คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Political Science and Law, Burapha University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | รน. / PSL |
---|---|
คติพจน์ | คุณธรรมคู่ปัญญา เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก |
สถาปนา | 26 มกราคม พ.ศ. 2550 |
คณบดี | ผศ. ร.ต.อ. ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล (รักษาการแทน) |
ที่อยู่ | เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20131 |
สี | สีแดง |
มาสคอต | สิงห์ครามและตราชู |
เว็บไซต์ | http://www.polsci-law.buu.ac.th/ |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Faculty of Political Science and Law, Burapha University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการเรียนการสอนด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย และการบริหารรัฐกิจ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ประวัติ[แก้]
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนามาจากภาควิชารัฐศาสตร์ ภายใต้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ได้รับการยกฐานะให้เป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[1] โดยจัดการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[2][3] ภาควิชารัฐศาสตร์ จึงอยู่ภายใต้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และได้จัดตั้งภาควิชานิติศาสตร์ขึ้นในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2544[4]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปลี่ยนสถานภาพจากส่วนราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในปี พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[5][6] สภามหาวิทยาลัยบูรพา จึงมีมติจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้รวมภาควิชารัฐศาสตร์ และภาควิชานิติศาสตร์ เข้าไว้ด้วยกัน ต่อมาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ได้จัดตั้งภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ ขึ้นใหม่ โดยแยกออกจากภาควิชารัฐศาสตร์เดิม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในปัจจุบันจึงมี 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชานิติศาสตร์
หน่วยงานภายใน[แก้]
หน่วยงานภายในคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยยาลัยบูรพา ประกอบด้วย[7]
- สำนักงานคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
- สำนักงานเลขานุการคณะ
- ภาควิชารัฐศาสตร์
- ภาควิชานิติศาสตร์
- ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สโมสรนิสิตคณะ
หลักสูตร[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[8] | |||
---|---|---|---|
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
ภาควิชารัฐศาสตร์ | หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
|
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.)
|
ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ | หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
|
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
|
|
ภาควิชานิติศาสตร์ | หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
|
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
|
ทำเนียบคณบดี[แก้]
รายนามคณบดีรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |||
---|---|---|---|
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555 [9] | ||
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่เรือตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563 [10][11] | ||
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บัวหล้า | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน [12] (พักการปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565) [13] | ||
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน (รักษาการแทน) |
กิจกรรมสานสัมพันธ์นิสิต-นักศึกษารัฐศาสตร์[แก้]
สิงห์สัมพันธ์
เป็นกลุ่มกิจกรรมของนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เรียกว่า สิงห์สัมพันธ์ โดยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา 2547 ได้ใช้ชื่อว่า 5 สิงห์ โดยการก่อตั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างนิสิตและนักศึกษาที่ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ การประกวดแสตนด์เชียร์และผู้นำเชียร์ และเพื่อเสริมสร้าง-แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งก็จะมีการจัดกิจการการตอบปัญหาทางวิชาการและเสวนาวิชาการจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยอยู่เสมอ
สมาชิกของกลุ่ม 5 สิงห์ ประกอบด้วยองค์กรกิจกรรมนิสิตหรือนักศึกษาของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ), คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง), ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สิงห์เขียว), คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาว) และ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สิงห์เงิน)
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีการศึกษา 2552 ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (สิงห์คราม) ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมกลุ่ม 5 สิงห์ และโดยมติของคณะกรรมการกลุ่ม 5 สิงห์ ซึ่งมาจากองค์กรนิสิตหรือนักศึกษาที่ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมของคณะหรือภาควิชารัฐศาสตร์ของ 5 มหาวิทยาลัยก่อตั้งกลุ่ม จึงรับเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 5 สิงห์และเปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์สัมพันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ประชุมสมาชิกสิงห์สัมพันธ์ได้รับรองให้ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) เป็นสมาชิก ทำให้งานสิงห์สัมพันธ์ตั้งแต่ครั้งที่ 9 เป็นต้นไปจะมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 7 สิงห์
ทั้งนี้ กลุ่มสิงห์สัมพันธ์ ได้มีความพยายามจัดตั้ง สมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สนรท. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 แต่เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย องค์กรนี้จึงยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและประกาศต่อสื่อมวลชน
กิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมแข่งขันกีฬา กิจกรรมแสตนเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ และกิจกรรมงานราตรีชาวสิงห์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗ (หน้า ๑), มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2541 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ [https://web.archive.org/web/20210712125737/http://www.polsci-law.buu.ac.th/pollaw/about1.php เก็บถาวร 2021-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติคณะ]] สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2541 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ โครงสร้างองค์กร เก็บถาวร 2021-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ หลักสูตรที่เปิดสอน เก็บถาวร 2021-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ (ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์)
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ผศ. ว่าที่เรือตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร)
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ผศ. ว่าที่เรือตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร)
- ↑ คำสั่งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภาฯ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ผศ.ธีรพงษ์ บัวหล้า)
- ↑ [https://web.facebook.com/buu.ac.th/posts/pfbid0qy3aW5zGwdviVNWEYP3iwscSc2HACJbZPBVFVS7cGRsDarMUq4ARBPTZ1a8WS5c9l แถลงการณ์มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565