน้าที่ตรวจยึดเพราะสงสัยว่าจะเป็นน้ำมันเตาที่ไม่ได้เสียภาษี[4] เป็นต้นและปัจจุบัน

การศึกษา[แก้]

เริ่มแรกในการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมาย สำเร็จปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต(น.บ.) จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม[5] และศึกษาด้านการเมืองการปกครอง จนสำเร็จปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิต(ร.บ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นศึกษาเพิ่มเติมภาคบัณฑิต สำเร็จปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต(น.บ.) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัย ๕๗ เป็น เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา รุ่นเดียวกับพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทด้านกฎหมาย นิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขากฎหมายธุรกิจ(น.ม.) จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม จบปริญญาโทด้านการเมืองการปกครอง รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการเมืองการปกครอง(ร.ม.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[6] และจบปริญญาโทด้านบริหารรัฐกิจและกฎหมายมหาชน ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาบริหารรัฐกิจและกฎหมาย (ศ.ศ.ม.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการเมือง รุ่น 1 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมรุ่นกับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคมช.และรองนายรัฐมนตรี และ วิทวัส บุญญสถิตย์ อดีตสว.และสนช. ปี พ.ศ. 2556 สำเร็จปริญญาสูงสุดทางด้านรัฐศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการเมือง( Ph.D Political) มหาวิทยาลัยรามคำแหง[7] เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกับสมเด็จพระเทพ ฯเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557 สำเร็จการศึกษาปริญญาสูงสุดด้านกฎหมาย DOCTOR OF LAWS นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (LL.D) มหาวิทยาลัยปทุมธานี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 ทั้งยังผ่านการอบรมศึกษาในหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ดังนี้ ประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่น 12 (ปรม.12) สถาบันพระปกเกล้า ประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูงรุ่น 13 (ปศส.13) สถาบันพระปกเกล้า ผ่านหลักสูตรนักบริหารระดับสูงธรรมศาสตร์เพื่อสังคม รุ่น 4 (นมธ.) สมาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8]



การทำงาน[แก้]

เริ่มประกอบอาชีพเป็นทนายความ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด(มหาชน) จากนั้นลาออกมาประกอบวิชาชีพเป็น “ทนายความอาชีพ” เป็นทนายความประจำที่สำนักงานสหนนท์กฎหมายและการบัญชี จังหวัดนนทบุรี เจริญก้าวหน้าเติบโตในหน้าที่การงาน ขยับเป็นหัวหน้าสำนักงานเนติวุฒิและเพื่อนทนายความ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานผู้บริหารสำนักกฎหมายฯ สำนักงานณัฐวุฒิ วงศ์เนียม ทนายความ(อินเตอร์) จังหวัดระยอง ทั้งยังดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารสภาทนายความ ในปี พ.ศ. 2553 ในช่วงประธานทนายความคนเดิมหมดวาระลง ทำหน้าที่ รักษาการตำแหน่งประธานทนายความจังหวัดระยองและดำรงตำแหน่งสำคัญ เป็น กรรมการสภาทนายความภาค 2 ทำคดีจนมีชื่อเสียงโด่งดังระดับประเทศ ทั้งยังใช้เวลาว่างบรรยายพิเศษและเป็นอาจารย์สอนพิเศษด้านกฎหมายและด้านการ เมืองการปกครองในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ขณะดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง ยังได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(ก.ก.ต.) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ตามคำสั่งแต่งตั้งที่ 174/2557 ลงวันที่ 11 เมษายน 2557 หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่น 5 (พตส.5) ซึ่งเป็นหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ที่ระดับบิ๊กๆเนมแนวหน้ารวมทั้งนักการเมืองระดับชาติอบรมศึกษา

ด้านธุรกิจ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอ็นแอลแพ็คกิ้งวูด จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานประกอบธุรกิจด้านไม้ยางพารา และยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทศิริวัฒนาพร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์

ด้านการเมือง ครั้งแรกเปิดตัวลงในพรรคชาติไทย มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค แต่ยังไม่ทันได้ลงสนาม เกิดรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 หลังจากนั้นได้ย้ายพรรคมาสังกัดพรรคประชาราช มีนายเสนาะ เทียนทอง เป็นหัวหน้าพรรค ส่งลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดระยอง เขต 2 แต่สอบตก ต่อมาย้ายพรรคสังกัดพรรคเพื่อไทย หลังสอบตกได้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการประจำกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร[9] ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์) ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้สอบบรรจุในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย(สนามใหญ่)ประจำปี พ.ศ. 2555 สอบได้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ได้เข้ารับบรรจุรับราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ[10] ได้มีคำสั่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ช่วยราชการและปฏิบัติหน้าที่ราชการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สำนักงานอัยการสูงสุด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า เลื่อนตำแหน่งจากอัยการผู้ช่วยมาเป็นอัยการประจำกอง และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ ณ.พระราชวังไกลกังวล เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 โดยให้มีผลย้อนหลังดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง ในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 หลังจากโปรดเกล้า ฯ ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สำนักงานอัยการสูงสุด จนครบวาระ 2 ปี ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 มีคำสั่งอัยการสูงสุดให้ไปช่วยราชการสำนักงานอัยการจังหวัดนครพนมนับตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

ผลงานวิจัย[แก้]

  • บทบาทคณะกรรมการการเลือกตั้งในการสร้างความเป็นธรรมต่อกระบวนการการเลือกตั้ง

ในประเทศไทย ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกสาขาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • แนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ในการสืบสวนสอบ

สวนฟ้องร้องดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

  • การแปรรูปวิสาหกิจชุมชน งานวิจัยหลักสูตร ปรม.12 สถาบันพระปกเกล้า

รางวัลเกียรติยศ[แก้]

  • ศิษย์เก่าดีเด่นโล่ห์รางวัลเกียรติยศผู้สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทย 2547 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • โล่ห์เกียรติยศรางวัลบุคคลแห่งปี 2556 สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติดีเด่น “รางวัลระฆังทอง”[11]

ประกาศนียบัตร[แก้]

  • ผ่านหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาว่าความทนายความ สภาทนายความ
  • ผ่านหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายทรัพยสินทางปัญญา รุ่น 2 เนติบัณฑิตยสภา
  • ผ่านหลักสูตรการรับรองเอกสารต่างประเทศ(โนตาลีปับลิค) รุ่น 14 สภาทนายความ
  • ผ่านหลักสูตรภาวะผู้นำนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์




อ้างอิง[แก้]

  1. [1][ลิงก์เสีย]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-11.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-11.
  4. [2][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-11.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2014-09-11.
  7. [3]
  8. http://tlptu.com/pdf/tlptu4/tlptu4listpeenong.pdf
  9. [4]
  10. [5]
  11. [6][ลิงก์เสีย]